ผู้เขียน หัวข้อ: compresser เอาไว้ทำไรได้มั่งอ่ะครับ  (อ่าน 2099 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

boyb1

  • บุคคลทั่วไป
compresser เอาไว้ทำไรได้มั่งอ่ะครับ
« เมื่อ: วันที่ 12 เมษายน 2009, 16:22:56 น. »
เห็นเค้าใช้กันอยู่อ่ะครับ อยากรู้ ประโยชน์ของเจ้า compresser ว่ามันทำไรได้มั่งอ่ะครับ

yai391

  • บุคคลทั่วไป
Re: compresser เอาไว้ทำไรได้มั่งอ่ะครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 12 เมษายน 2009, 18:29:54 น. »
  COMPRESSOR/LIMITER เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดังของเสียง ไม่ให้สัญญาณเสียงที่ออกไปมีความแรงมากเกินไป รวมทั้งทำหน้าที่อื่นๆด้วย ซึ่งหน้าที่การทำงานภายในเครื่องจะประกอบด้วยหน้าที่การทำงานหลัก 3 ส่วน ดังนี้

1. EXPANDER/GATE
ทำหน้าที่ขยายและเปิดประตู[GATE> ให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องตามความต้องการของผู้ใช้ ว่าจะให้สัญญาณที่มีระดับความแรงมากน้อยเท่าไรที่จะให้เครื่องเริ่มทำงาน โดยมีปุ่มปรับต่างๆในส่วนนี้คือ

1.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มปรับเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานและหยุดทำงาน หน่วยที่ปรับมีค่าเป็น dB เช่นเราปรับตั้งค่าไว้ที่ -45 dB หมายความว่า สัญญาณเสียงที่มีระดับสัญญาณต่ำกว่า -45dB เครื่องจะไม่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ไม่มีสัญญาณใดๆผ่านเครื่องออกไปได้ และเครื่องจะเริ่มทำงานเมื่อระดับสัญญาณมีค่าสูงกว่า -45 dB ค่าที่เราตั้งเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานนี้เรียกว่า "ค่าเทรชโฮลด์"
อย่างไรก็ตามถ้าเราปรับไว้ที่ตำแหน่งต่ำสุดหรือ OFF หมายความว่า สัญญาณที่มีระดับสุดแค่ไหนก็ตามก็สามารถผ่านเข้าไปในเครื่องได้ นั่นคือสัญญาณจะผ่านเข้าไปได้ทั้งหมดตลอดเวลานั่นเอง

การจะตั้งค่าเทรชโฮลด์เป็นเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เครื่องนี้ควบคุมเสียงอะไร เช่น ถ้าต้องการควบคุมเสียงสำหรับไมค์นักร้อง หรือควบคุมเสียงทั้งระบบ ให้ตั้งค่านี้ที่จุดต่ำกว่า -45 dB เพราะต้องให้ระดับเสียงเบาๆออกไปได้ แต่ถ้าควบคุมเสียงของไมค์กลองกระเดื่อง กลองสแนร์ หรือไฮแฮต ก็ให้ตั้งค่าที่สูงกว่า -45 dB ซึ่งมีค่าไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความดังของกลองหรือเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ

1.2 ปุ่ม RELEASE เป็นปุ่มสำหรับหน่วงเวลา คือหลังจากที่ประตู(GATE) เปิดให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องแล้ว ถ้าไม่มีสัญญาณใดๆเข้ามาอีกหรือสัญญาณมีค่าต่ำกว่าค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้ เกทก็จะปิด ส่วนอื่นๆของเครื่องก็ไม่ทำงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการปิดเกทอีกครั้งหลังจากไม่มีสัญญาณเข้ามาแล้วนั้นเราเรียกระยะเวลานี้ว่า "Release Time" ปุ่มที่ทำหน้าที่ปรับระยะเวลานี้คือปุ่ม RELEASE ค่าที่บอกไว้ที่เครื่องคือ Fast หมายความว่าเกทจะปิดอย่างรวดเร็วหลังจากหมดสัญญาณ และ Slow หมายความว่า เกทจะหน่วงเวลาไว้ระยะหนึ่งจึงค่อยปิด ระยะเวลาเร็วหรือช้าแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเราที่จะปรับตั้งค่าไว้

ค่า Release Time ของเกทนี้จะตั้งเป็นเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับเสียงที่เราใช้งาน เช่นไมค์สำหรับเสียงพูดหรือเสียงนักร้อง ให้ปรับไว้ที่ประมาณบ่ายสองโมง [Slow> เพราะเสียงคนเราจะมีปลายหางเสียงเช่น เสียงตัว สิ. ,สี่.. ,ซิ... ,ซี...เอส....เฮช....ทู...ฯลฯ.. เป็นต้น ปลายหางเสียงเหล่านี้จะได้ไม่ขาดหายไป
ส่วนการปรับเสียงจากเครื่องดนตรีเช่นเสียงกลองกระเดื่อง ถ้าเราไม่ต้องการเสียงกระพือหลังจากที่เราที่เหยียบลงไปที่หน้ากลองลูกแรก ก็ให้เวลาในการปิดเกทเร็วขึ้น[Fast> หรือเสียงไฮแฮตถ้าเราไม่ต้องการให้มีปลายหางเสียงมากเกินไป ให้เสียงซิบๆๆ..ซี่ๆๆ..ซิบๆๆ...ดีขึ้นก็ให้ปิดเกทให้เร็วขึ้นเพื่อปลายหางเสียงที่เบาๆจะได้ถูกตัดออกไป
**อย่างไรก็ตามปุ่มRELEASE ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE นี้ ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี และบางรุ่นทำเป็นสวิทช์กดให้เลือก**

1.3 ปุ่ม RATIO เป็นปุ่มทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงเป็นอัตราส่วนของ dB เมื่อเทียบค่ากับ 1 เช่น 1:1หมายความว่าสัญญาณจะไม่ถูกลดระดับเลย , 2:1หมายความว่าสัญญาณที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าไหร่ก็ตามจะถูกทำให้ลดลงสองเท่า
**อย่างไรก็ตามปุ่ม RATIO นี้ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี**
 2. COMPRESSOR
ทำหน้าที่กดระดับสัญญาณให้ลดลงในอัตราส่วนตามค่าที่เราได้ปรับตั้งไว้ หน้าที่การทำงานของปุ่มปรับต่างๆในส่วนของภาคคอมเพรสเซอร์นี้มีดังนี้

2.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มสำหรับตั้งค่าจุดเริ่มการกดสัญญาณ(จุดเทรชโฮลด์) เช่นเราตั้งค่าไว้ที่ 0 dB สัญญาณจะเริ่มลดลงที่ 0 dB และถ้าปรับตั้งไว้ที่ -10 dB ก็หมายความว่าสัญญาณเสียงจะเริ่มลดลงที่จุด -10 dB (ค่าติดลบมากเสียงจะลดลงมาก)
การลดลงของสัญญาณเสียงที่จุดเทรชโฮลด์นี้ ถ้าเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วทันทีทันใด เราเรียกว่า ฮาร์ดนี[Hard-Knee> และถ้าให้เสียงที่ถูกกด[Compress> ค่อยๆลดลงเพื่อให้เสียงฟังดูนุ่มขึ้นเราเรียกว่า ซอฟต์นี[Soft-Knee> ซึ่งมีปุ่มให้กดเลือกใช้งานได้ แต่ปุ่มนี้จะมีชื่อเรียกทางการค้าที่แตกต่างกันไป เช่น
ยี่ห้อ dbx เรียกปุ่มนี้ว่า Over Easy
ยี่ห้อ Behringer เรียกปุ่มนี้ว่า Interactive Knee

การตั้งค่า THRESHOLD
เสียงดนตรี เสียงพูด และเสียงร้องเพลงทั่วๆไป จะตั้งค่าไว้ที่ 0 dB
เสียงร้องเพลงประเภท เฮฟวี่ ร็อค ฮิปพอฟ หรือเพลงวัยรุ่นประเภท แหกปากตะโกนร้อง ก็ตั้งไว้ที่ -10 dB ถึง -20 dB ให้ปรับหมุนฟังดูค่าที่เหมาะสมไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

2.2 RATIO เป็นปุ่มสำหรับทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงมีค่าเป็นอัตราส่วนจำนวนเท่าต่อ 1 ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้คือ

[1> เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 1:1 สัญญาณด้านออกจะไม่ถูกกดลงเลย
[2> เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 2:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 2เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +10dB
[3> เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 4:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 4เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +5dB
[4> Infinite (หมุนตามเข็มนาฬิกาสุด) สัญญาณด้านออกจะถูกกดให้ลดลงเท่ากับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้

การตั้งค่า RATIO
เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกแบบ เสียงเครื่องดนตรีทั่วไป ปรับตั้งไว้ที่ 2:1 ถ้าตั้งให้ลดมากไปจะทำให้เหมือนเสียงเกิดอาการวูบวาบกระโดดไม่คงที่

2.3 ATTACT เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาของการเริ่มต้นกดสัญญาณ[compress> จะช่วยทำให้เสียงมีความหนักแน่นดีขึ้น มีหน่วยเวลาเป็น มิลลิวินาที[mSEC> เสียงพูด เสียงเพลงดนตรีทั่วไป ให้ตั้งค่าไว้ที่ประมาณ 40-50 mSEC เพลงคลาสสิค หรือเพลงที่มีความฉับไวของดนตรี ให้ตั้งไว้ที่ประมาณ 25-30 mSEC

2.4 RELEASE เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาช่วงหยุดการกดสัญญาณ จะทำให้น้ำเสียงนุ่มน่าฟังขึ้น มีหน่วยเวลาเป็นวินาที [SEC> เสียงพูด เสียงดนตรีทั่วไปให้ตั้งไว้ที่ 1.5-2 SEC

2.5 OUTPUT GAIN เป็นปุ่มปรับลดหรือเพิ่มระดับความแรงของสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าปรับได้ตั้งแต่ -20dB ถึง +20dB ในการใช้งานปกติให้ปรับค่าไว้ที่ 0 dB
 3. LIMITER
ลิมิตเตอร์ทำหน้าที่รักษาระดับสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีความแรงสูงสุดได้ไม่เกินค่าที่ตั้งไว้ เช่นตั้งไว้ที่ 0dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน 0dB หรือตั้งไว้ที่ +5dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน +5dB เป็นต้น




การต่อใช้งานเครื่อง COMPRESSOR

การต่อใช้งานเครื่องคอมเพรสเซอร์สามารถต่อใช้งาน ตามลักษณะประเภทของงานและตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 4 แบบ ดังนี้

1. การต่อแบบ Channel Insert
การต่อแบบนี้เป็นการต่อใช้งานที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งเสียงของคอมเพรสเซอร์ แต่ละแชลแนลได้อย่างอิสระ ทั้งเสียงจากไมโครโฟนสำหรับนักร้อง และเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่แยกจากกัน

2. การต่อแบบ Group Insert
การต่อแบบนี้จะใช้คอมเพรสเซอร์ จำนวน 2 เครื่อง [4Ch> ในกรณีที่มิกเซอร์มี 4 กรุ๊ป คือ Group 1-2-3-4 ก็ให้เราจัดกรุ๊ป 1-2 เป็น ไมค์เสียงร้องทั้งหมด และกรุ๊ป 3-4 เป็นเสียงดนตรีทั้งหมด

3. การต่อแบบ Mix Insert
การต่อแบบนี้ใช้คอมเพรสเซอร์ 1เครื่อง [2Ch> ต่อที่ตำแหน่ง Mix Insert ของเครื่องมิกเซอร์ เป็นการต่อใช้งานเพื่อควบคุมเสียงทั้งหมดที่ถูกต่อเข้าที่มิกซ์ การปรับแต่งเสียงก็จะปรับโดยรวมๆกลางๆ

4. การต่อแบบ MIXER to COMPRESSOR
การต่อแบบนี้เป็นการต่อแบบที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุด เพราะเป็นการต่อที่นำเอาสัญญาณเอาท์พุทจากมิกเซอร์มาเข้าอินพุทของเครื่องคอมเพรสเซอร์ และออกจากคอมเพรสเซอร์ไปเข้าเครื่องอีควอไลเซอร์
การปรับแต่งเสียงก็เป็นการปรับแบบรวมๆกลางๆ เพราะทุกเสียงผ่านคอมเพรสเซอร์ทั้งหมด


yai391

  • บุคคลทั่วไป
Re: compresser เอาไว้ทำไรได้มั่งอ่ะครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2009, 06:50:05 น. »
ลองอ่านดูครับถ้าจำได้หมดก็ถือว่าใช้งานCOMPRESSOR ได้เกือบ100%แล้วครับ

boyb1

  • บุคคลทั่วไป
Re: compresser เอาไว้ทำไรได้มั่งอ่ะครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2009, 07:04:31 น. »
ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ Ssw Sound By ช่างจบ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 842
  • (กุ้ง) HL#7EE04237 (ครูภูม)อิกตัว4F0D78F9
Re: compresser เอาไว้ทำไรได้มั่งอ่ะครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันที่ 21 เมษายน 2009, 12:58:41 น. »
ขอบคุณครับ กำลังศึกษาอยูพอดี :em01:

ออฟไลน์ สุระชาติ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2940
  • 7485360D,9660E447,5D12658A(เด็กชายเคยโสด)
Re: compresser เอาไว้ทำไรได้มั่งอ่ะครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันที่ 21 เมษายน 2009, 13:31:02 น. »
มีคำถามมามากแต่ตอบไม่ได้คราวนี้คงมีคำตอบบ้าง ขอบคุณมากๆครับ