ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)  (อ่าน 13420 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ อนันตชัย ระยอง

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • **
  • กระทู้: 16309
  • x-men : 7485488C , 7C842C7A, 12347732
คัดลอกมาจาก.. เว็บบอร์ดตำรวจ http://www.wutthi.com/forum/index.php?topic=12894.0


ศาลตัดสินอย่างนี้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีแต่เสียงและตัวหนังสือขึ้นให้ร้องตาม โดยไม่มีภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวอื่นใดปรากฏ อีกทั้งยังไม่มี คำร้อง(คำที่ร้องออกจากปาก) และ ทำนอง(ลำดับเสียงสูงและต่ำที่ออกจากคำร้อง) ที่เป็นงานดนตรีกรรม คือใช้โปรแกรม Nick Karaoke ก็ใช้ได้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใช่ใหมครับ ?
   กระทรวงวัฒนะธรรมระบุว่า ไม่ใช่ โสตทัศนะวัสดุ (วีดีทัศน์)
...ใน พรบ.ลิขสิทธิ์ทั้งฉบับ ไม่มีคำว่า...เนื้อร้อง...นะครับ

ในคดีหมายเลขแดงที่ อ 5210/2547 ศาลได้พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยไว้ส่วนหนึ่งว่า
    ”สำหรับความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของผู้เสียหาย โดยการให้นักร้องประจำร้านอาหารของจำเลยขับร้องให้ลูกค้าฟังนั้น สิทธิผูกขาดที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยนั้น อยู่ภายใต้ประโยชน์ที่สาธารณะได้รับจากการสร้างสรรค์ของเจ้าของงานลิขสิทธิ์ สิทธิผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งมีขึ้นเพื่อจำกัดการเข้าถึงงานลิขสิทธิ์ นั้นจึงถูกคานหรือดุลโดยหลักการเข้าถึงซึ่งงานลิขสิทธิ์อันเป็นไปเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ

    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมวดที่1 ส่วนที่6 ได้บัญญัติข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เรียกว่าการใช้อย่างเป็นธรรม (Fair Use) ไว้ในมาตรา32 ถึงมาตรา43 เพื่อให้ใช้ในการคานหรือดุลระหว่างสิทธิผูกขาดของเจ้าของสิทธิกับ สิทธิสาธารณะข้างต้น การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งกฎหมายลิขสิทธิ์ให้มีความสมดุล และให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลนั้น ต้องมีการชั่งระหว่างประโยชน์ของเจ้าของสิทธิและประโยชน์ของสาธารณะเสมอ และไม่สามารถปรับใช้กฎหมายโดยคำนึงแต่เพียงด้านของประโยชน์เจ้าของสิทธิฝ่าย เดียว การใช้กฎหมายโดยยึดเพียงประโยชน์ของเจ้าของสิทธิฝ่ายเดียวย่อมมีผลเป็นการ กันไม่ให้สาธารณเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ อันเป็นการกระทบต่อความสมดุลของระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเกี่ยวข้อง กับความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชนโดยตรง ดังนั้น ในประเด็นของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในกฎหมายลิขสิทธิ์ในคดีนี้ แม้จำเลยมิได้ให้การไว้ แต่เมื่อศาลเห็นสมควร ก็สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนี้ขึ้น วินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา15 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา26

   การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดฟังเพลงที่มีผู้แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง และมีความชื่นชมในคุณค่าของงานดนตรีกรรมนั้น จนแสดงความชื่นชอบหรือการเข้าใจคุณค่าของงานนั้นโดยการนำมาร้องหรือบรรเลง ให้ปรากฏขึ้นมาเป็นเพลง ถือเป็นการกระทำโดยทั่วไปของมนุษย์ที่สามารถเข้าใจและชื่นชมงานลิขสิทธิ์ได้ และเป็นประโยชน์สาธารณะพื้นฐานที่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาต้องรักษาไว้ โดยต้องคานให้สมดุลกับการรักษาสิทธิผูกขาดของผู้เสียหายที่อ้างว่าเป็นเจ้า ของลิขสิทธิ์เพลง  เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ประกอบกับรายงานการสืบเสาะและพินิจรับฟังเป็นข้อ ยุติว่า ร้านอาหารของจำเลยเป็นร้านอาหารทั่วไปและข้อเท็จจริงในคำฟ้องปรากฏว่า มีผู้ร้องเพลงของผู้เสียหายเพียงหนึ่งเพลงคือเพลง ดอกหญ้าในป่าปูน ในขณะที่ผู้เสียหายเป็นบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมดังกล่าว ดังนี้วัตถุประสงค์และลักษณะของการแสวงหาประโยชน์ของจำเลยซึ่งจัดให้มีการ ร้องเพลงของผู้เสียหายหนึ่งเพลงนั้น น่าจะเป็นไปเพื่อความบันเทิงของลูกค้าในร้านอาหารเท่านั้น ในขณะที่การแสวงหาผลประโยชน์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ เพลงนั้น ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้มีการแสวงหาประโยชน์ที่ซ้ำกันหรืออยู่กลุ่มธุรกิจ เดียวกันกับจำเลยโดยตรง ส่วนผลกระทบไม่ว่าในด้านของการตลาดหรือคุณค่าของลิขสิทธิ์นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยจัดให้มีการร้องเพลง ดอกหญ้าในป่าปูน ในวันเกิดเหตุตามคำฟ้อง สามารถส่งผลกระทบสิทธิของผู้เสียหายจนเกินสมควร ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการร้องเพลงในร้านอาหารตามคำฟ้องขัดต่อ การแสวงหาประโยชน์ตามปกติและกระทบถึงสิทธิของเจ้าของสิทธิเกินสมควรแต่ ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา32 วรรคหนึ่ง”

      นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
   ชี้แจงว่า “จากที่พ.ร.บ.ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานั้น ในขณะนี้กฎกระทรวงหรืออนุบัญญัติตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวี ดิทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งให้คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณารายละเอียดเพื่อประกาศใช้ ตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป ดังนั้นในขณะนี้ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างพ.ร.บ.ฉบับเก่าและฉบับใหม่ หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อสงสัยในทางปฏิบัติ จึงขอชี้แจงแนวทางในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ผู้ประกอบกิจการ ๔ ประเภท ที่ต้องมาขอใบอนุญาตตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ได้แก่
   ๑. ประกอบกิจการโรงภาพยนตร์
   ๒.ประกอบกิจการเช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์
   ๓.ประกอบกิจการเช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ และ
   ๔.ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยในเบื้องต้นหากผู้ประกอบการใดใบอนุญาตเดิมหมดอายุ กระทรวงวัฒนธรรมจะออก “ใบรับ” ให้ก่อนถือเป็นช่วงของการผ่อนผัน ซึ่งเมื่อกฎกระทรวงประกาศใช้แล้วก็สามารถออก “ใบอนุญาต” ให้ได้ทันที แต่ หากไม่มายื่นขออนุญาตก็จะถูกจับดำเนินคดีในฐานประกอบกิจการให้เช่าแลก เปลี่ยนและจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่มีใบอนุญาตตามมาตรา ๓๘ มีความผิดและโทษตามมาตรา ๗๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน

   นอกจากนี้ ภาพยนตร์ (หนัง/สารคดี/การ์ตูน ฯลฯ) หรือวีดิทัศน์ (เกม/คาราโอเกะ) ที่นำไปฉาย ให้เช่า หรือขายตามร้าน แผงลอย และบูทต่างๆ ต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์แล้ว โดยถ้าเป็นแผ่นวีซีดี ดีวีดี สังเกตได้ง่ายต้องมีสติ๊กเกอร์เป็นเครื่องหมายรูปวงรีพร้อมหมายเลขรหัสกท. ติดอยู่ที่ปกหรือกล่องชัดเจน หากไม่มีสติ๊กเกอร์ หรือมีแต่เป็นการถ่ายซีร็อก ก็ถือว่าเป็นของปลอม ผู้ ขายจะมีความผิดฐานนำภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาไปฉายหรือขาย ตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา ๗๘ คือ ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท แต่ถ้าขาย/ฉายวีดิทัศน์ทีไม่ผ่านการตรวจพิจารณาจะผิดตามมาตรา ๔๗ มีโทษตามมาตรา ๘๑ คือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

.....ยกเว้น ร้าน หรือแผงลอยที่ขายแต่เทปหรือแผ่นซีดีเพลงที่มีแต่เสียงร้อง รวมถึงตู้เพลงแบบหยอดเหรียญ และคาราโอเกะ แบบที่มีแต่ตัวหนังสือกับเสียงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่มีภาพประกอบ ไม่ต้องขอใบอนุญาตตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากไม่อยู่ในความควบคุม…

เลขาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับ ในส่วนของร้านเกม/ร้านอินเตอร์เน็ต ที่ให้บริการเล่นเกมจากคอมพิวเตอร์หรือเกมดาวน์โหลดนั้น เจ้าหน้าที่คงใช้ประกาศเดิมตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยพ.ศ.๒๕๔๙ เป็นแนวทางปฏิบัติอยู่ เช่น เด็กต่ำกว่า ๑๘ ปี ห้ามเข้าก่อน ๑๔.๐๐ น. ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ และห้ามเข้าหลัง ๒๒.๐๐ น.ของทุกวัน ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์สารเสพติดทุกชนิดในสถานที่ให้บริการ เป็นต้น หากผู้ประกอบการฝ่าฝืนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็สามารถดำเนินคดีเอาผิด ตามพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เด็ก เยาวชน และลดปัญหาสังคม พร้อมเชิญชวนร้านเกมเข้าร่วมโครงการ “ร้านเกมสีขาว เพื่อเยาวชน” เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สังคมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เวบไซต์ http://movie.culture.go.th ส่วนของสำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และ media-oncc@hotmail.com”

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
       สู่ความเข้าใจพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ฯ( เขียนเมื่อ 26 ก.ค.51 /Sheet 15)
การประกอบกิจการวีดิทัศน์
             โดย อมรรัตน์  เทพกำปนาท ผอ.สำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์
-------------------------------------------------------------------------------------------------------

   สำหรับในฉบับนี้ก็ยังอยู่ในเรื่องการประกอบกิจการวีดิทัศน์ต่อ  โดยมาตราต่อไปคือ
มาตรา ๕๓  เขียนไว้ว่า “ห้ามผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับ ประโยชน์ตอบแทน   เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ใบอนุญาตนั้น ให้ออกสำหรับร้านวีดิทัศน์แต่ละแห่ง

การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
   ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับแก่การประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ที่ตั้ง อยู่ในสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน การออกกฎกระทรวงตามวรรคสามจะกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอาคารหรือสถานที่ตั้ง ของร้านวีดิทัศน์ด้วยก็ได้”

   ในปัจจุบัน มาตรานี้มีความสำคัญและได้รับความสนใจอย่างมาก ทั้งจากผู้ประกอบการเอง และสังคม  เพราะเกี่ยวข้องกับการเปิดร้านเกม และร้านคาราโอเกะ  โดยเฉพาะร้านเกมที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาหนึ่งในสังคมขณะนี้

   ความหมายตามวรรคแรกของมาตรานี้   ได้กำหนดไว้ว่า  ใครก็ตามที่ต้องการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ซึ่งตามคำจำกัดความของมาตรา ๔ หมายถึง “สถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือ  หรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่นหรือดูวีดิทัศน์”  โดยทำเป็นธุรกิจหรือมีผลประโยชน์ตอบแทน ต้องมาขออนุญาตจากนายทะเบียน   ซึ่ง “ร้านวีดิทัศน์” ในที่นี้ หากจะเปรียบกับพ.ร.บ.เทปฯเดิมก็คือ ร้านที่ต้องมาขอใบอนุญาตประเภทฉายและให้บริการซึ่งเทปและวัสดุโทรทัศน์  และผู้ลงนามในใบอนุญาตเดิม คือ “พนักงานเจ้าหน้าที่”  นั่นเอง  แต่ตามพ.ร.บ.ฉบับใหม่ “ร้านวีดิทัศน์” ในที่นี้ จะหมายถึง ร้านเกมหรือร้านคาราโอเกะโดยเฉพาะ   เช่น  ร้านเกมอินเตอร์เน็ตที่เราเห็นทั่วไป    ร้านที่มีตู้เกมตามศูนย์การค้า ห้องคาราโอเกะตามโรงแรม หรือตามห้องอาหาร   เป็นต้น  อย่างไรก็ดี   ถ้า “ร้านวีดิทัศน์”(ร้านเกมหรือห้องคาราโอเกะ) นั้น ตั้งอยู่ในสถานบริการแล้ว

  ตามวรรคสี่ ของมาตรานี้  ยังยกเว้นให้ว่าไม่ต้องมาขอใบอนุญาตด้วย  แต่ต้องมีใบอนุญาตของสถานบริการแสดงให้เห็น   ตัวอย่างเช่น
กรณีผับใน โรงแรม ถ้ามีใบอนุญาตเปิดเป็นสถานบริการ  หากจะมีบริการให้ร้องคาราโอเกะหรือมีที่เล่นเกมด้วย  ก็ไม่ต้องมาขอใบอนุญาตซ้ำ  
 
   แต่ถ้าเป็นห้องร้องคาราโอเกะ หรือร้านเกมที่ตั้งอยู่ในโรงแรม หรือในอาคารชุด  ที่ไม่ได้ขอเปิดเป็นสถานบริการ  เช่นนี้ต้องมาขอใบอนุญาตเป็น “ร้านวีดิทัศน์” ตามกฎหมายฉบับนี้

ส่วนกรณีเป็นห้องคาราโอเกะชนิดมีแต่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีแต่เสียงและตัวหนังสือขึ้นให้ร้องตามโดยไม่มีภาพ อื่นใดปรากฎ  แบบนี้ ไม่ถือเป็นร้านวีดิทัศน์   และไม่ต้องมาขอใบอนุญาต

   และ ต้องอย่าลืมว่า  ในขณะนี้  โรงแรม  อาคารชุด  หรือตามสถานที่ใดก็ตามที่จัดฉายภาพยนตร์ (ฉายหนังแผ่นวีซีดี  ดีวีดีต่างๆ)ซึ่งแต่เดิมต้องมาขอใบอนุญาตประเภทฉายและให้บริการซึ่งเทปและ วัสดุโทรทัศน์  เนื่องจากกฎหมายเดิมระบุไว้ว่า “สถานที่ใดก็ตามที่ให้บริการเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยการจัดส่งไปทางสายหรือ ทางวิธีการอื่นใดที่ให้ผลในลักษณะเดียวกันไปยังผู้รับบริการหลายรายที่อยู่ ภายในอาคารเดียวกันหรือในบริเวณเดียวกัน  เช่น อาคารชุด โรงแรม โรงพยาบาล.....” ต้องมาขอใบอนุญาต   แต่ตามกฎหมายใหม่ มิได้ระบุไว้  ดังนั้น ขณะนี้ สถานที่เหล่านี้จึงสามารถทำการฉาย  โดยไม่ต้องมาขอใบอนุญาตฉายอีกต่อไป ยกเว้นว่า ต่อไปจะมีการออกกฎกระทรวงให้สถานที่ข้างต้นเป็น “โรงภาพยนตร์” ตามมาตรา ๔ (๓)  หรือหากโรงแรม  อาคารชุดเหล่านี้เปิดร้านเกมหรือห้องคาราโอเกะ ในลักษณะ “ร้านวีดิทัศน์” ที่เข้าข่ายกฎหมายนี้  และไม่อยู่ในสถานบริการ  ก็ต้องมาขอใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้     ส่วนการให้บริการเคเบิ้ลทีวี  จะไม่อยู่ในความควบคุมของพ.ร.บ.ฉบับนี้   แต่จะไปอยู่ในกฎหมายฉบับอื่น

   อย่าง ไรก็ตาม  หากในโรงแรม  หรืออาคารชุด  หรือตามสถานีขนส่งต่างๆ มีการเปิดพื้นที่ให้ทำการเช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์  เช่นนี้  ก็ต้องมาขอใบอนุญาตประกอบกิจการเช่า แลกเปลี่ยน และจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์   ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้ฉายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ไปด้วยในตัว  โดยไม่ต้องขอแยกเป็นสองใบ (ใบฉายและใบขาย)แบบเดิม   ข้อควรจำตามพ.ร.บ.ฉบับใหม่ มีดังนี้

   -ถ้าเปิดเป็น “ร้านวีดิทัศน์” คือ ร้านเกมหรือคาราโอเกะ โดยให้คนเข้ามาเล่นหรือร้องและคิดค่าบริการ   -ต้องมาขอใบอนุญาต
   -เปิดเป็นร้านเช่า  แลกเปลี่ยน และจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์  คือ ร้านขายหนังแผ่น   เกมแผ่น   คาราโอเกะแผ่น  -ต้องมาขอใบอนุญาต  (แผ่น หมายถึง แผ่นวีซีดี ดีวีดี  ซีดีรอม ฯลฯ)
   -ฉายหนังแผ่น  เกมแผ่น เพื่อโฆษณาหนังตัวอย่าง/เกมตัวอย่างในร้าน หรือเปิดบริการให้คนดูทั่วไป  แต่มิใช่แบบโรงหนังหรือโรงหนังกลางแปลง(ตามมาตรา๔(๑)และ(๒) -ไม่ต้องขอใบอนุญาต
สำหรับใบอนุญาตของร้านวีดิทัศน์ดังกล่าว  ผู้ลงนามในใบอนุญาต คือ นายทะเบียน   ซึ่งถ้าในเขตกทม. คือ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในฐานะนายทะเบียนกลาง ส่วนต่างจังหวัดคือ นายทะเบียนประจำจังหวัด ซึ่งปัจจุบันก็คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมาย

และตามกฎหมายนี้  เปิดร้านวีดิทัศน์ที่ไหน  ก็ต้องมีใบอนุญาต ณ ที่นั้น  แม้เจ้าของจะเป็นคนเดียวกันก็ตาม  แต่ถ้าเปิดร้านคนละที่  ก็ต้องมีใบอนุญาตที่ละใบ   ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบฟอร์มขั้นตอนในการขออนุญาตว่าจะต้องทำอย่างไร   เขาจะกำหนดไว้ในกฎกระทรวง (ตอนนี้ร่างเสร็จแล้ว  แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาอีกครั้ง  ก่อนส่งคณะรัฐมนตรีต่อไป)
และเนื่อง จากที่ผ่านมา “ร้านเกม” อันเป็นหนึ่งใน “ร้านวีดิทัศน์” ตามคำจำกัดความของกฎหมายนี้  มีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก  ดังนั้น  ในพ.ร.บ.ฉบับใหม่จึงกำหนดให้สามารถออกเงื่อนไข  เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้ด้วย รวมไปถึงหลักเกณฑ์ในเรื่องอาคาร สถานที่ตั้งของร้าน(ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ในระหว่างพิจารณาออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อ ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ)

......................อมรรัตน์  เทพกำปนาท ผอ.สำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์ …………………..

แนวทางปฏิบัติ ตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
-------------------------------------------------------------------

   เนื่องจากพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑  เป็นพ.ร.บ. ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ที่ผ่านมา กอปรกับกฎกระทรวงหรืออนุบัญญัติที่เป็นรายละเอียดในการปฏิบัติยังไม่ประกาศ ออกมา ทำให้หลายฝ่ายเกิดความไม่แน่ใจในวิธีปฏิบัติตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ ดังนั้น สำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สวช. จึงได้นำข้อข้องใจต่างๆมาทำเป็นแนวถาม-ตอบ  เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติไปก่อนที่กฎกระทรวงจะออกมา  และหากมีสิ่งใดเพิ่มเติม หรือชัดเจนยิ่งขึ้น ก็จะได้นำมาเสนอต่อไป

อมรรัตน์ เทพกำปนาท   ผอ.สำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์
  มีปัญหาถามมาได้ที่ media-oncc@ hotmail.com

๑.การเช่า  แลกเปลี่ยน   หรือจำหน่ายภาพยนตร์  และวีดิทัศน์  ต่างกันอย่างไร
   -ตามพ.ร.บ.ฉบับนี้  ได้ให้คำจำกัดความของ  “ภาพยนตร์”  ว่า หมายถึง  วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อ เนื่อง   แต่ไม่รวมถึงวีดิทัศน์  
ส่วนคำว่า“วีดิทัศน์” หมายถึง  วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้
เห็นเป็น ภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่น คาราโอเกะที่มีภาพประกอบหรือลักษณะอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
   จากคำจำกัดความข้างต้น  จึงทำให้ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตามกฎหมายใหม่ต่างกันตรงเนื้อหา (content)  มิใช่วัสดุที่ใช้บรรจุ  กล่าวคือ
…ถ้าวีซีดี หรือดีวีดีนั้นๆบรรจุเนื้อเรื่องที่เป็นหนัง/ละคร/การ์ตูน เราเรียกว่าวีซีดี/ดีวีดีนั้นว่า “ภาพยนตร์”
…แต่ถ้าวีซีดี/ดีวีดี นั้นๆบรรจุเนื้อหาที่เป็นเกมการเล่นหรือคาราโอเกะ  ก็จะถูกเรียกว่า “วีดิทัศน์”  แทน   ซึ่งต่างจากพ.ร.บ.ควบคุมเทปและวัสดุโทรทัศน์เดิม ที่กำหนดด้วยลักษณะของวัสดุที่ใช้บรรจุเป็น ๖ ประเภทคือวีซีดี  ดีวีดี  เลเซอร์ดีส   วีดีโอเกม  ซีดีรอม และฮาร์ดดิสก์
   ดังนั้น  การเช่า  แลกเปลี่ยน  หรือจำหน่ายภาพยนตร์  จึงต่างจากการเช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์  ตรงเนื้อหาของสินค้าที่ให้เช่าหรือจำหน่าย  มิใช่วัสดุที่บรรจุ  

๒.กรณีประกอบกิจการเช่า แลกเปลี่ยน และจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล  จะต้องมีใบทะเบียนพาณิชย์หรือไม่
   -จำเป็นจะต้องมี   เนื่องจากเป็นข้อกำหนดในพ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ ที่ให้ผู้ที่ขาย  ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิตแผ่นซีดี  แถบบันทึก  วีดิทัศน์  แผ่นวีดิทัศน์  ดีวีดี  หรือแผ่นวีดิทัศน์ ระบบดิจิตอล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง จะต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ (พ.ค. ๐๔๐๓) ซึ่งในใบทะเบียนพาณิชย์ดังกล่าวจะระบุสถานที่ตั้งของผู้ประกอบการ   อันเป็นข้อกำหนดในพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯที่ว่า  การออกใบอนุญาตจะต้องออกให้สำหรับสถานประกอบการแต่ละแห่งด้วย   ซึ่งหมายความว่าประกอบการกี่แห่ง  ก็ต้องมีใบอนุญาตเท่ากับจำนวนร้านที่เปิด  มิใช่ทำใบอนุญาตใบเดียวแล้ว  แล้วสำเนาไปใช้กับทุกที่  แม้จะเป็นเจ้าของเดียวกันก็ตาม เช่น   7-11  มีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน  แต่ถ้าเปิดหลายสาขา  ก็ต้องมีใบอนุญาตทุกสาขา  เพราะถือเป็นที่ประกอบการคนละแห่งกัน

๓.หากเปิดร้านขายวีซีดี  ดีวีดีภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ อยู่ในตลาดนัด  หรือแผงลอยจะทำใบอนุญาตได้หรือไม่
   -ทำได้  โดยให้ไปขอจดใบทะเบียนพาณิชย์  เพื่อแสดงที่ตั้งสถานประกอบการว่าอยู่  ณ ที่ใด  สมมุติเช่น  ร้านตั้งอยู่ในตลาดนัดวัดกลาง   ตั้งอยู่หน้าร้านทองกิมกี่  ตั้งหน้าห้างโรบินสัน  สาขารัชดาฯ   หรือเป็นแผงลอยอยู่ในโซน D ของตลาดโบ๊เบ๊  เป็นต้น  เมื่อระบุที่ตั้งและไปขอใบทะเบียนพาณิชย์ได้แล้ว ก็นำมาเป็นเอกสารประกอบการยื่น  สถานที่ประกอบการแห่งหนึ่ง ก็จะมีใบทะเบียนพาณิชย์ใบหนึ่ง   หรือหากขายหลายแห่ง ก็ต้องมีใบทะเบียนพาณิชย์แต่ละแห่งมาเป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตด้วย  ทั้งนี้เพราะพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ฉบับนี้  ได้กำหนดให้ออกใบอนุญาตให้กับสถานที่ประกอบการแต่ละแห่งๆละใบ  เพื่อควบคุมให้มีการประกอบกิจการเป็นหลักแหล่ง  มิใช่การเร่ขาย  โดยหาสถานที่ที่แน่นอนไม่ได้   เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น

๔.ถ้า ขายแผ่นซีดีเพลง  หรือร้านอาหารที่มีตู้เพลงหยอดเหรียญ  จะถือว่าเป็นร้านประกอบการตามพ.ร.บ.ฉบับนี้หรือไม่
   ร้านหรือแผงลอยที่ขายแต่เทปหรือแผ่นซีดีเพลง  ที่มีแต่เสียงร้อง  และมิได้มีภาพประกอบแบบคาราโอเกะ และไม่มีการขายแผ่นดีวีดีหรือวีซีดีภาพยนตร์อื่นในร้าน  ไม่ต้องมาขอใบอนุญาตตามพ.ร.บ.ฉบับนี้  เพราะไม่อยู่ในความควบคุม   เช่นเดียวกับตู้เพลงหยอดเหรียญ  ซึ่งไม่มีภาพเคลื่อนไหวประกอบแบบคาราโอเกะ ก็ไม่ต้องมาขอใบอนุญาต   นอกจากนี้  คาราโอเกะแบบที่มีแต่ตัวหนังสือและเสียงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไม่มีภาพอื่นประกอบ  ก็ไม่ต้องมาขอใบอนุญาตเช่นเดียวกัน

๕. ร้านอินเตอร์เน็ตทั่วไป  จะเข้าข่ายพ.ร.บ.ฉบับนี้หรือไม่
          ร้านอินเตอร์เน็ต  หรืออินเตอร์เน็ตคาเฟ่  หากเป็นการเปิดให้บริการหาข้อมูลทั่วไป /ส่งอีเมล์  /Chat หรือหาข้อมูลจากเวบไซต์เพื่อทำหรือพิมพ์รายงาน โดยมิได้มีการเล่นเกมจากคอมพิวเตอร์ หรือเกมที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต หรือเล่นเกมจากแผ่นแล้ว ก็จะยังไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯเช่นเดิม และไม่ต้องมาขอใบอนุญาต
…แต่หากเจ้าหน้าที่ไปตรวจพบภายหลังว่าร้าน อินเตอร์เน็ตนั้นๆ  มีการให้บริการเล่นเกม  หรือมีลูกค้าเปิดเล่นเกม  โดยผู้ประกอบการก็ปล่อยปละละเลยให้เล่น  ผู้ประกอบการก็จะมีความผิดฐานเปิดบริการร้านเกม โดยไม่ขอใบอนุญาตทันที  จะต้องถูกจับปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท  และปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน
   อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ร้านอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่มักจะมาขอใบอนุญาตไว้ก่อน  เพราะไม่แน่ใจว่าลูกค้าจะมีการโหลดเกมมาเล่นหรือไม่   มิฉะนั้นหากตรวจพบก็จะมีความผิดตามที่ระบุไว้ทันที

๖.โรงแรม อาคารชุด หรือสถานที่อื่นใดที่ให้บริการฉายภาพยนตร์โดยการจัดส่งไปทางสายไปยังห้อง ต่างๆของโรงแรมหรืออาคารชุด  ซึ่งเคยต้องมาขอใบอนุญาตฉายและให้บริการเทป/วัสดุโทรทัศน์  จะยังต้องขอใบอนุญาตตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯหรือไม่  และขอเป็นประเภทใด
   เนื่องจากพ.ร.บ.ฉบับนี้  ยังมิได้ให้คำนิยามของโรงภาพยนตร์ ตามมาตรา ๔ (๓) เพิ่มเติม  ดังนั้น  ลักษณะการฉายตามสถานที่ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเคยมาขอเป็นประเภทฉายตามพ.ร.บ.เทปฯเดิม จึงยังไม่เข้าข่ายคำจำกัดความของ “โรงภาพยนตร์”  ตามกฎหมายใหม่  และยังไม่ต้องมาขอใบอนุญาตแต่อย่างใด   ยกเว้นจะจัดเป็นห้องฉายภาพยนตร์ต่างหาก  แล้วนำดีวีดี/วีซีดีหนังมาฉายในโรงแรม/อาคารชุดนั้นๆ แล้วเรียกเก็บเงินค่าเข้าชมเพิ่มขึ้นต่างหากจากการบริการอื่นๆ  เช่นนี้  ก็ต้องมาขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ เพียงแต่ตอนมายื่นขอใบอนุญาต   ไม่ต้องแนบหลักฐานใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคารสำหรับโรงภาพยนตร์เท่านั้น  

๗.หากประกอบ กิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดและโทษอย่างไร
   -หากประกอบกิจการโรงภาพยนตร์  หรือประกอบกิจการเช่า แลกเปลี่ยน และจำหน่ายภาพยนตร์ โดยไม่มีใบอนุญาต  หรือพูดง่ายๆ ว่า  เปิดโรงหนัง หรือขายแผ่นวีซีดี/ดีวีดีภาพยนตร์แล้วไม่มาขออนุญาต  จะมีความผิดตามมาตรา ๗๙ ต้องโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท  และยังปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน    
   การขายแผ่นวีซีดี ดีวีดีภาพยนตร์ดังกล่าว  รวมไปถึงพวกที่ขายตามแผงลอย  บูทในห้างสรรพสินค้า   วางขายตามทางเดิน    รวมไปถึงตามตลาดนัดต่างๆด้วย
   -หากเปิดร้านวีดิทัศน์ (ร้านเกม/ร้านคาราโอเกะ) หรือประกอบกิจการเช่า  แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ (ขายแผ่นเกม/แผ่นคาราโอเกะ) โดยไม่ได้รับอนุญาต จะผิดตามมาตรา ๘๒  จะมีโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท   และปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 12:39:49 น. โดย อนันตชัย2009 »

ออฟไลน์ อนันตชัย ระยอง

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • **
  • กระทู้: 16309
  • x-men : 7485488C , 7C842C7A, 12347732
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 12:31:39 น. »
ต่อ......

๘.ถ้ามีใบ อนุญาตแล้ว  ไม่ติดไว้ในที่เปิดเผยจะมีความผิดประการใด
   -หากมีใบอนุญาตแล้ว  ไม่ว่าประเภทไหน  แต่ไม่ติดในที่เปิดเผยและเห็นได้ชัดเจน  ขั้นแรกเจ้าหน้าที่จะสั่งให้แก้ไขปรับปรุงก่อน  โดยกำหนดเวลาให้   หากไม่ทำตาม  นายทะเบียนก็มีอำนาจสั่งปรับทางปกครองได้ในอัตราไม่เกินวันละสองหมื่นบาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน    และหากฝ่าฝืนโดยจงใจอีก ก็จะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตแล้วแต่กรณี  
   เนื่องจากขณะนี้  ร้านส่วนใหญ่จะมีแต่ “ใบรับ” ดังนั้น  อาจนำ “ใบรับ” ใส่กรอบชั่วคราว และติดไว้ให้เห็นชัดภายในร้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ไปตรวจมองเห็นได้   อย่าไปใส่ไว้ในลิ้นชักหรือเก็บไว้ในที่ตรวจสอบได้ยาก   และควรจะเป็นใบจริงให้ตรวจด้วย  มิใช่ใบสำเนา

๙.กฎกระทรวงเกี่ยว กับร้านวีดิทัศน์(ร้านเกม) จะกำหนดวัน เวลา และเงื่อนไขในการเปิด-ปิดร้านไว้หรือไม่
   -แน่นอน  เพราะมีเขียนไว้ในมาตรา ๕๙  ว่าการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ จะต้องกระทำในวัน เวลา และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  และยังเขียนอีกว่า เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน  กฎกระทรวงที่ว่ายังสามารถกำหนดวัน เวลาการใช้บริการของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีได้ด้วย  ซึ่งก็หมายความว่า  เมื่อกฎกระทรวงเกี่ยวกับการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ออกแล้ว  จะมีการกำหนดวัน เวลา เปิด-ปิด  สำหรับประชาชนผู้ใช้บริการทั่วไป  และวัน เวลาเปิด-ปิดสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีอย่างชัดเจน  และใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ

๑๐.จะทราบได้อย่างไร  ว่าวีซีดี/ดีวีดีภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์นั้นๆ ผ่านการตรวจพิจารณาแล้ว
-ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ซึ่งบรรจุอยู่ในวีซีดี /ดีวีดี หรือวัสดุอื่นใด   หากผ่านการตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์แล้ว  จะมีสติ๊กเกอร์สี่เหลี่ยม  ส่วนใหญ่จะเป็นสีขาวติดอยู่บนปกดีวีดี/วีซีดีด้านหลัง ซึ่งบนสติ๊กเกอร์นี้  จะมีคำว่า “อนุญาต” และลายเซ็นเจ้าหน้าที่อยู่ในเครื่องหมายรูปวงรี  พร้อมทั้งหมายเลขรหัสกท.  ชื่อหนัง  และลายเซ็นผู้ที่บริษัทนั้นๆอนุญาตให้อัดสำเนาจำหน่ายได้  ข้อสำคัญ เครื่องหมายวงรีพร้อมลายเซ็นเจ้าหน้าที่บนสติ๊กเกอร์ดังกล่าวนี้   จะเป็นการพิมพ์ด้วยตรายาง   มิใช่การสำเนาหรือซีร็อก   ดังนั้น  หากสติ๊กเกอร์ใดๆที่ติดบนปกเทป  เป็นลักษณะซีร็อกหรือสำเนาด้วยเครื่องถ่ายเอกสาร  สติ๊กเกอร์นั้นเป็นของปลอม  แม้หมายเลขรหัส  และชื่อหนังจะตรงกับที่ขอมาก็ตาม  นอกจากลักษณะดังกล่าวแล้ว หากวีซีดี /ดีวีดี/ซีดีรอมใดไม่มีสติ๊กเกอร์ติดเลย  ก็แสดงว่า วีซีดี/ดีวีดีภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์นั้นๆไม่ผ่านการตรวจพิจารณาเลยเช่นกัน  ดังนั้น  ผู้จะซื้อไปจำหน่าย  จึงควรระมัดระวัง  มิฉะนั้น  ท่านอาจถูกจับกุมฐานจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจตาม กฎหมาย และยังเป็นเทปเถื่อนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น  โดยท่านไม่รู้ตัว
อนึ่ง   ต่อไปอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ประกอบการ พิมพ์เครื่องหมายอนุญาตที่เป็นวงรีจากโรงพิมพ์เลยก็ได้ เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ซึ่งหากมีเปลี่ยนแปลงเมื่อใด  สวช.ก็จะแจ้งให้ทราบต่อไป

                                   ลิขสิทธิ์ แยกตามความหมาย                  

ดนตรีกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนอง และ คำร้อง หรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว

เผยแพร่ต่อสาธารณชน หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น

นัก แสดง หมายความว่า ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำและผู้ซึ่งแสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด

โสต ทัศนวัสดุ หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้ วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี

สิ่ง บันทึกเสียง หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้ วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่าง อื่น

ทำซ้ำ หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
        
ดัดแปลง หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงาน ขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
                    (5) ในส่วนที่เกี่ยวกับดนตรีกรรม ให้หมายความรวมถึง จัดลำดับเรียบเรียงเสียงประสาน หรือเปลี่ยนคำร้องหรือทำนองใหม่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 12:40:04 น. โดย อนันตชัย2009 »

ออฟไลน์ จุฑาภรณ์ มิวสิคคอมพ์

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2320
  • HL#6D22186E , 6D219861 ,55D8ACCD,(47E55510-XMEN)
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 15:26:44 น. »
อ่านแล้วยังงงๆอยู่เพราะยังตีความไม่ออก รบกวนท่านที่เข้าใจสรุปได้ไหมครับว่า สิ่งที่เราใช้กันอยู่คือไฟล์มิดิที่เล่นด้วยคอมพิวเตอร์ เพราะเราเล่นเพื่อการค้า มันผิด พรบ.หรือเปล่าครับ

ออฟไลน์ อ๊อด ลำพูน

  • คณะก่อการ
  • ระดับ 5
  • ***
  • กระทู้: 1281
  • HL#> 740EB29E
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 15:43:35 น. »
ถ้าอย่างนั้นร้านคาราโอเกะที่ไม่มีภาพ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียงค่าลิขสิทธิ์ใช่ไม่ครับ
ทุกวันนี้ผมเสียปีละ 4-5 หมื่นต่อปี ต่อไปก็ไม่ต้องเสียแล้วใช้ไหมครับ
ขอความกระจ่างผู้รู้หน่อยครับ และจะต้องทำอย่างไรบ้างในขั้นตอนต่อไปเพื่อความถูกต้องครับ

ขอบคุณพี่อนันตชัย2010  ;D มากๆครับที่นำข่าวสารมาเผื่อแพร่ :thank1:

ออฟไลน์ อนันตชัย ระยอง

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • **
  • กระทู้: 16309
  • x-men : 7485488C , 7C842C7A, 12347732
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 16:14:55 น. »
ถ้าอย่างนั้นร้านคาราโอเกะที่ไม่มีภาพ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียงค่าลิขสิทธิ์ใช่ไม่ครับ
ทุกวันนี้ผมเสียปีละ 4-5 หมื่นต่อปี ต่อไปก็ไม่ต้องเสียแล้วใช้ไหมครับ
ขอความกระจ่างผู้รู้หน่อยครับ และจะต้องทำอย่างไรบ้างในขั้นตอนต่อไปเพื่อความถูกต้องครับ

ขอบคุณพี่อนันตชัย2010  ;D มากๆครับที่นำข่าวสารมาเผื่อแพร่ :thank1:

ตามคดีดังกล่าวมันมีการฟ้องแค่ 1 เพลงเองครับ..

การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดฟังเพลงที่มีผู้แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง และมีความชื่นชมในคุณค่าของงานดนตรีกรรมนั้น จนแสดงความชื่นชอบหรือการเข้าใจคุณค่าของงานนั้นโดยการนำมาร้องหรือบรรเลง ให้ปรากฏขึ้นมาเป็นเพลง ถือเป็นการกระทำโดยทั่วไปของมนุษย์ที่สามารถเข้าใจและชื่นชมงานลิขสิทธิ์ได้ และเป็นประโยชน์สาธารณะพื้นฐานที่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาต้องรักษาไว้ โดยต้องคานให้สมดุลกับการรักษาสิทธิผูกขาดของผู้เสียหายที่อ้างว่าเป็นเจ้า ของลิขสิทธิ์เพลง  เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ประกอบกับรายงานการสืบเสาะและพินิจรับฟังเป็นข้อ ยุติว่า ร้านอาหารของจำเลยเป็นร้านอาหารทั่วไปและข้อเท็จจริงในคำฟ้องปรากฏว่า มีผู้ร้องเพลงของผู้เสียหายเพียงหนึ่งเพลงคือเพลง ดอกหญ้าในป่าปูน ในขณะที่ผู้เสียหายเป็นบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมดังกล่าว ดังนี้วัตถุประสงค์และลักษณะของการแสวงหาประโยชน์ของจำเลยซึ่งจัดให้มีการ ร้องเพลงของผู้เสียหายหนึ่งเพลงนั้น น่าจะเป็นไปเพื่อความบันเทิงของลูกค้าในร้านอาหารเท่านั้น ในขณะที่การแสวงหาผลประโยชน์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ เพลงนั้น ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้มีการแสวงหาประโยชน์ที่ซ้ำกันหรืออยู่กลุ่มธุรกิจ เดียวกันกับจำเลยโดยตรง ส่วนผลกระทบไม่ว่าในด้านของการตลาดหรือคุณค่าของลิขสิทธิ์นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยจัดให้มีการร้องเพลง ดอกหญ้าในป่าปูน ในวันเกิดเหตุตามคำฟ้อง สามารถส่งผลกระทบสิทธิของผู้เสียหายจนเกินสมควร ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการร้องเพลงในร้านอาหารตามคำฟ้องขัดต่อ การแสวงหาประโยชน์ตามปกติและกระทบถึงสิทธิของเจ้าของสิทธิเกินสมควรแต่ ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา32 วรรคหนึ่ง

ผมสรุปตามความเข้าใจของผมว่าแค่ 1 เพลงคงไม่ทำให้ผู้เสียหาย (โจทก์) เสียหายมากนัก และู้ผู้ถูกฟ้องก็นำเพลงมาร้องในร้านอาหารพื่อความบันเทิงของลูกค้าในร้านอาหารเท่านั้น (ไม่กระทบสิทธิ์เกินควร)

แต่ถ้ามันมากกว่า 1 เพลง มันอาจจะไม่เข้ากับคดีนี้ครับ...

รอผู้รู้หรือนักกฏหมายมาอ่านแล้วชี้แจงครับ..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 16:40:59 น. โดย อนันตชัย2009 »

ออฟไลน์ วี บุญนิยม

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • **
  • กระทู้: 5862
  • HL#4C9D39A2 จาก อนันตชัย2009
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 16:19:43 น. »
ตามคดีดังกล่าวมันมีการฟ้องแค่ 1 เพลงเองครับ..

ผมสรุปตามความเข้าใจของผมว่าแค่ 1 เพลงคงไม่ทำให้ผู้เสียหาย (โจทก์) เสียหายมากนัก และู้ถูกฟ้องก็นำเพลงมาร้องในร้านอาหารพื่อความบันเทิงของลูกค้าในร้านอาหารเท่านั้น (ไม่กระทบสิทธิ์เกินควร)

แต่ถ้ามันมากกว่า 1 เพลง มันอาจจะไม่เข้ากับคดีนี้ครับ...

รอผู้รู้หรือนักกฏหมายมาอ่านแล้วชี้แจงครับ..

ส่วนมากพวกที่มาจับลิขสิทธิ์จะซื้อใบมอบอำนาจมาเฉพาะบางเพลง
หรือถ้าซื้อหลายเพลงก็เป็นแบบซื้อยกอัลบั้มของศิลปินคนใดคนหนึ่ง
เราก็อย่าเปิดเพลงที่อยู่ในอัลบั้มเดียวกันในช่วงเวลาใกล้เคียงกันครับ
เขาคงไม่มานั่งฟังทั้งคืน ฉะนั้นก็จะได้ฟังเพลงที่จะมาจับแค่เพลงเดียว. ;D

ออฟไลน์ อนันตชัย ระยอง

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • **
  • กระทู้: 16309
  • x-men : 7485488C , 7C842C7A, 12347732
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม 2010, 16:40:09 น. »
เพิ่มเติมในกระทู้นี้ครับ..ครบ 1 ปีพอดีเลย..
http://www.karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=18845.0

ออฟไลน์ หลวงเก่ง

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1563
  • HL#4838749E
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2012, 15:03:16 น. »
ขอบคุณครับ...

ออฟไลน์ บุญหลาย

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 479
  • บุญหลายชาวด์HL#7EE42859 ชื้อจากพี่ เอกสุมหัวมิวสิค
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2012, 16:49:27 น. »
ขอบคุณครับ :happy:

ออฟไลน์ pichad326

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 61
  • HL#76E74888 /HL#98E33AE4 (BATMAN)
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2012, 17:20:41 น. »
 :thank1:ความรู้ มากๆ

ออฟไลน์ Amorn Pattaya

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • **
  • กระทู้: 8395
  • HL#4C89B630 , 6EE74894,789AC331 ( X-men )
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2012, 17:35:44 น. »
 :D :D :D :flower: :flower: :thank1: :thank1: :thank1:

ออฟไลน์ weeray

  • ลงทะเบียน HL
  • กำเนิดใหม่
  • *
  • กระทู้: 4
  • 8FE34E54
Re: เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับ พรบ.ลิขสิทธิ์. (ยาวหน่อยครับ)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: วันที่ 6 ธันวาคม 2012, 19:49:36 น. »
 :thank1: