ผู้เขียน หัวข้อ: ใครเคยใช้บ้างครับ ตัวดีเลย์ดึงเสียง ALTO MAXI-Q หรือใครมีขายมือสอง  (อ่าน 2639 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ สงค์ น้ำค้าง

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 403
  • HL#: 5655AD0F , 2C8F253A , 8F0FCE01 ครูภูม


มีใครเคยใช้ ALTO MAXI Q ดีเลย์ดึงเสียงบ้างครับ เป็นไงบ้าง มีมือสองขายปล่าว ขอทราบหน่อยครับ

จะซื้อมาไว้ใช้เวลางาน 1,500 โต๊ะ อีกครับ เดี๋ยวโดนเจ้าชายกบว่าอีก (ผมก็ยังไม่รู้เลย ว่างาน 1,500 โต๊ะอีกกี่ชาติจะมีให้เล่นอีก)

frog

  • บุคคลทั่วไป
5555555 วันนั้น ที่ไปมีทติ้งที่ MD ที่ระยอง หายไปไหนมา ป๋าสมโภชน์แกบอกใว้หมดแล้ว  ลองถามแกดูดิ  หรือไม่ถามตาธนรรค์ดู  แต่มันต้องใช้โปรแกรมช่วย  ออกมาหายห่วงตาสงค์  ใช้ไดร์แร็คช่วยซิ  เสียงจะผิดกันเยอะ

charoen.da

  • บุคคลทั่วไป
ลองดู A&J DXdrive 260 ครับ

ตัวเดียวจบ ทั้งอีคิว ครอส ดีเลย์ ลิมิตเตอร์

ออฟไลน์ พิมพ์ชนก

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 767
  • HL#8D02910B (กุ้งD4D) 8FE64E59(กุ้งD4D)
 


มีใครเคยใช้ ALTO MAXI Q ดีเลย์ดึงเสียงบ้างครับ เป็นไงบ้าง มีมือสองขายปล่าว ขอทราบหน่อยครับ

จะซื้อมาไว้ใช้เวลางาน 1,500 โต๊ะ อีกครับ เดี๋ยวโดนเจ้าชายกบว่าอีก (ผมก็ยังไม่รู้เลย ว่างาน 1,500 โต๊ะอีกกี่ชาติจะมีให้เล่นอีก)

5555555 วันนั้น ที่ไปมีทติ้งที่ MD ที่ระยอง หายไปไหนมา ป๋าสมโภชน์แกบอกใว้หมดแล้ว  ลองถามแกดูดิ  หรือไม่ถามตาธนรรค์ดู  แต่มันต้องใช้โปรแกรมช่วย  ออกมาหายห่วงตาสงค์  ใช้ไดร์แร็คช่วยซิ  เสียงจะผิดกันเยอะ
     :happy: :D  ดีครับ ผมชอบอารมณ์นี้ครับ เมื่อมีปัญหาก็ต้องแก้ แต่น้อยมากที่คนส่วนมาจะมาบอกเราตรงๆ นอกจากเรารู้ปัญหาและหาวิธีแก้เอง  ยิ่งแชร์ปัญหาและวิธีแก้ด้วยก็ยิ่งสุดยอด ผมยึดคติตัวนี้ติดตัวเสมอการเรียนรู้ไม่จำเป็นที่จะต้องไปเรียนรู้ด้วยตนเองให้เสียเวลา ให้เรียนรู้จากปัญหาและประสบการณ์ของผู้อื่นหรือเอาผิดของผู้อื่นมาป็นครูของเราแล้วเราก็จะไปได้เร็ว   :th2: :happy:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 ธันวาคม 2011, 17:55:52 น. โดย พิมพ์ชนก »

ออฟไลน์ ธนรรค์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 623
  • HL#:: 4C9EB9AC ซื้อจาก ครูภูม
โปรแกรม smarrtlive  งัยครับท่านสงค์ ใช้วัดดีเลย์ของเสียงได้ ใช้ไมค์ RTA ด้วย  แต่การเดินทางของเสียงขึ้นกับอุณหภูมิอากาศด้วย ตอนกลางวันตั้งไว้ดี ดึกๆเพี้ยงซะงั้น ชวนไป AJ_Mitting ที่สุราษร์ก็ไม่ไป smarrtlive ใช้กับ A&J DXdrive 260 เวิร์คสุดๆ แต่ Alto MAXI-Q ก็ใช้ได้ ทั้งคู่ต่อสายควบคุมได้โดยคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อมีโปรแกรมปรับหลายๆอย่างมาให้
มาดูการเดินทางของเสียงกลางวันและกลางคืนครับ



ความรู้เรื่อง smarrtlive
http://www.kce101.com/forums/index.php?topic=180.0  ค่อนข้างละเอียด(สมัครสมาชิกก่อน)  ปรมาจารย์เรื่องนี้สอบถาม ช่างอ๊อด เชียงใหม่ และเฮียสมโภชน์ AJ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 ธันวาคม 2011, 20:52:03 น. โดย ธนรรค์ »

ออฟไลน์ ธนรรค์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 623
  • HL#:: 4C9EB9AC ซื้อจาก ครูภูม
อีกหน่อยครับ
ศาสตร์แห่งเส้นเสียง : เสียงทุ้ม-เสียงแหลม
 
หูของมนุษย์เรา (รวมถึงสัตว์อื่นๆ) เป็นอวัยวะที่มีความสามารถในตรวจจับคลื่นเสียง โดยส่วนของแก้วหู (Ear Drum) ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่เบาและอ่อนบางมากๆ จะสั่นไหวมาก-น้อยและเร็ว-ช้าตามความผันแปรของความดันอากาศที่เดินทางเข้ามาในช่องหู (Ear Canal)

ในกรณีของมนุษย์นั้น หูและระบบประสาทการฟังที่มีสุขภาพและสภาพที่สมบูรณ์จะสามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่จากต่ำสุดที่ 20Hz ขึ้นไปถึงสูงสุดที่ 20,000Hz แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าความไวในการได้ยินเสียงหรือความรู้สึกได้ในการฟังจะเท่ากันหมดในทุกๆ ย่านความถี่

คำว่าความถี่ (Frequency) นั้นเป็นคุณสมบัติหนึ่งของคลื่น โดยจะหมายถึงจำนวนครั้งของรอบการสั่น (Vibration) ของอนุภาคในตัวกลาง (Medium) ซึ่งก็คือจำนวนครั้งของช่วงคลื่น (ช่วงหนึ่งความยาวคลื่น-Wave Length) ที่เคลื่อนผ่านจุดหนึ่งจุดใดไปในช่วงเวลาหนึ่ง โดยหากวัดจำนวนช่วงคลื่นที่เคลื่อนตัวผ่านไปใน 1 วินาที ก็จะเท่ากับความถี่ของคลื่นในหน่วย Hertz (Hz – เฮิร์ซ) นั่นเอง

1 Heartz = 1 Vibration / Second

สำหรับในกรณีของคลื่นเสียงนั้น เสียงที่มีความถี่อยู่ในย่านสูง (Treble) เราก็จะได้ยินเป็นเสียงที่ออกไปทางแหลมเล็ก (High Pitch) ในทางกลับกัน เสียงที่มีความถี่อยู่ในย่านต่ำ (Bass) เราก็จะได้ยินเป็นเสียงที่ออกไปทางทุ้ม (Low Pitch)
เมื่อทำการวัด Sound Pressure หรือค่าความดันของคลื่นเสียงด้วยเครื่อง Oscillator เราจะเห็นภาพบนหน้าจอแสดงระดับความดันคลื่นเทียบกับเวลา ดังแสดงในรูป

ถึงตรงนี้ก็มีเรื่องที่สำคัญมากต่อความเข้าใจในรูปลักษณะของคลื่นเสียง อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าคลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) ไม่ใช่คลื่นตามขวาง เช่นคลื่นบนผิวน้ำ (Transverse Wave) แต่หลายท่านอาจยังมีมโนภาพว่าลักษณะของคลื่นเสียงจะเหมือนกับคลื่นบนผิวน้ำ ภาพด้านบนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก โดยคลื่นเสียง (Sound Wave) จะถูกแสดงเป็นระรอกคลื่นที่เคลื่อนไปเป็นกระแส และภาพที่แสดงบนหน้าจอ (Monitor) ซึ่งจะเห็นเป็นลักษณะเหมือนกับคลื่นบนผิวน้ำนั้นก็คือกราฟแสดงค่าความดันของคลื่นในช่วงเวลาต่างๆ

จากภาพแสดงให้เห็นว่า ที่ช่วงเวลาที่เท่ากันนั้น คลื่นความถี่สูง (High Frequency Wave) จะมีจำนวนช่วงคาบของคลื่น (Period ซึ่งเท่ากับความยาวคลื่น หรือ Wave Length นั่นเอง) เคลื่อนที่ไปได้มากกว่าคลื่นความถี่ต่ำ (Low Frequency Wave) ทั้งนี้ก็เพราะว่าเสียงจะมีความเร็วเท่ากันหมดในทุกช่วงความถี่



 ความถี่ของเสียงในช่วงที่คนได้ยิน (อยู่ในช่วง 20-20,000 Hz) แยกได้เป็น
เสียงร้อง
bass (เสียงต่ำของผู้ชาย) - ความถี่หลัก 70-380 Hz
ความถี่รอง(หางเสียง) 380-10000 Hz
baritone (เสียงระหว่างต่ำกับสูงของผู้ชาย) - ความถี่หลัก 90-400 Hz
ความถี่รอง 400-10000 Hz
tenor (เสียงสูงของผู้ชาย) - ความถี่หลัก 130-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
alto (เสียงต่ำของผู้หญิง) - ความถี่หลัก 160-950 Hz
ความถี่รอง 950-10000 Hz
soprano (เสียงสูงของผู้หญิง) - ความถี่หลัก 210-1200 Hz
ความถี่รอง 1200-10000 Hz

เสียงเครื่องดนตรีชนิดดีด,สี,ตี
bass viola - ความถี่หลัก 30-210 Hz
ความถี่รอง 210-15000 Hz
cello - ความถี่หลัก 50-650 Hz
ความถี่รอง 650-15000 Hz
viola - ความถี่หลัก 130-1200 Hz
ความถี่รอง 1200-15000 Hz
violin - ความถี่หลัก 180-4000 Hz
ความถี่รอง 4000-15000 Hz

เสียงเครื่องดนตรีชนิดเป่า
bass tuba - ความถี่หลัก 40-380 Hz
ความถี่รอง 380-16000 Hz
bassoon - ความถี่หลัก 45-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
bass clarinet - ความถี่หลัก 80-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
french horn - ความถี่หลัก 120-800 Hz
ความถี่รอง 800-16000 Hz
trumpet - ความถี่หลัก 140-850 Hz
ความถี่รอง 850-9000 Hz
clarinet - ความถี่หลัก 160-1600 Hz
ความถี่รอง 1600-16000 Hz
oboe - ความถี่หลัก 240-1600 Hz
ความถี่รอง 1600-16000 Hz
flute - ความถี่หลัก 240-2200 Hz
ความถี่รอง 2200-16000 Hz
piccolo - ความถี่หลัก 500-7000 Hz
ความถี่รอง 7000-16000 Hz


บทความจาก  M.D.HOUSE


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 ธันวาคม 2011, 20:48:08 น. โดย ธนรรค์ »

ออฟไลน์ Amorn Pattaya

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • **
  • กระทู้: 8395
  • HL#4C89B630 , 6EE74894,789AC331 ( X-men )
โอ้!!! อาจารย์...แน่นปึ้กเลย...ขอบคุณที่มาให้ความรู้ครับ... :thank1: :thank1:

frog

  • บุคคลทั่วไป
อีกหน่อยครับ
ศาสตร์แห่งเส้นเสียง : เสียงทุ้ม-เสียงแหลม
 
หูของมนุษย์เรา (รวมถึงสัตว์อื่นๆ) เป็นอวัยวะที่มีความสามารถในตรวจจับคลื่นเสียง โดยส่วนของแก้วหู (Ear Drum) ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่เบาและอ่อนบางมากๆ จะสั่นไหวมาก-น้อยและเร็ว-ช้าตามความผันแปรของความดันอากาศที่เดินทางเข้ามาในช่องหู (Ear Canal)

ในกรณีของมนุษย์นั้น หูและระบบประสาทการฟังที่มีสุขภาพและสภาพที่สมบูรณ์จะสามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่จากต่ำสุดที่ 20Hz ขึ้นไปถึงสูงสุดที่ 20,000Hz แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าความไวในการได้ยินเสียงหรือความรู้สึกได้ในการฟังจะเท่ากันหมดในทุกๆ ย่านความถี่

คำว่าความถี่ (Frequency) นั้นเป็นคุณสมบัติหนึ่งของคลื่น โดยจะหมายถึงจำนวนครั้งของรอบการสั่น (Vibration) ของอนุภาคในตัวกลาง (Medium) ซึ่งก็คือจำนวนครั้งของช่วงคลื่น (ช่วงหนึ่งความยาวคลื่น-Wave Length) ที่เคลื่อนผ่านจุดหนึ่งจุดใดไปในช่วงเวลาหนึ่ง โดยหากวัดจำนวนช่วงคลื่นที่เคลื่อนตัวผ่านไปใน 1 วินาที ก็จะเท่ากับความถี่ของคลื่นในหน่วย Hertz (Hz – เฮิร์ซ) นั่นเอง

1 Heartz = 1 Vibration / Second

สำหรับในกรณีของคลื่นเสียงนั้น เสียงที่มีความถี่อยู่ในย่านสูง (Treble) เราก็จะได้ยินเป็นเสียงที่ออกไปทางแหลมเล็ก (High Pitch) ในทางกลับกัน เสียงที่มีความถี่อยู่ในย่านต่ำ (Bass) เราก็จะได้ยินเป็นเสียงที่ออกไปทางทุ้ม (Low Pitch)
เมื่อทำการวัด Sound Pressure หรือค่าความดันของคลื่นเสียงด้วยเครื่อง Oscillator เราจะเห็นภาพบนหน้าจอแสดงระดับความดันคลื่นเทียบกับเวลา ดังแสดงในรูป
(....)
ถึงตรงนี้ก็มีเรื่องที่สำคัญมากต่อความเข้าใจในรูปลักษณะของคลื่นเสียง อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าคลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) ไม่ใช่คลื่นตามขวาง เช่นคลื่นบนผิวน้ำ (Transverse Wave) แต่หลายท่านอาจยังมีมโนภาพว่าลักษณะของคลื่นเสียงจะเหมือนกับคลื่นบนผิวน้ำ ภาพด้านบนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก โดยคลื่นเสียง (Sound Wave) จะถูกแสดงเป็นระรอกคลื่นที่เคลื่อนไปเป็นกระแส และภาพที่แสดงบนหน้าจอ (Monitor) ซึ่งจะเห็นเป็นลักษณะเหมือนกับคลื่นบนผิวน้ำนั้นก็คือกราฟแสดงค่าความดันของคลื่นในช่วงเวลาต่างๆ

จากภาพแสดงให้เห็นว่า ที่ช่วงเวลาที่เท่ากันนั้น คลื่นความถี่สูง (High Frequency Wave) จะมีจำนวนช่วงคาบของคลื่น (Period ซึ่งเท่ากับความยาวคลื่น หรือ Wave Length นั่นเอง) เคลื่อนที่ไปได้มากกว่าคลื่นความถี่ต่ำ (Low Frequency Wave) ทั้งนี้ก็เพราะว่าเสียงจะมีความเร็วเท่ากันหมดในทุกช่วงความถี่

(....)

 ความถี่ของเสียงในช่วงที่คนได้ยิน (อยู่ในช่วง 20-20,000 Hz) แยกได้เป็น
เสียงร้อง
bass (เสียงต่ำของผู้ชาย) - ความถี่หลัก 70-380 Hz
ความถี่รอง(หางเสียง) 380-10000 Hz
baritone (เสียงระหว่างต่ำกับสูงของผู้ชาย) - ความถี่หลัก 90-400 Hz
ความถี่รอง 400-10000 Hz
tenor (เสียงสูงของผู้ชาย) - ความถี่หลัก 130-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
alto (เสียงต่ำของผู้หญิง) - ความถี่หลัก 160-950 Hz
ความถี่รอง 950-10000 Hz
soprano (เสียงสูงของผู้หญิง) - ความถี่หลัก 210-1200 Hz
ความถี่รอง 1200-10000 Hz

เสียงเครื่องดนตรีชนิดดีด,สี,ตี
bass viola - ความถี่หลัก 30-210 Hz
ความถี่รอง 210-15000 Hz
cello - ความถี่หลัก 50-650 Hz
ความถี่รอง 650-15000 Hz
viola - ความถี่หลัก 130-1200 Hz
ความถี่รอง 1200-15000 Hz
violin - ความถี่หลัก 180-4000 Hz
ความถี่รอง 4000-15000 Hz

เสียงเครื่องดนตรีชนิดเป่า
bass tuba - ความถี่หลัก 40-380 Hz
ความถี่รอง 380-16000 Hz
bassoon - ความถี่หลัก 45-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
bass clarinet - ความถี่หลัก 80-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
french horn - ความถี่หลัก 120-800 Hz
ความถี่รอง 800-16000 Hz
trumpet - ความถี่หลัก 140-850 Hz
ความถี่รอง 850-9000 Hz
clarinet - ความถี่หลัก 160-1600 Hz
ความถี่รอง 1600-16000 Hz
oboe - ความถี่หลัก 240-1600 Hz
ความถี่รอง 1600-16000 Hz
flute - ความถี่หลัก 240-2200 Hz
ความถี่รอง 2200-16000 Hz
piccolo - ความถี่หลัก 500-7000 Hz
ความถี่รอง 7000-16000 Hz
(....)

บทความจาก  M.D.HOUSE



สำเนาถูกต้องครับท่านธนรรค์  ก่อนที่เราจะจัดการเรื่องเสียงเราควรรู้ก่อนครับว่าเสียงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถจัดการและจัดรูปแบบเสียงได้ครับ