ผู้เขียน หัวข้อ: ประเพณีบุญบั้งไฟ  (อ่าน 17341 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mp

  • บุคคลทั่วไป
ประเพณีบุญบั้งไฟ
« เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 09:45:51 น. »
ภาพ : คุณ Seahorse ป่ายิ้ม



เมื่อเอ่ยถึงบั้งไฟ... หลายคนจะนึกถึงยโสธร เป็นอันดับแรกๆที่ขึ้นชื่อความยิ่งใหญ่
ของประเพณีบุญบั้งไฟมานานแสนนานแล้ว

ฤดูฝนปีนี้มาเร็วกว่าทุกปี.. นานมากแล้วที่อยากจะกลับไปร่วมงานประเพณีบุญเดือนหก
ของพี่น้องชาวภาคอิสาน..



ปัจจุบันมีหลายท้องที่ที่กำลังโด่งดัง โดยเฉพาะจังหวัดร้อยเอ็ด และอุบลฯ จะจริงแท้ประการใดต้องตามไปดู



หลายท่านคงจะทราบที่มาที่ไปถึงประเพณีอันเก่าแก่ของงานบุญเดือนหก แต่คนรุ่นหลังๆ
บางส่วนอาจจะรู้บ้างไม่รู้บ้างเกี่ยวกับเรื่องเล่าที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มานาน....

 :11:



mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 09:49:37 น. »


"พระยาแถน" คือเจ้าผู้ครองนครบนฟากฟ้า...อาจจะเปรียบเทียบกับพระอินท์หรือเทวดา
หรือเทพฯ ที่คอยดูแลความร่มเย็นให้กับเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่เบื้องล่างบนฝนแผ่นดิน
คอยดูแลเรื่องฟ้าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล บันดาลความเป็นไป...มาตลอด ซึ่งการเดินทาง
ไปมาระหว่างเมืองมนุษย์กับบนฟ้าไปมาสะดวกสบาย ( เรื่องเล่ามาแบบนั้น )



แต่ความละโมบของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด ตอนกลับลงมา ดันหยิบฉวยขโมยของมีค่าของ
พระยาแถนติดมือลงมาด้วย .... ทำให้เจ้าเมืองแถนโกรธมาก... สั่งรื้อบันไดที่เชื่อมทางขึ้นลง
ตลอดจนจอมปลวกทิ้งเสีย ห้ามให้มนุษย์ขึ้นลง

mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 09:51:09 น. »

จากความอุดมสมบูรณ์ที่เมืองมนุษย์เคยมี ก็เปลี่ยนเป็นความทุกข์ยากลำบาก...
พระยาแถนไม่ยอมเลิกกลั่นแกล้งเมืองมนุษย์ง่ายๆ จนกระทั่งมีผู้มีบุญมาเกิดในเมืองมนุษย์
เป็นลูกเจ้าเมืองนี่ล่ะครับ แต่ดันไปอยู่ในร่างคางคก แล้วเข้าช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เรื่อยมา...
นานเข้าพระยาคางคกได้รวบรวมสรรพสิ่งและทุกชีวิตที่อยู่บนดิน...ทั้งคนทั้ง สัตว์
ยกทัพก่อจอมปลวกทำบันไดขึ้นไปรบกับพระยาแถน.... สุดท้าย พระยาแถนต้องยอมแพ้
ยอมทำตามพระยาคางคกและเหล่ามนุษย์ และพันธมิตรต้องการ...
จะบันดาล ความอุดมสมบูรณ์คืนให้เหมือนเดิม

แต่ มีข้อแม้ว่า... ให้พระยาคางคกรื้อถอนทางขึ้นลงจากฟ้ากับดินออก และเมื่อต้องการสิ่งใด
ขอให้แจ้งข่าวขึ้นมาหาแล้วจะทำตามที่เมืองมนุษย์ต้องการ เนื่องจากระยะทางระหว่าง
ทั้งสองเมืองที่เปลี่ยนไป... กำเหนิดบั้งไฟจึงมีขึ้นตั้งแต่นั้นมาจนปัจจุบัน

mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 09:54:10 น. »


''หนองหาร วิมานร้าง''  คืออีกเรื่องราวบั้งไฟ.... ที่ใครๆ ก็รู้จักชื่อของ '' ผาแดง, นางไอ่ ''
เรื่อง ราวของเมืองมนุษย์ กับเมืองบาดาล ที่ต้องมาเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อคำล่ำลือถึงความงามของ สาวเจ้าชื่อ นางไอ่ ไปไกลจนถึงลูกชายพญานาคชื่อท้าวภังคี
อยากเห็นตัวเป็นๆ จนทนไม่ได้ ... แหกกฎเมืองบาดาล แปลงร่างเป็นกระรอกเผือกเข้ามา
ในสวนที่นางไอ่อยู่... เลยโดนจับไปเป็นอาหารซะ... แต่ที่น่าแปลกก็คือ ยิ่งชำแหละ
เนื้อกระรอกเท่าไหร่ ยิ่งได้ปริมาณมากขึ้นๆ พร้อมๆ กับการแจกจ่ายให้ประชาราษฎร์กินกันทั่วเมือง...



หนุ่มน้อยร่างงามนามผา แดง แห่งเมืองที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งชอบพอกับนางไอ่ ได้ข่าวเรื่องการเสี่ยงทาย
หาคู่ให้ลูกสาวเจ้าเมือง... โดยการแข่งขันจุดบั้งไฟ ก็มาร่วมด้วย ใครจุดได้ขึ้นสูง จะได้ลูกสาว
เจ้าพระยาไปครอง แต่ทุกอย่างก็จบลงด้วยความหายนะของบ้านเมือง เมื่อพญานาคผู้เป็นพ่อรู้ข่าว...
ลูกชายตายจึงยกไพร่พล นาค มาถล่มเมืองหนองหาร จนกลายเป็นหน้ากลอง จมอยู่ใต้บาดาลทั้งหมด....

 :89:

mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 09:56:50 น. »
 >:D

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ส่วนมากต้องอาศัยฟ้าฝนในการทำการเกษตร
โดยเฉพาะการทำนาในภาคอีสาน  ดังนั้นจึงมีประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น 
ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝน
ด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน


ตำนานเรื่องเล่า
          ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่
และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว   
ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น
พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลย
ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพ
เทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพ
ของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้
ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถน
ฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่น หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันที
และถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญาณ
แห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก

          ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนหก จัดเป็นบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม
ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะลงมือทำนาโดยมีจุดประสงค์สำคัญ คือ การขอฝน ชาวบ้านในภาคอีสาน ถือว่าบุญบั้งไฟ
เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะเชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่จัดบุญบั้งไฟก็อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ หรือทุพภิกขภัยแก่ชุมชนได้ สำหรับการจัดงานและการละเล่นในประเพณีบุญบั้งไฟนั้น ในวันสุกดิบ ซึ่งหมายถึงวันที่
ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่บั้งไฟไปยังศาลปู่ตาของหมู่บ้าน เพื่อทำพิธีเซ่นสรวง มีการจุดบั้งไฟที่ใช้ในการเสี่ยงทาย
เพื่อเสี่ยงทายดูความอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จในการทำนาของปีนั้น จากนั้นก็พากันดื่มเหล้าฟ้อนรำรอบ
ศาลปู่ตาเป็นที่สนุกสนาน แล้วก็แห่บั้งไฟไปยังสถานที่จัดงาน หรือหมู่บ้านที่จัดงานบุญบั้งไฟ เพื่อจุดแข่งขันประกวด ประชันกันต่อไป

           ในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "วันโฮม"  จะมีการนำเอาบั้งไฟ
ออกมาแห่แหนกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา    โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟต้องทำ
เป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร     แล้วจุดชนวนให้ดินปืนเกิดการระเบิด ปัจจุบันได้มี
การประกวดความสวยงามและความสูงของบั้งไฟที่พุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าและหากบั้งไฟอันไหนไม่ยอมพุ่งขึ้น
เพราะดินปืนด้าน เจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงในโคลนตมกลางทุ่งนาเป็นการทำโทษ

           ในปัจจุบันบั้งไฟที่ใช้จุดแข่งขันมีหลากหลายที่นิยมเรียกกัน ได้แก่ บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน
ซึ่งมีปริมาณของดินปืนมากน้อย แตกต่างกันไป "บั้ง" แปลว่า "ไม้กระบอก" บั้งไฟเป็นดอกไม้เพลิง
ทำจากกระบอกไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นการบวงสรวงพญาแถน
โดยมีขนาดที่นิยมอยู่ 3 ขนาดคือ

            "บั้งไฟธรรมดา" บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม
            "บั้งไฟหมื่น" บรรจุดินปืนขนาด 12-199 กิโลกรัม
            "บั้งไฟแสน" บรรจุดินปืนขนาด 120-299 กิโลกรัม
            “บั้งไฟล้าน” บรรจุดินปืนขนาด 300 กิโลกรัมขึ้นไป


           ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็เชื่อว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ดีชาวบ้านก็จะพากันเลี้ยงฉลอง
รื่นเริงกันในหมู่ผู้ที่ไปร่วมงาน หากบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้นก็หมายความว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้น
 
 พิธีกรรม ประกอบด้วย
  - การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม
  - การประกวดขบวนรำเซิ้ง
  - การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
  - การแข่งขันจุดบั้งไฟแฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง)
  - การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
สรุป
                 ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคี
ของประชาชนในชุมชน   เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวอีสานเอาไว้ให้สืบทอดถึงลูกหลาน
และสืบสานประเพณีความเชื่อในเรื่องการขอฝนของชาวอีสานที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
อีกทั้งยังเป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
 
 :03:

mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:01:21 น. »
บั้งไฟแสน ไม่ทราบใช้ดินปืนในการทำมากเพียงใด



ท่ามกลางสายฝน..ทุกสายตาจดจ่อ...  :87:



ร่วมแรง..รวมใจ



เอ้า..ฮุย เล ฮุย


mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:04:26 น. »
ใจเต้นตึกตัก...เวลาใกล้เข้ามา



ตรวจสอบ เพื่อความแน่ใจ




mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:05:46 น. »
ไม่ต้องนับถอยหลัง...
DC-12 Volt...

จุดระเบิด....ไป



 ;D ;D ;D



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:16:23 น. โดย บ่าวเฒ่า »

mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:08:54 น. »
สนุก..ตื่นเต้น(ไม่ได้กลัว...แต่ไม่กล้า)
ผู้คนมากมายในวันนั้นยังอยู่กันครับ
ฝนไม่ใช่ปัญหาของที่นี่
ยิ่งใหญ่ที่สุดของวันนี้ คือมาร่วมกันทำสิ่งดี ๆ

 :55:



สามัคคีคือพลัง



เอ้า..ฮึบ  :38:




mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:12:40 น. »
ใจเต้นแรงกว่าเก่าอีก(ถ้าไม่อยากได้ภาพไว้เยอะๆละก็..จ้างก็ไม่เข้าใกล้..ฮึ่ม) :58:



ประเทศไทย..น่าจะเก่งเรื่องจรวด นะ





 8)

mp

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:15:54 น. »
ดีใจยกใหญ่ที่บั้งไฟล้านของตัวเองขึ้นฟ้าแล้วหายไปเลย




ขอร่วมยินดีกับประเพณีที่ดี ๆ ก่อเกิดความสามัคคีของพี่น้องที่ราบสูง


หมายเหตุ: ไปขุดมาเนื่องจากจะฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ เลยเอามาเผื่อแผ่พี่น้องครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:20:39 น. โดย บ่าวเฒ่า »

ออฟไลน์ Nineyod

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 14347
  • 4864146E/786AD800 [วิทยา]8008FCC9
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:25:09 น. »

ประเทศไทย..น่าจะเก่งเรื่องจรวด นะ


มีอยู่ท่านนึง ดร. อาจอง ชุมสาย ครับ ไปอยู่นาซ่า >:D

somjainuk74

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:25:50 น. »
นี่แหละฝรั่งจึงจำไปเป็นแบบ โดยที่ไทยเราไม่ได้จดลิขสิทธิ์ไว้

ออฟไลน์ ชายเสรี

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 2647
  • HL#No 5063144D,1E0047B9 By x-Men
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 10:33:31 น. »
ท่านที่เข้าชมประเพณีการจุดบั้งไฟต้องระมัดระวังตัวให้มากนะครับ เพราะ 2-3 วันที่ผ่านมา ก็ มีข่าวบั้งไฟจุดไม่ขึ้นเพราะสบัดหางขาดเลยพุ่งใส่วงสุรา เสียชีวิตหลายราย

tukae

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 11:23:36 น. »
เห็นหัวข้อกระทู้ ก็เลยคิดถึงความหลัง เมื่อปี 50 และ 51 รื้อรูปภาพเก่า ๆ มาดู มีรูปใครก็ไม่ทราบติดมาด้วย อิ ๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 11:39:02 น. โดย ศิลปินหน้าวัด »

ออฟไลน์ โกวิท ไปนำกันเด้อ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 5506
  • HL#851E9551
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 11:36:26 น. »
คนที่ยืนพิงเสาหน้าตาคุ้นๆนะครับพี่

ออฟไลน์ ลุงกานต์

  • คณะก่อการ
  • ระดับ 5
  • ***
  • กระทู้: 1166
  • HL#: 9F641096
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 11:57:13 น. »
เห็นหัวข้อกระทู้ ก็เลยคิดถึงความหลัง เมื่อปี 50 และ 51 รื้อรูปภาพเก่า ๆ มาดู มีรูปใครก็ไม่ทราบติดมาด้วย อิ ๆ
คือบ่จับโยนลงตมแหน่

tukae

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 14:37:04 น. »
คนที่ยืนพิงเสาหน้าตาคุ้นๆนะครับพี่

ตอนนั้น กล้องจะค้นหาคนหน้าตาดี... ไม่รู้ว่าติดมาได้ไงเหมือนกัน อิ ๆ แต่ก็น่ารักไปอีกแบบครับ...

คือบ่จับโยนลงตมแหน่

แหะ ๆ ลุงกานต์ต้องลองเบิ่งก่อนเด้อครับ...

ออฟไลน์ โกวิท ไปนำกันเด้อ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 5506
  • HL#851E9551
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 14:49:22 น. »
ตอนนั้น กล้องจะค้นหาคนหน้าตาดี... ไม่รู้ว่าติดมาได้ไงเหมือนกัน อิ ๆ แต่ก็น่ารักไปอีกแบบครับ...

แหะ ๆ ลุงกานต์ต้องลองเบิ่งก่อนเด้อครับ...
ใช่พี่คนที่เล่น lectrone เก่งๆ
เห็แว๊บๆในเวปพวกเรา

tukae

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 14:57:12 น. »
ใช่พี่คนที่เล่น lectrone เก่งๆ
เห็แว๊บๆในเวปพวกเรา

ใช่ครับผม... แต่ตอนนั้นเธอยังเด็ก ๆ อยู่ครับ...แหะ ๆ

somjainuk74

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 15:06:19 น. »
คับคล้ายคับคลาเหมือนเคยเห็นที่ไหนมานะ คนใส่เสื้อสีขาว
อ๋อ ในดงกล้วยตานี :grin: :grin: :grin:


ออฟไลน์ พ่อใหญ่หิน

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 3596
  • HL#9C012BFA
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 15:20:29 น. »
โอว์..หม่วนหลาย..ถ้าว่าบุญบั้งไฟ..แถวบ้านพ่อใหญ่หิน..ขอให้แต่ว่ามีบุญบั้งไฟ
ที่ใด เหมารถไปเลย...ฮ่าฮ่า ...ไปเล่นพนัน..เอิ้ก..เอิ้ก..
...อ้าว..อีหล้าคำแพง สาก ไปยืนแมะแปะเสาอยู่จั่งได๋นอนี่...ฟ้าวหลบมาถะแม..
เดี๋ยวเฒ่าหน้าวัด..สิจับยัด ลงตมได๋..5555

somjainuk74

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2009, 15:28:46 น. »
ภาพนี้ต้องขอเก็บเอาไว้ดู ไม่เคยเห็นมาก่อน


tukae

  • บุคคลทั่วไป
Re: ประเพณีบุญบั้งไฟ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: วันที่ 30 พฤษภาคม 2009, 07:12:39 น. »
ภาพนี้ต้องขอเก็บเอาไว้ดู ไม่เคยเห็นมาก่อน

(....)

น่าจะเป็นชุดอัปสรสวรรค์ครับป๋า... สวยแปลกไปอีกแบบ (ชุด) ... อิ ๆ