ผู้เขียน หัวข้อ: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี  (อ่าน 19304 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

toyota

  • บุคคลทั่วไป
เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« เมื่อ: วันที่ 21 พฤศจิกายน 2010, 21:16:36 น. »
เล่นในห้องประชุม เสียงก้องมาก
ทางเข้าหน้าเวทีก็มีผนังสะท้อนไปมา
ฟังไม่ได้เรื่อง ใครมีวิธีแก้ดีๆมาเล่าสู่กันฟังบ้าง..

ออฟไลน์ konEsan

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 194
  • HL#:6D2B1874 เด็กชายเคยโสด HL#:1299E179 เอื้อศิลป
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 21 พฤศจิกายน 2010, 22:30:52 น. »
ที่ว่าฟังไม่รู้เรื่องเสียงพูดหรือเสียงเพลงครับ

toyota

  • บุคคลทั่วไป
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 00:08:10 น. »
เสียงเพลงครับ

ออฟไลน์ ชา นครนม(ว๊อคแมน)

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 3565
  • HL1. 3C0786CF HL2. 8F60CE2C HL3. 5DD8ED51 [X-men]
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 00:22:12 น. »
เสียงเพลงครับ

ลองลดพวกเสียงแหลมลงครับ เสียงไฮแฮท เสียงซิบๆต่างๆ
เอาแค่พอได้ยิน

ออฟไลน์ วิชัยคนธรรพ์

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 3268
  • 740F32AE
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 02:16:18 น. »
ลดเบสกับกระเดืองลงด้วย อิอิ เอาเป็นว่าไม่ต้องอัดรุ่นแรง ให้ห้อง ถ้าเขาทำมาดีก็จะปัญหาน้อย งดใช้เอฟเฟกกับตัวเครื่องดนตรี

ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 06:01:45 น. »
ลดเสียงโลลงครับเพราะมันตามเขาไม่ทัน

ออฟไลน์ ฟองเบียร์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1259
  • HL#NO.55E7ED68 ชายโสด
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 07:26:32 น. »
พยายามใช้เบสกับกระเดื่องชุดที่นิ่มที่สุด....หากป็นไปได้อย่าใช้ลำโพงกระแทกเพราะมันจะทำให้เสียงย้อนไปมา(ก้อง)จนฟังไม่รู้เรื่อง   เจอมาหลายงานแล้วครับ.....โดยเฉพาะแถวๆบ้านดงเย็น อ.บ้านดุงครับ...ไปงานบ่อยครับ

ออฟไลน์ ธนรรค์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 623
  • HL#:: 4C9EB9AC ซื้อจาก ครูภูม
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 08:04:51 น. »
ถ้าเป็นโรงยิม หรืออาคารอเนกประสงค์ ปรับลำโพงหันหน้าเล็งให้ตรงกับประตูทางเข้า ด้านหลังหรือด้านข้าง  ถ้าเป็นห้องแอร์ปรับลำโพงให้ขึ้นสูง หันหน้าลำโพงลงมาที่คนเพื่อให้ตัวคนซับแรงสะท้อน ให้เส้นเสียงกระแทกฝาน้อยที่สุดครับ  พยายามไม่ใช้ตู้ซับจำนวนมาก แต่ใช้ตู้เสียงกลางลายสายเรียงไปสองข้างของโต๊ะงานเลี้ยง ปรับดีเลย์ด้วยครับ ไม่ทราบเหมือนท่านอื่นหรือเปล่าแต่ผมปรับแบบนี้ผ่านมาหลายงานแล้วครับ :flower:

ออฟไลน์ ชัยราชา

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4280
  • HL-6D239873 หมอชาติ
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 08:07:59 น. »
ผมเจอบ่อยมากแต่ไม่มีปัญหา
            1   มอนิเตอร์ที่เรากับนักร้องฟังเอาแค่ได้ยิน
            2   ขยายการวางลำโพงคือมีเบส กลางแหลมหน้าเวทีและห่างออกไปก็ด้านข้างผนังกลางๆห้องสัก 2 หรือ 4 จุด (แค่กลาง แหลม ก็พอ ถ้าจะให้ดีแยกเพาเวอร์ด้วย))แล้วแต่ความกว้างยาวของห้อง
                 แต่ละจุดไม่ต้องเปิดดัง เอานิ่นๆเข้าไว้  หม๊ดปัญหาแน่นอน

ออฟไลน์ หนุ่มเมืองนคร (ไทย)

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 9601
  • HL4C9D39B0(X-men)
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 09:26:06 น. »
เสียงก้องก็เพราะดีนะครับ ..
ผมว่า เสียงก้อง ไม่ต้องแก้ ดีอยู่แล้ว ควรแก้ที่ เพชรลูก... นะ

ออฟไลน์ พี่ตุ้ม

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 2686
  • พี่ตุ้มคนเดิม 8D1C1118
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 10:16:03 น. »
ผมเจอบ่อยมากแต่ไม่มีปัญหา
            1   มอนิเตอร์ที่เรากับนักร้องฟังเอาแค่ได้ยิน
            2   ขยายการวางลำโพงคือมีเบส กลางแหลมหน้าเวทีและห่างออกไปก็ด้านข้างผนังกลางๆห้องสัก 2 หรือ 4 จุด (แค่กลาง แหลม ก็พอ ถ้าจะให้ดีแยกเพาเวอร์ด้วย))แล้วแต่ความกว้างยาวของห้อง
                 แต่ละจุดไม่ต้องเปิดดัง เอานิ่นๆเข้าไว้  หม๊ดปัญหาแน่นอน
ผมก็ทำแบบนี้ครับ  งานลุล่วงด้วยดี

ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 10:23:17 น. »
ผมว่าเสียงก้องก้ดีครับ  แต่ผมชอบเสียงจอห์นกับโจมากกว่าครับ  อิอิ

ทฤษฎีที่ผมใช้คือ  Bass Trap  ครับ




ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 10:55:44 น. »
ตามนี้ครับ


การปรับแก้ปัญหาเสียงก้องสะท้อนในห้องฟังนั้นสามารถแบ่งได้กว้างๆ ออกเป็น 2 ช่วงความถี่คือช่วงเสียงความถี่ต่ำและช่วงความถี่เสียงกลาง-สูง โดยปัญหาในช่วงความถี่เสียงทุ้มต่ำนั้นจะมีความสัมพันธ์กับมิติและขนาดของห้องฟังโดยตรง เนื่องจากความยาวช่วงคลื่นของความถี่ต่ำที่มีระยะเป็นสัดส่วนกับขนาดของห้องฟังนั้นจะทำให้เกิดการสะท้อนกลับไปกลับมา เกิดจุดที่คลื่นเสียงวิ่งเข้ามาเสริมและหักล้างกันกระจายไปในตำแหน่งต่างๆ ทั่วห้อง จึงทำให้เกิดปัญหาเสียงทุ้มในช่วงความถี่ต่างๆ มีอาการเบสบวม-เบลอ-ก้อง-อู้ได้ในหลายตำแหน่งหรือแผ่วเบาลงในอีกหลายตำแหน่ง การแก้ปัญหาเสียงทุ้มนี้ถ้าจะให้ได้ผลดีก็ควรใช้อุปกรณ์ควบคุมเสียงทุ้มโดยเฉพาะอย่างเช่นของ ASC Tube Trap ซึ่งอาจต้องส่งข้อมูลปัญหาไปให้กับทางผู้ผลิตเพื่อจะได้จัดทำชุดอุปกรณ์ควบคุมเสียงส่งมาให้ใช้เฉพาะในแต่ละห้องฟังอย่างได้ผลดีที่สุดและแน่นอนที่ว่าค่าใช้จ่ายนั้นคงไม่เบากระเป๋านัก

เรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาเสียงทุ้มต่ำในห้องฟังยังมีรายละเอียดอยู่อีกมาก แต่จะขอไม่กล่าวถึงในขั้นนี้ โดยจะเน้นไปที่ประเด็นปัญหาเสียงสะท้อนในช่วงความถี่ตั้งแต่ทุ้มกลางขึ้นไปถึงแหลมช่วงบนสุดเป็นหลัก เพราะจะเป็นช่วงความถี่ที่มีผลต่อการแยกแยะมิติเวทีเสียงได้มากกว่าเสียงทุ้มต่ำตามธรรมชาติระบบการได้ยินของมนุษย์ อย่างไรก็ดีปัญหาจากเสียงทุ้มต่ำนั้นสามารถที่จะบรรเทาเบาบางลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนตำแหน่งจุดวางลำโพงร่วมกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ชนิดที่มีลักษณะเป็นฟูกนิ่มขนาดใหญ่ๆ รวมไปถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ควบคุมเสียงประเภทเบสแทรปและรูมจูน (Room Tune) ในรูปแบบต่างๆ

เรื่องวิถีทางในการปรับอคุสติค (Acoustic) สำหรับห้องฟังเพลงนั้นยังเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างฝ่ายที่นิยมการซับเสียงสะท้อนและฝ่ายที่นิยมการกระจายเกลี่ยเสียงสะท้อน แต่กระนั้นก็ยังไม่ถึงกับว่าจะมีกฎเกณฑ์อะไรที่ตายตัวเนื่องจากไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของผู้ใช้งาน โดยบางสำนักก็จะอ้างอิงเทคนิควิธีจากทางฝรั่งฝั่งกระโน้น ทั้งที่จริงๆ แล้วฝรั่งเองก็ยังคิดเห็นและมีแนวทางที่แปลกแยกเช่นกัน ดังนี้จึงเกิดความสับสนได้อย่างกว้างขวางเนื่องจากนักเล่นกลุ่มหนึ่งก็ว่าอย่างหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งก็ว่าอีกอย่างหนึ่ง บางกลุ่มก็อ้างถึงทางสายกลางซึ่งฟังดูเหมือนจะเข้าท่าดี...แต่จะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าจุดไหนคือทางสายกลางเส้นนั้น..!?

ศัพท์สำหรับลักษณะทางอคุสติคที่ค่อนไปทางซับเสียง (Absorbtion) จะเรียกว่า “เดด-Dead” และลักษณะที่ค่อนไปทางสะท้อนเสียง (Reflection) จะเรียกว่า “ไลฝ์-Live”

วัสดุที่สามารถใช้ในการควบคุมเสียงสะท้อนโดยวิธีการซับหรือดูดกลืนเสียงจะได้แก่วัสดุที่มีลักษณะมวลเนื้อที่อ่อนนิ่มเช่นโฟม ฟองน้ำ ผ้า พรม ฯลฯ ส่วนวัสดุที่สามารถใช้ควบคุมเสียงสะท้อนโดยวิธีการเกลี่ยกระจายเสียงให้สะท้อนออกไปในมุมกว้างจะได้แก่วัสดุผิวเรียบแข็งแต่มีลักษณะเป็นร่องซี่เช่นชั้นวางหนังสือ ชั้นวางแผ่นเสียงหรือซีดี ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการควบคุมเสียงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถเลือกหามาใช้งานได้อย่างหนาตาจากท้องตลาด ทั้งอุปกรณ์ประเภทซับเสียงเช่นฟองน้ำซับเสียงของ Sonex, แผงดูดกลืนเสียง (Absorber) รวมไปถึงอุปกรณ์ประเภทกระจายเสียงสะท้อนเช่นแผงไม้ร่องดิฟฟิวเซอร์ (Diffusor)
อุปกรณ์ควบคุมเสียงทั้งชนิดที่ซับและกระจายเสียงสะท้อนนั้น โดยเบื้องต้นจะถูกนำมาใช้ติดตั้งตรงตำแหน่งเสียงสะท้อนแรก (Early Reflections) ภายในห้องฟัง เพื่อลดทอนสัดส่วนของเสียงสะท้อนที่จะวิ่งมายังจุดนั่งฟังทั้งในแง่ของปริมาณและทิศทาง ทว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะใช้ได้ผลดีกับช่วงความถี่เฉพาะบางย่านเท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์ควบคุมเสียงสะท้อนรุ่นหนึ่งก็จะมีช่วงความถี่ที่จะดูดกลืนหรือกระจายเสียงค่าหนึ่งๆ และหากพ้นช่วงความถี่การทำงานนี้ไปแล้วก็แทบจะไม่มีผลอะไรต่อเสียงที่มาตกกระทบเลย โดยเสียงอาจจะทะลุผ่านไปหรือสะท้อนกลับออกมาในสัดส่วนและทิศทางที่ไม่แตกต่างไปจากการไม่ได้ใช้มากนัก
จากข้อเท็จจริงนี้ทำให้ปริมาณเสียงสะท้อนทั้งทุ้มและแหลมภายในห้องฟังนั้นเปลี่ยนแปรไปตามการใช้อุปกรณ์ควบคุมเสียงสะท้อนเหล่านี้ ซึ่งแน่นอนที่จะส่งผลกระทบต่อสมดุลของความถี่เสียงตลอดย่าน-โทนัลบาลานซ์ไปด้วย โดยทางผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ควบคุมเสียงสะท้อนแต่ละรายก็มักจะกล่าวว่าชุดอุปกรณ์ที่ตนผลิตนั้นสามารถใช้แก้ปัญหาเสียงสะท้อนในห้องฟังได้อย่างเบ็ดเสร็จ ทั้งทางฝั่งค่ายที่เน้นการกระจายเสียงสะท้อนหรือซับเสียงสะท้อนเป็นหลัก ในขณะที่ผู้คร่ำหวอดของวงการฯ โดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีผสมผสานกัน

อุปกรณ์ปรับอคุสติคของห้องฟังโดยส่วนใหญ่นั้นถูกออกแบบไว้สำหรับใช้ควบคุมเสียงสะท้อนที่บริเวณผนังด้านข้างรอบๆ ห้อง ทีนี้จากในครั้งก่อนซึ่งเราได้ทราบมาแล้วว่าเสียงสะท้อนแรกนั้นจะมีอยู่บนพื้นและเพดานห้องในช่วงบริเวณระหว่างลำโพงและจุดนั่งฟังรวมอยู่ด้วย ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราจะมีวิธีจัดการอย่างไรกับเสียงสะท้อนตรงตำแหน่งเหล่านี้ได้บ้าง?
ผู้ผลิตบางรายเช่น RPG และ Sonex จะมีอุปกรณ์สำหรับใช้ควบคุมเสียงสะท้อนบริเวณเพดานห้อง โดย RPG จะมีผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Skyline ซึ่งจะใช้วิธีการกระจายเสียงสะท้อนออกไปรอบทิศทาง ในขณะที่ Sonex จะมีฟองน้ำดูดซับเสียงให้เลือกใช้ตามความต้องการ
“แล้วเสียงสะท้อนบนพื้นห้องล่ะ...จะจัดการอย่างไรดี?” คงไม่สะดวกนักเวลาใช้งานห้องฟังหากจะนำฟองน้ำซับเสียงหรือแผงไม้ร่องดิฟฟิวเซอร์มาวางลงบนพื้นห้อง ดังนั้นโดยมากจึงแนะนำให้ใช้พรมที่มีความหนาสักหน่อยมาปูลงบนพื้นอย่างน้อยก็ตรงบริเวณพื้นที่ระหว่างลำโพงและจุดนั่งฟัง ยิ่งถ้าได้พรมที่มีลักษณะเป็นลอนริ้วด้วยก็จะยิ่งดีมาก
ถึงตรงนี้ก็มีข้อคิดที่อยากจะฝากกันไว้ให้ลองตรองดู เพราะเคยได้เห็นผู้ใช้เครื่องเสียงจำนวนไม่น้อยเลยที่นิยมจัดวางชุดอุปกรณ์เครื่องเสียงให้ล่วงล้ำเลยเข้ามาในบริเวณพื้นที่ระหว่างลำโพงและจุดนั่งฟัง ไม่ว่าจะเป็น อินทิเกรทแอมป์, ปรีแอมป์, พาวเวอร์แอมป์, เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ ประหนึ่งเหมือนตั้งใจจะโชว์สินทรัพย์ต่างๆ ประดามี ทั้งๆ ที่พื้นห้องนั้นก็ได้ปูพรมเพื่อควบคุมเสียงสะท้อนเอาไว้เป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าลักษณะพื้นผิวอันเรียบแข็งของตัวเครื่องที่ล้ำเขตลำโพงเข้ามานั้นจะเปลี่ยนสภาพพื้นพรมให้กลายเป็นจุดสะท้อนเสียงได้อย่างรุนแรง ดังนั้นหากพื้นที่ภายในห้องฟังไม่จำกัดจำเขี่ยเกินไปแล้ว การวางอุปกรณ์เครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่ด้านหลังเขตแนวของหน้าลำโพงคือสิ่งเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในทางปฏิบัติ
วัตถุประสงค์ของการปรับสภาพทางอคุสติคของห้องฟังนั้น นอกจากควบคุมและจัดการกับจุดเสียงสะท้อนแรกเพื่อผลทางความชัดเจนของมิติเวทีเสียงแล้ว ยังต้องคำนึงถึงดุลเสียงและความก้องกังวานโดยรวมของหางเสียงในห้องฟังไปพร้อมๆ กันด้วย เนื่องจากจะมีเสียงสะท้อนที่สอง, สาม, สี่...เรื่อยไปก่อนที่เสียงห้วงหนึ่งๆ จะจางหายไป ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค่า RT60 (หรือ Reverberation Time) โดยความหมายคือระยะเวลาที่นับเริ่มจากต้นเสียงกระทั่งระดับความดังของต้นเสียงนั้นลดลงไปจากเดิม 60 เดซิเบล ซึ่งในห้องฟังหรือสถานที่หนึ่งๆ นั้นเสียงในย่านความถี่ต่างๆ อาจมีค่า RT60 ไม่เท่ากัน โดยจะขึ้นอยู่กับขนาดและคุณสมบัติภายในของสถานที่นั้นๆ ว่าจะสะท้อนหรือดูดซับความถี่เสียงช่วงไหนมากหรือน้อยอย่างไร
สถานที่ซึ่งสะท้อนเสียงได้ดีเช่นในโรงยิมเนเซียมจะมีค่า RT60 โดยเฉลี่ยแล้วมากกว่าสถานที่ซึ่งสะท้อนเสียงได้น้อยกว่าเช่นในโรงภาพยนต์ ด้วยเหตุนี้สำหรับห้องที่ใช้ฟังทดสอบเสียงเช่นในห้องควบคุมของสตูดิโอบันทึกเสียงจึงต้องมีการออกแบบ, ทดสอบและปรับแต่งสภาพห้องร่วมกับอุปกรณ์วิเคราะห์ต่างๆ เพื่อให้ได้ค่า RT60 ที่เหมาะสมตลอดย่านความถี่
แต่สำหรับห้องฟังเพลงตามบ้านทั่วๆ ไปนั้นคงไม่ถึงกับต้องซีเรียสมากขนาดที่ว่าทุกๆ อย่างจะต้องได้เปรี๊ยะๆ แบบนั้น ซึ่งคำแนะนำโดยการยึดหลักทางสายกลางจึงถูกนำมาใช้ในเทคนิควิธีปรับแต่งควบคุมเสียงสะท้อนในห้องฟังนั่นเอง
แต่ทางสายกลางนั้นอยู่ตรงจุดไหน? หมายถึงสัดส่วนการซับเสียง 50% และกระจายเสียง 50% อย่างนั้นหรือ? ตรงนี้มักเป็นเพียงคำกล่าวที่ใช้มาตรวัด “ตามความรู้สึก” ของแต่ละบุคคล แต่ถ้าจะอ้างอิงถึง “สิ่งที่ควรจะเป็น” แล้ว...ทางสายกลางนั้นควรจะถูกจำกัดความได้ดังนี้
“หางเสียงความกังวานหรือแอมเบียนส์-Ambience โดยรวมจากคู่ลำโพงที่ได้ยิน ณ จุดนั่งฟังภายในห้องฟังเครื่องเสียง (Playback Room) ไม่ควรมากหรือยาวนานเกินไปกว่าหางเสียงความกังวานที่ถูกบันทึกไว้”
ประเด็นนี้สำคัญมาก เนื่องจากห้องฟังดนตรี “จากเครื่องเสียง” กับห้องฟังดนตรี “จากเครื่องดนตรีจริงๆ” นั้นสามารถจะกล่าวได้ว่าไม่ควรจะมีคุณลักษณะและปริมาณความก้องกังวานที่เหมือนกัน ซึ่งสามารถจะขยายความได้โดยการค่อยๆ ไล่เรียงความคิดเป็นลำดับดังนี้
1. ลองสมมติว่าเรากำลังนั่งฟังคนเล่นเปียโนสดๆ ภายในห้องดนตรีที่มีการซับและเกลี่ยกระจายเสียงสะท้อนได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดหางเสียงและความกังวานที่สอดรับกับต้นเสียงที่ดังแว่วออกมาจากตัวเปียโนได้อย่างไพเราะเสนาะหู
2. การบันทึกเสียงของอัลบัมดนตรีต่างๆ จะทำโดยการนำชุดไมโครโฟนไปวางในตำแหน่งที่จะรับเสียงได้อย่างไพเราะมากที่สุด ซึ่งเปรียบไมโครโฟนได้กับหูของผู้ที่นั่งฟังนั่นเอง
3. หูของผู้ฟังและไมโครโฟนจะได้รับเสียงที่วิ่งตรงจากตัวเครื่องดนตรีพร้อมทั้งระรอกหางเสียงกังวานจากการสะท้อนรอบๆ ห้องดนตรีนั้น และไมโครโฟนก็จะแปลงกระแสระรอกคลื่นเสียงทั้งหมดเป็นกระแสสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปยังเครื่องบันทึกเสียง
จากนั้นเมื่อเรานำผลงานบันทึกเสียงนี้ไปเปิดฟังผ่านทางลำโพงภายในห้องอื่นๆ คู่ลำโพงก็จะถ่ายทอดกระแสระรอกคลื่นเสียงที่ถูกบันทึกไว้ทั้งหมดออกมาให้ได้ยิน ซึ่งแน่นอนที่ว่าหางเสียงหรือความก้องกังวานของเสียงที่ถูกบันทึกไว้อย่างพิถีพิถันนั้นก็จะถูกถ่ายทอดออกมาจากคู่ลำโพงนี้ด้วย และทีนี้หากลองถามต่อไปว่า...
“เราควรได้ยินหางเสียงหรือความก้องกังวานจากการสะท้อนภายในห้องฟังเพิ่มเติมเข้าไปอีกไหม?”
หากลองย้อนกลับไปในห้องดนตรีเมื่อสักครู่นี้ โดยนำลำโพงเข้าไปวางไว้ในห้องดนตรีดังกล่าวและเปิดฟังเสียงที่ถูกบันทึกไว้ ก็เป็นไปได้มากที่จะได้ยินหางเสียงกังวานที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างเสียงที่ถ่ายทอดออกมาจากลำโพงกับเสียงจากการสะท้อนภายในห้องดนตรีนั้น
สรุปคือลักษณะและระดับการสะท้อนของเสียง (รวมถึงการประยุกต์ใช้ค่า RT60) ภายใน “ห้องดนตรี” กับ ”ห้องฟังเสียงจากลำโพง-Playback Room” นั้นไม่ได้หมายความว่าควรจะหรือน่าจะต้องเหมือนกัน ซึ่งห้องที่ใช้สำหรับงานบันทึกเสียงเครื่องดนตรีหลายชิ้นเล่นสดๆ พร้อมกัน (Live Recording Room) โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้อุปกรณ์ประเภทเกลี่ยกระจายเสียงสะท้อน (Diffusor) มากกว่าการใช้วัสดุประเภทซับเสียงสะท้อน (Absorber) เพื่อให้ได้บรรยากาศหางเสียงกังวานหรือแอมเบียนส์ที่เหมาะสมสำหรับงานบันทึกผลงานดนตรีหนึ่งๆ ส่วนห้องฟังเสียงจากลำโพงนั้นกลับควรต้องคำนึงถึงเรื่องแอมเบียนส์ส่วนเกินของห้องในกรณีที่ต้องการเลือกใช้อุปกรณ์ควบคุมเสียงสะท้อนประเภทเดียวกับที่ใช้ในห้องบันทึกเสียงของสตูดิโอ
นอกจากนี้ ยังมีการบันทึกเสียงในสตูดิโออีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะแยกช่องสัญญาณสำหรับบันทึกเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น (Multi-Track Recording) ซึ่งถ้าเป็นเครื่องดนตรีชนิดที่ใช้ไฟฟ้าก็จะต่อสัญญาณตรงเข้าไปที่แผงควบคุม (Console) แต่ถ้าเป็นเครื่องดนตรีชนิดที่ไม่ใช้ไฟฟ้า (เครื่องดนตรีประเภทอคุสติค) รวมถึงเสียงขับร้อง (Vocal) ก็จะถูกบันทึกผ่านไมโครโฟนภายในห้องปิดซึ่งจะบุด้วยวัสดุประเภทซับเสียงสะท้อนก่อนที่จะส่งสัญญาณไปที่แผงควบคุม จากนั้นสัญญาณจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นก็จะถูกบันทึกแยกขาดออกจากกันในแต่ละแทรค (Track) โดยไม่จำเป็นต้องบันทึกเสียงของนักดนตรีทั้งหมดในเวลาพร้อมๆ กัน อีกทั้งในงานดนตรียุคหลังๆ ก็มักจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเล่นให้บ้าง หรืออาจจะให้คอมพิวเตอร์เล่นให้ทั้งหมดอย่างเช่นเพลงที่นิยมทำออกมาในรูปแบบคาราโอเกะทั้งหลาย
สัญญาณเสียงดนตรีเบื้องต้นที่ได้จากการบันทึกเสียงในรูปแบบนี้ จึงพยายามไม่ให้มีเสียงแอมเบียนส์ผสมปนเข้ามาในขณะที่บันทึกเสียง เพราะจะทำให้การปรับแต่งยุ่งยากในขั้นตอนผสมสัญญาณเสียง (Mix-Down) ซึ่งปกติจะเป็นหน้าที่ของซาวเอนจิเนียร์ โดยในขั้นตอนผสมสัญญาณเสียงดนตรีจากแทรคต่างๆ รวมเข้าให้เหลือเพียง 2 แทรค (2 ช่องเสียง-Channel) ก็อาจมีการปรับแต่งเพื่อชดเชยสมดุลเสียงด้วยเครื่องอีควอไลเซอร์ (Equalizer) รวมถึงเครื่องสร้างบรรยากาศเสียงหรือแอมเบียนส์ต่างๆ เช่น เอคโค่ (Echo) หรือความก้องกังวาน (Reverberation) เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ฟังแล้วไม่รู้สึกว่า “เสียงแห้ง”
ผู้ฟังบางท่านอาจไม่เชื่อว่ามีสังกัดดนตรีมากมายในกลุ่มออดิโอไฟล์ (Audiophile) ที่ผลิตผลงานออกมาโดยใช้เทคนิควิธีการบันทึกเสียงแบบนี้ สังเกตได้ง่ายๆ ว่าอัลบัมพวกนี้มักจะมีเสียงลมลอดลิ้นไรฟันของนักร้องออกมาอย่างเด่นชัดเกินจริง หรือไม่ก็จะได้ยินเสียงขยับไม้ขยับมือของนักดนตรีหรืออาจเป็นเสียงขยับเขย่าตัวเครื่องดนตรีดังปนออกมาชัดเจนมากเหมือนกับตั้งใจเน้นกันขึ้นมา ซึ่งแท้ที่จริงนั้นเราต้องการอะไรที่มากไปกว่าความสมจริงหรือ..?
แต่ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเสียงในรูปแบบใดก็จะมีเสียงแอมเบียนส์ผนวกรวมเข้าไว้อยู่ด้วยเสมอ และแอมเบียนส์เหล่านี้คือสิ่งที่จะถูกสร้างขึ้นจากคู่ลำโพงภายในห้องฟังของเรานั่นเอง และไม่ควรถูกบิดเบือนด้วยแอมเบียนส์จากตัวห้องฟังเพิ่มเติมเข้าไปอีก
ด้วยคุณภาพและระดับความดังที่เพียงพอจากชุดเครื่องเสียงจะทำให้เราได้ยินเสียงเครื่องดนตรีพร้อมทั้งแอมเบียนส์ที่ถูกบันทึกไว้ได้ครบถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น...โดยไม่ใช่สิ่งที่ควรจะไปคิดหวังเอาจากแอมเบียนส์ที่มาจากความก้องสะท้อนของตัวห้องฟัง เพราะความเป็นกลางในด้านความกังวานเป็นสิ่งพึงต้องรักษาไว้ให้ได้ใกล้เคียงกับที่บันทึกไว้มากที่สุด
“หาไม่แล้ว แอมเบียนส์ส่วนเกินเหล่านี้จะเป็นอื่นใดไปไม่ได้นอกจากความผิดเพี้ยนที่เกิดขึ้นจากตัวห้องฟังนั่นเอง...ซึ่งไม่ต่างจากการใส่อุปกรณ์ปรับแต่งเสียงหรือในอีกความหมายหนึ่ง “บิดเบือนเสียง” เข้าไปในระบบเครื่องเสียงชุดนั้นๆ ใช่หรือไม่?”
เชื่อว่าแต่ละท่านคงมีคำตอบสำหรับข้อคำถามนี้อยู่แล้วภายในใจ แต่ในทางปฏิบัตินั้นคำถามนี้ได้เคยทำให้นักเล่นเครื่องเสียงจำนวนไม่น้อยถึงกับยืนเอามือปาดเหงื่อบนหน้าผากอย่างท้อใจเมื่อพบว่า เสียงที่ได้ยินจากลำโพงภายในห้องฟังที่ลงทุนไปมากกับชุดอุปกรณ์ควบคุมเสียงสะท้อนราคาสูงหลายขนานของเขานั้นกลับให้หางเสียงและความกังวานล้ำหน้าเกินไปมาก หากเปิดเทียบฟังกับความกังวานของเสียงที่ได้ยินกรณีฟังผ่านทางหูฟังหรือ เฮดโฟน-Headphone
เฮดโฟน-Headphone...อุปกรณ์ที่นักเล่นหลายๆ คนยังคิดว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับนักฟังสมัครเล่น แต่แท้ที่จริงแล้วท่านเชื่อหรือไม่ว่าผู้ออกแบบเครื่องเสียงระดับไฮเอนด์ชั้นนำทั้งหลาย เช่น Krell จะใช้เฮดโฟนร่วมในการทดสอบฟังคุณภาพเสียงของเครื่องที่เขาออกแบบ โดยให้เหตุผลซึ่งเป็นข้อคิดที่นักเล่นทั้งหลายควรตระหนักไว้เป็นฐานทางความคิดว่า การทดสอบฟังด้วยเฮดโฟนจะทำให้รู้บุคลิคที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงของอุปกรณ์เทียบกับเสียงที่ถูกบันทึกไว้มากที่สุด เพราะจะไม่ถูกรบกวนจากแอมเบียนส์ที่เกิดจากเสียงสะท้อนต่างๆ ภายในห้องฟังได้อย่างสิ้นเชิง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจะมีความเป็นกลางโดยเฉพาะในด้านระดับการทอดหางเสียงมากที่สุดนั่นเอง และการฟังเสียงจากลำโพงภายในห้องก็ควรสังเกตและควบคุมเสียงสะท้อนต่างๆ (Primary, Secondary, ฯลฯ) เพื่อให้หางเสียงหรือความกังวานที่ได้ยินในภาพรวม (ที่จุดนั่งฟัง) ไม่ยืดยาวมากเกินไปกว่าสิ่งที่ได้ยินจากการฟังเทียบด้วยเฮดโฟน
สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า "ความเป็นกลาง" ที่ชุดเครื่องเสียงและห้องฟัง "ระดับออดิโอไฟล์" พึงจะต้องเป็น...เว้นแต่จะเป็นการเล่นเครื่องเสียงไปเรื่อยโดยไร้จุดหมายปลายหลักที่เน้นตอบสนองความสนุกชั่วครู่กับลักษณะเสียงต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่สุดแต่จะสรรหามาลองเล่นกันไปเรื่อย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเสียงต่างๆ ที่ได้ยินกันนั้นก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องมหัศจรรย์แต่อย่างใดเลย เพราะหากไม่ใช่ "อุปทานไปเอง" ก็คงจะเป็นการ "รับรู้สึก" ได้จริงๆ...จะมากบ้าง น้อยบ้างก็แล้วแต่...ประเด็นที่สำคัญก็คือควรตระหนักไว้เสมอว่า "เราลงทุนซื้อเครื่องเสียง ปรับห้องฟังไปเพื่อให้มันได้อะไร?" และ "เราควรได้อะไรจากการลงทุนหากไม่ใช่การใช้ฟังดนตรี"
แต่ก็ไม่ถึงกับต้องกังวลใจไปสำหรับการทดสอบแบบนี้หากยังหาเฮดโฟนคุณภาพสูงระดับสตูดิโอมอนิเตอร์มาใช้ไม่ได้ เพราะถ้าต้องการเพียงเพื่อจะเทียบวัดระดับการทอดหางเสียงและความกังวานที่ถูกบันทึกใว้ในสื่อ ก็สามารถใช้หูฟังทั่วๆ ไปแบบที่ใช้ฟังกับเครื่องเล่นชนิดพกพาทั่วๆ ได้เหมือนกัน ซึ่งคิดว่า...คงได้สนุกกับการทดสอบนี้กันแน่ๆ ครับ และอาจได้ปาดเหงื่อกันให้แขนกิ่วกันบ้างกระมัง
หรือหากท่านใดมีโอกาสไปเยี่ยมเยือนห้องฟังของเพื่อนฝูงแล้วจะลองทดสอบด้วยวิธีนี้ก็เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะลองเล่น ลองฟังผลทางเสียงของอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ เพราะอย่างน้อยๆ ห้องนั้นควรจะมีความเป็นกลางทางความกังวานที่ดีก่อนเป็นพื้นฐาน


ที่มา

ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
Re: เราจะแก้เสียงก้องยังไงดี
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 11:14:30 น. »
ลองโหลดตัวอย่างและเทคนิคการแก้ไข  ไปประยุกต์ใช้งานกับสถานที่จริงนะครับ

โหลดได้ที่นี่ครับ

ขอขอบคุณ  http://www.sound-map.com