ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธวจนสวัสดี  (อ่าน 12657 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 10:40:13 น. »
96 พุ ท ธ ว จ น
๒๖
ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผล
ของบุคคลทั่วไป
(นัยที่ ๒)

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้
เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว (เอกนฺตนิพฺพิท) เพื่อความคลายกำหนัด
(วิราค) เพื่อความดับ (นิโรธ) เพื่อความสงบ (อุปสม) เพื่อความ
รู้ยิ่ง (อภิญฺญ) เพื่อความรู้พร้อม (สมฺโพธ) เพื่อนิพพาน.
๕ ประการ อย่างไรเล่า ?
๕ ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ :-
๑. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่;
๒. เป็นผู้ มีปกติสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่;
๓. เป็นผู้ มีปกติสำคัญว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่;
๔. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่;
๕. มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้า ไปตั้งไว้ดีแล้ว
ในภายใน อยู่.

ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 97
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล
เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๔-๙๕/๖๙.

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 10:41:24 น. »
98 พุ ท ธ ว จ น
๒๗
ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผล
ของบุคคลทั่วไป
(นัยที่ ๓)
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อ
ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
ธรรม ๕ ประการอย่างไรเล่า ?
๕ ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ :-
๑. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่;
๒. เป็นผู้ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่;
๓. เป็นผู้ มีความสำคัญว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่;
๔. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่;
๕. มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้า ไปตั้งไว้ดีแล้ว
ในภายใน อยู่.

ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 99
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล
เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๕/๗๐.

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 10:45:17 น. »
100 พุ ท ธ ว จ น
๒๘
ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผล
ของบุคคลทั่วไป
(นัยที่ ๔)

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ
เป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นอานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติ
เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์.
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ :-
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่;
๒. เป็นผู้ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่;
๓. เป็นผู้ มีความสำคัญว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่;
๔. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่;
๕. มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้า ไปตั้งไว้ดีแล้ว
ในภายใน อยู่.

ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 101
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล
เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ
เป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นอานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติ
เป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์.
เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอน
เสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้
ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึกปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้
ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภกิ ษชุ อื่ วา่ เปน็ ผถู้ อนลมิ่ สลกั ขนึ้
ได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อ
ว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้ แล.

102 พุ ท ธ ว จ น
ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุนำให้เกิดใน
ภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล
ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้ แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้
อย่างนี้ แล.
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้ แล.

ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 103
   ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้
ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัส๎มิมานะเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธง
ลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะใดๆ อย่างนี้ แล.
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๕-๙๗/๗๑.

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 10:49:39 น. »
           สัมมาสังกัปปะ
          (ความดำริชอบ)

106 พุ ท ธ ว จ น
๒๙
ผู้มีความเพียรตลอดเวลา

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่ ถ้าเกิด
ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความ
ครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด
ในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอา
ความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไป
จนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังเดินอยู่ ก็เรียกว่า
เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป
เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่ ถ้าเกิด
ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความ
ครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด
ในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอา
ความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลง
ไปจนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ ก็เรียกว่า

ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 107
เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป
เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่ ถ้าเกิด
ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความ
ครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด
ในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับเอา
ความครุ่นคิดนั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไป
จนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่า
เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป
เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนอนอยู่ ถ้าเกิด
ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความ
ครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิด
ในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็ไม่รับ
เอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุด
ลงไปจนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้แม้กำลังนอนอยู่

108 พุ ท ธ ว จ น
ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งอัน
เป็นบาป เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผา
กิเลสอยู่เนืองนิจแล.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๖-๑๘/๑๑.

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 10:52:04 น. »
ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 109
๓๐
ผู้เกียจคร้านตลอดเวลา

   ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่ ถ้าเกิด
ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วย
ความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความ
ครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุ
ก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก
ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้
แม้กำลังเดินอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส
ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียร
อันเลวทรามอยู่เนืองนิจ.
เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความ
ครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทาง
เดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่น
ให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้
ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไป จนไม่มีเหลือ;

110 พุ ท ธ ว จ น
   ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำ
ความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป เป็น
คนเกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิจ.
เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความ
ครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทาง
เดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่น
ให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิด
นั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไป
จนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่า
เป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป
เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิจ.
เมื่อภิกษุกำลังนอนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วย
ความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดใน
ทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำ
ผู้อื่นให้ลำบากเปล่าๆ ขึ้นมา, และภิกษุก็รับเอาความครุ่นคิด
นั้นไว้ ไม่สละทิ้ง ไม่ถ่ายถอนออก ไม่ทำให้สิ้นสุดลงไป

ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 111
จนไม่มีเหลือ; ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำ�ลังนอนอยู่ ก็เรียกว่า
เป็นผู้ไม่ทำความเพียรเผากิเลส ไม่รู้สึกกลัวต่อสิ่งอันเป็นบาป
เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรอันเลวทรามอยู่เนืองนิจ.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๖/๑๑.

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 10:56:13 น. »
       
    ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ

       ภิกษุทั้งหลาย !
ปฏิปทา ๔ ประการ เหล่านี้ มีอยู่;
คือ :-
   ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,
   ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,
   ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,
   ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

ฉบับ ๔ มรรค วิธีที่ ง่าย 115
แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า
   ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติ
เห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร
มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ
๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของ
เธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้
ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ
ได้ช้า :
   ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า .

116 พุ ท ธ ว จ น
แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว
   ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติ
เห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี
สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ
๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้
ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้น
จึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 10:57:46 น. »
แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า

    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัด
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียดดังที่
แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ
๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้
ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์
ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้น จึง บรรลุอนันตริยกิจ
เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า :
    ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า .

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 10:58:41 น. »
118 พุ ท ธ ว จ น
แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว

    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัด
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำ�ลังของพระเสขะ
๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของ
เธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์
ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ
เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
    ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๐๒-๒๐๔/๑๖๑-๑๖๒.

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 11:00:18 น. »
     
           สาธุ

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: พุทธวจนสวัสดี
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2013, 11:03:01 น. »
คำสอนของพระองค์ เป็นอกาลิโก...  :flower: :flower: :flower:

ถูกต้องแล้วครับ