eXtreme Karaoke

หมวดหมู่ทั่วไป => บทความ ความรู้ วิชาการ ด้านต่าง ๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 20 กันยายน 2009, 23:24:45 น.

หัวข้อ: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 20 กันยายน 2009, 23:24:45 น.
เบาหวาน(Diabetes melitus ; DM)

         เบาหวาน คือ ?
         ตอบ  ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่าปกติ อาจเกิดจากการขาดอินสุลินหรือจากเนื้อเยื่อของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินสุลิน (Insulin คือ ฮอร์โมนที่ช่วยพาน้ำตาลกลูโคส เข้า ไปในเซลล์)

         การวินิจฉัย ตามเกณฑ์ของของ American diabetic association เอาข้อใดข้อหนึ่ง
1. fasting plasma glucose (FPG) งดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. ตรวจFPGแล้วมีค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dl 2 ครั้ง ตรวจห่างกัน 3-7 วัน
2. Random plasma glucose มากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dl โดยมีอาการของเบาหวานร่วมด้วย ได้แก่ กินจุ น้ำหนักลด
กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะกลางคืน(นอนแล้วต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป)  
3. 75 g OGTT มากกว่า 200 mg/dl
4. มี ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน DKA, ภาวะเลือดมีHyper osmolar จากเบาหวาน HHS, ชัก จากเบาหวาน Focal hyperglycemic seizure

รักษาหายหรือไม่?
- รักษาไม่หาย อยู่กับเราไปจนตาย ขึ้นอยู่กับเราควบคุมอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี หากคุมไม่ดีก็อาจเกิด ภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้

      ใคร ? ที่ควรมาตรวจเบาหวาน
- ผู้ที่มีอาการของเบาหวาน (กินจุ น้ำหนักลด กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะกลางคืน(นอนแล้วต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป))
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่
     1. อายุมากกว่า 40 ปี
     2. อ้วน BMI มากกว่า 23 kg/m2 [BMI=น้ำหนักเป็นkg/(ส่วนสูงเป็นเมตร)2]
     3. เป็นความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดผิดปกติ
     4. มีประวัติเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM)

     เบาหวาน มีกี่ประเภท?
มี 4 ประเภท คือ
    1. DM type 1 ลักษณะ ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นตั้งแต่อายุน้อย เช่น 10-20 ปี รูปร่างมักจะผอม อาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะ DKA
    2. DM type 2 ลักษณะ ผู้ป่วยเริ่มเป็นตอนอายุมากกว่า 40 ปี รูปร่างมักจะอ้วนลงพุง ท้วม สามารถเกิด DKA ได้หากมีภาวะติดเชื้อรุนแรง
    3. เบาหวานจากโรคอื่นๆ เช่น Steroid abuse ติดยาสเตียรอยด์  Chronic pancreatitis ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
    4. Gestational DM (GDM) เบาหวานที่เกิดในขณะตั้งครรภ์ รักษาหาย หากไม่รักษาหลังคลอดอาจกลายเป็น DM type2 ได้

หลักการรักษา
- หากระดับ FPG 126-200 รักษาด้วยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
- FPG 200-250 มักไห้ยาลดระดับน้ำตาล ควบคู่กับการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
- รักษาด้วย Insulin

ควบคุมน้ำตาลให้ได้เท่าไรจึงจะดี?
- FPG 90-130
- ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร น้อยกว่า 180
- HbA1C ตรวจทุก 6 เดือน เอาน้อยกว่า 6.5%

ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน มีอะไรบ้าง?
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1. ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดใหญ่ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)  โรคหัวใจขาดเลือด(Ischemic heart disease) เป็นต้น
2. ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็ก ได้แก่
   2.1 Diabetic nephropathy ทำให้เกิดไตวายเรื้อรังได้
   2.2 Diabetic retinopathy จอประสาทตาเสื่อม ทำให้ตามัว-ตาบอดได้ มักเกิดในรายที่ เป็นเบาหวานอย่างน้อย 10 ปีล
   2.3 Diabetic neuropathy  ผู้ป่วยมักมีอาการชาปลายมือปลายเท้า ควรสวมรองเท้าให้พอดี ไม่อับชื้น ตรวจเท้าก่อนนอน เพราะหากมีบาดแผลที่เท้าจะไม่มีความรู้สึกเจ็บและติดเชื้อได้ง่ายเพราะเส้นเลือดส่วนปลายไม่ดี  เท้าอาจเน่า(Diabetic foot) แล้วลงท้ายด้วยการตัด นิ้วเท้า-เท้า-ขา

รูปแสดงจอประสาทตาที่เป็น Diabetic retiopathy
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/3f/Fundus_photo_showing_scatter_laser_surgery_for_diabetic_retinopathy_EDA09.JPG/800px-Fundus_photo_showing_scatter_laser_surgery_for_diabetic_retinopathy_EDA09.JPG)

รูปแสดง Diabetic foot ต้องตัดเท้าทิ้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดและไตวายเฉียบพลัน
(http://www.erc.montana.edu/biofilmbook/MODULE_07/IMAGES/DiabeticFootUlcer350w.jpg)
(http://www.ispub.com/ispub/ijmb/volume_5_number_2_18/surveillance_on_multi_drug_resistant_organism_mdro_associated_with_diabetic_foot_ulcers_in_pondicherry_1/mdro-fig1.jpg)
(http://www.reversegangrene.com/image_foot_after_amputation.jpg)

รูปแสดง ผู้ป่วยไตวาย จาก Diabetic nephropathy ต้องฟอกไตทางหน้าท้อง วันละ 4 ครั้ง
(http://www.aafp.org/afp/20041115/photo_f1.jpg)




หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: อนันตชัย ระยอง ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 08:49:10 น.
ขอบคุณครับ..
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: ยุทธเดชช ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 08:58:59 น.
ผมก็เพิ่งจะตรวจเจอปีแรก :cry:
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: winit ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 11:02:45 น.
 :thank1: :thank1:
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: sriAROON ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 11:05:49 น.
ขอบคุณ ท่าน "หมอแม็ค"  หมอ/แพทย์ใหญ่ และ กูรู ด้าน sound ประจำบอร์ด karaoke-soft.com ครับ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 18:09:39 น.
ขอบคุณ ท่าน "หมอแม็ค"  หมอ/แพทย์ใหญ่ และ กูรู ด้าน sound ประจำบอร์ด karaoke-soft.com ครับ
ขอบคุณครับ :thank1: :thank1: 
แต่ผมยังไม่ได้เป็นหมอใหญ่นะครับ เป็นแค่ นศ.พ.ปี 5 ตัวเล็กๆ ที่ช่วยดูแลคนไข้แบบอ้อมๆ มากหน่อยก็เย็บแผล ทำแผล ที่ท่านเห็นๆกันนั่นแหละ ครับ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: james-giggs ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 18:16:00 น.
ขอบคุณครับ :thank1: :thank1: 
แต่ผมยังไม่ได้เป็นหมอใหญ่นะครับ เป็นแค่ นศ.พ.ปี 5 ตัวเล็กๆ ที่ช่วยดูแลคนไข้แบบอ้อมๆ มากหน่อยก็เย็บแผล ทำแผล ที่ท่านเห็นๆกันนั่นแหละ ครับ
:thank1: :th2: :th2: :th2: :happy:
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 19:35:04 น.
ผมก็เพิ่งจะตรวจเจอปีแรก :cry:
ตรวจเจอครั้งแรกควร ตรวจตากับจักษุแพทย์นะครับ screening เรื่อง Diabetic retinopathy เพราะไม่รู้ว่าเราเป็นเบาหวานมาก่อนตรวจเจอกี่ปี
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: วิชัยคนธรรพ์ ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 21:09:52 น.
กำผมไม่อยากคิดครับ บ้านผมเป็นกันเกือบทุกคน - -*
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: หนุ่มเมืองนคร (ไทย) ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 21:20:46 น.
ตรวจเจอครั้งแรกควร ตรวจตากับจักษุแพทย์นะครับ screening เรื่อง Diabetic retinopathy เพราะไม่รู้ว่าเราเป็นเบาหวานมาก่อนตรวจเจอกี่ปี
ผมตรวจเจอครั้งแรก น้ำตาล340 ใขมัน 405 หมอโวยลั่นอยู่ได้ยังไง จะจับผมนอนโรงพยาบาลท่าเดียว ผมดื้อ ซดเบียร์แกล้มยาอยู่ มันก็ไม่เห็นเป็นไง ปัจจุบัน น้ำตาลวิ่งๆขึ้นๆลงๆ 130 -200 แต่ความดัน หมอบอกแทบไม่น่าเชื่อ 70-110 มันของเด็กนี่หว่า ตรวจแล้ว ปอด ไต หัวใจ ปกติครับ ผมก็ไม่เชื่อตัวเองเหมือนกัน แต่ตอนนี้ อาการคือเนื่อยเร็ว เดินขึ้นตึกไปสอนเด็กแทบแย่ทุกวัน ทางเพศไม่ต้องถาม เรียบร้อยโรงเรียนเบาหวานไปแล้ว ฮือฮือๆๆ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: ยุทธเดชช ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 21:26:19 น.
ตรวจเจอครั้งแรกควร ตรวจตากับจักษุแพทย์นะครับ screening เรื่อง Diabetic retinopathy เพราะไม่รู้ว่าเราเป็นเบาหวานมาก่อนตรวจเจอกี่ปี

ตรวจทุกปี  แต่เพิ่งเจอปีนี้  120ครับ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: ppl ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 21:46:22 น.
ดื่มน้ำใบมะยมตอนเช้า ก่อน7โมงเช้าทุกๆวันช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดีค่ะ
หรือใครที่ชอบทานส้มตำ ลองหายอดใบมะยมมาทานแกล้มดูค่ะ อร่อย น้ำตาลในเลือดก็ลดลงด้วยค่ะ
ถ้าหาใบมะยมมาคั้นน้ำทานยากนักก็แนะนำให้ดื่มน้ำแครอทแทนก็ได้นะคะ แต่ได้ผลน้อยกว่าน้ำใบมะยมค่ะ
อันนี้เป็นวิถีทางธรรมชาติบำบัดซึ่ง หมอแป้ง ใช้รักษาคนไข้ได้ผลอยู่ค่ะ
โดยเฉพาะโรคเบาหวานและมะเร็ง ของถนัดของ หมอแป้ง เลยค่ะ :hap3:
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 21 กันยายน 2009, 22:53:11 น.
แต่ตอนนี้ อาการคือเนื่อยเร็ว เดินขึ้นตึกไปสอนเด็กแทบแย่ทุกวัน
ลองเช็ค หัวใจใหม่นะครับ เนื่องจากอาการเหนื่อยง่าย หลังจากมีการออกแรง บ่งบอกว่าการทำงานของหัวใจแย่ลง  จากสาเหตุใดนั้นไม่ทราบต้อง work up หาสาเหตุอีกที อาจเป็นโรคเดียวกัน หรือคนละโรค
ถ้าหากเป็นโรคหัวใจ(หัวใจวาย) อาการที่สำคัญคือ เหนื่อยง่าย ชอบนอนหมอนสูง  บางครั้งนอนหลับไปแล้วต้องลุกขึ้นมาหอบเหนื่อยตอนกลางคืน ขาบวมกดบุ๋ม 2 ข้าง  

Functional class ของหัวใจ
class 1 ทำงานหนักๆถึงเหนื่อย -----คนปกติ
class 2 ทำงานได้ตามปกติ แต่เหนื่อยเร็ว เช่น เดินขึ้นบันได ชั้น2 ได้แต่เหนื่อยมาก
class 3 ทำงานเล็กๆน้อยๆก็เหนื่อย เช่น แปรงฟัน อาบน้ำก็เหนื่อย
Class 4 นอนอยู่เฉยๆก็เหนื่อย อันนี้ เป็นมากแล้ว

การตรวจ หัวใจ ง่ายสุดคือ ตรวจร่างกาย ดู คลำ ฟัง อันนี้หมอจะเป็นคนตรวจ
การส่งตรวจเพิ่มเติม  ได้แก่ X-ray ทรวงอก ดูขนาดของหัวใจ อันนี้ sensitivity ต่ำ
การตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ อันนี้ sens สูงหน่อย
การอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echo cardiogram) อันนี้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติ ได้ ตั้งแต่ หลอดเลือด ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ รวมถึงการทำงานด้านต่างๆของหัวใจ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: บ่าวบุรีรัมย์ ที่ วันที่ 24 เมษายน 2010, 21:17:34 น.
เพิ่งเข้าครอสอบรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากรพ.บุรีรัมย์  ฟังบรรยายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเบาหวานและความดันโลหิตสูงก็เลยขอเล่าสู่พี่ๆน้องๆฟัง  สรุปเรื่องเบาหวานเรากินอาหารทุกอย่างมันก็จะย่อยเป็นนำ้ตาลโดยมีโฮโมนอินสูรินเป็นตัวช่วยนำน้ำตาลไปสู่เซลร่างกาย (ตับอ่อนแหล่งผลิตอินซูริน) หากน้ำตาลในกระแสเลือดสูง แสดงว่าร่างกายเริ่มผิดปกติ อาจจะเิกิดได้หลายสาเหตเช่นอินซูลินมากหรือน้อยเกินไป  หมอจึงให้เลือกกินอาหารที่พอเหมาะ อาหารแต่ละประเภทมีแครอรี ต่างกันมาก  ต้องเลือกกินไปอบรมได้กินแต่แกงส้ม  น้ำพริกผัก และผลไม้  รวมๆก็คืออาหารที่มีแครอรีต่ำ กินให้หายหิว มากเกินก็ไม่ดี  การรักษาตัวเองต้องช่วยตัวเองก่อน เรื่องการกิน  ออกกำลังกาย ที่สำคัญคือตรวจร่างกายเช็คสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้งก็ยังดี  หมอจะพิจรณาเรื่องการทานยา(ควบคุม)ตามอาการ ถามว่าเป็นเบาหวานหายขาดไหม  ตอบว่าไม่หายครับเพียงแต่เราต้องรักษาให้มันลดลงและอยู่ในระดับที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย  บางคนอาการไม่แสดงแต่ก็ต้องทานยารักษาระดับไว้นะครับ ไม่ใช่เป็นมากถึงไปหาหมอและทานยา  เป็นเบาหวานสามารถถอนฟันได้ไหม ตอบได้ ถ้าเรารักษาเบาหวานอย่างต่อเนื่อง หลายคนกลัวต้องตัดนิ้วตัดขามันเป็นโรคที่เป็นกันมากครับตอนนี้  คนไทยชอบกินกินทุกอย่างที่ขวางหน้า  ปัญหาจึงตามมามากมาย  แต่ก็อดสงสัยไม่ได้พี่ๆน้องที่ชอบดื่มเหล้า ดื่มแล้วมันมีสารอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากจะทำให้เส้นเลือดตีบตันก็ลองคิดพิจารณาดู  ใครกลัวเบาหวานก็เพลาๆหน่อยก็ดี ไปเห็นคนป่วยเบาหวานตัดนิ้วตัดเขา เป็นแผลรักษาไม่หาย  ผมว่าเลิกเหล้าหันมาดูใส่ใจสุขภาพกันเถอะ อัมพฤกอัมพาตมันจะถามหาเอานะครับ  หมอบอกว่าการดิ่มเบียร์ดื่มเหล้าช่วยแก้คนความดันต่ำความดันสูงไม่ได้นะครับ  มันคนละเรื่องเข้าใจผิดกัน  หมั่นออกกำลังกาย  เลือกทานอาหารแครอรีต่ำๆ  ที่สำคัญอารมณแจ่มใสเข้าทางพี่น้องเราเลยเพราะชีวิตเราอยู่กับเสียงเพลง อยู่กับดนตรีอยู่แล้ว  ก็อวยพรให้ทุกท่านมีสุขภาพกาย  กำลังใจ อยู่ในโลกใบนี้อย่างมีควาสุขทุกๆท่าน  สวัสดี
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: อ.ชุม สีหมอก ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 10:12:52 น.
ผมมียาดี เห็นเพื่อนกินหาย  บางคนก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ คนที่เป็นแผล ทั้งกินทั้งทา  แผลก็หาย ไม่รู้ว่าบางคนถูกกับยาหรือเปล่า  แต่ที่ชัดเจนที่สุด ริดสีดวงหายขาด ใครสนใจติดต่อได้ในข้อความส่วนตัว
 
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: เด็กชายเคยโสด ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 10:16:10 น.
อย่าบอกว่ารักษาโรคเบาหวานหายนะครับเพราะนั่นคือการโกหกครับ  ไม่มีทางครับ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: เดวิด ณ.นครราชสีมา ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 13:23:14 น.
ผมก็เป็นครับ ก็เพิ่งตรวจเหมือนกันครับ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: พชรมิวสิค กรุ๊ป ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 13:43:40 น.
เป็นตา..ย้าน..
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: อ.ชุม สีหมอก ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 14:18:06 น.
อย่าบอกว่ารักษาโรคเบาหวานหายนะครับเพราะนั่นคือการโกหกครับ  ไม่มีทางครับ
ไม่รู้ว่าหายขาดหรือเปล่าแต่แผล ไม่ลุกลามแล้ว วัดน้ำตาลในเลือดก็เริ่มลดลง ตัวผมเองก็กินอยู่ แต่ตัวผมเองไม่ได้ป่วยเป็นอะไร กินไปเพื่อสร่างภูมิคุ้มกัน  และอีกอย่างผมดื่มเหล้าบ่อย ยานี้จะไปช่วยล้างตับอ่อน ที่คนเราป่วยก็เพราะตับอ่อน ขับสารพิษออกจากร่างกายไม่ได้ เราจะรอให้ป่วยก่อนแล้วค่อยกินยาหรอ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: NoiMusic ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 15:24:19 น.
โรคภัยไข้เจ็บมันชอบผู้ไม่ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายครับ,,,วันๆเราเจอแต่สารพิษหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ใช้อาหารเสริม(ระดับโลกหน่อยนะ)เป็นตัวช่วย.. อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ออกฤทธิ์โดยการนำน้ำตาลจากเลือดเข้าไปในเซลล์ของร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน ในผู้ป่วยที่ขาดอินซูลินหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ( ดื้อต่ออินซูลิน) ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจึงเกิดโรคเบาหวาน.. โมเลกุลของอินซูลินประกอบด้วยกรดอะมิโนเรียงตัวกันเป็นโซ่เอ chain A และโซ่บี chain B และมีเปปไทด์เชื่อมให้เป็นสายเดียวกัน สายเอมีกรดอะมิโน 21 ตัว สายบีมีกรดอะมิโน 30 ตัว สายเอและสายบีเชื่อมกันโดย disulfide bond สองพันธะภายในสายเอยังมี disulfide bond กรดอะมิโนคือหน่วยย่อยสุดของโปรตีน,,..ดังนั้นต้นเหตุอยู่ที่ตับครับ หาโปรตีนดีๆคุณภาพสูงๆและเข้มข้นมาบำรุงมันซะ...แนะนำนิวทรีไลท์ครับผมทานประจำมาเป็นปีแล้ว..ดีมากขอบอก(ไม่ได้มาขายนะครับ)....เหอๆๆๆๆ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: เคนยา ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 15:36:16 น.
ได้อ่าน และได้ดูภาพประกอบแล้ว  น่ากลัว   เป็น ตา....ย้าน...หลาย
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: เด็กชายไพศาล ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 15:39:35 น.
ขอบคุณความรู้ที่นำมาฝากสมาชิกครับ หมอแม๊ก

ช่วงนี้อยู่ ขอนแก่นหรือเปล่าครับ

ถ้าเข้าไปจะไปตรวจเบาหวาน แต่หนักขมกับหมอแม๊กครับ
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: TANG_STOR ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2010, 16:33:38 น.
ได้ความรู้มากทที่เดียว :thank1:
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 26 มิถุนายน 2010, 01:41:10 น.
ไม่รู้ว่าหายขาดหรือเปล่าแต่แผล ไม่ลุกลามแล้ว วัดน้ำตาลในเลือดก็เริ่มลดลง ตัวผมเองก็กินอยู่ แต่ตัวผมเองไม่ได้ป่วยเป็นอะไร กินไปเพื่อสร่างภูมิคุ้มกัน  และอีกอย่างผมดื่มเหล้าบ่อย ยานี้จะไปช่วยล้างตับอ่อน ที่คนเราป่วยก็เพราะตับอ่อน ขับสารพิษออกจากร่างกายไม่ได้ เราจะรอให้ป่วยก่อนแล้วค่อยกินยาหรอ

ตับอ่อนมีไว้ สร้าง nzyme ช่วยย่อยอาหารครับ และผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น insulin glucagon  ไม่ได้มีไว้กำจัดสารพิษครับ
การดื่มเหล้านี่หละเป้นตัวที่ทำให้ทั้ง ตับ และตับอ่อนอักเสบ

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:HpiYI7uFtOuI1M::&t=1&usg=__5N1PEOvhnJsSN-RgxyBzoK1kWLo=)
(http://www.rajeun.net/diabetes-pancreas.gif)

islets of Langerhans คือ กลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้าง ฮอร์โมน ประกอบด้วย

Alpha cell สร้าง glucagon ทำหน้าที่สลาย glycogen ในกล้ามเนื้อและตับ เป็นน้ำตาล
Beta cell สร้าง insulin ทำหน้าที่เอาน้ำตาลเข้า cell
Delta cell สร้าง somatostatin ปรับสมดุลการหลั่ง insulin และ glucagon
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: เด็กชากไม้รวก ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 19:23:44 น.
หากเป็นโรคเบาหวานให้นำเอากระชายดำมาหนึ่งกำมือล้างให้สะอาดทุบพอแตกๆจากนั้นตวงน้ำสามแก้วใส่กระชายดำลงในหม้อพร้อมกับน้ำสามแก้วจากนั้นต้มจนกะว่าน้ำที่ใส่ไว้สามแก้วเหลือแก้วเดียวนำมาดื่มจะช่วยให้ความดันปกติและระดับน้ำตาลในเลือนลดลงเป็นปกติ กระชายดำ1กำมือต้มกินได้3ครั้ง (เป็นสูตรยาที่อาจารย์ผมบอกมาแล้วผมต้มให้แม่ผมกินมันหายจริงๆนะครับไม่ได้ล้อเล่นโดยมากจะไม่มีใครรู้กันเพราะมันเป็นยาเทวดาบอกครับ)
หัวข้อ: Re: "เบาหวาน" ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย+อ้วนลงพุง
เริ่มหัวข้อโดย: jokerzero ที่ วันที่ 30 กันยายน 2010, 20:02:58 น.
กาแฟลดเสี่ยงเบาหวาน-หัวใจ?

(http://women.sanook.com/story_picture/m/35565_002.jpg)
คอลัมน์ อโรคยา ดูเหมือนว่ากาแฟจะมีประโยชน์มากกว่าการช่วยกระตุ้นร่างกายให้กระปรี้ กระเปร่า เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยลดอาการหงุดหงิดและความเครียด หากดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสม เพราะคาเฟอีนจะไม่มีการสะสมหรือตกค้างในร่างกาย เนื่องจากตับจะทำหน้าที่กำจัดออกไป รศ.ดร.ชัยชาญ แสงดี หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า นอกจากกาแฟจะทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย และทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว การดื่มกาแฟ ยังช่วยลดการเกิด oxidative stress, ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย และยังช่วยเพิ่มการทำงานเอนไซม์ในการกำจัดสารที่เป็นอันตรายด้วย ปกติร่างกายจะมีสำรองหรือสมดุลของสารต้านอนุมูลอิสระ โดยสารที่เป็นส่วนเกินจะถูกกำจัดโดยตับ และขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ในบางภาวะการสำรองสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะลดลง หรือที่เรียกว่าภาวะ oxidative stress ทำให้มนุษย์จะต้องแสวงหาสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อสะสมในร่างกายและพร้อมใช้เมื่อถึงคราวจำเป็น สารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดการเกิดเซลล์มะเร็งและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์คินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคตับอักเสบอีกด้วย ซึ่งมีผลการศึกษาวิจัยเรื่องนี้จากต่างประเทศรองรับมากมาย  ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ สวิตเซอร์แลนด์ แสดงรายงานหนึ่งตัวอย่างของผลการศึกษาวิจัยถึงประโยชน์ของการบริโภคกาแฟ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารโภชนศาสตร์คลินิกของอเมริกา โดย ดร.เดวิด อาร์. จาคอบ จูเนียร์ และคณะจากมหาวิทยาลัยมินเนโซต้า เมืองมินเนอาโพลิส ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟกับการเสียชีวิตทุกประเภท และการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคมะเร็งและ โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบภายใต้โครงการศึกษาสุขภาพของผู้หญิงที่อาศัยอยู่ ในเมืองไอโอวา ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง จำนวน 27,321 คน อายุระหว่าง 55-69 ปี ซึ่งใช้เวลาเริ่มต้นศึกษาและติดตามผลเป็นเวลา 15 ปีต่อมา โดยระหว่างการศึกษามีผู้เสียชีวิตรวม 4,265 คน ดร.จาคอบได้นำเสนอผลการศึกษาที่พบว่า เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มหญิงที่ดื่มกาแฟจำนวน 1-3 ถ้วยต่อวันกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟเลย กลุ่มหญิงที่ดื่มกาแฟมีความเสี่ยงจากการตายจากการอักเสบลดลงถึง 24% และแม้ว่าจะดื่มกาแฟมากขึ้น แต่ความเสี่ยงจากการตายก็จะไม่ลดลงอีก อย่างไรก็ตาม การลดความเสี่ยงจากการตายลงเนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น มีความสัมพันธ์เล็กน้อยกับการดื่มกาแฟในปริมาณมากขึ้น ส่วนโรคมะเร็งนั้น การดื่มกาแฟจะไม่ส่งผลต่อการเกิดโรคมากขึ้น ดร.จาคอบกล่าวว่า การที่พบว่ากาแฟให้ผลป้องกันการอักเสบ และอาจป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคที่เกิดจากการอักเสบอื่นๆ นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจ เพราะการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่ากาแฟเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ในอาหารของชาวนอร์วิเจียน และหญิงวัยกลางคนของเมืองไอโอวา การเกิด Oxidative stress หรือปฏิกิริยาการทำลายเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะ โดยอนุมูลอิสระนั้นมีความสัมพันธ์กับการอักเสบ ซึ่งนั่นทำให้เราคาดหวังจะเห็นผลความเสี่ยงที่ลดลงเมื่อดื่มกาแฟ แต่ทั้งนี้ต้องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป

สนับสนุนเนื้อหา (http://btgsf1.fsanook.com/weblog/category/1/5235/newspaper-kaosod.gif)
 
คำที่เกี่ยวข้อง  :     เบาหวาน (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99.html)     สุขภาพ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html)     รอบรู้เรื่องสุขภาพ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html)     มะเร็ง (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87.html)     เมื่อยคอ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD.html)     ปวดหลัง (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87.html)     เชื้อโรค (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84.html)