ผู้เขียน หัวข้อ: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์  (อ่าน 3706 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เสือน้อย คาราโอเกะ

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 5
  • **
  • กระทู้: 1903
  • 80004197 (x-men)
ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2013, 12:13:23 น. »
ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์

                เนื่องจากข้าพเจ้าเห็นว่า สมาชิกมีปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรว่า ควรที่จะนำพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง)  มาลงไว้เพื่อให้ได้ศึกษากัน ส่วน กฎหมายว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นไว้โอกาสหน้าจักได้นำเสนอต่อภายหลัง เนื่องจากเห็นว่ายังไม่จำเป็นเท่ากับ กฎหมายลิขสิทธิ์ นี้

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. 2537

มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้

          "ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

          "ลิขสิทธิ์" หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

          "วรรณกรรม" หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ  จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

          "ศิลปกรรม" หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

(5) งานภาพถ่าย ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพ

โดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น

          "สิ่งบันทึกเสียง" หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียง ประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

          "ทำซ้ำ" หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ  ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

          "ดัดแปลง" หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

          (1) ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ให้หมายความรวมถึง แปลวรรณกรรม เปลี่ยนรูปวรรณกรรมหรือรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและจัดลำดับใหม่

          "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียง และหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น

หมวด 1

ลิขสิทธิ์

ส่วนที่ 1

งานอันมีลิขสิทธิ์

มาตรา 6  งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์  ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

ส่วนที่ 2

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

มาตรา 8  ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น…


ส่วนที่ 3

การคุ้มครองลิขสิทธิ์

มาตรา 15  ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14  เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้

          (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

          (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

          (3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศน วัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

          (4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

          (5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

          การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

       

มาตรา 18  ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว และมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอนลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นใดบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือทำโดยประการอื่นใดแก่งานนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์ และ เมื่อผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายทายาทของผู้สร้างสรรค์มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร

 

มาตรา 20  งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

          ในกรณีที่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ให้นำมาตรา 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                       

ส่วนที่ 5

การละเมิดลิขสิทธิ์

 

มาตรา 27  การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

          (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

          (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

 

มาตรา 31  ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

          (1) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ

          (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

          (3) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

          (4) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

 

หมวด 8

บทกำหนดโทษ

 

มาตรา 69  ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม  มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

          ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท   ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา 70  ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

          ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า  ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

ข้าพเจ้าก็ขอยกมาเฉพาะที่เกี่ยวข้องโดยตรง เมื่อได้อ่านแล้วคงเข้าใจกันได้มากขึ้น หวังว่าคงจะมีประโยชน์อยู่บ้างไม่มากก็น้อย


ที่มา : http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/0000.html

ออฟไลน์ สายฝน

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 333
  • 440842cc (X-MEN)
Re: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2013, 13:20:53 น. »
โอ่ทั้งประเทศเลย ทำงัยดีที่สุด   :happy:

ออฟไลน์ singer55

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 2
  • *
  • กระทู้: 32
  • 976190B1 ไก่ต๊อก
Re: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 9 สิงหาคม 2013, 09:28:59 น. »
อยากสอบถามถ้าที่บ้านเปิดบริการคาราโอเกะโดยใช้โปรแกรมที่ xtrem ที่ซื้อมาถูกต้องผิดตาม พรบ นี้ไม๊ครับ

ออฟไลน์ เสือน้อย คาราโอเกะ

  • ตัวแทนจำหน่าย
  • ระดับ 5
  • **
  • กระทู้: 1903
  • 80004197 (x-men)
Re: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 9 สิงหาคม 2013, 09:50:59 น. »
อยากสอบถามถ้าที่บ้านเปิดบริการคาราโอเกะโดยใช้โปรแกรมที่ xtrem ที่ซื้อมาถูกต้องผิดตาม พรบ นี้ไม๊ครับ

ร้องเล่นที่บ้านไม่น่าเข้าข่ายนี้ครับ (ความเห็นส่วนตัว)  :cheer:

ออฟไลน์ บรรณ บางแค

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 554
  • 8666C892 สมใจนึก
Re: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันที่ 9 สิงหาคม 2013, 11:14:26 น. »
ฟังบทให้สัมภาษณ์  ของอดีตบริษัทเพลงค่ายหนึ่ง เล่าผ่าน นสพ.ว่า  เหตุล่มสลาย ของบริษัท เพราะทำออกมาแล้ว ประสบปัญหาขาดทุน ทุกชุด   ไม่ใช่ขายไม่ได้    แต่......เพราะรัฐ ไม่เอาจริงจังกับปัญาหา ลิขสิทธิ์เพลง ปล่อยให้ทำซ้ำ ออกมาจำหน่ายแข่งกับ ของแท้......                           

                                                                     

ออฟไลน์ ต้นกล้า1954

  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 116
  • วงดนตรี ต้นกล้า
Re: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2013, 07:08:57 น. »
ไปดูของจริงที่นี่ครับเขาเริ่มแล้วที่นี่วันนี้   http://www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php?option=com_content&task=category&sectionid=21&id=489&Itemid=396    
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 กันยายน 2013, 07:24:32 น. โดย tonkla1954 »

ออฟไลน์ ต้นกล้า1954

  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 116
  • วงดนตรี ต้นกล้า
Re: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2013, 07:25:07 น. »
ตัวนี้เป็นของค่ายดัง เปิดเพลงหน้าร้านจับ เจริญละเมืองไทย 

ออฟไลน์ สุระชาติ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2942
  • 7485360D,9660E447,5D12658A(เด็กชายเคยโสด)
Re: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2013, 08:41:42 น. »
ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ นครีสโตย

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 219
  • 968DDCEC มนตรีซาวด์
Re: ความเข้าใจเบื้องต้นกับกฎหมายลิขสิทธิ์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2013, 08:46:19 น. »
อยากสอบถามถ้าที่บ้านเปิดบริการคาราโอเกะโดยใช้โปรแกรมที่ xtrem ที่ซื้อมาถูกต้องผิดตาม พรบ นี้ไม๊ครับ

ถ้าเป็นการเผยพร่เพื่อการค้าต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ครับ ที่เขาจับคือเล่นเพลง(MIDI)ของเขาไม่เกี่ยงกับโปรแกรมที่ใช้