ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ  (อ่าน 5526 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ อาร์ม ลูกน้ำกว๊าน

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 790
  • HL#6DE70486 (สมใจนึก)
สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 00:39:44 น. »
class ไหนเหมาะกับการขับชับเบส
class ไหนเหมาะกับการขับกลางแหลม

ขอบคุณมากๆๆๆครับผม :D

ออฟไลน์ พิมพ์ชนก

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 767
  • HL#8D02910B (กุ้งD4D) 8FE64E59(กุ้งD4D)
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 05:56:42 น. »
class ไหนเหมาะกับการขับชับเบส
class ไหนเหมาะกับการขับกลางแหลม

ขอบคุณมากๆๆๆครับผม :D
ปัจจุบันน่าจะแยกแยะยากเพราะ ความสามารถจะไม่แตกต่างกัน  มีการพัฒนาไปค่อนข้างเร็วมาก เมื่อก่อนคลาส D ให้เสียงเด่นไปเฉพาะบางย่านความถี่รายละเอียดของเสียงไม่ดี แต่ปัจุบันให้เสียงครอบคลุมทุกย่านความถี่ และคุณภาพเสียงก็ดี ที่ยกตัวอย่างคลาส D เพราะ ไม่เคยใช้ แต่ติดตามการพัฒนามาตลอด เคยใช้แต่คลาส AB /G/H  แต่ไม่นานนี้ได้สั่งคลาส D มาประกอบและทดสอบดู ปรากฏว่าเกินคาดหมายที่ตั้งเป้าไว้ว่าน่าจะด้อยกว่าคลาสอื่นๆ แต่กลับเทียบเท่าหรือเด่นกว่าในบางย่านความถี่
class ไหนเหมาะกับการขับชับเบส(สำหรับคุณภาพเสียงและการตอบสนองคามถี่) ผมก็ให้ทั้ง AB /D/G/H  แต่คุณสมบัติของแต่ละคลาสมันจะแตกต่างกัน
class ไหนเหมาะกับการขับกลางแหลมผมก็ให้ทั้ง AB /D/G/H
ส่วนตัวผมอยู่ที่การเลือกใช้มากกว่า ......แต่ตอนนี้ยังใช้คลาส AB เป็นหลัก (เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ)

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 06:26:13 น. »
เห็นด้วยกับคำตอบข้างบนครับ แอมป์ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าคลาสสไหน ก็ต้องตอบสนองกับความถี่ที่หูมนุษย์ได้ยิน คือระหว่าง 20-20000 Hz ได้อย่างถูกต้อง หมายถึงเสียงต้นฉบับเข้ามาอย่างไร แอมป์ตัวนั้นก็ต้องถ่ายสามารถถ่ายทอดให้ได้ใกล้เคียงที่สุด เพี้ยนน้อยที่สุด ด้วยเหตุผลและหลักการ การนำแอมป์ไปใช้น่าจะดูจาก กำลังในการขับลำโพงมากกว่า ซึ่งถ้าต้องการให้ละเอียด จะต้องดูสถานที่ ที่จะแสดง แล้วคำนวณหาความดังออกมาเป็นกี่ดีบี ก็จะรู้จำนวนตู้ลำโพงที่ต้องใช้ ที่สุดก็จะรู้กำลังขับซึ่งหมายถึงจำนวนแอมป์ที่ต้องใช้อย่างถูกต้องครับ เป็นหลักเบื้องต้นในการทำ Live Sound ครับ รายละเอียด หาอ่านได้จากหนังสือ TOTAL SOUND  เล่มเดือนมีนาคม 2552  ความจริงงานสัมมนาที่จะจัดขึ้นน่าจะมีหัวข้อ การทำ Live Sound บ้างก็ดีนะครับ

ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 06:50:51 น. »
CLASS A : ทรานซิสเตอร์ ในภาคขยายขาออกจะทำงานเต็มที่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีสัญญาณขาเข้า มากหรือน้อยเพียงใดในภาคขาออก ทรานซิสเตอร์จะทำงานอย่างเต็มที่อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เครื่องมีความร้อนสูง ถึง สูงมาก
CLASS B : จะจัดแบ่งการทำงานของทรานซิสเตอร์ในภาขยายขาออก แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ด้านหนึ่งทำงานในช่วง + อีกด้านหนึ่งทำงานในช่วง - คือแบ่งกันทำงาน จึงทำให้มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง แต่ก็จะมีข้อด้อย คือ ช่วงที่สลับการทำงาน
ระหว่าง ช่วง + และ - การทำงานจะไม่ราบเรียบ อาจเรียกได้ว่ามีความพร่าเพี้ยน เรียกกันว่า cross over distortion คือ ความเพี้ยนที่เกิดจากช่วงสลับการทำงานของทรานซิสเตอร์
CLASS AB : คือการรวมเอาระหว่างจุดหรือข้อดีและข้อด้อย ของทั้ง CLASS A และ CLASS B เข้าด้วยกัน นั่นคือ ในช่วงเวลาที่มีสัญญาณขาเข้าเบา ๆ วงจรภาคขาออกจะทำงาน ในแบบ CLASS A แต่เมื่อสัญญาณขาเข้าแรงขึ้น วงจรภาคขาออกจะทำงานในแบบ CLASS B จึงทำให้เครื่องขยายเสียงในลักษณะนี้ มีความเพี้ยนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูงจึงเป็นที่นิยมมากที่สุดในวงการเครื่องเสียงทั้งหมด
CLASS D : เป็นการจัดวงจรขยายเสียง จะแตกต่างกับ CALSS A ,CLASS B หรือ AB โดยสิ้นเชิง ซึ่ง CLASS ข้างต้นภาคขยายสัญญาณขาออก จะทำหน้าที่ขยายแรงหรือหรือให้กำลังตามความแรงของสัญญาณขาเข้า ขณะที่ CLASS D จะแปลง
สัญญาณขาเข้าให้กลายเป็นคลื่นแบบความกว้างของแถบคลื่นที่เรียกกันว่า Pulse Width Modulation (PWM) ในลักษณะรูปคลื่นที่เป็นแบบ square wave ขณะที่สัญญาณเสียงทั่วไปจะเป็นแบบ sine wave สัญญาณคลื่นที่ถูกแปลงนี้จะถูกส่งไปสร้างลักษณะการทำงานของภาคขยายเสียงขาออก ให้ทำงานและหยุดทำงานตามความกว้างของคลื่นที่ส่งเข้าไปกระตุ้นภาคขาออก คล้ายการ
ทำงานของสัญญาณในแบบดิจิตอล คือ กำหนดให้เป็นการเปิดหรือปิดวงจร จึงทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่า CLASS D คือ ดิจิตอล แต่แท้จริงแล้ว อาจจะคล้ายกัน ในแง่ของลักษณะในเชิงการทำงานแบบเปิดและปิด แต่ไม่ใช่ในแง่ของการทำงานเพื่อขยายสัญญาณเสียง ข้อจำกัดของ CLASS D คือ มักจะจำกัดการทำงานที่ความถี่ค่อนข้างต่ำ เพราะการขยายสัญญาณในภาคขาออกต้องทำ
การกรองคลื่นที่เป็น PWM ที่เป็น square wave ออกเพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณถี่ในแบบ sine wave โดยมาก เครื่องขยายเสียง CLASS D ทั่วไปจะกรองความถี่ที่ 500 Hz ฉะนั้นความถี่ที่ใช้งานได้คือ จะสูงไม่เกิน 250 Hz
หรือมากกว่าเล็กน้อย หากความถี่สูงกว่านี้เสียงจะพร่าเบลอ หรือเสียงสะดุด หากจะให้ขยายเสียงได้ตลอดผ่านความถี่ มักมีปัญหาเรื่องการกวนของความถี่ ในระดับคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Interference - RFI)
คลาสส์อื่นๆที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก
CLASS G : เป็นเครื่องขยายเสียงที่ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป และจะทำงานโดยภาคขยายเสียงจะปรับไปใช้ไฟเลี้ยงที่สูงขึ้นหากสัญญาณขาเข้ามี ความแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีปัญหาในช่วงการเปลี่ยนจากภาคจ่ายไฟ ที่จะปรับใช้ในแต่ละความแรงของสัญญาณ
CLASS H : เคยมีใช้ในวงการรถยนต์ในยี่ห้อ BLADE ที่เรียกวงจรนี้ว่า BASH นั่นคือ การประยุกต์ CLASS G ขึ้นมาให้ภาคจ่ายไฟปรับแรงดันได้ตลอดเวลา ตามความแรงของสัญญาณที่เข้ามา ซึ่งภาคจ่ายไฟแบบนี้ คือ ต้นแบบของหลักการในภาคจ่ายไฟของ CLASS D แต่การจัดวงจรภาคขาออกจะเหมือนกับวงจรแบบ CLASS AB
CLASS S : คือการทำงานของภาคขยายเสียงที่ทำงานแบบ switching ที่มีการทำงานแบบเปิด/ปิด อยู่ตลอดเวลา และต้องใช้วงจรกรองความถี่แบบ low pass ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น CLASS D
CLASS T : เป็นการเรียกขานตามวงจรควบคุมการทำงานที่ผลิตโดย บริษัท ไทรพาธ(Tripath) ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อลดจุดด้อยของ CLASS D ที่ไม่มีเสถียรภาพในความถี่สูงโดยใช้ความสามารถในเชิงดิจิตอลเข้ามาช่วย เพิ่มความถี่ของการทำงานแบบ switching ทำใหswitching ที่ความถี่สูงขึ้นถึงในระดับความถี่ประมาณ 85 KHz จากนั้นจึงใช้วงจรกรองความถี่ แบบ Low passที่ประมาณ 40 KHz ทำให้ได้เครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงความถี่ ที่สูงกว่า 20 KHz
CLASS E : Audiobahn ใช้เป็นชื่อเรียกในรุ่นของเครื่องขยายเสียง แต่การทำงานไม่ใช่ class E จริงๆ เครื่องขยายเสียง class E ทำงานโดยใช้หลักการ switching แบบอ่อน ๆ คือไม่ได้ใช้ลักษณะของ switching เป็นหลักในการขยายสัญญาณโดยจะปล่อยให้มีสัญญาณหรือกระแสต่ำ ๆ กระตุ้นการทำงานของภาคขาออกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเพี้ยนที่เรียกว่า crossover distortion หรือ switching distortion ขณะเดียวกันถือได้ว่ามีการออกแบบวงจรจ่ายไฟที่ดีมาก ทำให้มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน


ที่มา...

ออฟไลน์ พชรมิวสิค กรุ๊ป

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 587
  • HL#2C8CA532 x-men
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 08:52:02 น. »
สรุปแบบ ง่ายๆๆ..ดั้ยบ่ท่าน..
     1.ใช้ขับเบส..ใช้คลาส..ได๋
     2.ใช้ขับกลาง...ใช้คลาสไหน
     3.ใช้ขับแหลมใช่คาลส..ไหน..ถึงจะดี..
เอาแบบ...คนใช้เห็นภาพโลด..วิชาการมากไป...เข้าใจยาก...หุหุหุ :thank1: :thank1:

ออฟไลน์ นายเอ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 4504
  • 748A44D7(X-WIN)
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 09:00:20 น. »
เบส กลาง แหลม ถ้าเป็นคลาสเดียวกันทั้งหมด ซี่รี่เดียวกัน  น่าจะเวิร์คกว่าครับ คลาสอะไรก็ได้ฟังแล้วเป็นที่น่าพอใจก็โอเคแล้วครับ...

หากให้ระบุ..คลาส แต่ละยี่ห้อก็เก่งกันคนละคลาสด้วยซิ...ตอบยาก

ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 09:02:12 น. »
สรุปแบบ ง่ายๆๆ..ดั้ยบ่ท่าน..
     1.ใช้ขับเบส..ใช้คลาส..ได๋
     2.ใช้ขับกลาง...ใช้คลาสไหน
     3.ใช้ขับแหลมใช่คาลส..ไหน..ถึงจะดี..
เอาแบบ...คนใช้เห็นภาพโลด..วิชาการมากไป...เข้าใจยาก...หุหุหุ :thank1: :thank1:

คนชอบไม่เหมือนกันครับ  บางคนชอบแอมป์ที่ให้เสียงครบทุกย่านเพื่อการใช้งานหลากหลายครับ  เลยจำเป็นต้องเป็นวิชาการครับ  เพราะบางครั้งออกงานไม่เหมือนกัน งานเล็กงานใหญ่  แอมป์ที่ซื้อไปต้องใช้ได้หลาย ๆ งานครับ

ออฟไลน์ กฤษฎานคร

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4504
  • HL#-- 4C9C3998 [หมอโป่งจัดให้]
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 09:37:43 น. »
คลาส D  ขับเบส (ความร้อนต่ำกว่าเพื่อนเพราะทำงานด้วย Mosfet)
ขับกลางและแหลม ก็คลาส AB   (ออกธรรมชาติมาก ๆ หากเป็น TR ไบโพลาร์)


อันนี้ตอบตามที่หูผมฟังมา ...และเท่าที่เคยซ่อมและประกอบแอมปฺ์กำลังสูง ๆ ...นะครับผม

ออฟไลน์ อาร์ม ลูกน้ำกว๊าน

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 790
  • HL#6DE70486 (สมใจนึก)
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 11:08:28 น. »
 royal s1200 เป็น class อะไรเหรอครับ modify mv  - 3200  เป็น class อะไรเหรอครับ

ตัวไหนน่าเล่นกว่ากันครับผม   

ออฟไลน์ กฤษฎานคร

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4504
  • HL#-- 4C9C3998 [หมอโป่งจัดให้]
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 11:22:08 น. »
royal s1200 เป็น class อะไรเหรอครับ modify mv  - 3200  เป็น class อะไรเหรอครับ

ตัวไหนน่าเล่นกว่ากันครับผม    

royal s1200 (8 Ohm Stereo RMS Power 2x350W
... 8 Ohm bridge RMS Power 1200W)

คลาส AB  ทั้งคู่ครับ

modify mv  - 3200  น่าเล่นกว่า มีวงจรป้องกันครบครันกว่า กำลังมากกว่าครับ (8 Ohm Stereo RMS Power 2x1000W
... 8 Ohm bridge RMS Power 3000W)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 11:30:15 น. โดย กฤษฎานคร »

ออฟไลน์ สันต์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1177
  • 5D1E9510 4C9CB9A5 4D2C90F 552F90DB(เสีย) 80098855
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 11:33:14 น. »
เราจะทราบได้อย่างไรว่าแอมป์ ตัวไหน คลาส อะไรเอาง่ายๆแบบไม่มีความรู้ทางช่าง

ออฟไลน์ พิมพ์ชนก

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 767
  • HL#8D02910B (กุ้งD4D) 8FE64E59(กุ้งD4D)
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 11:43:52 น. »
CLASS A : ทรานซิสเตอร์ ในภาคขยายขาออกจะทำงานเต็มที่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีสัญญาณขาเข้า มากหรือน้อยเพียงใดในภาคขาออก ทรานซิสเตอร์จะทำงานอย่างเต็มที่อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เครื่องมีความร้อนสูง ถึง สูงมาก
CLASS B : จะจัดแบ่งการทำงานของทรานซิสเตอร์ในภาขยายขาออก แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ด้านหนึ่งทำงานในช่วง + อีกด้านหนึ่งทำงานในช่วง - คือแบ่งกันทำงาน จึงทำให้มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง แต่ก็จะมีข้อด้อย คือ ช่วงที่สลับการทำงาน
ระหว่าง ช่วง + และ - การทำงานจะไม่ราบเรียบ อาจเรียกได้ว่ามีความพร่าเพี้ยน เรียกกันว่า cross over distortion คือ ความเพี้ยนที่เกิดจากช่วงสลับการทำงานของทรานซิสเตอร์
CLASS AB : คือการรวมเอาระหว่างจุดหรือข้อดีและข้อด้อย ของทั้ง CLASS A และ CLASS B เข้าด้วยกัน นั่นคือ ในช่วงเวลาที่มีสัญญาณขาเข้าเบา ๆ วงจรภาคขาออกจะทำงาน ในแบบ CLASS A แต่เมื่อสัญญาณขาเข้าแรงขึ้น วงจรภาคขาออกจะทำงานในแบบ CLASS B จึงทำให้เครื่องขยายเสียงในลักษณะนี้ มีความเพี้ยนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูงจึงเป็นที่นิยมมากที่สุดในวงการเครื่องเสียงทั้งหมด
CLASS D : เป็นการจัดวงจรขยายเสียง จะแตกต่างกับ CALSS A ,CLASS B หรือ AB โดยสิ้นเชิง ซึ่ง CLASS ข้างต้นภาคขยายสัญญาณขาออก จะทำหน้าที่ขยายแรงหรือหรือให้กำลังตามความแรงของสัญญาณขาเข้า ขณะที่ CLASS D จะแปลง
สัญญาณขาเข้าให้กลายเป็นคลื่นแบบความกว้างของแถบคลื่นที่เรียกกันว่า Pulse Width Modulation (PWM) ในลักษณะรูปคลื่นที่เป็นแบบ square wave ขณะที่สัญญาณเสียงทั่วไปจะเป็นแบบ sine wave สัญญาณคลื่นที่ถูกแปลงนี้จะถูกส่งไปสร้างลักษณะการทำงานของภาคขยายเสียงขาออก ให้ทำงานและหยุดทำงานตามความกว้างของคลื่นที่ส่งเข้าไปกระตุ้นภาคขาออก คล้ายการ
ทำงานของสัญญาณในแบบดิจิตอล คือ กำหนดให้เป็นการเปิดหรือปิดวงจร จึงทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่า CLASS D คือ ดิจิตอล แต่แท้จริงแล้ว อาจจะคล้ายกัน ในแง่ของลักษณะในเชิงการทำงานแบบเปิดและปิด แต่ไม่ใช่ในแง่ของการทำงานเพื่อขยายสัญญาณเสียง ข้อจำกัดของ CLASS D คือ มักจะจำกัดการทำงานที่ความถี่ค่อนข้างต่ำ เพราะการขยายสัญญาณในภาคขาออกต้องทำ
การกรองคลื่นที่เป็น PWM ที่เป็น square wave ออกเพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณถี่ในแบบ sine wave โดยมาก เครื่องขยายเสียง CLASS D ทั่วไปจะกรองความถี่ที่ 500 Hz ฉะนั้นความถี่ที่ใช้งานได้คือ จะสูงไม่เกิน 250 Hz
หรือมากกว่าเล็กน้อย หากความถี่สูงกว่านี้เสียงจะพร่าเบลอ หรือเสียงสะดุด หากจะให้ขยายเสียงได้ตลอดผ่านความถี่ มักมีปัญหาเรื่องการกวนของความถี่ ในระดับคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Interference - RFI)
คลาสส์อื่นๆที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก
CLASS G : เป็นเครื่องขยายเสียงที่ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป และจะทำงานโดยภาคขยายเสียงจะปรับไปใช้ไฟเลี้ยงที่สูงขึ้นหากสัญญาณขาเข้ามี ความแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีปัญหาในช่วงการเปลี่ยนจากภาคจ่ายไฟ ที่จะปรับใช้ในแต่ละความแรงของสัญญาณ
CLASS H : เคยมีใช้ในวงการรถยนต์ในยี่ห้อ BLADE ที่เรียกวงจรนี้ว่า BASH นั่นคือ การประยุกต์ CLASS G ขึ้นมาให้ภาคจ่ายไฟปรับแรงดันได้ตลอดเวลา ตามความแรงของสัญญาณที่เข้ามา ซึ่งภาคจ่ายไฟแบบนี้ คือ ต้นแบบของหลักการในภาคจ่ายไฟของ CLASS D แต่การจัดวงจรภาคขาออกจะเหมือนกับวงจรแบบ CLASS AB
CLASS S : คือการทำงานของภาคขยายเสียงที่ทำงานแบบ switching ที่มีการทำงานแบบเปิด/ปิด อยู่ตลอดเวลา และต้องใช้วงจรกรองความถี่แบบ low pass ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น CLASS D
CLASS T : เป็นการเรียกขานตามวงจรควบคุมการทำงานที่ผลิตโดย บริษัท ไทรพาธ(Tripath) ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อลดจุดด้อยของ CLASS D ที่ไม่มีเสถียรภาพในความถี่สูงโดยใช้ความสามารถในเชิงดิจิตอลเข้ามาช่วย เพิ่มความถี่ของการทำงานแบบ switching ทำใหswitching ที่ความถี่สูงขึ้นถึงในระดับความถี่ประมาณ 85 KHz จากนั้นจึงใช้วงจรกรองความถี่ แบบ Low passที่ประมาณ 40 KHz ทำให้ได้เครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงความถี่ ที่สูงกว่า 20 KHz
CLASS E : Audiobahn ใช้เป็นชื่อเรียกในรุ่นของเครื่องขยายเสียง แต่การทำงานไม่ใช่ class E จริงๆ เครื่องขยายเสียง class E ทำงานโดยใช้หลักการ switching แบบอ่อน ๆ คือไม่ได้ใช้ลักษณะของ switching เป็นหลักในการขยายสัญญาณโดยจะปล่อยให้มีสัญญาณหรือกระแสต่ำ ๆ กระตุ้นการทำงานของภาคขาออกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเพี้ยนที่เรียกว่า crossover distortion หรือ switching distortion ขณะเดียวกันถือได้ว่ามีการออกแบบวงจรจ่ายไฟที่ดีมาก ทำให้มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน


ที่มา...
 ขอบคุณครับข้อมูลจะได้เป็นพื้นฐานสำหรับผู้สนใจและศึกษาหาข้อมูล
คนชอบไม่เหมือนกันครับ  บางคนชอบแอมป์ที่ให้เสียงครบทุกย่านเพื่อการใช้งานหลากหลายครับ  เลยจำเป็นต้องเป็นวิชาการครับ  เพราะบางครั้งออกงานไม่เหมือนกัน งานเล็กงานใหญ่  แอมป์ที่ซื้อไปต้องใช้ได้หลาย ๆ งานครับ
 ถูกต้องตามนี้ครับ  มันขึ้นอยู่ที่วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ ความต้องการ สถานที่(ลักษณะการใช้งาน) ถ้าจะอธิบายค่อนข้างยาวจริงๆ จึงจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของ คลาส ของขยายก่อนเพื่อความเหมาะสมในการเลือกใช้ เพราะบางตัวมันมีข้อจำกัด ทางเทคนิดและวิชาการ อย่างเช่น คลาส D  ถ้าศึกษาจะพบว่า ถ้านำมาขับทุกย่านความถี่ ก็จะจำกัดโหลดอยู่ที่ 4 โอมห์ต่ำสุด  ถ้าโหลดต่ำสุดที่ 2 โอมห์ จะใช้สำหรับขับเบส  และไม่นิยมนำมาขับกลางแหลม ด้วยเหตุผลการตอบสนองย่านความถี่เสียง  และรายละเอียดของเสียง  และแต่ละคลาสก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยของตัวมันเอง
เราจะทราบได้อย่างไรว่าแอมป์ ตัวไหน คลาส อะไรเอาง่ายๆแบบไม่มีความรู้ทางช่าง
ดูจากเสป็กเครื่อง หรือคู่มือ หรือเปิดฝาเครื่องดู ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 20:34:13 น. โดย พิมพ์ชนก »

ออฟไลน์ สุระชาติ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2942
  • 7485360D,9660E447,5D12658A(เด็กชายเคยโสด)
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 13:02:43 น. »
ดีครับ ขอบคุณครับ

bagnut

  • บุคคลทั่วไป
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 14:19:24 น. »
tnankss,,,,,,,,

ออฟไลน์ อาร์ม ลูกน้ำกว๊าน

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 790
  • HL#6DE70486 (สมใจนึก)
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 14:25:37 น. »
ขอบคุณมากๆๆครับผม :D :D

ออฟไลน์ พชรมิวสิค กรุ๊ป

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 587
  • HL#2C8CA532 x-men
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 14:28:13 น. »
 :thank1: :thank1: :thank1:

ออฟไลน์ โดดเดี่ยว

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 127
  • HL#5CA37A90 (MP)
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 14:42:07 น. »
ได้รับความรู้เพิ่มอีกแล้ว ขอบคุณครับ

rakcharttoo

  • บุคคลทั่วไป
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2010, 19:18:56 น. »
ขอคุณ เด็กชายโสดมากๆครับ :thank1: :th1:

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: สอบถามเกี่ยวกับคลาสของแอมป์ครับ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2010, 09:37:26 น. »
กล่าวกันว่า ถ้าอยากขับรถเป็น แล้วไปซื้อหนังสือว่าด้วยเรื่อง การหัดขับรถ ถึงอ่านจบหลายเที่ยว ก็คงขับรถไม่ได้อยู่ดี แม้จะมีรถหัดขับ ก็คงใช้เวลาหลายปีกว่าจะชำนาญนะครับ ระบบเสียงก็น่าจะคล้ายๆ กัน ต้องมีหลักวิชาบ้าง อ่านสเป็คเป็น และค่อยฝึกหาประสบการณ์ ฝึกการฟัง คงต้องใช้เวลาในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันแต่ละคนก็มีความชอบซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เรียกว่าสไตล์มั้ง จะเห็นแต่ละวงก็จะมีซาวด์เป็นของตัวเอง รวมทั้งกลุ่มผู้ฟัง