ผู้เขียน หัวข้อ: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1  (อ่าน 18175 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ อมตะนคร

  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • ระดับ 5
  • ****
  • กระทู้: 1142
  • HL#5F64245F From (MP)
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: วันที่ 5 เมษายน 2014, 11:04:30 น. »
ได้กุศลอันแรงกล้าครับป๋า ซาวด์ตัวนี้หลังวันที่16 เมษายน จะปรับราคาและปรับวัตถุประสงค์ เพื่อเจ้าของซาวด์ฟอนต์ที่ตอนนี้ต้องขาดอิสรภาพครับ



 :th1:

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: วันที่ 5 เมษายน 2014, 15:11:54 น. »
Hear  ตามคำแนะนำ  แก้ขัดใช้ได้

มาฟังวงดนตรีท้องถิ่นเล่นเพลงฝาหรั่ง ครับ
เล่นกันสดๆ  
ฝรั่งคนดูหัวสั่นหัวคลอนล่ะ


Antonio 's song



 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 5 เมษายน 2014, 15:16:26 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ LungWATCR

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1296
  • 5DE459CB [ Pog MusicPro]
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: วันที่ 5 เมษายน 2014, 21:03:19 น. »
มาติดตามครับ
สนุกมีสาระ

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: วันที่ 6 เมษายน 2014, 12:41:56 น. »
      Back to the basic.

        จั่วหัวไว้ก่อนกันลืม


คงต้องบอกซ้ำว่า  ผมชอบฟังเพลง
และชอบในฐานะ  Music Lover
ดังนั้นชื่อเพลงเดียวกัน  จะเดี่ยวเปียโน เดี่ยวกีตาร์ หรือเอาอังกะลุงมาขยับ
ผมก็ฟังได้อย่างสนุก  

เพลงเดียวกันนักดนตรีเล่นเป็นวง ถึงจะอ่อนซ้อม
แต่แสดงให้เห็นว่า  ใส่อารมณ์ เล่นด้วยจิตวิญญาณเพื่อเพื่อผู้ฟังโดยแท้
เขาทั้งหลายเหล่านั้นผมต้องปรบมือให้เค้าครับ

Antonio 's song  เป็นเพลงโปรดฟังทุกวี่วัน  ฟังมานานกว่า  25 ปี ไม่เคยเบื่อ
SoundFont  วงนี้เล่นแบบอ่อนซ้อมนะครับ  หรือไม่เคยเล่นเพลงนี้มาก่อนเลย
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ความเก๋าของคนเล่น  เน้นที่จังหวะ และเน้นได้สมบูรณ์แบบมากๆ

เพลงสนุกที่จังหวะที่แม่นยำถูกต้องครับ
ผมเคาะเท้าเคาะมือตามจังหวะ
ลักษณะที่นักดนตรีผีเข้าแบบนี้ละครับ  ถ้าวงนี้ไปเล่นกลางแจ้ง
เซ็ทระบบเสียงให้เป็นเลิศ  รับรองดิ้นกันสว่าง......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 6 เมษายน 2014, 12:44:54 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: วันที่ 7 เมษายน 2014, 13:27:52 น. »

Back to the basic.


ดูการแสดงซิมโฟนี่ คอนเสิร์ต เต็มวงใหญ่
คนที่ยืนด้านหน้าสุด ผู้อำนวยการวง ถือไม้บาตองควบคุมการเล่นของนักดนตรี
ถ้าวงใหญ่นั้น  110 คน  เสียงดนตรีแต่ละกลุ่มแต่ละแถวอยู่ในหัวสมองของ  คนๆ เดียว
ที่จะเรียกให้นักดนตรีคนไหนเริ่มเล่น  เล่นหนักเล่นเบาสอดประสานเสียงรับกัน

คนทำ  SoundFont  ก็เปรียบคล้ายกัน
SoundFont  เปรียบเสมือนนักดนตรี
อยู่ที่คนทำจะเรียกให้เล่นเมื่อไหร่ และ เล่นอย่างไร

เน้นเล่นกลางแจ้ง  เล่นให้ผู้ฟังจำนวนมาก  หรือจะเล่นเอาแค่สนุกภายในบ้าน
คนทำต้องรู้คอนเซ็พท์  มิใช่ไม่รู้เรื่องดนตรีเลย
แล้วจะไป  สั่งให้นักดนตรีเล่นให้ผู้ฟังเบิกบานได้อย่างไร?

งานกลางแจ้ง  หรืองาน PA  ที่มีผู้ฟังจำนวนมาก
เมื่อเอาวัตถุประสงค์ที่ว่า  ผู้ฟังทุกคนต้องได้ยินเสียงด้วยความดังชัดเจนอย่างเท่าเทียมกันทุกคน
การเซ็ทระบบมันจำเป็นต้องให้เสียงที่เปล่งออกจากลำโพง เป็นแบบโมโน ทั้งชุดลำโพงซ้ายและขวา

นั่นหมายถึง  ผู้ฟังที่อยู่ด้านซ้ายสุด  ตรงกลาง  และขวาสุด
จะได้ยินเสียงดนตรีเสียงร้องเท่าเทียมกัน
ถ้าเป็นสเตอริโอ ที่นั่งซ้ายสุด  ขวาสุด  หมดสิทธิ์ครับ

บอกได้ว่า  ซาวด์ฟ้อนท์ที่กำลังฟังอยู่นี่  
รังสรรค์ขึ้นมาเพื่องานแสดงดนตรีแบบ  PA  ขนานแท้ครับ
เอาไปฟังตามบ้านคงขัดหู  นักฟังที่จริงจังระดับ  Audiophile

ผมระดับ  Music Lover  จึงฟังผ่านฉลุยในเรื่องนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 7 เมษายน 2014, 13:30:24 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: วันที่ 9 เมษายน 2014, 09:35:56 น. »
กลับมาอ่านที่ตัวเองเขียนแล้วไปต่อไม่เป็นเลย
ต้องมาคิดใหม่อีกว่า ทำไม?
กระทั่งได้คำตอบให้ตัวเองว่า  เราไม่มีเป้าหมายสุดท้ายที่จะไปเลย

เขียนไปก็หลงทางวนเวียนเพ้อฝันเรื่องเดิมๆ

มาตรฐาน  นะครับ  คือคำตอบ

มาตรฐาน  SoundFont  อยู่ที่จุดไหน

ต้องมาช่วยหาคำตอบกันแล้วครับผม

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 09:29:12 น. »
การพูดถึงคำว่า มาตรฐาน อะไรซักอย่าง  บางครั้งดูเหมือนเว่อร์ไปหรือเปล่าครับ

ผมนั่งตรึกตรองดูแล้วคล้ายๆ กับว่าผมอยากได้  สิ่งที่สามารถอ้างอิงได้
จุดอ้างอิงที่ว่าย่อมเป็นจุดที่ยอมรับกันได้และเป็นสากล

มาดูกันก่อนว่า  MIDI คืออะไรกัน

จากวิกิพีเดีย  ว่าอย่างนี้


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B4


มิดิ หรือ มาตรฐานการประสานเครื่องดนตรีแบบดิจิทัล

[1] (อังกฤษ: Music Instrument Digital Interface: MIDI)
เป็นโพรโทคอลมาตรฐานที่คิดค้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525

[2] โดยเป็นระบบการติดต่อสื่อสารทางดนตรี ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางดนตรี
เช่น คอมพิวเตอร์ ซินธิไซเซอร์ ซีเควนเชอร์ ซาวด์โมดูล แซมเพลอร์
ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิตอล ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
โดยจะมีความหมายเป็นโน้ตดนตรี และค่าการควบคุมลักษณะเสียงต่างๆ

ไฟล์ MIDI ไม่ได้มีการเก็บเสียงดนตรีใดๆ ไว้เหมือนอย่างเทปเพลงหรือซีดีเพลง
ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปของคำสั่งที่จะไปสั่งเครื่อง ดนตรีว่า
ให้เปล่งเสียงโน้ตตัวใด(Note ON), ด้วยระดับความดังแค่ใหน(Velocity)
และคำสั่งอื่นๆ ตามคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด



ด้วยเหตุที่เป็นไฟล์คำสั่งนี่เองทำให้มันมีขนาดที่เล็กมากๆ
แผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเพียงแผ่นเดียวก็สามารถเก็บไฟล์ MIDI ได้หลายสิบเพลง

และจากความที่มันเป็นไฟล์คำสั่งแบบดิจิตอลนี่เอง
นักคอมพิวเตอร์จึงสามารถนำข้อมูลดิจิตอลนี้มาพัฒนาด้วย
จนในที่สุดทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องดนตรี

ก็สื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์โดย ผ่านระบบ MIDI นี่เอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 เมษายน 2014, 09:59:07 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 09:43:33 น. »

GM[แก้]

ราวๆ ปี 1983 ระบบ MIDI ได้เปิดประตูแห่งการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีต่างๆ รวมไปถึงกับคอมพิวเตอร์ ด้วย
แต่ในเวลานั้น  หลายๆ บริษัทที่ผลิตเครื่องดนตรี
ต่างก็มุ่งหน้าพัฒนาแต่ระบบของตัวเองให้มีความสามารถก้าวล้ำนำหน้าบริษัทคู่แข่งให้มากที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีขณะนั้นจะ อำนวย
กลายเป็นผลเสียต่อวงการดนตรีเป็นอย่างมากเพราะถ้าลองได้เลือกใช้เครื่อง ดนตรีของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แล้ว
ก็ไม่สามารถที่จะนำเครื่องดนตรีของบริษัทอื่นๆ มาร่วมใช้งานผ่านระบบ MIDI นี้ได้อีก
เพราะต่างคนต่างก็มีรูปแบบในการคิดค้น และใช้งานคำสั่งต่างๆที่ไม่เหมือนกัน

พูดง่ายๆ ก็คือหากใช้งานระบบ MIDI จะไปใช้เครื่องดนตรีผสมกันระหว่างหลายๆ บริษัทไม่ได้
เพราะว่ามาตรฐานคำสั่งต่างๆ ยังไม่มีก็เลยสร้างความอึดอัดใจให้กับนักดนตรีทั่วๆ ไป มากพอสมควร
จน กระทั่งในปี 1991 ได้มีการประกาศใช้มาตรฐาน เกี่ยวกับ MIDI อันแรกออกมา
โดยมีชื่อเรียกว่า The General MIDI System Level 1 หรือเรียกกันทั่วไปว่า GM Format
อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มทางประเทศญี่ปุ่นที่เรียกตัวเองว่า Japanese MIDI Standards Committee (JMSC)
กับกลุ่มทางประเทศอเมริกาที่ชื่อว่า American MIDI Manufacturers Association (MMA)

มาตรฐาน GM ประกอบด้วยสาระสำคัญคือ มีจำนวนเสียงเครื่องดนตรีที่เก็บเอาไว้ทั้งหมด 128 ชนิด
ซึ่งจะรวมทั้งเสียงของเครื่อง ดนตรีจริงๆ กับเสียงของเอฟเฟคต์ต่างๆ เช่นเสียงปรบมือ เสียงฝนตก ฯลฯเอาไว้ด้วย
หมายเลขของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะ เรียกว่า PATCH โดยจะมีการแบ่ง PATCH ออกเป็นกลุ่มๆดังต่อไปนี้

1. PIANO 2. CHROMATIC PERCUSSION 3. ORGAN 4. GUITAR 5. BASS 6. STRINGS 7. ENSEMBLE 8. BRASS
9. REED 10. PIPE 11. SYNTH LEAD 12. SYNTH PAD 13. SYNTH EFFECTS 14. ETHNIC 15. PERCUSSIVE 16. SOUND EFFECTS

และ ในแต่ละกลุ่มยังแบ่งย่อยๆ ไปอีกกลุ่มละ 8 ชนิด เช่น ในกลุ่มของเปียโน ก็จะมีเสียงของเปียโนชนิดต่างๆอีก 8 ชนิด
หรือในกลุ่มของ BRASS ก็ประกอบด้วย ทรัมเป็ต , ทรัมโบน และเครื่องเป่าอื่นๆอีกรวม 8 ชนิด เป็นต้น
ใน ที่สุดเครื่องดนตรีต่างๆ ทั่วโลกของทุกๆ บริษัทผู้ผลิตก็สามารถนำมาผสมผสานกัน
เพื่อใช้งานในระบบ MIDI โดยใช้มาตรฐาน GM นี้เป็นหลัก

นอกจากมาตรฐาน GM นี้จะถูกใช้กับเครื่องดนตรีของบริษัทต่างๆ แล้ว
ในวงการคอมพิวเตอร์ก็มาร่วมใช้มาตรฐานนี้ด้วยเหมือนกันซึ่งก็คือในส่วนของ
ซาวด์การ์ดที่จะต้องระบุมาด้วยว่ารองรับมาตรฐาน GM นี้ด้วย
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะสร้างเพลงจาก เครื่องดนตรีแล้วนำมาเล่นในคอมพิวเตอร์
หรือสร้างเพลงจากคอมพิวเตอร์แล้วนำไปเล่นกับเครื่องดนตรี
ถ้าอยู่ในมาตรฐาน GM เหมือนกัน เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดก็จะตรงกันอย่างไม่มีปัญหาใดๆ

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 09:48:49 น. »
GS[แก้]

มาตรฐาน GM ถูกใช้งานกันมานานด้วยความเรียบร้อยดี
อยู่ต่อมาเมื่อบทเพลงต่างๆ เริ่มต้องการเสียงที่วิจิตรพิสดารมากขึ้น

บริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรีชั้นนำของโลกบริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า ROLAND CORPERATION
เริ่มรู้สึกว่าเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ ในมาตรฐานเดิมนั้นไม่พอใช้เสียแล้ว
จึงได้ทำการเพิ่มเติมเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิดเข้าไปกับมาตรฐาน GM อีก

โดยใช้ชื่อมาตรฐาน อันใหม่นี้ว่า มาตรฐาน GS
ซึ่งยังคงมีกลุ่มเสียงทั้งหมด 16 กลุ่มเท่าเดิม
แต่ในแต่ละกลุ่มจะมีเสียงเพิ่มเข้ามาอีก จากเดิม 128 เสียง เพิ่มมาเป็น 189 เสียง

จาก ความแตกต่างของ GM และ GS นี่เองทำให้เกิดปัญหาเล็กๆตามมา
นั่นก็คือหากใครมีเพลงรุ่นใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GS แล้ว
เมื่อนำไปเล่นกับเครื่องดนตรีหรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้มาตรฐาน GM อยู่อาจจะให้เสียงไม่ครบหรือไม่ถูกต้องตาม ต้นฉบับก็ได้
แต่ถ้าหากเพลงนั้นถูกสร้างขึ้นภายใต้มาตรฐาน GM เมื่อนำไปเล่นบนเครื่องที่เป็นมาตรฐาน GS ก็ยังคงให้เสียงได้ครบถ้วนอยู่เหมือนเดิม
เพราะว่าในมาตรฐาน GS ยังคงมีเสียงจากมาตรฐาน GM อยู่ครบนั่นเอง

หัน มาดูทางด้านคอมพิวเตอร์ของเรากันบ้าง
ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตซาวด์การ์ดที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จะไม่ค่อยได้ติดตาม ข่าวคราว ในวงการดนตรีสักเท่าไรนัก
หรืออาจเป็นเพราะว่าไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ก่อนว่าจะมีใครเอา ซาวด์การ์ดมาใช้เล่นเพลง เล่นดนตรีกันทั่วบ้านทั่วเมืองแบบนี้ก็ได้
เลยเป็นผลทำให้ซาวด์การ์ดจำนวนมากยังคงใช้ชิพกำเนิดเสียงเครื่องดนตรีตาม มาตรฐาน GM กันอยู่
สังเกตได้จากราคาที่ค่อนข้างถูกและมักจะชอบแถมมากับคอมพิวเตอร์ที่สั่ง ประกอบสำเร็จจากร้านค้า

แต่ ก็ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลยเสียทีเดียว เพราะว่าถ้าเป็นซาวด์การ์ดที่มีมาตรฐานหน่อยราคาก็มักจะสูงขึ้นตาม
แต่ก็ทำให้เรามั่นใจได้ว่า มันจะสามารถให้เสียงเครื่องดนตรีที่ถูกต้องและครบถ้วนแน่นอน
ตรงนี้เราต้องพิจารณากันให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ

บริษัท ที่ผลิตเครื่องดนตรียักษ์ใหญ่อย่าง ROLAND CORPERATION
ที่นอกจากจะมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีแล้ว
ก็ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวงการคอมพิวเตอร์ด้วย

โดยการผลิตซาวด์การ์ดคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐาน GS เพื่อมาใช้ กับคอมพิวเตอร์ดนตรีโดยตรง
มีทั้งแบบที่เป็นเหมือนซาวด์การ์ดทั่วไปที่ต้องเสียบเข้ากับสล้อตว่างๆของ คอมพิวเตอร์ ,
แบบที่เรียกว่า Daughterboard ที่ต้องเสียบไปบนซาวด์การ์ดตัวเดิม

และแบบติดตั้งภายนอกหรือที่เรียกกันว่า"ซาวด์โมดูล"นั่นเอง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 เมษายน 2014, 09:54:21 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 10:03:34 น. »

ไฟล์ MIDI ไม่ได้มีการเก็บเสียงดนตรีใดๆ ไว้เหมือนอย่างเทปเพลงหรือซีดีเพลง
ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปของคำสั่งที่จะไปสั่งเครื่อง ดนตรีว่า
ให้เปล่งเสียงโน้ตตัวใด(Note ON), ด้วยระดับความดังแค่ใหน(Velocity)
และคำสั่งอื่นๆ ตามคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด

ดังนั้นเสียงดนตรีที่เป็นตัวโน๊ต  มันจึงมาจากคลังเสียง
ถ้าบรรจุอยู่ในฮาร์ดแวร์  เราเรียกว่า  Sound Module  มีราคาแพง

ถ้าอยู่ในซอร์ฟแวร์  เราเรียกว่า  SoundFont  มีตั้งแต่ให้ใช้ฟรี ยัน เสียตังราคารากหญ้า

ออฟไลน์ นันทเรศ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 540
  • 95E75322 จากครูภูม, 4E8DE8C5 รับดูแลต่อจากสมาชิก
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 10:24:32 น. »
ขอบคุณมากๆสำหรับความรู้ที่ได้นำมาเรียบเรียงเป็นตัวอักษร อ่านเข้าใจง่ายครับ..:th2: :th2:

ขอให้สุขภาพแข็งแรงตลอดไปครับ


 :thank1:


ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 10:25:38 น. »
Roland  ,  Yamaha  ,  Korg

สามค่ายที่ผลิต  Sound Module  ออกขายกันหลายรุ่น  ทุกค่ายต่างได้รับความนิยมไม่น้อยหน้ากัน

ในแวดวงการทำเพลงที่ใช้ โปรแกรม DAW ( Digital Audio Workstation)  ต่างก็เลือกใช้ตามความเหมาะสม

กล่าวกันว่า  Roland  ให้เสียงเปียโน และ เสียงกีตาร์ ได้ธรรมชาติที่สุด
ส่วน  ยามาฮ่า  กับ Korg  นั้นผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าให้เสียงอะไรดีกว่า

มืออาชีพที่จะออกงานเล่นสดถึงต้องมี  Sound Module  ทั้งสามค่ายเอาไว้เรียกตัวโน๊ตดนตรีขึ้นมาใช้งาน
นั่นหมายถึงเค้าได้ทำมีดี้ไฟล์สำหรับออกคำสั่งไว้ล่วงหน้าแล้ว

มีดี้ไฟล์  กับ  ซาวด์โมดูล
หรือ  มีดี้ไฟล์กับ ซาวด์ฟ้อนท์   มันจึงเป็นของคู่กัน

จะเรียกว่า  SoundFont  เป็นเสมือนหนึ่ง นักดนตรีที่เชี่ยวชาญก็ไม่ผิดนักครับ เรียกมาใช้ได้ตลอดเวลา


แก้  Kork  -----   Korg   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 เมษายน 2014, 10:53:32 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 10:27:37 น. »
Roland  ,  Yamaha  ,  Kork

สามค่ายที่ผลิต  Sound Module  ออกขายกันหลายรุ่น  ทุกค่ายต่างได้รับความนิยมไม่น้อยหน้ากัน

ในแวดวงการทำเพลงที่ใช้ โปรแกรม DAW ( Digital Audio Workstation)  ต่างก็เลือกใช้ตามความเหมาะสม

กล่าวกันว่า  Roland  ให้เสียงเปียโน และ เสียงกีตาร์ ได้ธรรมชาติที่สุด
ส่วน  ยามาฮ่า  กับ Kork  นั้นผมจำไม่ไดจริงๆ ว่าให้เสียงอะไรดีกว่า
มืออาชีพที่จะออกงานเล่นสดถึงต้องมี  Sound Module  ทั้งสามค่ายเอาไว้เรียกตัวโน๊ตดนตรีขึ้นมาใช้งาน
นั่นหมายถึงเค้าได้ทำมีดี้ไฟล์สำหรับออกคำสั่งไว้ล่วงหน้าแล้ว

มีดี้ไฟล์  กับ  ซาวด์โมดูล
หรือ  มีดี้ไฟล์กับ ซาวด์ฟ้อนท์   มนจึงเป็นของคู่กัน

จะเรียกว่า  SoundFont  เป็นเสมือนหนึ่ง นักดนตรีที่เชี่ยวชาญก็ไม่ผิดนักครับ

Korg อ่ะป่าว

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 10:52:12 น. »
Korg อ่ะป่าว

ครับ  Korg  ขอบคุณ น้า มากๆ 

เดี๋ยวมีรางวัล ตบให้ 1 ขวด

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 11:44:37 น. »
ครับ  Korg  ขอบคุณ น้า มากๆ 

เดี๋ยวมีรางวัล ตบให้ 1 ขวด

ขวดใหญ่ขวดเล็ก  ;D

ออฟไลน์ naray

  • ลงทะเบียน HL
  • กำเนิดใหม่
  • *
  • กระทู้: 7
  • hl 87636b1d
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 18:35:48 น. »
ถ้าเราจะเปรียบ มิดี้ไฟล์ เป็นนักดนตรี  SoundFont เป็นเครื่องดนตรี  พอจะได้ไหมครับ
คือ สำเนียงการเล่นจะลื่นไหลหรือไม่ อยู่ที่มิดี้ไฟล์    ส่วนเสียงจะดีไม่ดี อยู่ที่ SoundFont  ประมาณนี้หรือเปล่าครับ พอดี ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ ผิดถูกอย่างไร ก็ขออภัยไว้ด้วยครับ  :thank1:

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2014, 19:10:12 น. »

ถ้าเราจะเปรียบ มิดี้ไฟล์ เป็นนักดนตรี  

SoundFont เป็นเครื่องดนตรี  พอจะได้ไหมครับ

คือ สำเนียงการเล่นจะลื่นไหลหรือไม่ อยู่ที่มิดี้ไฟล์    
ส่วนเสียงจะดีไม่ดี อยู่ที่ SoundFont  ประมาณนี้หรือเปล่าครับ
พอดี ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ ผิดถูกอย่างไร ก็ขออภัยไว้ด้วยครับ  :thank1:



ก่อนอื่นต้องออกตัวว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เพียงแต่สนใจถึงที่มาที่ไป  
สมัยก่อนหาอ่านจากหนังสือ  สมัยนี้มีกูเกิ้ลและวิกิช่วย
อ่านแล้วทำความเข้าใจเรียบเรียงมาเล่าสู่กันฟังครับ  มิได้ลึกซึ้งคงระดับอนุบาลมากกว่าประถมด้วยซ้ำ

พอจะนั่งเทียนตอบได้เท่าที่เข้าใจครับ

มีดี้ไฟล์  เป็นชุดคำสั่ง คำสั่งที่ให้เสียงดนตรี ที่อยู่ในคลังเสียง  (ซาวด์โมดูล  ,  ซาวด์ฟ้อนท์)
เช่นเปียโน  เล่นตัวโน๊ต (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที)
เล่นด้วยเสียงเบาเสียงดังแรงขึ้น ระยะเวลาที่กดแช่

(นักเปียโนที่เก่งเค้าจะกดคีย์เปียโนด้วยน้ำหนักไม่เท่ากันและกดด้วยเวลาที่สั้นยาวไม่เท่ากัน
ถ้าเป็นนักร้องจะเรียกว่าเอื้อนกระมัง
ผมมิได้เป็นนักดนตรี ทฤษฎีดนตรีก็แค่อ่านผ่านๆ)

ส่วนซาวด์ฟ้อนจะได้จากเสียงจริงของดนตรีแต่ละชิ้นที่อัดเก็บไว้  ผมไม่แน่ใจว่าอยู่ในรูปของเวฟ หรืออะไร
เสียงจะดีไม่ดีคงอยู่ที่จุดนี้นะครับ  
มันขึ้นอยู่กับชิ้นดนตรีที่เล่น (ราคา)  คนเล่น  จนกระทั่งระบบการอัดเสียงได้มาตรฐานหรือไม่ครับ

ถ้าเปรียบมีดี้ไฟล์  น่าจะตรงกับ  Conductor  หรือ วาทยกร  ที่ยืนถือไม้บาตอง  อยู่ต่อหน้านักดนตรีวงซิมโฟนี่นะครับ
มีหน้าที่กำกับการเล่นของนักดนตรีตามบทประพันธ์เพลง (ชี้ใหนักดนตรีแถวไหนเล่นและเล่นอย่างไร)

นักดนตรีน่าจะเป็น  ตัวซาวด์ฟ้อนท์มากกว่า  
ถ้าคนทำซาวด์ฟ้อนด์ที่ขาดทักษะด้านการเล่นดนตรี
เสียงมันสะดุดก็ไม่ลื่นไหลเหมือนนักดนตรีกำลังฝึกเล่นใหม่ๆ ครับ

เดี๋ยวถึงตอน  ปฐมบท ซาวด์ฟ้อนท์ 2  ผมจะมีแทรกตัวอย่างให้ฟังพร้อมคำอธิบายนะครับ

ถามต่อได้ครับ  ผมจะได้ถือโอกาสค้นมาเขียนเล่าสู่กันฟัง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 21 เมษายน 2014, 07:38:38 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2014, 08:06:02 น. »
บนบาทวิถีแห่งเส้นเสียงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอนาคตเพราะมันยังมาไม่ถึง
ผมยังค้างคาใจอยู่กับ  Sound Module  และ  Power Amp.  อย่างละรุ่น

คือไม่เคยทั้งลองเล่น และฟัง

Crown XLS 602  พาวเวอร์แอมป์ตัวนั้นครับ
เปิดเว็บฝรั่งเห็นทั้งเชียร์และยกย่องกันจังในเรื่องความคุ้มค่าที่เกินราคาไปมากต่อมาก
ผมไม่อยากซื้อดอกนะครับ  แต่แค่อยากลองฟังเท่านั้น

นัก DIY  ทั่วโลกไม่เว้นเมืองเมืองไทย  ต่างก๊อป ไดร์เวอร์บอร์ด
นำมาขับภาคพาวเวอร์อย่างสนุกสนาน
นัยว่าให้เสียงกลางได้โดดเด่นที่สุด  และที่สำคัญ
มันให้สำเนียงเสียงฮาร์โมนิกได้ยอดเยี่ยมมาก  มากกว่ารุ่นใหญ่ของ Crown เสียอีก

Harmonic  สำคัญขนาดไหนนั้น  สามารถชี้เป็นชี้ตายอย่างไรนั้นไว้ผมมาเล่าให้ฟังอีกที

แอมป์รุ่นนี้เมืองไทยแถวสุพรรณทำออกมาขายนะครับ ชื่อคุ้นๆ กับเจ้าที่ทำ Active Sub นั่นแหละ

อีกอันคือ ซาวด์โมดูลยี้ห้อโรแลนด์  รุ่นเล็กพวก SC นั้นถือว่าเคยฟังแบบแก้ขัดแทบทุกรุ่น
ส่วนรุ่นที่ใช้ในสตูดิโอคือรุ่น  XV  นั้นเคยยืมรุ่น  XV 3080  เพื่อนบ้าน มาฟังหลายเดือน
สมัยนั้นธีระขาย  70,000.-  คนตกงานอย่างผมหมดสิทธิ์

คุณงามความดีนั้นบอกได้แค่ว่า  มันเป็นที่สุดของซาวด์โมดูลในสามโลก
กระทั่งต่อมามีรุ่นซึ่งใหญ่กว่าออกมาคือ  XV 5080 ที่ทวีคูณ  คุณงามความดีห่างจาก XV 3080 ขึ้นไปอีก
องุ่นเปรี้ยวทั้งสิ้นเพราะเอามาร้องคาราโอเกะภายในบ้านไม่สมควรจ่ายเงินด้วยประการทั้งปวง

ขณที่ค่ายอื่นลดวาลดศอกการพัฒนาซาวด์โมดูล
แต่  Roland  มิเคยหยุด  Integra 7  ออกมาไล่หลัง  Sonic cell
ราคาครึ่งแสนเล็กน้อย  ทำเอามืออาชีพที่ถือครอง  XV 5080  เกิดอาการร้อนรุ่ม

มันจึงเห็นราคามือสอง มือสามหล่นลงมาอยู่ที่ประมาณ  20,000.-  บวก - ลบ
เอน่าคิดนะครับ
มันน่าจะเอามาเป็นเครื่องชี้  เส้นแบ่งหรือจุดมาตรฐานได้ในระดับหนึ่ง

มาตรฐานในยามที่เราไม่รู้จริงๆ  ว่า  
จุดอ้างอิงในอุดมคตินั้นมันมีอยู่จริง
มีอยู่ให้เรารับรู้ได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 เมษายน 2014, 08:19:11 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ patchatt

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 383
  • HL#9F636B0F (MP)
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2014, 09:07:48 น. »
ขอติดตามบทความที่มีประโยชน์มากๆเลยครับ   :happy: :happy:

ออฟไลน์ jaky

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1038
  • 8628F960 และ 55E76D53 นิมิตใหม่
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2014, 11:25:18 น. »
ยิ่งติดตาม...ยิ่งยากฟังเสียงจริงๆ...
จาก...ซาวด์ โมดูล...
เพราะ...มีแต่ซาวด์ฟ้อนท์... :cry:

ออฟไลน์ จุมพล ระยอง

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 206
  • 870C918B Music Creator
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2014, 20:45:22 น. »
ขออนุญาติติดตามบทความดี ๆ ด้วยคน

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: วันที่ 21 เมษายน 2014, 09:19:46 น. »
ความจริงผมเปิดช่องว่างให้สามารถ สื่อได้สองทางหลายจุด
แต่ไม่มีท่านใดสื่อกลับมาเลย

อย่างเช่น  ทำไม? เมื่อ Crown XLS 602  มันยอดเยี่ยมถึงเพียงนั้นแล้ว
มือสองก็มีมาเรื่อยในราคาเย้ายวนใจ
ทำไม ผมไม่ซื้อนำมาขับให้เสียงร้องคาราโอเกะให้โดดเด่น


ขออนุญาตท่านเจ้าของรูป ณ ที่ตรงนี้ครับ


Thanks: เกมส์ ฟังวิทยุออนไลน์


มันต้องมีเหตุผลในตัวบ้างละนา.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 21 เมษายน 2014, 09:25:23 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ jaky

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1038
  • 8628F960 และ 55E76D53 นิมิตใหม่
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: วันที่ 21 เมษายน 2014, 09:35:51 น. »
ความรู้ไม่ถึง...เลยรอฟังและเชียร์ครับ... :party2:

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2014, 17:09:27 น. »

สงสัยมานานทีเดียว
เวลาเล่น eXtreme  ตรงให้โหลด  SoundFont 
และตรงที่ให้เลือก  Multi SoundFont

ครือว่าเวลา Add  เข้าไปหลายตัว  มันเล่นพร้อมกันทุกตัว แล้วแต่จังหวะจะโคน
หรือว่าเล่นเฉพาะตัวบนสุด ครับ
อยากรู้จริงๆ

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: ปฐมบทซาวด์ฟ้อนท์ 1
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2014, 19:56:10 น. »
18 ฝน  

SoundFont  อีกหนึ่งที่อยากให้ฟัง

แล้วค่อยมาเสวนากันครับ

 



และเพลงนี้มอบให้กับ อดีตผู้จัดการทีมปีศาจแดง เสียใจด้วยนะพ่อคุณ

Sorry seem to be the hardest world.   ELTON JOHN



 


นักดนตรีแต่ละคน  มาจากวง  Symphony Oichestra  เก๋ากึ๊ก  เล่นสุดฝีมือครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 เมษายน 2014, 20:10:36 น. โดย มะละกอ »