ผู้เขียน หัวข้อ: ความเร็วของคลื่นเสียง  (อ่าน 15216 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
ความเร็วของคลื่นเสียง
« เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 12:00:15 น. »
ความเร็วของคลื่นเสียง  
เนื่องจากยังได้พบเห็นความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องความเร็วของคลื่นเสียงอยู่บ่อยๆ จึงได้นำเรื่อง "ความเร็วของคลื่นเสียง" มารวมไว้ในชุดบทความ "ศาสตร์แห่งเส้นเสียง" เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับเครื่องเสียงและอคุสติค

เริ่มจากต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า "คลื่นเสียง – Sound Wave" ก็คือการสั่นไหวเชิงความดัน (Pressure Disturbance) ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปในตัวกลาง (Medium) ด้วยลักษณะกิริยาการส่งผ่านพลังงานจากการสั่นไหวระหว่างอนุภาค (Particle) ที่อยู่ติดชิดกันของตัวกลางนั้น

ดังนี้คำว่า "ความเร็วของคลื่นเสียง – Speed of sound wave" ก็จะหมายถึงความเร็วของการส่งผ่านการสั่นไหวที่ว่านี้ โดยจำนวนรอบการสั่นไหวของอนุภาคตัวกลางในหนึ่งหน่วยเวลาก็คือ "ความถี่ – Frequency" ของระรอกคลื่นนั่นเอง
                          

ความเร็วของคลื่นคือระยะที่ "จุดหนึ่งจุดใดบนช่วงคลื่น" เคลื่อนไปในห้วงเวลาหนึ่ง

                            ความเร็ว (V) = ระยะทาง (S) / เวลา (T)

แต่ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่ระรอกคลื่นนั้นเคลื่อนที่ผ่านไป โดยคุณสมบัติหลักๆ ของตัวกลางที่มีผลต่อความเร็วของคลื่นก็คือ "ความเฉื่อย – Inertia" และ "ความยืดหยุ่น – Elastic"

ในกรณีของตัวกลางที่เป็นก๊าซ (Gases) ก็จะมีความหนาแน่น (Density) ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักทางความเฉื่อยที่มีผลต่อความเร็วในการส่งผ่านคลื่นเสียง หากปัจจัยอื่นๆ เหมือนกันแล้ว คลื่นเสียงจะเดินทางผ่านก๊าซที่มีความหนาแน่นน้อยได้เร็วกว่าตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า

ส่วนกรณีของตัวกลางที่เป็นของแข็งนั้น ตัวกลางที่มีความเหนียวแน่นสูงเช่นเหล็กจะมีความสามารถในการส่งผ่านคลื่นเสียงได้เร็วกว่าตัวกลางที่มีความหยุ่นอ่อนเช่นยาง

ทั้งนี้ปัจจัยจากความยืดหยุ่นจะมีผลต่อความเร็วของเสียงมากกว่าปัจจัยจากความเฉื่อย ด้วยเหตุนี้ความเร็วของเสียง (V) ที่เดินทางผ่านของแข็ง (Solids) จะมากกว่าของเหลว (Liquids) และในของเหลวจะมากกว่าก๊าซ (Gases)

                                       V solids > V liquids >V gases

ด้วยเหตุนี้ความเร็วของเสียงที่เดินทางในอากาศ (Air) จึงขึ้นกับคุณสมบัติของมวลอากาศ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่มีผลต่อความเร็วเสียงก็คืออุณหภูมิและความดันของอากาศ

ความดันของอากาศจะส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลอากาศ (คุณสมบัติทางความเฉื่อย) ในขณะที่อุณหภูมิจะส่งผลต่อความรุ่นแรงของปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคของอากาศ (คุณสมบัติทางความยืดหยุ่น) ซึ่งหมายความว่าหากคิดเฉพาะผลจากอุณหภูมิของอากาศต่อความเร็วของเสียงแล้ว อากาศที่มีระดับอุณหภูมิที่สูงกว่าจะยอมให้เสียงเดินทางผ่านไปได้เร็วกว่า ตามสมการ

                                                           V = 331 + 0.6T

โดย T คือค่าอุณหภูมิของอากาศในหน่วยองศาเซลเซียส และ V คือความเร็วในหน่วยเมตร/วินาที เช่นอากาศที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (ในห้องปรับอากาศทั่วๆ ไปเช่นห้องฟังเพลง) เสียงจะเดินทางได้ด้วยความเร็วประมาณ 346 เมตร/วินาที หรือประมาณ 1,245 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

จากบทความเรื่อง "เสียงทุ้ม-เสียงแหลม" นั้น ความถี่ 1 Hz จะหมายถึงการสั่นไหว (Vibration) ของอนุภาคตัวกลางจำนวน 1 รอบใน 1 วินาที (Second) หรือ

                                                              1 Hz = 1 Vibration / 1 Second

ซึ่งการสั่นไหว 1 รอบนี้ คลื่นจะเคลื่อนที่ไปได้เท่ากับ 1 ความยาวคลื่น (L) พอดี และหากใน 1 วินาทีมีการสั่นไหว 2 รอบก็จะได้ความถี่เท่ากับ 2 Hz โดยคลื่นจะเคลื่อนที่ไปได้ 2 ความยาวคลื่น...ในระยะทางโดยรวม (S) เท่าเดิม (ด้วยความเร็วเท่าเดิม) เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ดังนั้น

                                  1 Hz = 1 Vibration / 1 Second โดย S = 1 x L1

                                  2 Hz = 2 Vibration / 1 Second โดย S = 2 x L2

                                   n Hz = n Vibration / 1 Second โดย S = n x Ln
                                    


                                    เมื่อ S = n x L หากหารด้วยเวลา 1 วินาที จะได้ว่า

                                             S/1 Second = n/1 Second x L

                   ซึ่ง S/1 Second ก็คือความเร็ว V และ n/1 ก็คือความถี่ F นั่นเอง ดังนั้น

                                                         V = F x L

                                                 แปลความหมายได้ว่า

                                     ความเร็วของคลื่น = ความถี่ x ความยาวคลื่น

ในกรณีของคลื่นเสียงนั้น ตามปกติแล้วจะใช้สมการนี้เพื่อหาค่าความยาวคลื่นของความถี่ที่ต้องการ โดยจะเริ่มจากการหาค่าความเร็วของเสียง (ซึ่งเป็นค่าคงที่) จากสมการ V = 331 + 0.6T ให้ได้เสียก่อน เช่นหากจะคำนวณต่อจากตัวอย่างข้างบน คลื่นเสียงที่ความถี่เท่ากับ 60 Hz จะมีความยาวคลื่นเท่ากับ 346/60 = 5.76 เมตร (ที่อุณหภูมิอากาศเท่ากับ 25 องศาเซลเซียส)

ทั้งนี้สมการ V = F x L นี้จะเป็นเพียงความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ของคลื่นเท่านั้น มิได้หมายความว่าความเร็วของคลื่น เช่นคลื่นเสียงนั้นจะแปรเปลี่ยนไปตามค่าความถี่ หรือ ค่าความยาวคลื่นแต่อย่างใด

แต่ก็ยังพบเห็นมีผู้เข้าใจผิดๆ ในเรื่องนี้กันอยู่เนืองๆ และยังมีการส่งต่อความเข้าใจผิดๆ ผ่านการบอกเล่าหรือการตอบปัญหาเกี่ยวกับอคุสติคในบางแห่งบางที่ ทำนองว่า เสียงแหลมความถี่สูงมีความเร็วมากกว่าเสียงทุ้มความถี่ต่ำ ทั้งที่จริงๆ แล้วจะมีความเร็วไม่ต่างกัน ซึ่งได้สร้างความเข้าใจผิดๆ ออกไปในวงกว้าง เนื่องจากนักเล่นโดยทั่วไปมักจะยึดถือคำตอบจากตัวบุคคลที่คิดว่าน่าเชื่อถือได้ จึงต้องถือให้เป็นปัญหาของผู้ที่ตอบซึ่งควรต้องหมั่นศึกษาในเรื่องที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์หรือธรรมชาติมากกว่าการตอบไปตามแต่ที่ตนเองจะคิด, รู้สึกหรือคาดเดาไปเอง


ที่มา  www.sound-map.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 12:04:56 น. โดย เด็กชายเคยโสด »

ออฟไลน์ กฤษฎานคร

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4504
  • HL#-- 4C9C3998 [หมอโป่งจัดให้]
Re: ความเร็วของคลื่นเสียง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 12:03:33 น. »
คุ้นๆ  แต่ คลื่นของความคึดฮอด ... :love2:

ออฟไลน์ อาเล็ก

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 343
  • 6E674E74 (จากลุงกานต์)
Re: ความเร็วของคลื่นเสียง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 13:36:28 น. »
เปนตาปวดหัวอีหลีเน๊าะ  ;D

ออฟไลน์ sriAROON

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 3717
  • อย่าเลื่อยขี้เลื่อย
Re: ความเร็วของคลื่นเสียง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 15:51:21 น. »
เสริมครับ
ในตัวกลางชนิดเดียวกัน เช่น ในอากาศ
คลื่นเสียง ที่ความถี่ไม่เท่ากัน และความยาวคลื่นไม่เท่ากัน จะวิ่งไปด้วยความเร็วเท่ากัน ไปถึงที่หมายพร้อมกัน
คลื่นเสียงความถี่สูง เปรียบเหมือนคนวิ่งซอยเท้าถี่ๆ แต่ก้าวสั้น
คลื่นเสียงความถี่ต่ำ เปรียบเหมือนคนวิ่งก้าวยาวๆ แต่ละก้าวใช้เวลาห่างกัน
เมื่อเอาสองคนนี้มาวิ่งแข่งกัน ก็จะถึงที่หมายพร้อมกัน

เสียงกลาง แหลม และเบส ถ้าออกจากลำโพงที่วางอยู่ในแนวเดียวกัน จึงวิ่งไปถึงหูผู้ฟังในเวลาเดียวกัน  ;D

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: ความเร็วของคลื่นเสียง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 16:06:13 น. »
ถูกต้องที่สุด  เสียงไม่ว่าจะ เสียงต่ำ กลาง แหลม เดินทางในอากาศใช้เวลาเท่ากัน แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เสียงที่ออกจากลำโพงเสียง ต่ำ กลาง แหลม มาถึงหูเราไม่พร้อมกัน 

เรื่องนี้เข้าใจว่าการอธิบายในเชิงทฤษฎีมากเกินไป  จะทำให้คนฟัง ฟังแล้วเข้าใจได้ยากกว่า  จึงบอกแค่เพียงผ่าน ๆ ว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเดินทางด้วยความเร็วไม่เท่ากันด้วน ๆ     แต่ไม่ได้บอกว่าเดินทางผ่านอะไร  ทุกคนจึงเข้าใจไปว่าเดินทางผ่านอากาศ   จึงเกิดข้อวิเคราะห์ตามมาเหมือนบทความที่ยกมาในกระทู้นี้

ซึ่งหากอธิบายขยายความต่อไปว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเมื่อผ่านวงจรกรองความถี่เสียง BAND PASS FILTER แล้วจะเกิดค่า Propagation Delay แตกต่างกัน  โดยสัญญาณเสียงที่ผ่านวงจรกรองความถี่ย่านเสียงต่ำ  จะเกิดค่า Propagation Delay มากที่สุด  ทำให้สัญญาณเสียงย่านต่ำที่ถูกถ่ายทอดต่อไปยังพาวเวอร์แอมป์ไปถึงช้าที่สุด  และทำให้ตู้ลำโพงเสียงต่ำทำงานช้าที่สุด  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้ยินเสียงต่ำ ช้าที่สุดไปด้วยโดยปริยายครับ

 :thank1:

ออฟไลน์ sriAROON

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 3717
  • อย่าเลื่อยขี้เลื่อย
Re: ความเร็วของคลื่นเสียง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 16:08:35 น. »
ถูกต้องที่สุด  เสียงไม่ว่าจะ เสียงต่ำ กลาง แหลม เดินทางในอากาศใช้เวลาเท่ากัน แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เสียงที่ออกจากลำโพงเสียง ต่ำ กลาง แหลม มาถึงหูเราไม่พร้อมกัน 

เรื่องนี้เข้าใจว่าการอธิบายในเชิงทฤษฎีมากเกินไป  จะทำให้คนฟัง ฟังแล้วเข้าใจได้ยากกว่า  จึงบอกแค่เพียงผ่าน ๆ ว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเดินทางด้วยความเร็วไม่เท่ากันด้วน ๆ     แต่ไม่ได้บอกว่าเดินทางผ่านอะไร  ทุกคนจึงเข้าใจไปว่าเดินทางผ่านอากาศ   จึงเกิดข้อวิเคราะห์ตามมาเหมือนบทความที่ยกมาในกระทู้นี้

ซึ่งหากอธิบายขยายความต่อไปว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเมื่อผ่านวงจรกรองความถี่เสียง BAND PASS FILTER แล้วจะเกิดค่า Propagation Delay แตกต่างกัน  โดยสัญญาณเสียงที่ผ่านวงจรกรองความถี่ย่านเสียงต่ำ  จะเกิดค่า Propagation Delay มากที่สุด  ทำให้สัญญาณเสียงย่านต่ำที่ถูกถ่ายทอดต่อไปยังพาวเวอร์แอมป์ไปถึงช้าที่สุด  และทำให้ตู้ลำโพงเสียงต่ำทำงานช้าที่สุด  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้ยินเสียงต่ำ ช้าที่สุดไปด้วยโดยปริยายครับ

 :thank1:
:th1: :th1:

ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
Re: ความเร็วของคลื่นเสียง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010, 20:32:52 น. »
ผมยกทฤษฎีทางฟิสิกส์มาให้ทุกคนเข้าใจว่า  ที่มาของเสียงสะท้อน เสียงก้อง เสียงเบส เสียงแหลม  เป็นเช่นไร

เพื่อให้นักเล่นเครื่องไฟเข้าใจ  เมื่อเข้าใจก็สามารถจัดการกับอุปสรรค  ที่เกิดนักเล่นเครื่องไฟได้ครับ

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: ความเร็วของคลื่นเสียง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 15:27:41 น. »
ผมยกทฤษฎีทางฟิสิกส์มาให้ทุกคนเข้าใจว่า  ที่มาของเสียงสะท้อน เสียงก้อง เสียงเบส เสียงแหลม  เป็นเช่นไร

เพื่อให้นักเล่นเครื่องไฟเข้าใจ  เมื่อเข้าใจก็สามารถจัดการกับอุปสรรค  ที่เกิดนักเล่นเครื่องไฟได้ครับ



แต่ก็ยังพบเห็นมีผู้เข้าใจผิดๆ ในเรื่องนี้กันอยู่เนืองๆ และยังมีการส่งต่อความเข้าใจผิดๆ ผ่านการบอกเล่าหรือการตอบปัญหาเกี่ยวกับอคุสติคในบางแห่งบางที่ ทำนองว่า เสียงแหลมความถี่สูงมีความเร็วมากกว่าเสียงทุ้มความถี่ต่ำ ทั้งที่จริงๆ แล้วจะมีความเร็วไม่ต่างกัน ซึ่งได้สร้างความเข้าใจผิดๆ ออกไปในวงกว้าง เนื่องจากนักเล่นโดยทั่วไปมักจะยึดถือคำตอบจากตัวบุคคลที่คิดว่าน่าเชื่อถือได้ จึงต้องถือให้เป็นปัญหาของผู้ที่ตอบซึ่งควรต้องหมั่นศึกษาในเรื่องที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์หรือธรรมชาติมากกว่าการตอบไปตามแต่ที่ตนเองจะคิด, รู้สึกหรือคาดเดาไปเอง


รับทราบครับท่านเด็กชายเคยโสด

เพียงแต่เนื้อหาในบทความมีอยู่ตอนหนึ่ง  ซึ่งแทนที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง กลับสร้างความเข้าใจที่คาดเคลื่อนออกไปอีกครับ


ด้วยจิตคารวะ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 15:30:02 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ เด็กชายเคยโสด

  • คณะบริหาร
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ****
  • กระทู้: 20083
  • 6E65CE52,7309F48F,48B54692,6E674E74,1E001EF5
Re: ความเร็วของคลื่นเสียง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 15:36:44 น. »
ขอบคุณครับ