eXtreme Karaoke

หมวดหมู่ทั่วไป => บทความ ความรู้ วิชาการ ด้านต่าง ๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 20:05:56 น.

หัวข้อ: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 20:05:56 น.
ความดันโลหิตสูง(Hypertension=HT)

นิยาม ตรวจความดันโลหิต ได้ systolic blood pressure มากกว่า 140 mmHg  หรือ Diastolic blood pressure มากกว่า 90 mmHg วัดอย่างน้อย 2 ครั้ง ในภาวะปกติ ห่างกัน 30 นาที

แบ่งตามสาเหตุ ได้2ประเภทคือ
1 ssential hypertension (ไม่่ทราบสาเหตุ) พบได้ร้อยละ 90-95  อายุที่เริ่มเป็น ประมาณ 40-60ปี โดยต้องไม่มีลักษณะของ secondary hypertension
(ปัจจุบัน สันนิฐานว่า เกิดจาก multifactorial เช่น สูบบุหรี่ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อ้วน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เสส้นเลือดตีบและแข็ง (Aterosclerosis) เป็นผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมา)

2 Secondary hypertension(ทราบสาเหตุ)รักษาได้หากกำจัดสาเหตุได้ เกิดได้จาก
   2.1 -โรคไต ได้แก่ไตวายเฉียบพลันและเรื้อรัง
        -โรคเส้นเลือดไตตีบ (renal artery stenosis)
   2.2 โรคต่อมไร้ท่อ ได้แก่
        - เบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
        - ภาวะฮอร์โมน Aldosterone มากเกินไป (hyperaldosteronism)
        - เนื้องอกของต่อมหมวกไตที่หลั่ง ฮอร์โมน Norepinephrine มาก (Pheochromocytoma)
        - Cushing's syndrome จากภาวะฮอร์โมน Cortisol สูง เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต กินยา อาหาร หรือสมุนไพรที่มี steroid เป็นเวลานาน  เนื้องอกของต่อมใต้สมอง(pituitary)
        - ภาวะธัยรอยด์ เป็นพิษ
        เป็นต้น
    2.3 โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
        - Coarctation of aorta (โรคเส้นเลือดแดง Aorta ตีบแคบโดยกำเนิด)
        - Takayasu's arteritis โรคเส้นเลือดอักเสบ แล้วมีการเชื่อมกันที่ผิดปกติของหลอดเลือด
    2.4 Obstructive sleep apnea โรคททางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ พบในคน อ้วน
    2.5 ยา เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้ปวดแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs
    2.6 ปฏิกิริยาของร่างกาย เช่น ไข้ หอบหืด

อาการ

-ผู้ป่วยHTส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ มักตรวจพบโดยบังเอิญ
อาจมีหงุดหงิดกระวนกระวายได้

-ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนอาจทีอาการ
  -ปวดศีรษะ
  -ซึม - ชัก
  - ตามัว
  - คลื่นไส้อาเจียน
  - เจ็บแน่นหน้าอก
  - หายใจหอบ
  - ปวดร้าวทะลุหลัง
  - ปัสสาวะไม่ออก
  - อัมพาตครึ่งซีก

ภาวะแทรกซ้อน

 
    ระบบประสาท
     - ซึม-ชัก (Hypertensive ncephalopathy)
     - เลือดออกในสมอง (Intracranial hemorrhage)
     - เลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้น arachnoid (Subarachnoid hemorrhhage)
     - โรคหลอดเลือดสมอง (ตีบ แตก หรือ ตัน) (Stroke) ทำให้อัมพาตครึ่งซีก
    ระบบหัวใจและหลอดเลือด
     - โรคหัวใจขาดเลือด (Acute myocardial infarction)
     - ภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวผิดปกติ
     - น้ำท่วมปอด (acute pulmonary dema)
     - หลอดเลือดแดง Aorta ปริแตก (Aortic dissection)
   ไต
     - ไตวายเฉียบพลัน ( Acute renal failure )/ ไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure)

อื่นๆ เช่น ตา Hypertensive retinopathy ทำให้ตามัว-บอด
   (http://www.elements4health.com/images/stories/conditions/high-blood-pressure.jpg)
การแบ่งระดับของ ความดันโลหิตสูง ตาม JNC-7 classification เพื่อใช้ในการรักษา

(http://www.scielo.br/img/revistas/rsp/v43n5/en145t1.gif)

การรักษา

ผู้ป่วยกลุ่ม Pre-hypertension การรักษาคือ การปฏิบัติตัว(life style modification) ได้แก่
1 ลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ให้ได้ BMI น้อยกว่า 23 [BMI=นน.เป็น กก./(ส่วนสูงเป็นเมตร)2]
2 การรับประทานอาหาร ควรจำกัดปริมาณแคลอรีต่อวัน วางแผนในการรับประทานอาหาร รับประทานผักผลไม้มากๆ นมต้องเป็นชนิดไขมันต่ำ จำกัดอาหารมันโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ เช่น ไข่แดง ตูดเป็ด อาหารทะเล อาหารทอด อาหารผัด ขนมหวาน
3 จำกัดเค็ม ต้องกินเค็มน้อยกว่าคนปกติ โดยเกลือที่ได้รับไม่ควรเกิน 6 กรัม/ วัน
4 ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละไม่ต่ำว่า 5 ครั้ง ยกเว้นการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงเบ่ง เช่น ยกน้ำหนัก งัดข้อ จะทำให้ความดันสูงมากขึ้น
5 ไม่ดื่มเครื่องดื่ม alcohol
6 ไม่สูบบุหรี่
7 ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด

--ผู้ป่วย HT stage1 ที่ไม่มีโรคร่วม(เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคเกาท์)และไม่มีภาวะแทรกซ้อน การรักษาคือ การรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต 1 ตัว ร่วมกับ life style modification
โดย ความดันโลหิตเป้าหมายอยู่ที่ SBP<140 และ DBP < 90 mmHg
--ผู้ป่วย HT stage2 หรือมีโรคแทรกซ้อนด้วย การรักษาคือ การกินยาลดความดัน ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป+life style modification ในรายที่มีโรคร่วมและภาวะแทรกซ้้อน ความดันโลหิตเป้าหมายอยู่ที่ SBP<130 และ DBP < 80 mmHg
  

รู้จักความดันโลหิตสูงกันแล้ว บางท่านอาจอยากรู้ว่าการทำงานของร่างกายในการควบคุมความดันมันเป็นอย่างไร ตามมาทางนี้เลยครับ.....


ความดันโลหิต หรือ Blood pressure (BP) คือแรงของเลือดในเส้นเลือดที่กระทำกับพื้นที่ผนังของหลอดเลือด มีหน่วยเป็น mm ของ ปรอท(Hg)

ทำไมต้องมีค่าความดัน 2 ค่า?

ตอบ เนื่องจากเส้นเลือดเรามีความยืดหยุ่น สามารถหดและขยายได้ไม่เหมือนท่อประปา จึงมีความดันไว้อ้างอิง 2 ตัวครับ
     ตัวแรกคือความดันโลหิต(ต่อไปผมจะเรียกว่า BP) สูงสุดขณะหัวใจบีบตัว เรียก systolic blood pressure หรือ SBP บ่งบอกถึง แรงในการบีบตัวของหัวใจ และ ปริมาณเลือดในเส้นเลือด
     BP ตัวหลัง คือ ความดันโลหิตต่ำสุดขณะหัวใจคลายตัว เรียก Diastolic blood pressure หรือ DBP ตัวนี้บ่งบอกถึงความยืดหยุ่นของผนังเส้นเลือดเราครับ ถ้าต่ำแสดงว่าเส้นเลือดยืดหยุ่นดี ถ้าสูงแสดงว่าเส้นเลือดแข็ง--->ซึ่งไม่ดี เช่น เกิดจาก การสูบบุหรี่ ไขมันหรือหินปูนเกาะเส้นเลือด หรือโรคการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ  

การเขียน BP จึงเขียน SBP/DBP เช่น 120/80 mmHg

สรีรวิทยาของความดันโลหิต(คร่าวๆ สำหรับชาวบ้าน)


ปัจจัยการแปรผันของ BP คือ
1 Cardiac output (CO) คือ ปริมาตรของเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที ซึ่งแปรผันตาม
   1.1 Heart rate (HR) คือ อัตราการเต้นของหัวใจ ใน 1 นาที
   1.2 Stoke volume (SV) คือ ปริมาตรของเลือดที่ถูกหัวใจบีบออกมาในแต่ละครั้ง

 ดังนั้น CO = HR x SV
2 Total peripheral vaascular resistance คือ ความต้านทานรวมของหลอดเลือด

 
จากกฎ ของ Ohm เลยครับ V=IxR เหมือนกันเลยครับ
ดังนั้น

BP = CO x TPR = HR x SV x TPR


(http://www.colorado.edu/intphys/Class/IPHY3430-200/image/figure1034.jpg)

จากรูป อธิบายได้ว่า
Cardiac output จะขึ้นกับ
1 HR ของเรา ขึ้น กับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งได้แก่ sympathetic และ parasympathetic โดย sym จะเพิ่มHR ส่วน parasym จะลด HR โดยสมองของเราจะสั่งว่าเวลาไหนจะใช้ระบบประสาทตัวไหน เช่น เวลาไฟไหม้ sym จะทำงาน HR จะเพิ่มขึ้น ในเวลาพักผ่อน parasym จะทำงานมากกว่า HR จึงเต้นช้าลง
2 SV ขึ้นกับ
  2.1 Sympathetic ทำให้หัวใจบีบตัวแรงข้ำ SV จะมากขึ้น
  2.2 Venous return (VR) คือปริมาณเลือดที่ไหนกลับสู่หัวใจห้องขวา ซึ่งขึ้นกับ
      2.2.1 ระบบประสาท Sym(อีกแล้ว) ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายขยายตัวรับเลือดได้มาก
      2.2 2 ฺBlood volume คือ เลือดในหลอดเลือด โดยปริมาณเลือดจะขึ้นกับความเข้มข้น(osmolarity)โดยมีตัวแปรสำคัญที่ทำให้ความเข้มข้นสูงคือ เกลือ โซเดียม (Na) นี่เเป็นเหตุผลว่าทำไมกินเกลือแล้วความดันโลหิตสูง
      2.2.3 Respiration + cardiacsuction หรือ การหายใจ เวลาเราหายใจเข้าความดันในช่องอกจะมากขึ้นเป็นแรงดูดเลือดเข้าหัวใจดังนั้นเวลาหายใจเข้าจึงทำให้ BP สูงมากกว่าการหายใจออก
      2.2.4 Skeletal muscle activity คือการทำงานของกล้ามเนื้อลาย ที่เราใช้ๆกัน เช่น วิ่ง เดิน การทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย

      มาถึงตรงนี้บางท่านอาจคิดว่าแล้วออกกำลังกายทำไม ความดันก็สูงสิ---- ตรงนี้จริงครับ แต่เป็นช่วงสั้นๆที่จะทำให้ความดันสูง ซึ่งการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจเราต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ จะททำให้หัวใจเรามีความแข็งแกร่งทนต่อสภาวะ ตึงเครียดของร่างกาย  ในเวลาปกติหัวใจเราจะบีบตัวอย่างมีคุณภาพ เช่น นักกีฬา HR จะต่ำแต่การสูบฉีดเลือดดี ทำให้ความดันเป็นปกติ ตามสูตร CO=HRลด x SVเพิ่ม

มาดูอีกด้าน
TPR จะขึ้นกับ
1 รัศมีของ หลอดเลือดแดง (Arterial radius) ยิ่งหดยิ่งความดันสูง ซึ่งขึ้นกับ
  1.1 Local metabolic control คือ ความต้องการเลือดของเนื้อเยื่อครับ เวลาเราออกแรง เส้นเลือดจะขยายเพื่อเอาเลือดมาเลี้ยงตัวมันให้มาก
  1.2 Extrinsic vasoconstrictor control คือ การควบคุมการหดตัวของหลอดเลือดจากปัจจัยภายนอกซึ่งได้แก่
      1.2.1 Sympathetic activity (อีกแล้วครับท่าน) เมื่อมีกระแสประสาทจาก Sym มาสั่งการจะทำให้หลอดเลือดหดตัวเพิ่มความดันขึ้น โดยการส่งกระแสประสาทไปหลอดเลือดให้หดตัวคือ สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Adrenaline เป็นหลักและอีกหลายตัว เช่นNoreadrenaline, Dopamine เป็นต้น
      1.2.2 Hormoneต่างๆ เช่น Vasopressin และ โดยเฉพาะ Angiotensin II ซึ่งสร้างมาจากกระบวนการ Renin angiotensin aldosterone system (RAAS) เป็นระบบ sensor ที่หน่วยไตเราครับ การทำงานคือ  เมื่อ เกลือNa ผ่านการกรองที่ไตลดลง sensor จะส่งสัญญาณไปให้หน่วยไตหลั่ง Renin เพื่อไปเปลี่ยน Angiotensinogen จากตับ เป็น angiotensin I แต่ตัวนี้ยังทำงานไม่ได้ ต้องไปเปลี่ยนเป็น Angiootenin II ที่ปอดด้วย เอนไซม์ Angiotensin converting nzyme (ACE) แล้ว ฮอร์โมนตัวนี้จะไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนอีกตัวคือ Aldosterone ไปทำหน้าที่บริเวณท่อไตให้ดูดน้ำกลับ แล้วขับ โพแทสเซียม แลกกันกับ Na เพื่อให้ได้ น้ำและเกลือ Na กลับมา
นอกจากนี้ Angiotensin II ยังไป- กระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว
                                      - ไปเพิ่มการทำงานของ Sym
                                      - กระตุ้นให้หลั่ง ADH จากต่อมใต้สมอง มาเพิ่มการดูดกลับน้ำที่ท่อไต

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a2/Renin-angiotensin-aldosterone_system.png)
  
   สรุป Angiotensin II ทำให้ มีการดูด น้ำ เกลือ Na และ ทำให้เส้นเลือดหดตัว เกิดความดันเพิ่มขึ้น โดยมีผลข้างเคียงคือ เสีย เกลือ โพแทสเซียม(K) ไปกับปัสสาวะ

2 Blood viscosity คือความหนืดของเลือด ขึ้นกับ ปริมาณ เม็ดเลือดแดง(Rbc)และโปรตีนในเลือดเช่น globulin ถ้ามีมากก็หนือดมาก BP ก็สูง

อันนี้คร่าวๆนะครับ เพื่อความเข้าใจ จะเห็นว่ามีหลายปัจจัยในการควบคุมความดันเลือด

วันหลังจะเอา เรื่อง ยาลดความดันมาเล่าต่อ ว่ามันลดยังไง ลดตรงไหน สนุกๆ ประดับความรู้
วันนี้เมื่อยมือแล้วครับ  ;D :mad244: :mad244: :o^:


หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: Batman ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 21:53:34 น.
 :thank1: :happy: :th2: :flower: :thank2:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: winit ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 22:01:24 น.
 :thank1: :thank1: :happy:

บ้านผม...เป็นทั้งบ้าน...ความดันสูง
เห็นว่ามีส่วนจากกรรมพันธ์ด้วย

ผมก็ลุ้น...อยู่...ว่าจะรอด...ไม๊ :fireting2:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: สไปเดอร์แมน ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 22:06:40 น.
:thank1: :thank1: :happy:

บ้านผม...เป็นทั้งบ้าน...ความดันสูง
เห็นว่ามีส่วนจากกรรมพันธ์ด้วย

ผมก็ลุ้น...อยู่...ว่าจะรอด...ไม๊ :fireting2:

ไม่รอดครับพี่...ตอนนี้อายุคงยังไม่ถึงอ่ะ... ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: อนันตชัย ระยอง ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 22:08:14 น.
ขอบคุณครับ..ว่าที่คุณหมอคนใหม่ของคนไทย

ผมก็เคยสงสัยนะว่าความดันโลหิตสูง - ต่ำมันเกิดขึ้นได้อย่่างไร
อุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น (เวลาเป็นไข้) มันสูงขึ้นได้อย่างไร แล้วกินยา (ประเภท พาราเซ็ตฯ)แล้วอุณหภูมิมันลดลงได้อย่างไร....
ทำไมเราถึงมีอาการปวดศรีษะ.ฯลฯ...
.....
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: winit ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 22:13:14 น.
ไม่รอดครับพี่...ตอนนี้อายุคงยังไม่ถึงอ่ะ... ;D ;D ;D

ว่าแล้ว... :fireting2:

ออกกำลังกาย..ช่วยได้ไม๊...ครับ

แต่ผมเห็นบางคนผอม ๆ ก็เป็นนะความดันเนี่ย :bla:

ขอให้อายุไม่ถึง...ตลอดไป :love2:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: สไปเดอร์แมน ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 22:26:12 น.
ว่าแล้ว... :fireting2:

ออกกำลังกาย..ช่วยได้ไม๊...ครับ

แต่ผมเห็นบางคนผอม ๆ ก็เป็นนะความดันเนี่ย :bla:

ขอให้อายุไม่ถึง...ตลอดไป :love2:

การออกกำลังกาย ช่วยรักษาระดับความดันให้คงที่ครับ เช่น บางคนความดันคงที่ ๆ 180/100 ถึงจะสูง แต่ถ้า ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความดันเฉลี่ย ช่วงนี้ครับ อาจจะ บวกลบนิดหน่อย (ทั้งค่าความดันช่วงบน และ ช่วงล่าง ตัวใดตัวหนึ่ง หรือทั้ง 2 ตัว) ในขณะที่บางคนขาดการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ ความดันขึ้นๆ ลงๆ ตามที่คุณหมอแม็คท่านว่า วัดห่างกัน 15-30 นาที ความแตกต่างระหว่างค่าความดันทั้ง 2 ครั้ง แตกต่างกันมาก จนบางที ร่างกาย ปรับสภาพไม่ไหว หรือไม่ทัน เช่น ครั้งแรก ความดัน 150/90 นั่งพัก ประมาณ 15-30 นาที วัดอีกครั้ง 100/60 แบบนี้เป็นต้น ค่าของความดัน ระหว่าง ครั้งแรก กับครั้งที่ 2 มีค่าแตกต่างกันมาก จึงเป็นที่มาของคนที่มีความดันโลหิตสูงผิดปกติ แล้ว กลายเป็น เส้นเลือดแตกในสมอง ตามภาษาชาวบ้านที่เรียกๆ กัน ทำให้บางคน กลายเป็น อัมพฤกษ์ หรืออัมพาต อาจจะครึ่งซีก หรือทั้งตัว ที่ดีหน่อยก็อาจจะเสียชีวิตไปเลย...ถ้าโชคร้ายก็กลายเป็นเจ้าหญิง- เจ้าชายนิทรา นอนตาประหลับ ประเหลือก บนที่นอน รอคนมาพลิกตัวให้ทุก 2 ชั่วโมง ต้องมีคนคอยป้อนข้าว ป้อนน้ำให้ อีกทั้งการขับถ่าย อีกสารพัด จิปาถะ.... :cry: :cry: :cry:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: winit ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 22:28:36 น.
WOW

เสียวเลยอ่ะ :cry:

ต้องระวังไว้ซะแล้ว

 :thank1: :flower:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: winit ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 00:35:05 น.
ไหน ๆ ก็แล้ว..ขอถามหน่อยครับ
ปกติผมต้องซื้อยาส่งให้ที่บ้านซื้อให้พ่อ
เป็นประจำ...ท่านไดพอจะสั่งได้ในราคาพิเศษ
บ้างหรือเปล่าครับ...จะได้ผูกปิ่นโต...ต่อไป ;D

ทุกครั้งจะซื้อ Madipot 20 mg.
พ่อผมต้องกินทุกวัน วันละเม็ด...

พ่อผมซื้อแถวบ้าน..เม็ดละ 21 บาท..(ซื้อผ่านหมอคลีนิค)
มาซื้อกรุงเทพเป็นกล่อง..ถูกกว่าเยอะครับ..
(แต่หมอที่นี่สั่ง...อาจจะได้ราคาพิเศษ.. ;D)

 :thank1:

หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 01:06:04 น.
ขอบคุณครับ..ว่าที่คุณหมอคนใหม่ของคนไทย

ผมก็เคยสงสัยนะว่าความดันโลหิตสูง - ต่ำมันเกิดขึ้นได้อย่่างไร
อุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น (เวลาเป็นไข้) มันสูงขึ้นได้อย่างไร แล้วกินยา (ประเภท พาราเซ็ตฯ)แล้วอุณหภูมิมันลดลงได้อย่างไร....
ทำไมเราถึงมีอาการปวดศรีษะ.ฯลฯ...
.....
การมีไข้เป็นกลไกการป้องกันตัวเองของร่างกายครับ ถ้าไม่มีไข้เราก็้ไม่รู้ว่าความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับร่างกาย

การควบคุมอุณหภูมิกาย จะมีศูนย์ควบคุมอยู่ที่ สมองส่วน Hypothalamus ครับ ทำหน้าที่ set อุณหภูมิให้อยู่ในระดับปกติ คือ 36.5-37.7 องศาเซลเซียส
เวลาเราได้รับบาดเจ็บหรือติดเชื้อ มันจะเกิดสาร ที่ชื่อว่า prostagrandinในกระแสเลือด ไปเปลียน set point ของอุณหภูมิที่ hypothalamus ให้สูงขึ้น สมองมันเลยสั่งให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน เข่น สั่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ เพื่อให้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนถึง set point  ก็เหมือนเราปรับแอร์นั่นแหละครับ ถ้าเป็นไข้เรื้อรังหน่อยก็ผอมลงไปเลย

เชื้อโรคโดยเฉพาะ bacterial ชนิดที่ติดสี แดง เนี่ย เยื่อหุ้ม cell มันเป็น phospholipid เมื่อร่างกายกำจัดจนมันเซลล์แตก ซากเซลล์ของมันก็ทำให้้เกิดไข้ครับ

ตามรูปนี้
(http://www.id-travel.net/userimages/MSCK%20Web%20site.jpg?rand=1176992532)

สำหรับกลไกการเปลี่ยนแปลงจาก phospholipid ไปเป็น prostagrandin นั้นอธิบายได้จากรูปนี้ครับ

(http://ard.bmj.com/content/62/6/501/F4.large.jpg)

- phospholipid เปลี่ยนเป็น arachidonic acid โดยเอนไซม์ phospholipase A2
- arachidonic acid เปลี่ยนรูปได้ 2 ทาง ไปเป็น leukotriene ด้วย เอนไซม์ lipooxygenase ซึ่งสารที่เกิดขึ้นขะไปกระตุ้นกระบวนการอักเสบโดยการเรรียกเม็ดเลือดขาวมาเก็บกินสิ่งแปลกปลอมและเปล่อยสารที่ทำให้เกิดการอัักเสบออกมา
     อีกทางหนึ่ง arachidonic acid ก็จะเปลี่ยนเป็น prostagrandin ชนิดต่างๆ โดยเอนไซม์ Cyclooxygenase ซึ่งได้แก่ COX-1 และ COX-2 โดย prostragrandin ก็จะทำให้เกิด อาการบวม แดง เจ็บปวด มีไข้ กระตุ้นการทำงานของเกร็ดเลือด ป้องกันกรดกัดกระเพาะ ฯลฯ

กลไกการออกฤทธิ์ของยา อธิบายได้จากภาพข้างล่างนี้ครับ

(http://image.absoluteastronomy.com/images/encyclopediaimages/e/ei/eicosanoid_synthesis.svg.png)
(http://www.equineortho.colostate.edu/images/trauma11.gif)

      ยาพารา จัดเป็นยากลุ่ม None steroid anti-inflammatory drugs (NSAIDs) ทำหน้าที่ ยับยั้ง COX1 และ COX2 (แต่เน้นที่ COX1 มากกว่า)ไม่ให้เปลี่ยน arachidonic acid ไปปเป็น prostagrandin
จึงช่วย ลดไข้ ลดปวด ลดอักเสบ ได้ดี โดยที่ไม่ปล่อยให้กรดกัดกระเพาะ เหมือนกับยา NSAIDsตัวอื่นๆ (อาจารย์ที่สอนผมบอกว่ามันไม่ชอบออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหาร) ดังนั้นจึงสามารถกินเวลาใดก็ได้
      นอกจากนี้พารายังลดไข้ได้ดีเทียบเท่ายา ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งCOX2 (selective COX2 inhibitor)เป็นยาที่จำเพาะต่อการลดPG ที่ทำให้เกิดไข้ และไม่มีผลต่อททางเดินอาหาร
โดยเขาเชื่อกันว่ายาพารา มันผ่านเข้าสมองได้ดีกว่าNSAIDs ตัวอื่นไปยับยั้ง COX ในสมองเลย
     NSAIDs ตัวอื่นๆ ออกฤทธิ์ลดการอักเสบได้ดีแต่ละชนิดก็ออกฤทธิ์ดีคนละที่ เช่น Ibuprofen ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ เนื้อเยื่อได้ดีเวลาหมอฟันถอนฟันเลยชอบจ่ายตัวนี้
Diclofenac ออกฤทธิ์ ที่เส้นเอ็นและข้อ Naproxen ออกฤทธิ์ที่ข้อ และช่วยลดไข้ที่เกิดจากมะเร็ง ฯลฯ

     ยาต้านการอักเสบอีกกลุ่มที่ใช้กันบ่อยคือ Steroid โดยมันจะไปยับยั้งที่ ต้นทางของการสร้างทั้ง 2 สายเลย คือยับยั้งที่ Phospholipase A2 มันจึงดีกว่า NSAIDs แต่ผลข้างเคียงของมันมีมาก (จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ เพราะ มันยาว) กว่าประโยชน์ที่ได้รับ หากใช้เป็นเวลานาน ที่ชาวบ้านชอบไปฉีดกับหมอเถืื่อน ที่ซื้อ สมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ทั้งหลายมากินนั่นแหละครับ กินแล้วอาการปวดหายเป็นปลิดทิ้ง แต่ก็มีผลข้างเคียงตามมาเหมือนกัน
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 01:20:22 น.
เกี่ยวกับโรคความดันผมเห็นมากับตา (วันนั้นยายไม่อยู่) เพื่อนผมคนนึงเป็นทนายไม่ได้เป็นทนายอย่างเดียว
มันเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยมันเอาหลายอย่าง กินเหล้ากับผมเกือบทุกวันเพราะต้องทำงานร่วมกัน
ขึ้นเหนือล่องใต้ด้วยกันเป็นปีๆ กินเหล้าก็ไม่เห็นเป็นไรเพราะมันกินยาลดความดันก่อนทุกครั้ง มีอยู่วันหนึ่งยาหมด
ลืมซื้อมันก็อยากกินเหล้าเพื่อนๆก็ห้ามหลายคนแต่มันก็ไม่ฟังบอกไม่เป็นไรบางทีกูก็ลืมกินก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร
เพื่อนก็เลยตามใจ คืนนั้นก็เลยกินเหล้ากันเพื่อนผมก็ไม่ได้กินยาลดความดัน แต่รู้สึกวันนั้นมันดูเครียดๆด้วย
กินกันไปพักใหญ่ๆมันบ่นว่าปวดหัวอยากกลับบ้านผมก็เลยขับรถไปส่งแล้วก็ถือโอกาสนอนบ้านเพื่อนเลย
เช้ามาเพื่อนกับผมก็ตื่นจะไปศาลด้วยกันวันนั้นมีศาลเช้า พอก้าวออกจากบ้านเพื่อนผมล้มลงนั่งบอกขาไม่มีแรง
สักพักล้มลงนอนแล้วก็ขยับตัวไม่ได้พูดไม่ได้ ก็เลยพาไปส่งโรงพยาบาลแต่อยู่ได้ไม่ถึงอาทิตย์ก็เสียชีวิต
อันตรายมากครับโรคนี้ถ้าใครเป็นโรคความดันโลหิตสูงถ้ากินเหล้าโอกาสเสี่ยงมากไม่ตายก็อัมพาต....


ขอบคุณครับสำหรับประสบการณ์ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน  
เราไม่รุ้หรอกครับว่ามันจะมาตอนไหน ปุ๊บปั๊บก็ไปเลย
ฉะนั้นป้องกันและควบคุมเอาไว้ดีกว่า

ไหน ๆ ก็แล้ว..ขอถามหน่อยครับ
ปกติผมต้องซื้อยาส่งให้ที่บ้านซื้อให้พ่อ
เป็นประจำ...ท่านไดพอจะสั่งได้ในราคาพิเศษ
บ้างหรือเปล่าครับ...จะได้ผูกปิ่นโต...ต่อไป ;D

ทุกครั้งจะซื้อ Madipot 20 mg.
พ่อผมต้องกินทุกวัน วันละเม็ด...

พ่อผมซื้อแถวบ้าน..เม็ดละ 21 บาท..(ซื้อผ่านหมอคลีนิค)
มาซื้อกรุงเทพเป็นกล่อง..ถูกกว่าเยอะครับ..
(แต่หมอที่นี่สั่ง...อาจจะได้ราคาพิเศษ.. ;D)

 :thank1:



ยาตัวนี้ ชื่อการค้ามัันชื่อ Manidipine HCl เป็็นยากลุ่ม Calcium channel blocker(CCB) ออกฤทธิ์ ลด TPR ของหลอดเลือดเแดงส่วนปลาย ทำให้ความดันลดลง
มีข้อห้ามในการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ

มียาอีกตัวที่แนะนำครับ คือ Amlodipine เป็นยากลุ่ม CCB เหมือนกัน ลดความดันได้ดี และกินวันละเม็ด เหมือนกัน
ถ้าไม่รังเกียจยา โรงพยาบาล ก็ใช้ได้เหมือนกันครับ ฟรี ตามสิทธิ์การรักษา ไม่ว่าจะเป็น บัตรทอง หรือ ประกันสังคม ตาม รพ ที่ท่านมีสิทธิ์อยู่  ข้าราชการก็เบิกได้
ให้หมอที่ รพ เขาปรับยาให้เอาครับ

ปล. ผมยังเป็นนักศึึกษาอยู่ครับ สั่งยาต้องให้อาจารย์เซ็นต์ชื่อทับอีกที ยาพาราผมยังได้ซื้อกินเองเลย....หุหุ
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: ไผ่ ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 01:23:22 น.
มีประโยชน์และได้ความรู้มากๆ เลย น่าจะมีมุมหมอประจำเวบนะครับ ขอบคุณครับ  :th2:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 01:59:02 น.
มีประโยชน์และได้ความรู้มากๆ เลย น่าจะมีมุมหมอประจำเวบนะครับ ขอบคุณครับ  :th2:
คงไม่ไหวอะครับ วันนี้ว่างๆ เพราะสอบเสร็จแล้วเลยมีเวลามานั่งพิมพ์ :thank1: :thank1:

วันหลังว่างๆจะ เอาเรื่องเหล้ามาเล่าให้ฟังครับ
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: เลิศพล ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 03:31:28 น.
 :thank1: :thank1: :thank1:
 :flower:


เป็นอยู่ครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ท่านหมอแม็ค     :party:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: พชรมิวสิค กรุ๊ป ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 04:24:47 น.
 :thank1:มีประโยชน์มากๆๆครับ..ดีจริงๆๆครับมีหมอมาให้ความรู้...วันหลังหมอว่างๆๆใคร่ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับอาการแพ้บ้าง..
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: Batman ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 06:18:45 น.
ผมทานตัวนี้ ครับหมอแม็ค
วันละ 1 เม็ด

(http://image.ohozaa.com/i3/dsc07415.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=4b847bb8e8e285a24c4931217eb43f30)
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: sriAROON ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 07:27:30 น.
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ "คุณหมอ"
ผมชื่นชอบเป็นพิเศษต่อ "หมอๆ" ที่สนใจในกิจกรรมอื่นๆที่นอกเหนือจากความเป็น "หมอ"
โดยเฉพาะกิจกรรมแห่งความเป็น "มนุษย์"
และร่วมกิจกรรมนั้นๆ เสมอหน้ากับคนที่ไม่ใช่ "หมอ"
และ(อีกที) ด้วยอัจฉริยภาพ อันเป็นธรรมชาติของสมองคนระดับ "หมอ" หยิบจับอะไรก็มักจะเป็นจริงเป็นจัง โดดเด่น
อาทิ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เจ้าของคอลัมน์ "การ์ตูนที่รัก" แห่งมติชน
นพ.พรหมมิทร์  เลิศสุริยเดช
นพ.เหวง โตริราการ และหมอหวาย ลูกชาย
ฯลฯ
และที่นี่ เดี๋ยวนี้   :flower: :flower: "หมอแมค"  :flower: :flower:  ของเรา
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: Batman ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 08:13:40 น.
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ "คุณหมอ"
ผมชื่นชอบเป็นพิเศษต่อ "หมอๆ" ที่สนใจในกิจกรรมอื่นๆที่นอกเหนือจากความเป็น "หมอ"
โดยเฉพาะกิจกรรมแห่งความเป็น "มนุษย์"
และร่วมกิจกรรมนั้นๆ เสมอหน้ากับคนที่ไม่ใช่ "หมอ"
อาทิ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เจ้าของคอลัมน์ "การ์ตูนที่รัก" แห่งมติชน
นพ.พรหมมิทร์  เลิศสุริยเดช
นพ.เหวง โตริราการ และหมอหวาย ลูกชาย
ฯลฯ
และที่นี่ เดี๋ยวนี้   :flower: :flower: "หมอแมค"  :flower: :flower:  ของเรา
หมอแม็ค เป็นคนจุดประกาย ให้ผมซื้อ
Mix Yamaha Digital O1V 96
อัธยาศัยดีด้วย โทรไปปรึกษา
ให้คำปรึกษา ตลอด
หมอแม็ค ลงมา ม.เกษตร เมื่อไหร่ บอกด้วย
เด๋วจะพามาดู Studio และ เลี้ยงข้าว
ได้ยินข่าว หมอแม็ค แฟนสวยมาก เรียนป.โท อยู่ม.เกษตร
ขอให้สมหวัง ในความรัก
แหง๋ม ๆๆ
 :hap3: :hap5: :party:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: ลำดวนแดง ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 08:29:05 น.
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ "คุณหมอ"
ผมชื่นชอบเป็นพิเศษต่อ "หมอๆ" ที่สนใจในกิจกรรมอื่นๆที่นอกเหนือจากความเป็น "หมอ"
โดยเฉพาะกิจกรรมแห่งความเป็น "มนุษย์"
และร่วมกิจกรรมนั้นๆ เสมอหน้ากับคนที่ไม่ใช่ "หมอ"
อาทิ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เจ้าของคอลัมน์ "การ์ตูนที่รัก" แห่งมติชน
นพ.พรหมมิทร์  เลิศสุริยเดช
นพ.เหวง โตริราการ และหมอหวาย ลูกชาย
ฯลฯ
และที่นี่ เดี๋ยวนี้   :flower: :flower: "หมอแมค"  :flower: :flower:  ของเรา
               เห็นด้วยกับท่านครับ หมอที่ดีเป็นที่พึ่งของประชาชน  สิ่งที่ท่านพึงได้รับ คือคำว่า ศรัทธา  มีเงินก็หาซื้อไม่ได้  :happy: :flower: :happy: :flower: :happy: :flower:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 08:59:18 น.
ผมทานตัวนี้ ครับหมอแม็ค
วันละ 1 เม็ด

(http://image.ohozaa.com/i3/dsc07415.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=4b847bb8e8e285a24c4931217eb43f30)

อ๋อ ตัวนี้ ชื่อสามัญมันชื่อ Quinapril ครับ (ชื่อสามัญคือชื่อที่ใช้เรียกเป็นมาตรฐานในวงการแพทย์ เช่น paracetamol เป็นชื่อสามัญ ส่วน tylenol Sara เป็นชื่อทางการค้าที่บริบัทผู้ผลิตจดทะเบียน)

ยาตัวนี้ เป็นยากลุ่ม angiotensin-converting nzyme inhibitor (ACE-I) ออกฤทธิ์ยับยั้ง  angiotensin-converting nzyme ไม่ให้เปลี่ยน angiotensinI ไปเป็น angiotensinII
จึงลดความดันโดย ลดการดูดกลับน้ำและ Na ที่ไต และลด การหดตัวของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย
นอกจากนี้ยังใช้ได้ดีในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ช่วยชะลอความเสื่อมของไตจากเบาหวาน
ผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง และ ไอแห้งๆ

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a2/Renin-angiotensin-aldosterone_system.png)




......ขอบคุณสำหรับทุกคำติชมครับ .....วันนี้ว่างๆไม่มีอะไรทำเลยมาให้ความรู้ดีกว่า

หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 09:02:55 น.
:thank1:มีประโยชน์มากๆๆครับ..ดีจริงๆๆครับมีหมอมาให้ความรู้...วันหลังหมอว่างๆๆใคร่ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับอาการแพ้บ้าง..

เรื่องภูมิแพ้ผมเขียนไว้ในกระทุ้นี้เยอะอยู่ครับ ลองเข้าไปดูhttp://www.karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=38667.75
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: Batman ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 09:05:34 น.

ผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง และ ไอแห้งๆ


มีน่า ไอแฮ๊กๆเรื่อยเลย
เวลายาหมด ไปขอยาที่ทำงาน หมอถาม มีไอบ่อยมั๊ย ?
ผมก็งง หมอถามเรื่องไอทำไมว่ะ ?
 ;D

แล้วผลข้างเคียงอันนี้ ทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง
มีอันตรายมั๊ยครับ ?
 :thank1:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 09:48:56 น.
มีน่า ไอแฮ๊กๆเรื่อยเลย
เวลายาหมด ไปขอยาที่ทำงาน หมอถาม มีไอบ่อยมั๊ย ?
ผมก็งง หมอถามเรื่องไอทำไมว่ะ ?
 ;D

แล้วผลข้างเคียงอันนี้ ทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง
มีอันตรายมั๊ยครับ ?
 :thank1:

ในคนที่ไตทำงานปกติมักไม่เกิดครับ ร่างกายมันจะขับของมันเองเพื่อรักษาสมดุล
จะเกิดในคนที่เป็นโรคไตเสื่่อม----ไตวาย  ถ้าสูงมากๆจะทำให้้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนถึงหัวใจหยุดเต้น----ตายได้ครับ

ถ้าไอมาก รำคาญจริงๆก็เป็นเป็นยาอีกกลุ่มครับ อยู่ในกลุ่ม Angiotensin II receptor antagonist (ARB) ออกฤทธิ์เหมือนกัน แต่คนละกลไก ไม่ทำให้้เกิดอาการไอ
แต่ยาแพงกว่า เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาในกลุ่มนี้ชื่อลงท้ายด้วย -satan เช่น Losatan, Valsatan, Irbesatan

(http://www.ncbi.nlm.nih.gov/bookshelf/picrender.fcgi?book=cer18&part=introduction&blobname=introductionf1.jpg)

การทำงานของ ARB จะไปยับยั้งที่ ตัวรับสัญญาณของ Angiotensin II (Angiotensin II receptor) ไม่ให้ Angiotensin II ออกฤทธิ์ได้

ส่วน ACE-I ที่มันทำให้ไอเพราะ (ดูแขนข้างขวานะครับ)
ปกติ Angiotensin converting nzyme มันจะไปยับยั้งการเปลี่ยน สารเคมีที่ชื่ว่า bradykinin ให้เป็นอยู่ในรูปที่ทำงานไม่ได้ (Inactive form)
ซึ่งไอ้ Bradykinin ตัวนี้เป็นสารที่ทำให้เกิดการไอครับ
เมื่อเราได้ ACE-I เข้าไปเลยไปหยุดการเปลี่ยน Bradykinin เป็น inactive form จึงทำให้มีbradykinin มากขึ้น ไปกระตุ้นการไอ
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: ขลุ่ย ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 10:19:58 น.
ขอบคุณครับ ผมก็ ระยะ 1 จะไป 2 แล้ว 145 95

คุณหมอให้ยา
   caduet 5 mg
   natrilix  1.5 mg
   norvasc 5 mg
    สอบถามว่าพอไปวัด ไปว่าได้หรือเปล่าครับ  :thank1: :thank1: :thank1:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: Batman ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 10:26:12 น.
ในคนที่ไตทำงานปกติมักไม่เกิดครับ ร่างกายมันจะขับของมันเองเพื่อรักษาสมดุล

เมื่อเราได้ ACE-I เข้าไปเลยไปหยุดการเปลี่ยน Bradykinin เป็น inactive form จึงทำให้มีbradykinin มากขึ้น ไปกระตุ้นการไอ
:thank1:
ทานยาตัวนี้มา 3 เดือนแล้วครับ
 :party:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 10:38:15 น.
ขอบคุณครับ ผมก็ ระยะ 1 จะไป 2 แล้ว 145 95

คุณหมอให้ยา
   caduet 5 mg
   natrilix  1.5 mg
   norvasc 5 mg
    สอบถามว่าพอไปวัด ไปว่าได้หรือเปล่าครับ  :thank1: :thank1: :thank1:

Caduet ® (amlodipine besylate/atorvastatin calcium) เป็นยาลดความดันกลุ่ม calcium channel blocker รวม กับ ยาลดไขมัน
 natrilix  เป็นยาลดความดันกลุ่ม ขับปัสสาวะ
norvasc ก็เป็น amlodipine กลุ่มเดียวกับตัวแรก

ถ้าเป็นผมให้จะให้กิน 2 ตัวบนพอ แล้ว ติดตามดูความดัน ถ้ายังสูงตลอด อาจต้องให้ยากลุ่มอื่นเข้าไปอีก ต้องดุการทำงานของไตและโรคร่วมอื่นๆประกอบการให้ยา

ถ้ากินทั้ง 3 ตัวแล้วยังสูงอยู่ ต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตประจำวัน ข้างต้นครับ เหล้า บุหรี่ให้งดโดยเด็ดขาด ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายร่สมด้วย
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: ขลุ่ย ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 10:51:57 น.
ขอบคุณครับพี่ เรื่องยาก็พอปรึกษาได้ แต่เรื่อง เหล้า ยา ปลาปิ้ง และการออกกำลังกายนี่แหละท่านพี่ มันยังทำไม่ได้ จนหมอด่า ว่าตัวของท่านเอง จะดูแลสัก นิดหน่อยไม่ได้ ใช้เวลา ไม่กี่วินาที ก็ทำไม่ได้ ถึงจะมีเงินเป็นร้อยล้าน ก็ซื้อชีวิตตัวเองไม่ได้ เห็นแล้วก็แต่ละท่าน ยังไม่สลด เชื่อหมอเถอะ หมอเรียนมา  :th2: :th2: :th2: :th2: :thank1: :thank1: :thank1: :love2:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: พรานทะเล ที่ วันที่ 10 กันยายน 2010, 09:09:46 น.
ได้ประโยชน์มาก

 :thank1:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: อนันตชัย ระยอง ที่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2016, 11:22:09 น.
ดันสักหน่อย ความรู้ดี ๆ
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: อนันตชัย ระยอง ที่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2016, 11:28:20 น.
คิดถึงหมอแม็คนะ หายไปนานเลย ตอนนี้เป็นคุณหมออยู่ รพ.ไหน ใครรู้บ้างครับ
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: kann ที่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2016, 14:41:39 น.
ความดันสิ่งที่ทำให้เกิดได้หลายอย่าง สังเกตุง่ายๆในบุคคลที่เป็น 1 เลือดข้น สังเกตุง่ายๆผิวจะสีคล้ำๆ เลือดหนืดเกินไปเลือดกลับไปฟอกได้ไม่ดีทำให้หัวใจปั้มหนัก 2 ไขมันเกาะผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบเลือดเดินไม่สดวกสีผิวจะปรกติ อาการแก้ไขก็ต่างกัน แม่ผมความดันขึ้น250มาอยู่กับผมได้สองปีกว่า ไม่กินยาลดความดันสองปีแล้ว คือต้องเปลี่ยนพฤติกรรมแม่ใหม่ ตอนนี้แม่ผมความดันไม่เกิน125 อายุ86ปี ป้องกันดีกว่าแก้ไขครับ กินยาเป็นการแก้ไข ต่อให้ยาดีและแพงแค่ใหนถ้าทำตัวเดิมๆก็หมุนเวียนกินยาจนไตรเราเสีย มีอะไรก็มาแชร์กันครับ ผมไม่ใช่หมอนะครับแต่พยายามให้แม่ผมพ้นตรงนั้น ยามที่แม่เป็นน้ำตาแทบไหลสงสารแม่
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: มานพ ที่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2016, 18:12:06 น.
ห บัติเป็นความดันแน่เลยผิวคล้ำ  ;D
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: บรรณ บางแค ที่ วันที่ 6 พฤษภาคม 2016, 12:42:08 น.
กับชีวิตวัยหนุ่มกลัดมัน ของนกฮูก ช่วงนั้น..ความดันก็มาเยือน

เหตเพราะ ดื่มหนัก พักผ่อนน้อย...มันหวิวๆ  เหมือนจะเป็นลม

ไม่มีแรง  ...ตาลาย  จะไหวไหมนะ คืนนี้..


  นักร้องสาวสวย อึ๋ม อีกตะหาก ขึ้นมาแจกโน๊ต

  ถามว่า พี่เป็นอะไรคะ..ตอบว่า ความดันครับ

  พลันเธอกระซิบใกล้ๆหูเรา  ถามเบาๆว่า .. ดันสุดไหมคะพี่

 


.... :mad244: :mad244: :mad244:
 

 
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: อนันตชัย ระยอง ที่ วันที่ 6 พฤษภาคม 2016, 12:56:50 น.
กับชีวิตวัยหนุ่มกลัดมัน ของนกฮูก ช่วงนั้น..ความดันก็มาเยือน

เหตเพราะ ดื่มหนัก พักผ่อนน้อย...มันหวิวๆ  เหมือนจะเป็นลม

ไม่มีแรง  ...ตาลาย  จะไหวไหมนะ คืนนี้..


  นักร้องสาวสวย อึ๋ม อีกตะหาก ขึ้นมาแจกโน๊ต

  ถามว่า พี่เป็นอะไรคะ..ตอบว่า ความดันครับ

  พลันเธอกระซิบใกล้ๆหูเรา  ถามเบาๆว่า .. ดันสุดไหมคะพี่

 


.... :mad244: :mad244: :mad244:
 

 


ตอบว่าไงครับพี่บรรณ ;D ;D
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: อ๊อด สระบุรี ที่ วันที่ 6 พฤษภาคม 2016, 22:02:35 น.
ตลอด แร่ะ.. น้าบรรณ  :cheer: :cheer:
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: s.t music ที่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2016, 18:32:38 น.
เข้ามาอ่านได้ความรู้มากครับ..ขอบคุณบ้านหลังนี้ที่มีให้ทุกๆอย่าง
หัวข้อ: Re: ความดันโลหิตสูง สำคัญไฉน
เริ่มหัวข้อโดย: หน่อย ปากเกร็ด ที่ วันที่ 8 พฤษภาคม 2016, 20:38:52 น.
 :thank1:  :th2: