eXtreme Karaoke

เครื่องเสียง / ภาพ => เครื่องเสียงกลางแจ้ง (Public Address,Pro Audio Sound Reinforcement System) => ข้อความที่เริ่มโดย: มานพ ที่ วันที่ 12 มกราคม 2019, 20:09:17 น.

หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: มานพ ที่ วันที่ 12 มกราคม 2019, 20:09:17 น.

(http://karaoke-soft.com/smf/mp_doc/pic/mix_gain.jpg)
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: jaky ที่ วันที่ 12 มกราคม 2019, 20:22:19 น.
ขอบคุณแอดมินครับ..ได้ความรู้.. :**:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: mixmas ที่ วันที่ 12 มกราคม 2019, 21:25:28 น.
 :95: :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: yakk ที่ วันที่ 12 มกราคม 2019, 22:21:37 น.
น่าสนใจ      ครับ
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: อยู่ไกลเมืองสยาม ที่ วันที่ 12 มกราคม 2019, 23:34:12 น.
 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: กุ้งดีโฟร์ดี(Kungd4d) ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 01:40:50 น.
 :95: เดี๋ยวลองทำดูครับ   :95: :95:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: pipat_lak ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 07:13:58 น.
ชัดเจน ง่ายดีครับ
 :95:ขอบคุณครับ :95:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: jgn 8bit ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 09:08:38 น.
 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: happiness ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 09:30:24 น.
  :thank1: :thank1: :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: เรารัก สารคาม ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 10:45:32 น.
 :D :95:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: prasart ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 12:06:38 น.
เพิ่งจะทราบ หลังจากปรับมั่วอยู่นาน  ขอบคุณมากครับ
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 12:14:52 น.
 :thank1:
ขอถามต่อครับนายหัว :30:

"สัญญาณจากต้นทางที่มีจุดคอนโทรล เช่น eXtreme Karaoke/  โปรแกรมเล่นไฟล์มีเดีย/ เครื่องเล่นเสียง(ในโทรศัพท์ ฯลฯ)/ และอื่นๆ เราควรปล่อยมากี่เปอร์เซนต์ครับ สัญญาณนั้นมีมาตราวัดเป็นอะไร(ความดังdB/หรือความแรง หรืออะไรกันครับ) เพื่อมาทำบาล้านซ์ที่Gainนี่ครับ"
 :thank1:
 :30:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: thanawat_am ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 12:19:27 น.
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Anupong B. ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 16:49:39 น.
 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Ausanee Homya ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 17:53:34 น.
 :thank1: :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: วันชัย ที่ วันที่ 13 มกราคม 2019, 20:20:41 น.
ขอบคุณครับ :95: :95:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: ชาตรี พีซี กรึ๊ป ที่ วันที่ 14 มกราคม 2019, 04:31:56 น.
 :95:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: kunpipit isariyawet ที่ วันที่ 14 มกราคม 2019, 09:04:18 น.
 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: จอมยุทธซาวด์ ที่ วันที่ 14 มกราคม 2019, 09:56:02 น.
 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 14 มกราคม 2019, 11:11:21 น.
:thank1:
ขอถามต่อครับนายหัว :30:

"สัญญาณจากต้นทางที่มีจุดคอนโทรล เช่น eXtreme Karaoke/  โปรแกรมเล่นไฟล์มีเดีย/ เครื่องเล่นเสียง(ในโทรศัพท์ ฯลฯ)/ และอื่นๆ เราควรปล่อยมากี่เปอร์เซนต์ครับ สัญญาณนั้นมีมาตราวัดเป็นอะไร(ความดังdB/หรือความแรง หรืออะไรกันครับ) เพื่อมาทำบาล้านซ์ที่Gainนี่ครับ"
 :thank1:
 :30:
ขอบคุณครับ  :thank1:
พอเป็นแนวทางได้ครับ
 :30:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: จิตกร ที่ วันที่ 14 มกราคม 2019, 11:25:39 น.
ขอบคุณครับ  :thank1:
พอเป็นแนวทางได้ครับ
 :30:
ครับครู ผมไปลองทำการบ้านมาแล้ว รับได้แล้วครับ 555 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 14 มกราคม 2019, 11:29:23 น.
ครับครู ผมไปลองทำการบ้านมาแล้ว รับได้แล้วครับ 555 :thank1:
:95:
 :30:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 06:13:39 น.
 :30:   :30:   :30:
นายหัวชอบถ่อมตนทั้งๆที่มี"ความรู้ ประสบการณ์"และใช้คำที่มีความหมาย"โดยนัย"มาก

ต้องตีความจึงจะเห็น"ความจริง"

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เรา"ตีความ"ได้ คือความรู้และประสบการณ์ของเราเอง

เรื่อง"Gain Structure" (ถ้าแปลตรงๆให้เป็นภาษาไทยจะได้ว่า "โครงสร้างของการได้รับ" (คำว่า"Gain" แปลว่า ได้รับ ในที่นี้ Gain คือชื่ออุปกรณ์ในเครื่องเสียง ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียง)

การได้รับในที่นี้ คือจุดที่สัญญาณเสียงวิ่งผ่านในอุปกรณ์ตั้งแต่จุดแรกถึงจุดสุดท้าย มันผ่านไปอย่างสมดุล บริสุทธิ์ สมบูรณ์  เราผู้ควบคุม ต้อง"ประคอง"มันให้"สมดุล" สมบูรณ์ดังเดิม
 
ฉะนั้น จุดแรกที่รับสัญญาณคือ Gain บนมิกซ์  ไปจนถึง-->ปุ่ม Volume ของPower Amp. เราต้องประคองไว้

คำสุดท้ายที่นายหัวว่า "เป็นการทำแบบมักง่าย..."  นั้น ไม่มักง่ายอย่างที่เราเข้าใจ

แต่ เพราะความจริงของ"Gain Structure"นั้น Volume ของPower Amp. ก็คือ Gain ตัวหนึ่ง ที่ไม่น่าจะต้องหมุนจนสุดถึง 100 %

นายหัวไม่ชอบสัญญาณที่มีลักษณะเกินGain Structure หรือที่เรียกว่า อาการClip Peakมากกว่าครับ

ขอขอบคุณนายหัวมากๆอีกครั้งครับ
 :thank1:   :thank1:   :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: จิตกร ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 06:50:33 น.
:30:   :30:   :30:
นายหัวชอบถ่อมตนทั้งๆที่มี"ความรู้ ประสบการณ์"และใช้คำที่มีความหมาย"โดยนัย"มาก

ต้องตีความจึงจะเห็น"ความจริง"

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เรา"ตีความ"ได้ คือความรู้และประสบการณ์ของเราเอง

เรื่อง"Gain Structure" (ถ้าแปลตรงๆให้เป็นภาษาไทยจะได้ว่า "โครงสร้างของการได้รับ" (คำว่า"Gain" แปลว่า ได้รับ ในที่นี้ Gain คือชื่ออุปกรณ์ในเครื่องเสียง ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียง)

การได้รับในที่นี้ คือจุดที่สัญญาณเสียงวิ่งผ่านในอุปกรณ์ตั้งแต่จุดแรกถึงจุดสุดท้าย มันผ่านไปอย่างสมดุล บริสุทธิ์ สมบูรณ์  เราผู้ควบคุม ต้อง"ประคอง"มันให้"สมดุล" สมบูรณ์ดังเดิม
 
ฉะนั้น จุดแรกที่รับสัญญาณคือ Gain บนมิกซ์  ปนจถึง-->ปุ่ม Volume ของPower Amp. เราต้องประคองไว้

คำสุดท้ายที่นายหัวว่า "เป็นการทำแบบมักง่าย..."  นั้น ไม่มักง่ายอย่างที่เราเข้าใจ

แต่ เพราะความจริงของ"Gain Structure"นั้น Volume ของPower Amp. ก็คือ Gain ตัวหนึ่ง ที่ไม่น่าจะต้องหมุนจนสุดถึง 100 %

นายหัวไม่ชอบสัญญาณที่มีลักษณะเกินGain Structure หรือที่เรียกว่า อาการClip Peakมากกว่าครับ

ขอขอบคุณนายหัวมากๆอีกครั้งครับ
 :thank1:   :thank1:   :thank1:
555+ ขอบคุณครับครู  :thumbup:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: มานพ ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 09:15:47 น.
:thank1:
ขอถามต่อครับนายหัว :30:

"สัญญาณจากต้นทางที่มีจุดคอนโทรล เช่น eXtreme Karaoke/  โปรแกรมเล่นไฟล์มีเดีย/ เครื่องเล่นเสียง(ในโทรศัพท์ ฯลฯ)/ และอื่นๆ เราควรปล่อยมากี่เปอร์เซนต์ครับ สัญญาณนั้นมีมาตราวัดเป็นอะไร(ความดังdB/หรือความแรง หรืออะไรกันครับ) เพื่อมาทำบาล้านซ์ที่Gainนี่ครับ"
 :thank1:
 :30:

สำหรับผม Gain กับ Volume ไม่เหมือนกันซะทีเดียว
Volume คุณสามารถเพิ่มหรือลดระดับของสัญญาณที่เข้ามา
Gain นั้นเพื่อเพิ่มระดับสัญญาณที่เข้ามาให้ถึงจุดที่วงจรของ mixer ในช่องนั้นๆ ที่ต้องการ สาเหตุก็เพราะ mixer ส่วนใหญ่
ทำงานโดยอ้างอิงกับ line level ซึ่งเป็นสัญญาณทางไฟฟ้ามีค่าประมาณ 1 โวลท์  ส่วนสัญญาณไมโครโฟน input ที่ป้อนเข้ามา
จะมีระดับต่ำกว่านี้ ตั้ง gain มากไประวัง noise บาน ตอนเซ็ตค่าให้กดปุ่ม PFL ที่ช่องนั้นๆ และดู LED VU Meter เอาแล้วกัน
ส่วนมากที่ผมเล่นๆ มา Gain ของช่องที่เราเสียบเจ้าไมโครโฟนจะมากกว่าชองที่เสียบ instrument เพราะระดับสัญญาณของมันต่ำกว่านั่นเอง
ส่วนเท่าไหร่นั้นแล้วแต่การทำ sound check แต่ละครั้งแล้วกันนะ ปกติถ้าเล่น extreme ผมปล่อยมาเต็ม 100% จากคอมฯ

ทีนี้เมื่อเราปรับ output ของ mixer ได้ประมาณ 0 dB เราก็ไปปรับความดัง (Volume) ของแอมป์ได้ง่ายๆ แล้วโดยโอกาศเกิด noise น้อย
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: AE MUSIC ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 09:50:11 น.
ผมเปิด Extreme 50% เองครับ มาเพิ่มเกน ที่ CH เอาครับ ก็จะมาจบที่ VU meter 0 dB เหมือนกันครับ
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: มานพ ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 09:51:25 น.
ผมเปิด Extreme 50% เองครับ มาเพิ่มเกน ที่ CH เอาครับ ก็จะมาจบที่ VU meter 0 dB เหมือนกันครับ

มาขยาย noise เร๊อะ  :88:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: AE MUSIC ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 09:53:37 น.
มาขยาย noise เร๊อะ  :88:

อ้าวหรอครับ ไม่ทราบจริงๆครับ คิดว่าเปิดมา 100 % แล้ว noise จะเยอะ...คิดเอง เออเองครับ

แนะนำด้วยครับผม

ขอบคุณครับ :D
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: ขวัญ ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 09:55:50 น.
มาขยาย noise เร๊อะ  :88:

 :cool:  :cool:  ยิ่ง DAC  คุณภาพต่ำๆ  noise เพียบ   :84:


มาถูกใจ Z2 v.ii + หัวเขียวก็ตรงนี้ส่วนหนึ่งด้วยครับ   background เงียบดี
ฟังในห้องเงียบๆ ด้วยหูฟังนี่สังเกตุง่าย  เจอพวก Soundfont ที่ Samp. เสียงไม่ดี  ฟ้องชัดเจนเลยครับพี่    :thumbup:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: AE MUSIC ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 10:02:06 น.
:cool:  :cool:  ยิ่ง DAC  คุณภาพต่ำๆ  noise เพียบ   :84:

มาถูกใจ Z2 + หัวเขียวก็ตรงนี้ส่วนหนึ่งด้วยครับ   background เงียบดี

พี่ขวัญ...สวัสดีปีใหม่ครับ


แล้วก็...  QU ขายมั้ยครับ 555
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: ขวัญ ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 10:04:56 น.
พี่ขวัญ...สวัสดีปีใหม่ครับ


แล้วก็...  QU ขายมั้ยครับ 555


 :thank1:      5 หมื่น  เอาป่าวครับ  :82: :82:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 10:15:29 น.
สำหรับผม Gain กับ Volume ไม่เหมือนกันซะทีเดียว
Volume คุณสามารถเพิ่มหรือลดระดับของสัญญาณที่เข้ามา
Gain นั้นเพื่อเพิ่มระดับสัญญาณที่เข้ามาให้ถึงจุดที่วงจรของ mixer ในช่องนั้นๆ ที่ต้องการ สาเหตุก็เพราะ mixer ส่วนใหญ่
ทำงานโดยอ้างอิงกับ line level ซึ่งเป็นสัญญาณทางไฟฟ้ามีค่าประมาณ 1 โวลท์  ส่วนสัญญาณไมโครโฟน input ที่ป้อนเข้ามา
จะมีระดับต่ำกว่านี้ ตั้ง gain มากไประวัง noise บาน ตอนเซ็ตค่าให้กดปุ่ม PFL ที่ช่องนั้นๆ และดู LED VU Meter เอาแล้วกัน
ส่วนมากที่ผมเล่นๆ มา Gain ของช่องที่เราเสียบเจ้าไมโครโฟนจะมากกว่าชองที่เสียบ instrument เพราะระดับสัญญาณของมันต่ำกว่านั่นเอง
ส่วนเท่าไหร่นั้นแล้วแต่การทำ sound check แต่ละครั้งแล้วกันนะ ปกติถ้าเล่น extreme ผมปล่อยมาเต็ม 100% จากคอมฯ

ทีนี้เมื่อเราปรับ output ของ mixer ได้ประมาณ 0 dB เราก็ไปปรับความดัง (Volume) ของแอมป์ได้ง่ายๆ แล้วโดยโอกาศเกิด noise น้อย
:thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: @อินดี้โฮม@ ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 10:32:34 น.
 :thumbup: :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 15 มกราคม 2019, 17:12:11 น.
 :30:
เรื่องนี้ไม่ใช่แค่อ่าน แต่ต้องนำไปใช้จริงด้วยครับ

อย่าลืมครับ สัญญาณที่ผ่านGainออกไปจะสิ้นสุดที่ลำโพง ท่านใดมีPower Amp.ไม่หนักนักเวลาทำบาล้านซ์เกนที่Amp.(เพื่อไม่ให้clip)ก็สบายหู แต่ถ้าอยู่เงียบๆแล้วใช้Power Amp.หนักๆ(หลายพันว้ตต์)มาทำ ระวัง!!หูเสื่อมหรือไม่ลำโพงอาจกลับบ้านเก่า

ส่วนมากจะยังไม่ต่อสายลำโพงก่อนทำเพื่อหาจุดตัดอาการclipให้กับAmp.ในการใช้งานต่อไป

สัญญาณเสียงมิดี้เพลงeXtremeที่ปล่อยมาจากแหล่งควรเป็นตามท่านแอดมินแนะนำครับ คือปล่อยมาให้เต็มที่100%เพื่อไม่ให้สัญญาณอ่อนตัวไปจมที่ระดับน้อยซ์ฟลอร์(์Noise Floor) เวลาเพิ่มGain มันถูกดึงเอาน้อยซ์มาด้วย (แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการบันทึกมาฟังครับ)

สำหรับประสบการณ์บันทึกเสียงจากไลน์ไมค์ของครูเองพบว่า หากไลน์ไม่ได้ทำGain Balanceจะมีผลสองด้าน คือ
1. เกิดน้อยซ์(์Noise)ปะปนมา ถ้าสัญญาณไม่ถึงGain (อ่านว่า ไม่ถึงเกน เหมือนกับ เกณฑ์ ในภาษาไทยเลยเนาะ)
2. เกิดพีค(Peak)แตกพร่า ถ้าสัญญาณเกินGain (อ่านว่า เกินเกน เหมือนกับ เกณฑ์ ในภาษาไทยเลยเนาะ)

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า Gainที่เหมาะมิได้อยู่ที่ระดับ 0dBU แต่ควรอยู่ระหว่าง -12 ------>0 -----> +6 (มีข้อแม้อยู่บ้าง)
 :thank1: ผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
 :30: 
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: patchatt ที่ วันที่ 17 มกราคม 2019, 09:31:52 น.
 :thank1: ได้ความรู้มาเพิ่มเติมครับ   :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 17 มกราคม 2019, 14:37:26 น.
:thank1:
ขอถามต่อครับนายหัว :30:

"สัญญาณจากต้นทางที่มีจุดคอนโทรล เช่น eXtreme Karaoke/  โปรแกรมเล่นไฟล์มีเดีย/ เครื่องเล่นเสียง(ในโทรศัพท์ ฯลฯ)/ และอื่นๆ เราควรปล่อยมากี่เปอร์เซนต์ครับ สัญญาณนั้นมีมาตราวัดเป็นอะไร(ความดังdB/หรือความแรง หรืออะไรกันครับ) เพื่อมาทำบาล้านซ์ที่Gainนี่ครับ"
 :thank1:
 :30:

สัญญาณจาก eXtreme /โปรแกรมเล่นไฟล์/โทรศัพท์ ควรปล่อย 100% ครับ เพื่อลด noise floor และเพิ่ม Signal to noise ratio (แต่ eXtreme ควร balance เสียงในแต่ละ line ไม่ให้ peak ก่อนนะครับ)
ส่วนความแรงของสัญญาณ output ขึ้นอยู่กับ Audio interface ว่า maximum output เป็นเท่าไร
โดยทั่วไป sound card หรือ audio interface max output voltage จะอยู่ที่ 12-18dBu หรือ 3-6V และถ้าเป็นพวกโทรศัพท์หรือเครื่องเล่น CD max output ซึ่งเป็น Consumer Audio จะอยู่ที่ 2V หรือ 6dBV(8.2dBu)

พวกไฟล์เพลงที่ผ่านการ mastering ที่ได้มาตรฐาน peak ของสัญญาณจะไม่เกิน 0dBFS(dB of full scale) ซึ่งเป็นหน่วย dB ในระบบเสียง digital
ดังนั้นเราก็ไม่ต้องกังวลว่าเปิด volume ในคอมพิวเตอร์ 100% แล้วจะทำให้เสียงแตก ยกเว้นกรณีที่เราไป boost EQ ในโปรแกรมเล่นไฟล์ ก็อาจทำให้เกิดเสียงแตกได้เพราะมันจะเกิน 0dBFS

ทีนี้มาดูเรื่อง หน่วยวัดระดับความดัง ในระบบ digital ซึ่งจะขึ้นกับค่า bit depth โดยที่ 1 bit จะเท่ากับ 6.02dB ถ้า bit depth ของเราเป็น 24bit ค่า Dynamic range ของระบบเราจะเป็น 24 x 6 = 144dB โคยที่ level ของสัญญาณในระดับสูงสุดเป็น 0dBFS และ noise floor จะเป็น -144dBFS
ถ้าระดับอ้างอิงของสัญญาณอยู่ที่ -20dBFS แล้ว SNR จะเป็น 124dB
ดังนั้นถ้าเราปล่อย volume ในโปรแกรมแค่ 50% SNR ของสัญญาณของเราจะเป็น 72dB ถ้าเรา balance gain ระบบไม่ดีเราก็จะได้ยิน noise จากระบบ digital ได้

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190117/2d32d1b51ea5ee60894d7947e164f174.jpg)




Sent from my iPhone using Tapatalk
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 17 มกราคม 2019, 15:21:33 น.
สัญญาณจาก eXtreme /โปรแกรมเล่นไฟล์/โทรศัพท์ ควรปล่อย 100% ครับ เพื่อลด noise floor และเพิ่ม Signal to noise ratio (แต่ eXtreme ควร balance เสียงในแต่ละ line ไม่ให้ peak ก่อนนะครับ)
ส่วนความแรงของสัญญาณ output ขึ้นอยู่กับ Audio interface ว่า maximum output เป็นเท่าไร
โดยทั่วไป sound card หรือ audio interface max output voltage จะอยู่ที่ 12-18dBu หรือ 3-6V และถ้าเป็นพวกโทรศัพท์หรือเครื่องเล่น CD max output ซึ่งเป็น Consumer Audio จะอยู่ที่ 2V หรือ 6dBV(8.2dBu)

พวกไฟล์เพลงที่ผ่านการ mastering ที่ได้มาตรฐาน peak ของสัญญาณจะไม่เกิน 0dBFS(dB of full scale) ซึ่งเป็นหน่วย dB ในระบบเสียง digital
ดังนั้นเราก็ไม่ต้องกังวลว่าเปิด volume ในคอมพิวเตอร์ 100% แล้วจะทำให้เสียงแตก ยกเว้นกรณีที่เราไป boost EQ ในโปรแกรมเล่นไฟล์ ก็อาจทำให้เกิดเสียงแตกได้เพราะมันจะเกิน 0dBFS

ทีนี้มาดูเรื่อง หน่วยวัดระดับความดัง ในระบบ digital ซึ่งจะขึ้นกับค่า bit depth โดยที่ 1 bit จะเท่ากับ 6.02dB ถ้า bit depth ของเราเป็น 24bit ค่า Dynamic range ของระบบเราจะเป็น 24 x 6 = 144dB โคยที่ level ของสัญญาณในระดับสูงสุดเป็น 0dBFS และ noise floor จะเป็น -144dBFS
ถ้าระดับอ้างอิงของสัญญาณอยู่ที่ -20dBFS แล้ว SNR จะเป็น 124dB
ดังนั้นถ้าเราปล่อย volume ในโปรแกรมแค่ 50% SNR ของสัญญาณของเราจะเป็น 72dB ถ้าเรา balance gain ระบบไม่ดีเราก็จะได้ยิน noise จากระบบ digital ได้

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190117/2d32d1b51ea5ee60894d7947e164f174.jpg)




Sent from my iPhone using Tapatalk
:thank1:   :thank1:   :thank1:
ขอคารวะพี่หมอ ท่านครูผู้เชี่ยวชาญ (ปรมาจารย์)เครื่องเสียง(ท่านหนึ่งของผม)หลังจากเงียบหายไประยะหนึ่ง

เนื่องในโอกาส"วันครู" ขออ้างเอาอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยจงอภิบาลปกปักรักษา"คุณพี่หมอ"ให้มีแต่ความสุขสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจตลอดไปด้วยเทอญ.
 :30:   :30:   :30:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: อนุสิทธิ์ ที่ วันที่ 17 มกราคม 2019, 17:30:01 น.
ขอบคุณท่านแอดมินอธิบายเข้าใจด้วยคำง่ายๆ ใช้ได้จริง
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 17 มกราคม 2019, 18:43:41 น.
จากสัญญาณเสียงในระบบ digital มาเป็น analog ต้องผ่าน DAC (digital to analog converter) ค่า max level ในระบบ digital คือ 0dBFS ก็จะถูก decode แปลงเป็น สัญญาณไฟฟ้าในระบบ analog ผ่าน Op-amp โดยที่ 0dBFS จะสอดคล้องกับค่า max level output ของ analog interface ของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น 24dBu ใน digital mixer 18dbu ใน audio interface และ 6dBV ในอุปกรณ์เครื่องเล่นไฟล์/CD/โทรศัพท์

ดังนั้น digital to analog transmission ในกรณี เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์ (eXtreme) ผ่าน DAC หรือ ซาวด์การ์ด แล้วแยก line มาเข้า mixer ระดับความแรงของสัญญาณจะเป็น line level ช่องเสียบก็ควรเสียบให้เหมาะสมกับ gain stage ของระดับสัญญาณและ I/O impedance ตามที่ผมเคยได้อธิบายในกระทู้ก่อนหน้านี้ไปแล้ว

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190117/ba8ad7682e003ec825e48cf9b8522a7f.jpg)

ในส่วนของ mixer gain structure เราควร balance gain output ของ mixer ให้อยู่ใน Head Room (Peak Room) คือตั้งแต่ 0VU-20VU(clip level)(+4dBu - +24dBu) เพื่อที่จะเตรียมตัวไปขยายใน Amplifier stage

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190117/383f293f3a3d06c1caa3b35ccf58beaf.jpg)

องค์ประกอบของสัญญาณเสียง จะประกอบด้วย2ส่วนคือ RMS และ Peak level
RMS level จะสัมพันธ์กับ “ระดับความดัง”หรือ Loudness
Peak level จะสัมพันธ์กับ ระดับของสัญญาณชั่วขณะ
สังเกตรูป ข้างบน ระดับของสัญญาณเส้นสีฟ้าคือ RMS level จะอยู่ใกล้ๆกับ 4dBu ส่วน peak level ก็จะแกว่งขึ้นลงใน Peak Room มากกว่า 4dBu

สำหระดับความแตกต่างระหว่าง Peak กับ RMS level ของสัญญาณ เราเรียกว่า Crest Factor(CF) พูดง่ายๆคือ เอาค่า peak มาลบกับค่า RMS ของสัญญาณก็จะได้ค่า CF

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190117/a154fe25bff7a0fc7898d809ee4315cf.jpg)

ยกตัวอย่าง CF ของสัญญาณแบบต่างๆเช่น
Square wave = 0dB
Sine wave = 3dB
IEC/AES noise (pink noiseที่ใช้ทดสอบ power test หากำลัง Watt ของลำโพง) = 6dB
Pink noise (สำหรับจูนระบบเสียงซึ่งจะมีใน noise generator ของ digital mixer ทั่วไป) = 12dB
Music program (สัญญาณของเสียงเพลงต่างๆ) = 10-20dB

ประเด็นที่หลายคนชอบถกเถียงกันในวงการเครื่องเสียงบ้านเราเรื่อง gain ที่ meter เท่ากันแต่ทำไม เปิดเพลงกับเล่นดนตรีสด ระดับความดังถึงไม่เท่ากัน ซึ่งประเด็นนี้ก็เกี่ยวข้องกับ CF เพลงที่ผ่านการ mastering จะมี RMS level ต่างจาก peak level น้อย ค่า CF อาจจะประมาณ 10dB เนื่องจากกระบวนการ mastering จะผ่านการบีบอัดสัญญาณโดยใช้ Compressor + Maximizer เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งอาจแตกต่างกับ การ mix เสียงในงานแสดงสดที่อาจทำให้ CF 10-20dB ระดับความดังจึงแตกต่างกันตามทักษะของผู้ควบคุมเสียง

Meter ของ mixer ของเรามีการแสดงผลไม่เหมือนกัน การอ่านค่าระดับสัญญาณที่เราเห็นจาก meter แต่ละแบบต้องอาศัยความเข้าใจสิ่งที่ meter แต่ละแบบแสดงผล

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190117/534b390d6ed5f01ac9e8358986348f16.jpg)

VU meter แบบเข็ม จะแสดงผลค่า RMS level ซึ่งสัมพันธ์กับระดับความดังหรือ loudness

LED meter ใน Analog mixer เรียกว่า Peak program meter (PPM) จะแสดงผลค่า peak level ของสัญญาณแต่อาจแสดงผลได้ไม่ดีนัก

True PPM เป็น meterที่แสดงค่า peak level ของสัญญาณได้อย่างแม่นยำ มักพบใน Digital mixer หรือใน software/ plugins ในคอมพิวเตอร์

ยกตัวอย่างเช่น การที่เราเห็น peak level ของสัญญาณของเสียงเพลงอยู่ที่ -20dBFS(4dBu) ใน true PPM ของดิจิตอลมิกเซอร์นั้น ค่า RMS level ของสัญญาณก็อาจอยู่ที่ระดับ -30 ถึง -40 dBFS เพราะ music program CF=10ถึง20dB
และถ้าเราเห็น peak level ที่ -6dBFS ระดับสัญญาณ RMS ก็จะอยู่ที่ -2 ถึง 8dBu (-26 ถึง -16dBFS

ดังนั้นเวลาที่เรา mix เสียงใน mixer ระดับของ gain ควรจะอยู่ตั้งแต่ 0-20VUหรือ -20ถึง 0dBFS โดยที่ไม่เกิด clip(distortion)

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190117/d8e41f02a289f9585ed5244b17c719d1.jpg)
เมื่อเราใช้ช่องเสียงหลายช่องที่ input channel ที่ main output สัญญาณก็จะรวมกัน นะดับสัญญาณที่เกิดจากการรวมกันที่ output เราเรียกว่า Summing Bus คิดคร่าวๆจากจำนวน input chanel ได้คือ 10log(Number Of Channel) ถ้าเรา mix 4 ช่อง ตามภาพตัวอย่าง จะได้ 10log4 = 6dB กล่าวคือ เมื่อเราใช้ช่องเสียงทั้งหมด 4 ช่อง สัญญาณ output ที่ main จะเพิ่มขึ้น 6dB ถ้าเราจะเผื่อสัญญาณที่ input channel ไม่ให้ clip เราต้องเผื่อไว้อย่างน้อย -6dBFS ในแต่ละ channel เพื่อไม่ให้ clip

ดังนั้นถ้าเราแยก line eXtreme มาเข้า mixer สัก 32 ch นอกจากที่เราจะเปิด volume 100%ใน คอมพิวเตอร์เพื่อลด noise แล้ว เราต้องมา trim gain ไม่ให้ clip เผื่อ summing bus = -10log32= -15dBFS เป็นอย่างน้อยในแต่ละ channel

ในทางปฏิบัติง่ายๆคือ แยก line แต่ละ channel ควรมีระดับ peak level ที่ -20dBFS หรือ 4dBu เพื่อเป็นการเผื่อ Peak room ของสัญญาณ summing bus ไม่ให้ clip และเราจะได้ RMS ของสัญญาณ ที่ 4-14 dBu

สำหรับ การแยกไลน์ eXtreme แบบ digital to digital transmission เช่น แยก line ไม่ว่าจะเป็นแบบผ่าน USB stream ของ QU, SQ, X32, M32 หรือ audio interfaceที่เป็น Optical ADAT, AES3, S/PDIF หรือแบบ AoEเช่น Dante network ข้อดีของการส่งสัญญาณแบบ digital ในแง่ของ gain structue คือ clip point ของแต่ละอุปกรณ์ จะ Match กันหมด กล่าวคือ ที่ 0dBFS ทุกอุปกรณ์จะ clip พร้อมกันหมด เป็นการ matching gain structure ของระบบโดยอัตโนมัติ ส่วน Dynamic range ของระบบ จะขึ้นกับอุปกรณ์ที่มี bits depth น้อยที่สุด
ดังนั้นเมื่อเราแยก line ผ่านระบบ digital ในแต่ละ channel ควร trim digital gain ให้ระดับ peak level ของสัญญาณ อยู่ที่ -20dBFS เป็นการเผื่อ Head Room

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190117/4eec04a7d3407acc4e545b4c958ee7e8.jpg)

ขั้นตอนสุดท้ายของ การจัดการ System gain structure คือ Power Amp ซื่องจะเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งต่อไปถึงลำโพง
Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ
สัญญาณที่มี noise มันก็จะขยาย noise ให้
Gain ที่ไม่ถึง line level จาก mixer จะมี SNR ต่ำ จะเกิด noise ได้มากกว่า gain ที่สูง
แนวคิดสำหรับการจัดการ volume ของ power amp ง่ายๆคือ ให้คิดเสียว่ามันคือ volume ของโทรทัศน์ เราคงไม่เร่งจนสุด แต่ควรเร่งแต่พอดีฟัง
เพราะสัญญาณจากห้องส่งนั้นได้ระดับที่เหมาะสมแล้ว เราเพียงใช้ Volume ของโทรทัศน์ขยายสัญญาณเท่านั้นเอง เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง mixer  power amp ก็หลักการเดียวกัน สัญญาณจาก mixer ต้องได้ระดับที่ดีก่อน จึงจะนำไปขยาย

 https://vimeo.com/rane/5minutegainstructure (https://vimeo.com/rane/5minutegainstructure)




Sent from my iPhone using Tapatalk
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 17 มกราคม 2019, 18:48:09 น.
:thank1:   :thank1:   :thank1:
ขอคารวะพี่หมอ ท่านครูผู้เชี่ยวชาญ (ปรมาจารย์)เครื่องเสียง(ท่านหนึ่งของผม)หลังจากเงียบหายไประยะหนึ่ง

เนื่องในโอกาส"วันครู" ขออ้างเอาอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยจงอภิบาลปกปักรักษา"คุณพี่หมอ"ให้มีแต่ความสุขสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจตลอดไปด้วยเทอญ.
 :30:   :30:   :30:
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
ผมไม่ได้หายไปไหนครับ เข้าเวบดูบอร์ดแทบทุกวันกระทู้ไหนที่ผมพอจะตอบได้ก็จะเข้ามาตอบครับ


Sent from my iPhone using Tapatalk
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 18 มกราคม 2019, 07:03:47 น.
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
ผมไม่ได้หายไปไหนครับ เข้าเวบดูบอร์ดแทบทุกวันกระทู้ไหนที่ผมพอจะตอบได้ก็จะเข้ามาตอบครับ

Sent from my iPhone using Tapatalk
ดีใจครับที่พี่หมอแม็คยังไม่ไปไหนแต่มาดูแทบทุกวัน พร้อมตอบกระทู้  บางครั้งเหมือนไม่คึกคัก แต่มาทีไรคึกคักทันที  เช่นที่กระทู้นี้
http://karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=120691.0 (http://karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=120691.0)
และ
http://karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=120729.0 (http://karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=120729.0)

ไม่ว่าพี่หมอแม็คจะพูดไว้ที่ไหน  พี่ยังยืนยัน"ความจริงของเสียง"ไว้โดยแสดงคำอธิบายมาด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ผ่านการพิสูจน์มาทางวิทยาศาสตร์พร้อมรูปภาพประกอบ จับนามธรรมมาเป็นตัวตนด้วยไวยากรณ์และกลวิธีทางภาษาไทยได้อย่างสละสลวย เข้าใจง่าย

ตัว"หลักธรรมชาติของเสียง"ที่พี่หมอแม็คนำมาอธิบายไว้ที่ไหน มาตรงนี่พี่หมอแม็คก็ยังคงให้เป็นอย่างนี้  ชัดเจนประดุจพี่หมอแม็คเป็นตัวธรรมชาติของเสียงเสียเองฉะนี้

ผมขอเป็นตัวแทน"น้องใหม่ ผู้ด้อยความรู้และประสบการณ์"ขอขอบพระคุณและจะติดตาม ถามไถ่หัวข้อปัญหาที่ยังมีอีกมาก(บางข้อไม่กล้าถาม เพราะกลัวว่าทำไมเรามัน"โง่"อย่างนี้)จากท่านต่อไปด้วยครับ

เริ่มต้นตรงนี้ขอถามพื้นๆครับ ว่า ตัวเลขที่อยู่กับปุ่มGain มันเป็นจริงไหม หรือจะใช้อย่างไรครับ



(https://i.postimg.cc/0NH8K9Mv/2019-01-18-065517.png) (https://postimages.org/)

(https://i.postimg.cc/mZ9bhfbx/amplifier-gain-knob-retro-guitar-control-panel-maximum-close-up.jpg) (https://postimages.org/)

(https://i.postimg.cc/50YfwDLC/analog-gain.jpg) (https://postimages.org/)

(https://i.postimg.cc/tJFycPrR/gain-control-1.jpg) (https://postimages.org/)

(https://i.postimg.cc/4dDswwQF/images.jpg) (https://postimages.org/)

 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 19 มกราคม 2019, 16:18:15 น.
ดีใจครับที่พี่หมอแม็คยังไม่ไปไหนแต่มาดูแทบทุกวัน พร้อมตอบกระทู้  บางครั้งเหมือนไม่คึกคัก แต่มาทีไรคึกคักทันที  เช่นที่กระทู้นี้
http://karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=120691.0 (http://karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=120691.0)
และ
http://karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=120729.0 (http://karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=120729.0)

ไม่ว่าพี่หมอแม็คจะพูดไว้ที่ไหน  พี่ยังยืนยัน"ความจริงของเสียง"ไว้โดยแสดงคำอธิบายมาด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ผ่านการพิสูจน์มาทางวิทยาศาสตร์พร้อมรูปภาพประกอบ จับนามธรรมมาเป็นตัวตนด้วยไวยากรณ์และกลวิธีทางภาษาไทยได้อย่างสละสลวย เข้าใจง่าย

ตัว"หลักธรรมชาติของเสียง"ที่พี่หมอแม็คนำมาอธิบายไว้ที่ไหน มาตรงนี่พี่หมอแม็คก็ยังคงให้เป็นอย่างนี้  ชัดเจนประดุจพี่หมอแม็คเป็นตัวธรรมชาติของเสียงเสียเองฉะนี้

ผมขอเป็นตัวแทน"น้องใหม่ ผู้ด้อยความรู้และประสบการณ์"ขอขอบพระคุณและจะติดตาม ถามไถ่หัวข้อปัญหาที่ยังมีอีกมาก(บางข้อไม่กล้าถาม เพราะกลัวว่าทำไมเรามัน"โง่"อย่างนี้)จากท่านต่อไปด้วยครับ

เริ่มต้นตรงนี้ขอถามพื้นๆครับ ว่า ตัวเลขที่อยู่กับปุ่มGain มันเป็นจริงไหม หรือจะใช้อย่างไรครับ



(https://i.postimg.cc/0NH8K9Mv/2019-01-18-065517.png) (https://postimages.org/)



ขอบคุณคำติชม-ให้กำลังใจของคุณครู มา ณ โอกาสนี้ครับ

ทุกอย่างในระบบเสียงเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ย่อมมีที่มาที่ไป การที่จะเขียนตัวเลขหรือ scale ต่างๆต้องมีที่มา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่า ตีรเลขที่ระบุไว้นั้นต้องการสื่ออะไรกับเรา ถ้าเราไม่เข้าใจก็ควรศึกษาคู่มือของผลิตภัณฑ์นั้นให้เข้าใจ

ก่อนอื่น สิ่งที่เราควรทราบเกี่ยวกับปุ่ม gain ก็คือหน้าที่ของมัน
ปุ่ม Gain หรือ Trim นั้นทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้า
ขาเข้าของ mic/line ให้อยู่ในระดับ line level

ในส่วนของภาค Mic จะมี Mic preamp เพื่อที่จะขยายสัญญาณจาก Mic level ซึ่งมีแรงดันไฟฟ้าในระดับ mV(1/1000 Volt) ให้เป็น 1V ซึ่งก็หมายความว่า ภาค preamp นั้นต้องมีกำลังขยายถึง 1000 เท่า เมื่อคิดเป็น Voltage gain จะได้
dB Gain = 20log1000 = 60dB
หรือมี mixer บางรุ่นให้กำลังขยายถึง 2000 เท่า คิดเป็น Voltage gain = 66dB

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190119/45565dff2336d49dc7304bcda7c37ff8.jpg)

ยกตัวอย่างรูป ปุ่ม gain ที่คุณครูถามมาประกอบกับ spec ของ ภาค input ของ mixer รุ่นนี้
อธิบายได้ดังนี้

ที่ตำแหน่ง 64dB(เมื่อต่อ connector เข้าที่ช่อง micหรือ XLR) สัญญาณจะถูกภาค Mic preamp ขยายขึ้น จาก -60dBu เป็น 0dBu (nominal levrl) ซึ่งก็หมายความว่า ภาค pre amp ของ mixer รุ่นนี้มีกำลังขยายสูงสุด 1000 เท่าหรือ 60dB
และยังมี Head room อีก 20dBu สัญญาณ input จะ clip เมื่อมีแรงดัน -40dBu (-40dBu จะถูก preamp ขยายเพิ่มอีก 60dB เป็น 20dBu)

ที่ตำแหน่ง 20dB (@Gain min) ปุ่ม preamp จะมีกำลังขยาย 16dB เพื่อที่จะขยายสัญญาณ input -16dBu เป็น 0dBu และจะ clip เมื่อมีสัญญาณ input 4dBu( 4dBu จะถูกขยาย อีก 16dB เป็น 20dBu)

เมื่อกดปุ่ม Pad หรือต่อ input เข้าช่อง Line วงจร Attenuators ของ Mixer จะลดสัญญาณ input ลง 26dB ซึ่งจะสัมพันธ์กับระดับสัญญาณ -34dBu เมื่อ Gain อยู่ที่ Max (สัญญาณที่ระดับ -34dBu จะถูกลดลงอีก 26dB เป็น -60dBu ก่อนที่จะถูก preamp ขยายอีก 60dB เป็น 0dBu
และที่ตำแหน่ง-6dB (@Gain min )เมื่อกด Pad สัญญาณ+10dBu จะถูกลดลง -26dB เป็น -16dB และถูกขยายอีก 16dB เป็น 0dBu สู่ nominal level)

ค่าแรงดันสูงสุดที่จะทำให้ clip เมื่อกด Pad26dB คือ 30dBu @gain min และ -14dBu@ gain max

และสุดท้ายที่ภาค output สัญจะถูกขยายอีก 4dBu
ตัวเลขที่ปุ่ม gain จึงเป็น +20(16+4), +64(60+4) และ -6(-10+4), +38(34+4) เมื่อกด Pad เพื่อที่จะได้ nominal output level เป็น +4dBu

จะเห็นว่า ปุ่ม Gain ในที่นี้ใช้ปรับ Voltage gain ระห่าง 20-64dB คิดเป็นกำลังขยายตั้งแต่ 10-1600 เท่า
ดังนั้นปุ่ม Gain/ Trim มีหน้าที่ปรับกำลังขยายของ preamp เพื่อให้สัญญาณ input อยู่ใน Line level นั่นเอง



Sent from my iPhone using Tapatalk
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: พันแสนมิวสิค ที่ วันที่ 19 มกราคม 2019, 16:36:47 น.
 :95: :95: :95: :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 19 มกราคม 2019, 19:30:00 น.
ขอบคุณคำติชม-ให้กำลังใจของคุณครู มา ณ โอกาสนี้ครับ

ทุกอย่างในระบบเสียงเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ย่อมมีที่มาที่ไป การที่จะเขียนตัวเลขหรือ scale ต่างๆต้องมีที่มา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่า ตีรเลขที่ระบุไว้นั้นต้องการสื่ออะไรกับเรา ถ้าเราไม่เข้าใจก็ควรศึกษาคู่มือของผลิตภัณฑ์นั้นให้เข้าใจ

ก่อนอื่น สิ่งที่เราควรทราบเกี่ยวกับปุ่ม gain ก็คือหน้าที่ของมัน
ปุ่ม Gain หรือ Trim นั้นทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้า
ขาเข้าของ mic/line ให้อยู่ในระดับ line level

ในส่วนของภาค Mic จะมี Mic preamp เพื่อที่จะขยายสัญญาณจาก Mic level ซึ่งมีแรงดันไฟฟ้าในระดับ mV(1/1000 Volt) ให้เป็น 1V ซึ่งก็หมายความว่า ภาค preamp นั้นต้องมีกำลังขยายถึง 1000 เท่า เมื่อคิดเป็น Voltage gain จะได้
dB Gain = 20log1000 = 60dB
หรือมี mixer บางรุ่นให้กำลังขยายถึง 2000 เท่า คิดเป็น Voltage gain = 66dB

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190119/45565dff2336d49dc7304bcda7c37ff8.jpg)

ยกตัวอย่างรูป ปุ่ม gain ที่คุณครูถามมาประกอบกับ spec ของ ภาค input ของ mixer รุ่นนี้
อธิบายได้ดังนี้

ที่ตำแหน่ง 64dB(เมื่อต่อ connector เข้าที่ช่อง micหรือ XLR) สัญญาณจะถูกภาค Mic preamp ขยายขึ้น จาก -60dBu เป็น 0dBu (nominal levrl) ซึ่งก็หมายความว่า ภาค pre amp ของ mixer รุ่นนี้มีกำลังขยายสูงสุด 1000 เท่าหรือ 60dB
และยังมี Head room อีก 20dBu สัญญาณ input จะ clip เมื่อมีแรงดัน -40dBu (-40dBu จะถูก preamp ขยายเพิ่มอีก 60dB เป็น 20dBu)

ที่ตำแหน่ง 20dB (@Gain min) ปุ่ม preamp จะมีกำลังขยาย 16dB เพื่อที่จะขยายสัญญาณ input -16dBu เป็น 0dBu และจะ clip เมื่อมีสัญญาณ input 4dBu( 4dBu จะถูกขยาย อีก 16dB เป็น 20dBu)

เมื่อกดปุ่ม Pad หรือต่อ input เข้าช่อง Line วงจร Attenuators ของ Mixer จะลดสัญญาณ input ลง 26dB ซึ่งจะสัมพันธ์กับระดับสัญญาณ -34dBu เมื่อ Gain อยู่ที่ Max (สัญญาณที่ระดับ -34dBu จะถูกลดลงอีก 26dB เป็น -60dBu ก่อนที่จะถูก preamp ขยายอีก 60dB เป็น 0dBu
และที่ตำแหน่ง-6dB (@Gain min )เมื่อกด Pad สัญญาณ+10dBu จะถูกลดลง -26dB เป็น -16dB และถูกขยายอีก 16dB เป็น 0dBu สู่ nominal level)

ค่าแรงดันสูงสุดที่จะทำให้ clip เมื่อกด Pad26dB คือ 30dBu @gain min และ -14dBu@ gain max

และสุดท้ายที่ภาค output สัญจะถูกขยายอีก 4dBu
ตัวเลขที่ปุ่ม gain จึงเป็น +20(16+4), +64(60+4) และ -6(-10+4), +38(34+4) เมื่อกด Pad เพื่อที่จะได้ nominal output level เป็น +4dBu

จะเห็นว่า ปุ่ม Gain ในที่นี้ใช้ปรับ Voltage gain ระห่าง 20-64dB คิดเป็นกำลังขยายตั้งแต่ 10-1600 เท่า
ดังนั้นปุ่ม Gain/ Trim มีหน้าที่ปรับกำลังขยายของ preamp เพื่อให้สัญญาณ input อยู่ใน Line level นั่นเอง



Sent from my iPhone using Tapatalk
:30: ขอบคุณครับพี่หมอแม็ค ตัวอย่างปุ่มGainมิกซ์อนาล็อคที่ผมลงไว้เป็นตัวอย่างเป็นรุ่นระดับต้นๆที่คุ้นตาผู้ใช้ระดับแนวหน้า(บางท่านเรียก น้องยา)

มิกซ์อนาล็อคที่มีอุปกรณ์และสัญลักษณ์ทางเสียงครบถ้วนอย่างนี้ิเหมาะกับผู้เริ่มต้นที่ต้องการทักษะการใช้อย่างจริงจัง ขณะที่เว็บเรามีผู้เชี่ยวขาญคอยให้ความรู้อยู่อย่างนี้ตลอดเวลา

ทุกคนมีความสุขกับสิ่งที่ชอบ ประทับใจไม่รู้ลืม
 :30:  :30:  :30:  :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Adisak Su ที่ วันที่ 20 มกราคม 2019, 10:49:56 น.
ขอบคุณครับ :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: trajak ที่ วันที่ 20 มกราคม 2019, 11:29:25 น.
 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 20 มกราคม 2019, 17:56:49 น.
 :95:
        จะเห็นได้ว่า ความความจริงของปุ่มGainตัวอย่างที่พี่หมอแม็คนำมาอธิบายสำหรับมิกซ์อนาล็อคอันเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของระบบเสียงนั้นมีความน่าสนใจ เหมาะที่เราจะนำไปประยุกต์ใชอย่างสมบูรณ์ต่อไป

        อย่างไรก็ตาม   มีคำถามที่ยังต้องเพิ่มความเข้าใจอีก ครับพี่หมอแม็ค  เช่น

        นอกจากสัญญาณจะผ่านที่ช่องปุ่มGainแล้ว ยังมีที่Fader Slide อีกทั้งที่Line Channel ละMainOut Channel ซึ่งก็มีขีดตัวเลขคล้ายปุ่มGain เช่นกัน
(https://i.postimg.cc/FFbFKWw9/2019-01-20-175130.png) (https://postimages.org/)

(https://i.postimg.cc/L5QbXMpC/2019-01-20-175315.png) (https://postimages.org/)

        "อยากทราบความหมายของตัวเลขและการใช้งานบนสไลด์เฟดเดอร์ทั้งสองที่ว่าคืออะไร มีที่มาที่ไปและใช้อย่างไร"
       
ขอขอบพระคุณครับ  :thank1:
 
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: จิตกร ที่ วันที่ 20 มกราคม 2019, 18:12:56 น.
Input Gain
     บทความนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของ Gain (เกน) หรือแปลตามตัวคือ “กำไร” เราจะค้าขายก็ต้องมีกำไร การทำเสียงก็เหมือนกันกำไรในการทำเสียงคือการที่เราได้สัญญาณที่ดีอย่างลงตัวที่สุด  ด่านแรกในการทำงานสำหรับการมิกซ์เสียงของเราคือสัญญาณเสียงที่เข้ามา แล้วความแรงของสัญญาณเราได้มาจากไหน? แน่นอนว่ามันต้องผ่านวงจรขยายที่เรามักจะเรียกมันว่า “Gain(เกน)”

Gain(เกน) สำคัญอย่างไร?
     บางครั้งสัญญาณที่เข้ามานั้นมันอาจจะมีความเบาไปหรือแรงไป ตัว Gain(เกน) นี้จะเป็นตัวขยายเพิ่มลดสัญญาณเสียงที่เข้ามา ซึ่งสัญญาณเสียงนั้น จะมาในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เพราะว่าสัญญาณเสียงได้ผ่านตัวแปลงสัญญาณที่เราเรียกว่า Transducer(แทร็นซดิ๊วเซอร์) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของอุปกรณ์ระบบเสียง ที่เราเรียกว่า Microphone(ไมโครโฟน) เจ้าไมโครโฟนตัวนี้ มันทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า  ซึ่งไฟฟ้าที่ได้มานั้นมีแรงดันน้อยมาก อยู่ในระดับ mV(มิลิโวลท์) เมื่อแรงดันไฟฟ้าน้อย นั่นหมายความว่าเสียงมันก็เบาลงตามไปด้วย  เราจึงจำเป็นต้องมีการขยายแรงดันไฟฟ้าให้มันมีระดับความแรงที่เหมาะสม โดยเมื่อเราปรับ Gain(เกน) แล้วมันจะไปเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายสัญญาณเสียงที่เข้าไมโครโฟน เมื่อไมโครโฟนรับเสียงได้มากขึ้น เท่ากับว่ามันก็จะรับเสียงที่ไม่ต้องการมากขึ้นตามมาอีกด้วย การปรับ Gain(เกน) นั้นจึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันก็จะมีผลต่อ Noise(น๊อย) หรือสัญญาณรบกวนด้วยเหมือนกัน หากว่าเราปรับ Gain(เกน) น้อยเกินไป สัญญาณรบกวนที่อยู่ในระบบไฟฟ้าและสายสัญญาณนั้น ก็จะใกล้เคียงกับสัญญาณจริงที่เข้ามา เมื่อมันใกล้เคียงกัน เวลาสัญญาณที่ไปเข้าเครื่องขยายเสียงหรือแอมปลิไฟเออร์นั้น มันก็จะขยายสัญญาณรบกวนด้วย เราจึงต้องตั้งค่า Gain ให้เหมาะสมกับที่เราจะใช้งาน ซึ่งอัตราส่วนระหว่างสัญญาณจริงกับสัญญาณรบกวนนั้นเราเรียกว่า Signal to Noise Ratio(ซิกแนลทูน๊อยเรโช) เรามันจะเจอตัวย่อนี้คือ SNR การปรับเกนจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากในจะทำให้ระบบเสียงของเรามีเสียงที่ดี สะอาด ปราศจากเสียงรบกวน

ปรับเกน (Gain) อย่างไรให้เหมาะสม
     ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจเรื่องสัญญาณทางไฟฟ้ากันก่อน อย่าลืมว่าที่มิกเซอร์ตัวเก่งของเรานั้นช่องสัญญาณขาเข้ามีหลายช่องสัญญาณ อาจจะเริ่มตั้งแต่ 16ช่องสัญญาณไปจนถึง 56ช่องสัญญาณเลยก็ว่าได้ ยิ่งในปัจจุบันด้วยแล้วดิจิทัลมิกเซอร์นั้นมีมากกว่า 200ช่องสัญญาณกันเลยทีเดียว การปรับ Gain จึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากเราเข้าใจเรื่องการเพิ่มขึ้นของสัญญาณทางไฟฟ้าว่ามันจะเพิ่มสัญญาณขึ้น 6dB เมื่อสัญญาณที่เข้ามานั้นมาค่าทางไฟฟ้าเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น สัญญาณเข้ามาที่ช่องสัญญาณที่ 1 ของมิกเซอร์อ่านค่าที่ VU มิเตอร์ได้ 0dBu หากช่องที่ 2 มีค่าสัญญาณที่เข้ามาเท่ากับช่องที่ 1 คือ 0dBu ความแรงของสัญญาณที่เราจะอ่านได้ที่ Master Outputs(มาสเตอร์เอาพุท) นั้นจะมีค่าเท่ากับ +6dBu นั้นคือสัญญาณ 2 สัญญาณรวมกันจะเพิ่มขึ้น 6dB แล้วตอนที่เรามิกซ์เสียงนั้นเราใช้จำนวนทั้งหมดกี่ช่องสัญญาณ? เมื่อช่องสัญญาณขาเข้ามีสัญญาณเข้ามา 0dBu เท่ากัน 4ช่องสัญญาณ ที่ Master Outputs(มาสเตอร์เอาพุท) เราก็จะมีสัญญาณออกไป +12dBu เพิ่มขึ้น 12dB หากมิกเซอร์ของเรารองรับสัญญาณขาออกได้ทั้งหมด  +18dBu นั่นหมายความว่าช่องสัญญาณขาเข้าเราสามารถเพิ่มสัญญาณในระดับ 0dBu ได้แค่ 8 ช่องสัญญาณเท่านั้น(กรณีที่เล่นพร้อมกัน เวลาเดียวกัน) หากเพิ่มจำนวนช่องสัญญาณมากกว่านี้แน่นอนว่าไม่มีพื้นที่ของสัญญาณขาออกให้กับช่องสัญญาณที่เหลือเลยเป็นที่มาของ VU มิเตอร์ไฟขึ้นสีแดง หากเป็นแบบนี้อยู่ตลอดเวลารับรองได้ว่าจะสร้างความเสียหายให้ลำโพงแน่นอน เพราะเพาเวอร์แอมป์มันจะขยายสัญญาณเสียงที่เป็น Squarewave(สแควร์เวฟ) คือเสียงที่แตกพร่าออกไปสู่ลำโพง

ความเข้าใจผิดๆเรื่องเกน (Gain)
     หลายๆคนยังเข้าใจว่าเราต้องเอา Gain มาเยอะๆถึงจะได้เสียงที่ดี ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไปสำหรับเครื่องดนตรีบางชนิด แน่นอนว่าเพิ่มเกน(Gain)มาก ยิ่งได้รายละเอียดเสียงที่ดีมากขึ้นตามไปด้วย แต่บางกรณีมันจะนำเอาเสียงรอบข้างเข้ามามากตามไปด้วยเช่นเดียวกัน อย่างที่กล่าวมาหากเราเข้าใจเรื่องการเพิ่มขึ้นของค่าทางไฟฟ้าเราก็จะเข้าใจเรื่องปริมาณ Gain ที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ยิ่งจำนวนช่องสัญญาณมากขึ้นเท่าไหร่จำนวน Gain ที่ต้องการต้องลดลงตามไปด้วย เมื่อจำนวน Gain แต่ละช่องสัญญาณลดลงแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือเสียงเบาลง เราก็จำเป็นต้องเพิ่มลำโพงให้เพียงพอต่อความดังที่ต้องการ

วิธีปรับเกน (Gain)
     สำหรับวิธีการที่ใช้ในการปรับ Gain ก็คือ ให้เราเลื่อนเฟดเดอร์ทุกช่องสัญญาณที่จะใช้งานมาไว้ที่ 0dB หรือตำแหน่งเรามักเรียกว่า Unity(ยูนิตี้) แล้วลองฟังเสียงรวมทั้งหมดดูว่าอะไรดังไปเบาไป เพราะว่าบางช่องสัญญาณนั้นเรายังไม่เพิ่ม Gain ก็ให้เสียงดังพอดีแล้ว เราเรียกกว่าการ Balance Gain(บาลานซ์เกน) เมื่อเราไม่เพิ่ม Gain ในช่องสัญญาณเหล่านี้เสียงรบกวนต่างๆรอบๆข้างก็จะเข้าไมโครโฟนน้อยลงไปด้วยเพราะมันโดนขยายน้อยนั่นเอง  เราจะได้เสียงที่สะอาด เมื่อเสียงอื่นเข้าไมโครโฟนน้อยกว่าเสียงที่ต้องการมันจะช่วยลดการเกิด Phase Shift(เฟสชิฟ) ลงไปด้วย แล้วก็ทำให้สัญญาณที่ส่งไปยังช่อง Master ก็ลดลงไปด้วย เมื่อสัญญาณที่ Master ไม่มากจนเกินไปทำให้เรามี Headroom(เฮดรูม) เหลือมากพอที่เราจะเพิ่มความดังขึ้นไปได้ ซึ่งเรื่อง Gain นี้เราจำเป็นต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญสำคัญที่สุดคือการฟังให้ออกว่าอะไรดังไปอะไรที่ต้องเติมรายละเอียดเข้าไป หากเราไม่สามารถแยกแยะเรื่องพวกนี้ได้มันก็ยากที่เราจะทำการปรับแต่งสัญญาณออกมาให้เหมาะสม

ครูสอนเสียง – อ.น้อย ทรงพล แจ่มแจ้ง

ที่มา  https://www.liveforsound.com/การปรับเกน-gain/
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 21 มกราคม 2019, 18:18:24 น.
:95:
        จะเห็นได้ว่า ความความจริงของปุ่มGainตัวอย่างที่พี่หมอแม็คนำมาอธิบายสำหรับมิกซ์อนาล็อคอันเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของระบบเสียงนั้นมีความน่าสนใจ เหมาะที่เราจะนำไปประยุกต์ใชอย่างสมบูรณ์ต่อไป

        อย่างไรก็ตาม   มีคำถามที่ยังต้องเพิ่มความเข้าใจอีก ครับพี่หมอแม็ค  เช่น

        นอกจากสัญญาณจะผ่านที่ช่องปุ่มGainแล้ว ยังมีที่Fader Slide อีกทั้งที่Line Channel ละMainOut Channel ซึ่งก็มีขีดตัวเลขคล้ายปุ่มGain เช่นกัน
(https://i.postimg.cc/FFbFKWw9/2019-01-20-175130.png) (https://postimages.org/)

(https://i.postimg.cc/L5QbXMpC/2019-01-20-175315.png) (https://postimages.org/)

        "อยากทราบความหมายของตัวเลขและการใช้งานบนสไลด์เฟดเดอร์ทั้งสองที่ว่าคืออะไร มีที่มาที่ไปและใช้อย่างไร"
       
ขอขอบพระคุณครับ  :thank1:
 
ตัวเลขที่ Fader ก็บอกตรงไปตรงมาครับว่าสัญญาณที่จะผ่าน Fader (Pre-Fader)มีค่าลด/เพิ่มเป็นเท่าไรหลังจากที่ผ่าน Fader ไปแล้ว(Post-Fader)
ตัวเลขที่เขียนบอกจะเป็นหน่วย dB ซึ่งใช้ Logarithmic function ในการเปรียบเทียบอัตราส่วนแรงดันไฟฟ้า ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าหน่วยที่เป็น Volt (V)

Fader ที่ 0dB บ่งบอกว่าสัญญาณ Pre-Fader ซึ่งอาจผ่านการ EQ หรือ Compress มาจาก Channel strip แล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณ (level) เมื่อผ่าน Fader ไปที่ Output Bus
@ 10dB บอกว่าสัญญาณ Pre-Fader จะถูกขยายเพิ่มระดับอีก 10dB ที่ Post-Fader mix Bus

อาจจะมีคำถามต่อมาอีกว่า ทำไมต้องมี Fader ควบคุมระดับสัญญาณ ที่ที่ก็มีปุ่ม Gain แล้ว

ตอบ ก็เพราะว่า Gain นั้นใช้ปรับขยายสัญญาณต้นทาง ให้ mixer สามารถทำงานในระดับ line level ได้ และยังเป็นต้นทางเพื่อใช้ในอีกหลาย Mix Bus เช่น Main PA, Monitor, Effect
ถ้าเราไปเพิ่มลด gain พวก Auxiliary bus ต่างๆก็จะถูกกระทบไปหมด
จึงมี Fader ในแต่ละ Bus/Aux เพื่อที่จะเพิ่ม/ลด gain อีกทีเพื่อ balance ระดับความดังให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละAux/Bus
และที่มีผลกระทบเมื่อมีการ เพิ่มลด Gain คือ Dynamic Processor ต่างๆ ที่ต้องใช้ Gain ในการทำงาน เช่น Compressor, Gate, Expander, Limiter ถ้าเราไปเพิ่มลด Gain ก็จะทำให้การทำงานของ Dynamic processor ไม่ได้ระดับที่เหมาะสม




Sent from my iPhone using Tapatalk
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 21 มกราคม 2019, 19:18:07 น.
 :thank1:  :thank1:   :thank1:
ทั้งคุณพี่จิตกรและพี่หมอแม็คครับ    :30:   :30:   :30:

        จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์2ตัวที่เราต้องเข้าใจรู้จักใช้เพื่อควบคุมสัญญาณให้มีความพอดี มีคุณภาพไหลออกมาถึงหูเรา คือ ปุ่มGainและเฟดเดอร์สไลด์ในแชนแนลสตริบ ที่สมาชิกผู้เชี่ยวชาญอธิบายมานั้นมีความสำคัญเพียงไร   
        สมาชิกและผู้สนใจคงจำได้ว่า เมื่อก่อน เราเล่นมิกเซอร์ แรกๆเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความหมายบนอุปกรณ์สองชิ้นนี้นัก โดยเฉพาะปุ่มGain มองผ่านไปด้วยซ้ำ แถมยังทนุถนอมปุ่มGainถึงขั้นไม่ยอมหมุน ไม่ยอมใช้เลยก็มี มาสนใจเจ้าปุ่่มกดเลื่อนรูดขึ้นลง(เฟดเดอร์สไลด์)เสียมากกว่า เพราะมีแอคชั่นชัดเจน มองเห็นถนัดตา  เวลาใช้ ไม่ต้องการเสียงดังมากก็รูดขึ้นน้อยๆ  ต้องการดังมากก็รูดขี้นมากๆ รูดไปหยุดไว้ที่พอใจ สบายหู โดยเฉพาะที่Main Out Fader อย่างนี้คงต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจากพี่หมอแม็คและผู้เชี่ยวชาญทุกท่านอีกว่า เหมาะสมเพียงไร

        ประการต่อมา นอกจากจุดคอนโทรลสัญญาณสองจุดที่กล่าวมาแล้วยังไม่พอแน่ๆ ผมอยากได้คำอธิบายชัดๆอีกหนึ่งจุดครับ คือ ลำโพง  ลำโพงป็นตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็น"พลังงานเสียง" ซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ตัวสุดท้ายที่เราจำเป็นต้อง"คอนโทรล"เช่นกัน คือ เพาเวอร์แอมป์ หรือเครื่องขยายเสียง

        คำถามต่อไปครับ ......"เครื่องขยายเสียง หรือเพาเวอร์แอมป์เป็นอุปกรณ์ที่หน้าที่หลักๆคืออะไร(ดูเหมือนจะถามแบบคนไม่มีความรุ้เลยนะ-แต่ต้องถาม)มีอุปกรณ์คอนโทรลหลักๆคืออะไร  ส่วนมากเป็นปุ่มหมุน ช่วงของการหมุนต้องมีเป็นตัวเลขเหมือนGainและเฟดเดอร์(Pre-Post)ไหม และต้องหมุนไปแค่ไหน ต้องสุดไหม...ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง....."

        ขอขอบพระคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ พั่หมอแม็คและผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
 :thank1:  :thank1:  :thank1:
 
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: มานพ ที่ วันที่ 21 มกราคม 2019, 20:00:14 น.
บอกตรงอ่านภาษาที่ครูเมษเขียนแต่ละกระทู้ปวดหัวตุ๊บ อะไรที่เป็นศัพท์เทคนิคอย่าพยายามแปลด้วย google หรืออะไรก็แล้วแต่
สงสารคนที่มาตามอ่านแล้วจะได้รับสิ่งที่อาจคลาดเคลื่อนได้ ไม่ใช่ในเฉพาะเรื่องนี้ เรื่องอื่นๆ ก็เหมือนกันครับ

นาย ก ศึกษาค้นคว้าจนเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
นาย ข มาเล่าเรียนศึกษาหาความรู้จากนาย ก รับความรู้ได้เต็มที่ไป 80% ของนาย ก
นาย ข ไปตั้งสำนักถ่ายทอดวิทยายุทธ โดยมีนาย ค มาเป็นลูกศิษย์ เรียนไปได้ประมาณ 70 % ของนาย ข
ถ้าเป็นแบบนี้เรื่อยๆ คนท้ายๆ จะเป็นอย่างไร มีการสอบทวนย้อนกลับไปหานาย ก ?
การศึกษาในประเทศไทยโดยทั่วไปก็เช่นกัน


โชคดีในยุคปัจจุบันความรู้หาได้ง่ายตามเครือข่ายใยแมงมุม อยู่ที่ผู้คนจะเลือกเสพ
ทั้งนี้ทั้งนั้นควรเริ่มปูพื้นฐานให้ตนเองก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้

 :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: อู๊ด โคจร ที่ วันที่ 21 มกราคม 2019, 20:02:43 น.
 :95:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: เหน่ง หนองมน ที่ วันที่ 21 มกราคม 2019, 20:41:06 น.
สำหรับผมเพาเวอร์แอมป์ฝั่งซ้ายจะปรับโวลลุ่มเป็น pre หมุนโวลลุ่ม จากจุดสตาร์ทไปถึงจุด  finish ที่ 320 องศา ที่อุณหภูมิ 36  องศาเซลเซียส

ส่วนเพาเวอร์แอมป์ฝั่งขวาไม่ได้ปรับครับเพราะช่างยังซ่อมไม่เสร็จ

ขอบคุณบทความจากแอดมินกับหมอแมคด้วยนะครับ
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 21 มกราคม 2019, 21:13:03 น.
บอกตรงอ่านภาษาที่ครูเมษเขียนแต่ละกระทู้ปวดหัวตุ๊บ อะไรที่เป็นศัพท์เทคนิคอย่าพยายามแปลด้วย google หรืออะไรก็แล้วแต่
สงสารคนที่มาตามอ่านแล้วจะได้รับสิ่งที่อาจคลาดเคลื่อนได้ ไม่ใช่ในเฉพาะเรื่องนี้ เรื่องอื่นๆ ก็เหมือนกันครับ

นาย ก ศึกษาค้นคว้าจนเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
นาย ข มาเล่าเรียนศึกษาหาความรู้จากนาย ก รับความรู้ได้เต็มที่ไป 80% ของนาย ก
นาย ข ไปตั้งสำนักถ่ายทอดวิทยายุทธ โดยมีนาย ค มาเป็นลูกศิษย์ เรียนไปได้ประมาณ 70 % ของนาย ข
ถ้าเป็นแบบนี้เรื่อยๆ คนท้ายๆ จะเป็นอย่างไร มีการสอบทวนย้อนกลับไปหานาย ก ?
การศึกษาในประเทศไทยโดยทั่วไปก็เช่นกัน


โชคดีในยุคปัจจุบันความรู้หาได้ง่ายตามเครือข่ายใยแมงมุม อยู่ที่ผู้คนจะเลือกเสพ
ทั้งนี้ทั้งนั้นควรเริ่มปูพื้นฐานให้ตนเองก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้

 :thank1:
ขอขอบคุณนายหัวผู้มากความรู้และประสบการณ์ นี่คือคนฉลาดมักจะใช้วิจารณญาณตลอดเวลา

ครูก็เคยเป็นอย่างนายหัวตอนเข้ามาอยู่ในบ้านเรา แต่จำเป็นต้องอ่านเพราะคิดว่า ประสบการณ์แต่ละคนไม่เท่ากันและเขามีเหตุผลของเขาทั้งนั้น 

อ่านไปเลือกไป เอาที่จำเป็นสำหรับเราครับ

สุดท้ายนี้ก็ขออาราธนา พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรมกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
(ขออนุญาต ได้ตามครูผูเชี่ยวชาญครับ)
  :thank1:   :thank1:   :thank1:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: ขวัญ ที่ วันที่ 22 มกราคม 2019, 03:48:59 น.
สำหรับผมเพาเวอร์แอมป์ฝั่งซ้ายจะปรับโวลลุ่มเป็น pre หมุนโวลลุ่ม จากจุดสตาร์ทไปถึงจุด  finish ที่ 320 องศา ที่อุณหภูมิ 36  องศาเซลเซียส

ส่วนเพาเวอร์แอมป์ฝั่งขวาไม่ได้ปรับครับเพราะช่างยังซ่อมไม่เสร็จ

ขอบคุณบทความจากแอดมินกับหมอแมคด้วยนะครับ


 :77: :77: :77:  :82: :82: :82:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: มานพ ที่ วันที่ 22 มกราคม 2019, 11:17:31 น.

(https://i.postimg.cc/9FVY4S68/n.jpg)
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: เหน่ง หนองมน ที่ วันที่ 22 มกราคม 2019, 11:30:57 น.

(https://i.postimg.cc/MGBszkFY/IMG-0867.jpg) (https://postimages.org/)
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: ขวัญ ที่ วันที่ 22 มกราคม 2019, 11:55:33 น.
(https://i.postimg.cc/MGBszkFY/IMG-0867.jpg) (https://postimages.org/)

 :49: :49: :49:  เฮ๊ยยย... :84: :84: :84:   :82: :82:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: หมอแม็ค ที่ วันที่ 27 มกราคม 2019, 21:57:12 น.
:thank1:  :thank1:   :thank1:
ทั้งคุณพี่จิตกรและพี่หมอแม็คครับ    :30:   :30:   :30:

        จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์2ตัวที่เราต้องเข้าใจรู้จักใช้เพื่อควบคุมสัญญาณให้มีความพอดี มีคุณภาพไหลออกมาถึงหูเรา คือ ปุ่มGainและเฟดเดอร์สไลด์ในแชนแนลสตริบ ที่สมาชิกผู้เชี่ยวชาญอธิบายมานั้นมีความสำคัญเพียงไร   
        สมาชิกและผู้สนใจคงจำได้ว่า เมื่อก่อน เราเล่นมิกเซอร์ แรกๆเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความหมายบนอุปกรณ์สองชิ้นนี้นัก โดยเฉพาะปุ่มGain มองผ่านไปด้วยซ้ำ แถมยังทนุถนอมปุ่มGainถึงขั้นไม่ยอมหมุน ไม่ยอมใช้เลยก็มี มาสนใจเจ้าปุ่่มกดเลื่อนรูดขึ้นลง(เฟดเดอร์สไลด์)เสียมากกว่า เพราะมีแอคชั่นชัดเจน มองเห็นถนัดตา  เวลาใช้ ไม่ต้องการเสียงดังมากก็รูดขึ้นน้อยๆ  ต้องการดังมากก็รูดขี้นมากๆ รูดไปหยุดไว้ที่พอใจ สบายหู โดยเฉพาะที่Main Out Fader อย่างนี้คงต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจากพี่หมอแม็คและผู้เชี่ยวชาญทุกท่านอีกว่า เหมาะสมเพียงไร

        ประการต่อมา นอกจากจุดคอนโทรลสัญญาณสองจุดที่กล่าวมาแล้วยังไม่พอแน่ๆ ผมอยากได้คำอธิบายชัดๆอีกหนึ่งจุดครับ คือ ลำโพง  ลำโพงป็นตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็น"พลังงานเสียง" ซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ตัวสุดท้ายที่เราจำเป็นต้อง"คอนโทรล"เช่นกัน คือ เพาเวอร์แอมป์ หรือเครื่องขยายเสียง

        คำถามต่อไปครับ ......"เครื่องขยายเสียง หรือเพาเวอร์แอมป์เป็นอุปกรณ์ที่หน้าที่หลักๆคืออะไร(ดูเหมือนจะถามแบบคนไม่มีความรุ้เลยนะ-แต่ต้องถาม)มีอุปกรณ์คอนโทรลหลักๆคืออะไร  ส่วนมากเป็นปุ่มหมุน ช่วงของการหมุนต้องมีเป็นตัวเลขเหมือนGainและเฟดเดอร์(Pre-Post)ไหม และต้องหมุนไปแค่ไหน ต้องสุดไหม...ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง....."

        ขอขอบพระคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ พั่หมอแม็คและผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
 :thank1:  :thank1:  :thank1:
 
Main Fader ควรอยู่ตำแหน่งใด
-ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ “unity” หรือ 0dB เพราะตำแหน่งนี้ จะบอกถึงภาพรวมของ gain input>>output ได้ดีที่สุด
ที่สำคัญเวลา sound check ถ้าเราตั้ง Channel Fader ที่ 0 dB, Main Fader 0 dB เมื่อเราปรับ input gain การแสดงผลของ Main meter จะ เหมือนเรากดปุ่ม PFL เพื่อ solo ดูสัญญาณ input gain ได้เลย
ถึงกระนั้นก็สามารถเพิ่มลดได้ตามสมควรครับ

ส่วน Power Amplifier หน้าที่คือ ขยายสัญญาณจาก line level เพื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้า(Voltage) และกระแสไฟฟ้า(Current) สู่ Loudspeaker level

Power amplifier แบ่งประเภทได้ตามการออกแบบของภาค Output topology เช่น Class A, AB, B, D, TD เป็นต้น

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190127/09e664b891959315e104b9cc21a6dd88.jpg)

ประเด็นสำคัญสำหรับ Power Amplifier ที่เกี่ยวกับ System Gain Structure คือ อัตราขยาย (Voltage gain) และ Input Sensitivity ของ Power Amp

Voltage gain ของ power amp สามารถบอกได้ 2 วิธีคือ
1. Voltage gain แบบ Linear scale แสดงในรูปแบบตัวคูณของoutput/input เช่น 20V output เทียบกับ 1V input จะได้ gain=20x
2. Voltage gain แบบ Logarithm scale แสดงในรูปแบบ 20log (output/input) เช่น 20V output เทียบกับ 1V input จะได้ 20log(20/1) = 26dBV

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190127/fe52d6e81d13f1b178bdf83d0cbb5353.jpg)

เราสามารถคำนวณกำลังขยายสูงสุดของ power amp ได้จาก specification ของ power amp นั้นๆ เช่น
1200W@8Ω คำนวณจาก joule’s law จะได้ 98V และคำนวณเป็นเลขลอการิทึมได้ 42dBu(เทียบจาก 0dBu หรือ 0.775V)

ส่วน Sensitivity หรือความไวของ power amp มี 2แบบ
Input sensitivity (input voltage) เป็นค่าแรงดัน input ที่ทำให้ Power amp ขับได้กำลังสูงสุด เมื่อปุ่ม level control อยู่ที่ตำแหน่งขวาสุด
เช่น 0.775V, 1.4V

และ Sensitivitiy แบบ Fixed gain ซึ่งสามารถกำหนดแรงดัน output ให้คงที่เมื่อเทียบกับ Input
เช่น 26dB, 32dB, 44dB (ตำแหน่ง Level control อยู่ตำแหน่งขวาสุด)

(https://uploads.tapatalk-cdn.com/20190127/7571a97ded989ccc3a7415b541c42435.jpg)

จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง Power rating@ 8Ω กับ Voltage gain(log)
ยกตัวอย่างเช่น Power Amp 400W@8Ω คิดเป็น Maximum Voltage Gain = 35 dB (เทียบ input 1V)
ถ้าปรับ input sensitivity เป็น 0.775V กำลังขยายจะได้ 37.2dB เมื่อเทียบกับ input 0.77V(0dBu)
ถ้าปรับ input sensitivity เป็น 1.4V กำลังขยายจะเป็น 32 dB เมื่อเทียบกับ input 1.4V

แต่ถ้าเราใช้ sensitivity แบบ Fixed gain เช่น
ปรับเป็น 32dB
- ระดับสัญญาณ input 1.4V (5dBu) จึงจะขับOutputได้ 400W
- ระดับ input 0 dBu ทำให้ได้กำลังขยาย 32dBu ต้องใช้ input อีก 5dBu จึงจะได้ กำลังขยาย 37dBu (400W)
- ระดับ input 0dBV(2.2dBu) ทำได้กำลังขยายเป็น 32dBV จะต้องใช้ input เพิ่มอีก 3 dBจึงจะได้กำลังขยายเต็ม 35dBV(400W)

ส่วน Level control หรือปุ่ม Volume จะอยู่ตรงไหนนั้นก็ขึ้นกับ ระดับความดังที่เหมาะสมกับสถานที่หรือสเกลงานนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องบิดจนสุด เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดใน System Gain Structure คือ Mixer Gain Structure
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 27 มกราคม 2019, 22:20:29 น.
 :thank1: ขอบคุณครับพี่หมอแม็ค
 :30:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัย ที่ วันที่ 28 มกราคม 2019, 10:50:44 น.
 :2: :2: :cool: :cool: ขอบคุณครับ มึน :77: :77:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ วันที่ 28 มกราคม 2019, 12:11:41 น.
:2: :2: :cool: :cool: ขอบคุณครับ มึน :77: :77:
:30:   :30:   :30:
คัดเอาตรงเนื้อๆไปใช้ครับ
1.ที่ มิกเซอร์ทำGain อย่าคลิป
2.ที่ แอมป์ก็ทำVolume อย่าคลิป
เอาอย่างนี้ก่อนพอได้นะครับ
 :thank1:  :30:
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: มานพ ที่ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2019, 16:30:38 น.
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: LungWATCR ที่ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2019, 21:53:55 น.
ความรู้ทั้งนั้นเลย
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: Bonifacio ที่ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2019, 16:12:38 น.
ทำง่ายดีครับผมลองทำตามที่บอกแล้ว
หัวข้อ: การทำ Gain structure ง่ายๆ สไตล์ E22NP
เริ่มหัวข้อโดย: sakorn_2000 ที่ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2019, 22:57:03 น.
ขอบคุณครับ