ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
eXtreme Community
»
หมวดหมู่ทั่วไป
»
บทความ ความรู้ วิชาการ ด้านต่าง ๆ
(ผู้ดูแล:
ภูวดิษฐ์
,
ครูภูม
) »
หัวข้อ:
เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์ (อ่าน 16650 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หนุ่มบ้านนา
ลงทะเบียน HL
ระดับ 4
กระทู้: 468
No. 6C8A361C (ลูกค้า ศิลปินหน้าวัด...อ.ไก่)
เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
เมื่อ:
วันที่ 3 ธันวาคม 2009, 15:44:21 น. »
เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
มี ตัวแปรมากมาย ที่เป็นสาเหตุทำให้เครื่องเสียงชั้นยอดของคุณ ให้เสียงได้ไม่ดังใจปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากสภาพแวดล้อมของห้องฟัง หรือปัญหาเกี่ยวกับการจัดวางซิสเต็ม-ลำโพง ตัวแปรอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะปัญหาทางเทคนิคและเคล็ดลับบางประการที่คล้าย ๆ กับเรื่องของเส้นผมบังภูเขา เมื่อพยายามค้นหาสาเหตุอย่างจริงจังคุณอาจจะพบว่าปัญหาเล็ก ๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่น่าจะต้องทำให้คุณปวดหัวอยู่ได้เป็นเดือน ๆ แต่มันก็เป็นไปแล้ว
ต่อ จากนี้ไป คือเรื่องที่น่าจะต้องพิจารณาดูแลเอาใจใส่ในชุดเครื่องเสียงของคุณ เพื่อให้แน่ใจได้ว่า เครื่องเสียงนั้นได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มประสิทธิภาพ ปรากฎการณ์บางอย่างก็มาจากความพลั้งเผลอ หรือความไม่ละเอียดรอบคอบในการจัดเซ็ทระบบ ลองมาเขี่ยเส้นผมที่บังตา (และบังหู) ออกกันดู อาจจะทำให้คุณรู้จักเครื่องเสียงชุดโปรดของคุณได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมก็เป็น ได้
เสียงทุ้มหายเพราะต่อสายลำโพงผิดขั้ว
ทั้ง ๆ ที่ดูแล้งเป็นเรื่องที่ง่ายดายเสียเหลือเกินกับการต่อสายขั้วบวก - ลบ จากแอมปลิไฟร์ไปสู่ลำโพง แต่ก็มีหลายคนต่อผิดพลาด ลองสำรวจให้แน่ใจว่าคุณได้ต่อสายลำโพงอย่างถูกต้องแล้ว สายบวกจากแอมป์ไปยังลำโพงจะต้องเป็นรหัสสีเดียวกัน รวมถึงสายลบด้วย ถ้ามีการสลับสายเสียงทุ้มจากลำโพงจะหายไปหมด เพราะคุณต่อสายผิดพลาด ชนิดที่เขาเรียกว่าต่อผิดเฟส (OUT OFF PHASE) โดยเฉพาะการต่อผิดเพียงข้างเดียวในแชนแนลซ้ายหรือขวาก็ตาม เมื่อเปิดเสียงจากแอมป์ ลำโพงข้างหนึ่งจะถูกผลักออกไปข้างหน้า แต่ลำโพงในข้างที่ต่อผิดขั้วไดรเวอร์จะดูดถอยหลัง เป็นผลให้เสียงทุ้มนั้นถูกหักล้างไปหมด นั่นเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมบางทีลำโพงตู้ยักษ์ขนาดตั้งพื้นจึงให้เสียงทุ้มบางเบาเสียเหลือเกิน
การต่อสายนำสัญญาณผิดก็มีผลต่อเสียง
เช่น การต่อสายจากซีดีเพลเยอร์ไปยังแอมปลิไฟร์ต่อสลับจากซ้ายเป็นขวา ขวาเป็นซ้าย เสียงที่ได้จะมีลักษณะคล้ายกับเวทีดนตรีแหว่ง ๆ พร่อง ๆ อย่างไรพิกล เพราะเป็นการกลับทิศทางข้างกันของตำแหน่งนักร้องนักดนตรี แผ่นซีดีประเภทบันทึกจากการแสดงสด โดยไม่ผ่านการปรับแต่งเสียงมากนัก จะเป็นแผ่นที่ทดสอบอาการที่ว่านี้เห็นได้จะแจ้งที่สุด โดยที่คุณจำเป็นต้องไปดูหลังเครื่อง สังเกตดูว่าจะพบว่า เสียงหลัก ของชิ้นดนตรีกับเสียงสะท้อน หรือเสียงที่เป็นฮาร์โมนิคของเครื่องดนตรีจะไม่สอดคล้องกัน อาจจะต้องอาศัยการฟังที่ชำนาญหรือระยะเวลาที่ยาวนานสักหน่อย สิ่งที่จะทำให้คุณรู้สึกสะกิดใจมากก็คือ เสียงดนตรีดูขัดแย้งกันเอง หรือเสียงโดยรวมตำแหน่งเวทีกว้างดี แต่ตรงกลางถ้าไม่โหว่ก็แน่นจนเกินจริง
การ ต่อสายสำสัญญาณระหว่างเครื่องที่ไม่แน่นหนา อาจจะทำให้เสียงจากเครื่องเสียงแย่ลงอย่างคาดไม่ถึง โดยมากสาเหตุที่ว่านี้ มาจากขั้วต่อหรือแจ็คอาร์ซีเอที่นำมาใช้งาน หรือขั้วต่ออาร์ซีเอของตัวเครื่อง อย่างใดอย่างหนึ่งไม่มาตรฐาน (โดยมากจะเป็นขั้วต่อของสายนำสัญญาณที่ไม่มาตรฐาน) บางครั้งเสียงจะขาด ๆ หาย ๆ เป็นห้วง ๆ หรือมิฉะนั้นก็จะเกิดเสียงที่ขาดน้ำหนัก ดูเบา ๆ บางๆ เสียงทุ้มน้อยกว่าปกติ ในปัจจุบันมีขั้วต่ออาร์ซีเอหลายรูปแบบหลากดีไซน์ออกมาวางจำหน่าย บางรุ่นเน้นที่ความสวยงาม และออกแบบผิดประหลาดไปจากยี่ห้ออื่น ๆ เพื่อจูงใจผู้ซื้อสินค้าเครื่องเสียง ทำให้รูปแบบมาตาฐานนั้นเบี่ยงเบนไป มีผลต่อเสียงเป็นอย่างมาก ก่อนซื้อสายสัญญาณและแจ็คอาร์ซีเอ เพื่อไปต่อใช้งานด้วยตนเอง หรือจะซื้อชุดประกอบสำเร็จก็ตาม ให้พิจารณาดี ๆ และถ้าหากทดลองได้ ควรทดลองเสียบต่อกับเครื่องมาตรฐานทั่วไปดูก่อน
มี หัวแจ็คอาร์ซีเอในแบบของ WBT ซึ่งสามารถเลื่อนหัวแจ็คเข้าออก เพื่อคลายเพื่อขันให้แน่นกับแจ็คที่ตัวเครื่องได้ นับว่าเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งานกับเครื่องทั่ว ๆ ไปได้อย่างไม่ต้องกังวล
จุดตำแหน่งการวางลำโพงและอิทธิพลต่อเสียงจากมุมห้อง
ลำโพง ทุกคู่ ไม่ว่าจะเป็นลำโพงตั้งพื้นหรือวางบนชาตั้ง ไดรเวอร์ขับเสียงทุ้มซึ่งเป็นตัวหลักของลำโพง อาจจะก่อปัญหาได้หลาย ๆ ด้าน เมื่อจัดวางอย่างไม่เหมาะสมหรือมีอัตราส่วนที่ใกล้ - ไกลจากมุมห้องจนเกินไป คำว่ามุมห้องมิได้หมายถึงผนังห้องด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ แต่รวมหมายถึงผนังด้านหลังและผนังด้านข้าง ซึ่งประกอบกันเป็นมุมฉาก 90 องศา ลักษณะของการวางลำโพงจะทำให้มุมห้องนี้เป็นเสมือนปากฮอร์นขนาดยักษ์ ถ้าจัดตั้งลำโพงใกล้ชิดมุมห้องมาก จะเป็นการเพิ่มเสียงเบสให้มีน้ำหนักมากขึ้น แต่ถ้าใกล้มุมห้องเกินไปเสียงทุ้มจะแผ่ขยายออกมามากจนรู้สึกเบลอ หรือเสียงเบสบวมได้ หรือถ้าวางห่างจากมุมห้องมากก็จะมีผลทำให้เสียงเบสจาง ได้เช่นเดียวกัน อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างผนังห้องทั้งสองด้านนี้กับลำโพง ควรวางห่างผนังหลัง-ผนังข้าง ในอัตราส่วน 1 : 2 หรือให้มีความแตกต่างกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียงเบสจะดูโปร่งลอยเป็น ตัวตน นั่นแสดงให้เห็นว่า คุณได้ตั้งลำโพงถูกจุดหรือตำแหน่งของมันแล้ว
ใน บางครั้ง มุมห้องที่เป็นผนังก่ออิฐหรือปูน จะสร้างเสียงก้องสะท้อนส่วนเกินออกมาทำให้เสียงเบสพร่ามัว คุณอาจต้องแก้ปัญหาโดยการใช้แผ่นฟองน้ำอคูสติกโฟม ซึ่งมีวางขายกันอยู่ทั่วไปตามร้านเครื่องเสียง ที่พอรู้จักกันก็คือ SONEX, DIAMOND เป็นต้น ฟองน้ำประเภทนี้จะผลิตจากวัสดุทนไป มีคุณสมบัติในการขับความถี่ส่วนเกินแถว ๆ 500-600 เฮิรตซ์ ได้ดีเป็นพิเศษ มีข้อน่าสังเกตคือ ฟองน้ำที่ใช้บุผนังห้องนั้นจะไม่ซับเสียงแหลมให้หดหายหรือขาดห้วน ถ้ามีอาการที่ว่านี้เมื่อคุณใช้ฟองน้ำบุผนัง ก็แสดงว่าฟองน้ำยี่ห้อนั้น ๆ ไม่เหมาะสมต่อการนำการใช้ซับเสียงส่วนเกินของลำโพง
เพดานห้องที่สูงและต่ำเกินไปกับผลของเสียง
เพดาน ห้องฟังตามปกติทั่วไปควรสูงในระดับ 2.30-2.70 เมตร หรือมีอัตราส่วนไม่สูงไปกว่าด้านกว้างของห้อง เพื่อมิให้เกิดปัญหาเสียงก้องกำธร การเกิดขึ้นของเสียงสะท้อนที่ซ้ำซ้อนในบางความถี่ ตามปกติอัตราส่วนของห้องฟังที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมิวสิกฮอลล์ จะได้เปรียบในเรื่องคุณภาพเสียงมาก แต่คงไม่มีใครสามารถสร้างห้องฟังเลียนแบบมิวสิกฮอลล์ ดังนั้นอัตราส่วนห้อง 1 1/2:2:3 น่าจะเป็นอัตราส่วนของห้องฟังทั่ว ๆ ไปที่มีความเหมาะสมต่อการฟังเพลง (สูง 1 1/2ส่วน กว้าง 2 ส่วนและยาว 3 ส่วน)
เรื่องของห้องฟัง บางทีก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงปัญหาไม่ค่อยจะพ้น เพราะห้องฟังเพลงของนักเล่นเครื่องเสียงมักจะมีอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช้ห้องที่มีการวางแผนก่อสร้างเอาไว้ล่วงหน้า ดังนั้นเรามักจะต้องมาแก้ไขกันในภายหลังเสมอ ๆ ซึ่งแต่ละกรณีก็มีความแตกต่างกันไป
ขาตั้งลำโพงมีความจำเป็นมากสำหรับลำโพงเล็ก
ลำโพง วางหิ้วขนาดเล็ก มีความจำเป็นต้องพึ่งขาตั้งลำโพงดี ๆ มีคุณภาพ เพื่อให้ลำโพงนั้นได้แสดงถึงศักยภาพของมันออกมาให้ได้ดีที่สุด ขาตั้งเหล็ก ขาตั้งไม้ จะต้องมีความมั่นคง เมื่อวางบนพื้นไม่เลื่อนไถลไปมาง่าย ๆ จุดศูนย์ถ่วงต้องดี ขาตั้งประเภทมีขาถึง 4 ขา มักจะให้ความมั่นคงดีกว่างขาตั้งลำโพงประเภทขาเดี่ยว การถ่ายทอดความถี่ของลำโพงสัมพันธ์กับขาตั้งแข็งแรง จะมีส่วนในการเสริมเสียงเบสให้แน่นและเสียงกลางแหลมสะอาดดีขึ้น ข้อสำคัญในเรื่องของอินเมจ (จุดตำแหน่งของดนตรี) จะมีส่วนเสริมให้ดีขึ้น ฟงัออกชัดเจนอย่างที่นักเล่นหูทองเขาพูดกันว่า "อินเมจนิ่ง" นั้น มีผลมาจากขาตั้งลำโพงที่ดี ๆ ที่จะมาเสริมเสียงให้กับลำโพงขนาดเล็กนั้นเอง ขาตั้งที่คุณภาพเลวมักจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำลายเสียงลำโพงให้ดูแย่ลง เนื่องจากการวางที่ไม่มั่นคง มีอาการสั่นคลอนได้เมื่อมีการสั่นไหวของขาตั้งนั้นเอง ดังนั้นอย่าพยายามประหยัดเงินด้วยการซื้อขาตั้งลำโพงวางหิ้งขนาดเล็กโดยเด็ดขาด
เสียง เบสที่มีคุณภาพในลำโพงนั้นคือความถี่ประมาณ 70-200 เฮิรตซ์ ซึ่งเป็นความถี่ที่จะแตกพร่าหรือมัวมนได้ง่าย หากลำโพงอยู่บนสถานที่ที่ไม่แน่นหนามั่นคง ดังนั้นขาตั้งที่ดีจะต้องสร้างความมั่นคงให้กับลำโพงให้ได้มากที่สุดด้วย
ระดับของทวีตเตอร์ในลำโพงควรเสมอกับระดับหู
การ วางลำโพงประเภทใด ๆ ก็ตาม ตัวขับเสียงแหลมควรอยู่ในระดับเดียวกับหูของผู้ฟัง ไม่ควรตั้งลำโพงให้ทวีตเตอร์อยู่สูงเกินไปหรือต่ำมากไปจากระดับหูของผู้ฟัง มีนักเล่นเครื่องเสียงจำนวนมาก ตำหนิชุดเครื่องเสียงของตนว่า เสียงแหลมไม่พลิ้วกังวานทั้ง ๆ ที่ลำโพงนั้นใช้ทวีเตอร์ระดับสุดยอดแล้วก็ตาม เมื่อได้มีโอกาสพิจารณาจุดตำแหน่งที่นั่งฟังแล้ว พบว่าทวีตเตอร์อยู่สูงเกินไป ผู้ฟังนั่นฟังในตำแหน่งที่ต่ำมาก เสียงแหลมเลยไปจากหูหมด รายละเอียดต่าง ๆ ของดนตรีจึงไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะลำโพงที่ให้การตอบสนองความถี่เสียงแหลมเป็นลำแคบอย่างฮอร์นทวีตเตอร์ เมื่อตั้งลำโพงไว้ในตำแหน่งไม่เสมอกับระดับหูของผู้ฟัง เสียงจะดูทึบไปหมด ลำโพงที่ใช้ทวีตเตอร์ชนิดโดมโลหะ มักจะมีผลการตอบสนองความถี่ในแนวดิ่งและแนวนอนได้ดี การวางลำโพงทวีตเตอร์ไม่เสมอระดับหู อาจมีผลของเสียงไม่หนักในลำโพงบางคู่
แต่ ก็ไม่ควรวางลำโพงให้ทวีตเตอร์นั้นไม่อยู่ในระดับเดียวกับหูผู้ฟัง ถึงแม้ลำโพงนั้นจะตอบสนองความถี่ได้ดีเลิศสักเพียงใดก็ตาม ยกเว้นเฉพาะลำโพงบางรุ่น ที่นำเอาทวีตเตอร์ไปอยู่ด้านล่างใช้วูฟเฟอร์อยู่ด้านบน กลับตาลปัตรกับลำโพงท้องตลาด ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือของลำโพงเป็นหลัก ความถี่เสียงแหลมนั้นควบคุมได้ยากพอสมควร หากว่าจัดตั้งลำโพงไม่ถูกตำแหน่งแล้ว จะยิ่งฟังได้ชัดเจนว่าเสียงดีขึ้น-เลวลงเพียงแค่ชั่วระยะการวางที่แตกต่าง กันเพียง 2-3 นิ้ว ดังนั้นการขยับปรับตำแหน่งการวางลำโพงบ่อย ๆ จะช่วยให้คุณพบข้อแตกต่างของเสียงได้มากขึ้น และในที่สุดคุณก็จะพบตำแหน่งที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับซิสเต็มเครื่องเสียง และลำโพงของคุณ
ตรวจจุดแหล่งโปรแกรมว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่
ได้แก่ การพิจารณาแหล่งโปรแกรมที่มีอยู่ เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง, คอมแพ็กดิสก์ เพลเยอร์, คาสเซ็ตเทป, จูนเนอร์ ซึ่งความบกพร่องอันเนื่องมาจากแหล่งโปรแกรม นั้นก็มีส่วนทำให้เสียงจากเครื่องเสียงนั้นด้อยลงไปมากมาย ซึ่งจะพอนำมาพูดถึงเป็นส่วน ๆ ไปด้วยต่อไปนี้
- คาสเซ็ตเด็คเสียงทึบ โดยมากจะเกิดจากหัวเทปสกปรก ในขณะที่เส้นเทปวิ่งผ่านหัวเทปเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เส้นเทปมีวัสดุเคลือบอยู่ อาจเป็นผงออกไซด์ของเหล็กหรือโครเมียม ซึ่งการเสียดสีบ่อย ๆ กับเส้นเทปที่หมดอายุ หรือใช้วัสดุเคลือบคุณภาพไม่ดี มันก็จะหลุดร่วงติดค้างอยู่บนหัวเทปนั้นเอง เป็นสาเหตุให้เกิดเสียงอับทึบได้ ให้ใช้น้ำยาล้างหัวเทปล้างออกเสีย หัวเทปที่สกปรกนั้น จะสังเกตเห็นได้ว่ามีเศษวัสดุเคลือบเส้นเทปติดอยู่ เมื่อล้างหัวเทปสะอาดแล้วคุณจะได้เสียงที่สดใสคืนมาอีกครั้ง แต่ถ้าล้างหัวเทปแล้วยังมีเสียงอับทึบอยู่ ให้พิจารณาดูว่าคุณเล่นเทปเครื่องนั้นมานานหรือยัง ถ้านานแล้วหัวเทปอาจจะเกิดสภาพแม่เหล็กขึ้นมาก็ได้ ให้ใช้ที่ล้างสภาพแม่เหล็กหัวเทป หรือ HEAD DEMAGNETIZER ซึ่งมีให้เลือกสองลักษณะคือแบบที่คล้าย ๆ กับหัวแร้งบัดกรีตะกั่วกับแบบที่เป็นตลับเทปที่มีวงจรล้างสภาพแม่เหล็กหัว เทปอยู่ภายใน วิธีการใช้งานก็ไม่ยากเลย ใส่ตลับเทปล้างแม่เหล็กหัวเทปลงไปแล้วกด PLAY ตามปกติธรรมดา ใช้เวลาประมาณครึ่งนาที เครื่องล้างสภาพแม่เหล็กหัวเทป จะค่อย ๆ ย่อยสลายแม่เหล็กซึ่งแทรกตัวอยู่ในโมเลกุลของโลหะ ให้ค่อย ๆ เล็กลงและหายไปในที่สุด
- ส่วนเครื่องล้างสภาพแม่เหล็กหัวเทปแบบหัวแร้งนั้น ก็จะต้องเสียบไฟให้อุปกรณ์ชนิดนี้ โดยให้เครื่องมืออยู่ห่างคาสเซ็ตเด็ตราว ๆ 2 ฟุต แล้วเปิดสวิตช์ ON ให้เริ่มทำงาน เลื่อนอุปกรณ์เข้าไปช้า ๆ ให้อยู่ใกล้กับหัวเทปมากที่สุด (แต่ไม่สัมผัสหัวเทป) ใช้เวลาครึ่งนาที เลื่อนอุปกรณ์ออกมาให้ห่าง 2 ฟุต แล้วก็ปิดเครื่อง ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดเสียงรบกวนให้หัวเทปตามมาอีกนั่นเอง
การใช้เครื่องล้างสภาพแม่เหล็กหัวเทปแบบนี้ ห้ามเปิด POWER เครื่องคาสเซ็ทเด็ดขาด
ถ้า หากใช้วิธีการทั้งสองแบบข้างต้นแล้วยังมีเสียงทึบอยู่อีก ให้ทำการตรวจปรับ AZIMUTH หัวเทป โดยใช้ไขควงขันน็อตเล็ก ๆ ตรงหัวเทป ให้มีการปรับมุมฉากของเส้นเทปกับหัวเทปอย่างถูกต้อง ค่อย ๆ ปรับหมุนไปจนได้เสียงที่ชัดเจนที่สุด ต้องทำในขณะที่ PLAY BACK เครื่องคาสเซ็ตเด็ค และใช้วิธีฟังด้วยหูของคุณเองเท่านั้น แต่ถ้าหากไม่ถนัดที่จะทำดังกล่าว ให้ยกไปยังบริษัทตัวแทนจำหน่าย มอบหมายให้ช่างเขาปรับแต่งอซิมุธให้ (อซิมุธหมายถึงลักษณะมุมของเส้นเทปที่ตั้งฉากกับหัวเทป)
การปรับปรุงคุณภาพเสียงของเทอร์นเทเบิล
เทอร์น เทเบิล หรือเครื่องเล่นแผ่นเสียงนั้น มีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมสถานที่ตั้ง การปรับตำแหน่งของหัวเข็มแผ่นเสียงอย่างมากมาย การติดตั้งเครื่องที่ไม่ถูกต้องเพียงเล็กน้อย ก่อให้เกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวง ปัญหาที่มักจะพบจากการเซ็ทตำแหน่งของหัวเข็มไม่ถูกต้อง คือเรื่องของเสียงฮัม ปลายเข็มและคอยล์หรือขดลวด จะต้องมีการชีลต์เอาไว้เป็นอย่างดี ป้องกันไม่ให้เส้นแรงแม่เหล็กกระจายออกมาจากคอยล์ อันเป็นผลของเสียงฮัม สายเชื่อมต่อระหว่างหัวเข็มและโทนอาร์มซึ่งมีอยู่ 4 เส้น ต้องต่อเข้าหากันอย่างถูกรหัสสี หรือขั้วของมันอย่างแน่นหนา ถ้ามีการหลวมหลุดที่สายใดสายหนึ่ง ก็จะเกิดเสียงฮัมได้เช่นกัน
กราวด์ ของเทอร์นเทเบิลก็มีส่วนทำให้เกิดเสียงฮัมได้ ถ้าคุณลืมต่อกราวด์ของเครื่องเล่นแผ่นเสียงเข้ากับกราวด์ของตัวเครื่องแอมปลิไฟร์เออร์ และอย่านำเทอร์นเทเบิลไปวางซ้อนบนเครื่องเสียงตัวอื่น ๆ ทรานสฟอร์เมอร์ของเครื่องเสียง จะทำให้เทอร์นเทเบิลได้รับเสียงรบกวนจากการแผ่สนามแม่เหล็กได้
การ ตั้งหัวเข็มแผ่นเสียง อย่าให้น้ำหนักเกินจากข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิต ปกติหัวเข็มทั่วๆ ไปจะตั้งน้ำหนักเอาไว้ที่ 1.25-1.7 กรัม การตั้งหัวเข็มให้มีน้ำหนักหรือแรงกดบนแผ่นเสียงมากเกินไป สังเกตดูว่าเสียงทุ้มจะดูหนักแน่น แต่เสียงกลางแหลมจะอับทึบลงไป การตั้งน้ำหนักเกินหัวเข็มแผ่นเสียงจะล้า งอหรือบิดได้ ในการเล่นต่อเนื่องยาวนาน และยังมีส่วนทำให้ร่องแผ่นเสียงคราก เสียงของแผ่นเสียงจะมีความทึบมากขึ้นทุกที
คอมแพ็กดิสก์กับตำแหน่งการวาง
ดู เผิน ๆ คอมแพ็กดิสก์ไม่น่าจะต้องได้รับการเอาใจใส่นักเท่าใดเลย แต่คอมแพ็กดิสก์ก็จะให้เสียงที่เลวลงเมื่อคุณจัดวางไว้ในที่ ๆ ไม่เสมอกัน การวางคอมแพ็กดิสก์ในระนาบเดียวกันทั้งสี่มุมจะทำให้เสียงดีขึ้นอย่างน่า แปลกใจทีเดียว การตั้งเอียงไปในด้านใดด้านหนึ่ง พบได้ว่าอิมเมจจะสูญเสียไปผลนั้นคงมาจากชุดกลไกพิคอัพ-เลเชอร์เบี่ยงเบนไป จากตำแหน่งที่ควรจะเป็นนั่นเอง การใช้สายต่อคุณภาพดีมีผลต่อเสียงที่จัดจ้านคมจนเกินเหตุ ลดลงมาได้พอสมควร คอมแพ็กดิสก์ระดับราคากลาง ๆ หมื่นกว่าบาทจนถึงสามหมื่นบาทต่อเครื่องควรใช้สายสัญญาณระดับราคาสามพันถึง ห้าพันบาทต่อคู่ ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพสมน้ำสมเนื้อกัน สายนำสัญญาณดี ๆ นั้นจะช่วยเสริมคุณภาพเสียงคอมแพ็กดิสก์เพลเยอร์ได้อย่างเห็นผล "ฟังออก" ได้ทันทีทันใด
แต่ถึงระวังสายนำสัญญาณราคาถูกบางรุ่นบางยี่ห้อ ซึ่งจะไปทำการเปลี่ยนแปลงบุคลิกเสียงเดิมของคอมแพ็กดิสก์ให้แปรเปลี่ยนไป การใช้วัสดุหนัก ๆ ทับบนหลังเครื่องคอมแพ็กดิสก์ ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องในการปรับปรุงคุณภาพเสียงเสมอไป เพราะวัสดุที่ไปกดทับบนเครื่องนั้น อาจไปทำให้หลังเครื่องบุบ หรือพิคอัพเลเซอร์และลิ้นชักใส่ซีดีของเครื่องบางรุ่น ถูกกดทับจนทำงานไม่ได้ก็มี ปกติควรเลือกเครื่องคอมแพ็กดิสก์ที่มีคุณภาพของพิคอัพเลเซอร์ที่แข็งแรงไว้ ก่อน ไม่ใช่เลือกเครื่องที่ราคาถูก ๆ แล้วใช้วัสดุแปลกปลอมไปกดทับ เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุที่ไม่ถูกจุดนัก
เครื่อง เสียง เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ มากกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบอื่น ๆ เพราะความอ่อนไหวทางด้านเทคนิค มีส่วนทำให้เสียงดีขึ้นเลวลงได้อย่างง่านดาย ยังมีเทคนิคเคล็ดลับอีกมากมายในการปรับปรุงคุณภาพเสียง ซึ่งผมจะนำมาเขียนถึงในตอนต่อ ๆ ไป เพื่อให้เครื่องเสียงของท่านผู้อ่านนั้นสามารถตอบสนองต่อเสียงได้ดีที่สุด เต็มประสิทธิภาพของเครื่องเสียงแต่ละเครื่อง เพราะเป้าหมายของการเล่นเครื่องเสียงก็คือ การคืนกลับมาของเสียงดนตรีที่ใกล้ความจริงที่สุด ในระดับไฮ-ฟิเดลิตี้
ระดับความดัง
เล่นเครื่องเสียง ซึ่งอยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนที่จะก้าวไปเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เมื่อเราฟังดนตรีจริง ๆ นั้น มีระดับความดังอยู่ในระดับหนึ่งมีความดังเท่าดนตรีจริง ๆ แต่สามารถจัดชุดเครื่องเสียงให้มีเสียงเครื่องเสียง จะดีกว่าของจริงก็ตรงที่สามารถฟังในระดับความดังขนาดไหนก็ได้ตามความพอใจ เปิดให้มันเบา ๆ หรือฟังแบบยกวงดนตรีมาวางตรงหน้าก็เร่งระดับความดังขึ้นไปมาก ๆ จะเอาให้ถึงกับเพื่อนบ้านเจริญพรก็ยังได้ ขึ้นกับว่าจะฟังเครื่องเสียงแบบพักผ่อนหรือแบบหาเรื่อง แบบที่วัยรุ่นเขาแต่งรถซิ่งกัน ก็ยัดเครื่องเปิดอัดแข่งกันให้มันหนวกหูตายกันไปข้างหนึ่ง ในที่นี้ จะเน้นเฉพาะการฟังเพื่อไฮฟิเดลิตี้เท่านั้น ในตารางประกอบนี้คือระดับความดังที่นักเล่นเครื่องเสียงควรทราบเอาไว้
เรื่อง ของระดับความดังนี้ หน่วยวัดที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ เดซิเบล (DB = DECIBEL) ซึ่งวิธีการวัดระดับความดังนี้ ที่ระดับศูนย์ดีบี (0 DB) นั้น มาจากการวัดที่ความเข้มของเสียงขนาด 0002 ไดน์ ต่อตารางเซนติเมตร ระดับความดังสูง ๆ ขนาดที่ทำให้แก้วหูแตกหรือพิการ อย่างเช่นเสียงระเบิดที่ดังขึ้นใกล้ ๆ หูนั้น จะมีความดังถึง 140 เดซิเบล เป็นความดังที่ทำให้หูพิการตลอดชาติ และเรื่องที่น่าตกใจ คือ ปัจจุบันสถานบันเทิงจำพวกดิสโกเธค ผับบางแห่ง มีความดัคงที่ใกล้เคียงจะทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน แม้กระทั่งความดังในท้องถนนของกรุงเทพมหานคร ก็เริ่มอยู่ในระดับอันตรายสูงสุดแล้ว
ระดับความดัง จะเป็นเครื่องกำหนดให้คนเล่นเครื่องเสียงต้องทราบว่า เสียงรบกวนในธรรมชาติทั่วไปนั้น มีระดับความดังอยู่ขนาดหนึ่งแล้ว การเปิดเครื่องเสียงให้มีความดังนั้น จะต้องดังมากกว่าระดับเสียงรบกวนในธรรมชาติ เช่น ในห้องฟังทั่วไปมีเสียงรบกวน 50 ดีบีอยู่แล้ว คุณต้องเปิดเครื่องเสียงดังถึง 60 ดีบี จึงไดยินเสียงเพลงจากเครื่องอย่างนี้ เป็นต้น
140 dB
ระดับความดังที่ทำให้หูพิการถาวร
130 dB
ระดับที่ทำให้หูพิการได้
120 dB
เสียงปืนใหญ่ที่ดังใกล้ ๆ
110 dB
เสียงดังที่เฉลี่ยในดิสโก้เธค
100 dB
เสียงภายในไนท์คลับ, บาร์, แจ๊ซผับ
90 dB
เสียงวิ่งของรถสิบล้อ
80 dB
เสียงดังจากรถเมล์
70 dB
เสียงวิทยุทั่ว ๆ ไป
60 dB
เสียงรบกวนการพูดคุยภายในสำนักงานทั่วไป
50 dB
เสียงรบกวนในห้องพักผ่อน
40 dB
ห้องพักยามดึก
30 dB
ดึกสงัด
20 dB
เสียงภายในห้องบันทึกเสียงเกรดเยี่ยม
10 dB
ห้องแล็ป
0 dB
เงียบสนิท
เห็นว่ามีความรู้เลยนำมาแบ่งปันกันครับ
ที่มา........เครดิต ゙ღ uาjฟ้าxน้าฮ้าu~€
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 3 ธันวาคม 2009, 16:00:21 น. โดย หนุ่มบ้านนา
»
บันทึกการเข้า
TSCyBeRcOm
บุคคลทั่วไป
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
วันที่ 3 ธันวาคม 2009, 15:45:54 น. »
ได้ความรู้อย่างมาก
บันทึกการเข้า
สุระชาติ
ลงทะเบียน HL
ขี้โม้ระดับสุดยอด
กระทู้: 2943
7485360D,9660E447,5D12658A(เด็กชายเคยโสด)
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
วันที่ 3 ธันวาคม 2009, 16:21:25 น. »
ขอบคุณมากๆครับ เก็บและจำครับ
บันทึกการเข้า
ไผ่
ลงทะเบียน HL
ระดับ 5
กระทู้: 1664
HL#:75211841(ฅนคอน)
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
วันที่ 3 ธันวาคม 2009, 16:24:44 น. »
ขอบคุณครับเก็บไว้อีกข้อมูลดีๆ
บันทึกการเข้า
อาเล็ก
ลงทะเบียน HL
ระดับ 4
กระทู้: 343
6E674E74 (จากลุงกานต์)
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
วันที่ 3 ธันวาคม 2009, 18:52:20 น. »
ขอบคุณมากครับสำหรับสิ่งที่ดีๆ
บันทึกการเข้า
SANTIPONG
บุคคลทั่วไป
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #5 เมื่อ:
วันที่ 9 ธันวาคม 2009, 09:52:15 น. »
ขอบคุณครับ..... ที่มอบข้อมูลดี ดี .....
บันทึกการเข้า
ปองคุณมิวสิค
ลงทะเบียน HL
ระดับ 3
กระทู้: 150
HL1: 552390E1 <>HL2: 5D10659E
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #6 เมื่อ:
วันที่ 16 ธันวาคม 2009, 08:19:05 น. »
บันทึกการเข้า
ฅ.คนดนตรี(ลำปาง)
ลงทะเบียน HL
ระดับ 2
กระทู้: 27
HL/4C863850 (ชัยแสตมป์)
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #7 เมื่อ:
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2010, 20:59:03 น. »
บันทึกการเข้า
อาร์ม ลูกน้ำกว๊าน
ลงทะเบียน HL
ระดับ 5
กระทู้: 797
HL#6DE70486 (สมใจนึก)
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #8 เมื่อ:
วันที่ 10 มีนาคม 2010, 15:52:01 น. »
ขอบคุณมากกๆๆๆครับบผม
บันทึกการเข้า
เล็ก จันทร์เพ็ญ
ลงทะเบียน HL
ระดับ 4
กระทู้: 442
6C84B61A & :6DD859D5 (สไปเดอร์แมน)
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #9 เมื่อ:
วันที่ 10 มีนาคม 2010, 16:56:48 น. »
ขอบคุณมากเลยครับ เป็นประโยชน์มากเลย
บันทึกการเข้า
หนุ่มริมเมย
ลงทะเบียน HL
ระดับ 3
กระทู้: 247
HL#9E8FDCC5
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #10 เมื่อ:
วันที่ 10 มีนาคม 2010, 17:30:32 น. »
บันทึกการเข้า
joykeaw
บุคคลทั่วไป
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #11 เมื่อ:
วันที่ 15 มีนาคม 2010, 11:28:50 น. »
แจ่มมากท่าน
บันทึกการเข้า
มนตรีซาวด์
ลงทะเบียน HL
ระดับ 5
กระทู้: 812
HL#5CA37A87 โทร 087-2589777
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #12 เมื่อ:
วันที่ 15 มีนาคม 2010, 12:34:27 น. »
เข้าท่า
บันทึกการเข้า
za_artza
บุคคลทั่วไป
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #13 เมื่อ:
วันที่ 5 พฤษภาคม 2010, 06:55:35 น. »
อ่านแล้วมีประโยชน์มากครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
กุ้งดีโฟร์ดี(Kungd4d)
คณะก่อการ
ขี้โม้ระดับสุดยอด
กระทู้: 8733
HL#6C88488C : 7D2D1563 จอมยุทธเอ็กซ์
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #14 เมื่อ:
วันที่ 5 พฤษภาคม 2010, 07:51:41 น. »
สุดยอดครับ
บันทึกการเข้า
กมล
ลงทะเบียน HL
ระดับ 5
กระทู้: 523
440986CA (x-men)
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #15 เมื่อ:
วันที่ 5 พฤษภาคม 2010, 08:01:39 น. »
นาให้ข้าวเรากินแล้ว ท่านหนุ่มบ้านนายังมาให้ความรู้ที่นำไปใช้จริงได้อีก ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
แชร์มิวสิค
ลงทะเบียน HL
ระดับ 4
กระทู้: 309
5D2E6587 ครูภูม
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #16 เมื่อ:
วันที่ 10 พฤษภาคม 2010, 09:30:52 น. »
บันทึกการเข้า
nirutdpo
บุคคลทั่วไป
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #17 เมื่อ:
วันที่ 21 พฤษภาคม 2010, 15:54:23 น. »
ดีมากจริงๆ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ภูวดิษฐ์
ผู้ดูแลบอร์ด
ขี้โม้ระดับสุดยอด
กระทู้: 8180
HL740E3299
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #18 เมื่อ:
วันที่ 21 พฤษภาคม 2010, 16:00:59 น. »
บันทึกการเข้า
de_de
บุคคลทั่วไป
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #19 เมื่อ:
วันที่ 22 พฤษภาคม 2010, 22:45:52 น. »
ความรู้ทั้งนั้น.....ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
mooping
บุคคลทั่วไป
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #20 เมื่อ:
วันที่ 29 พฤษภาคม 2010, 22:16:54 น. »
สำหรับความรู้
บันทึกการเข้า
Batman
คณะบริหาร
ขี้โม้ระดับสุดยอด
กระทู้: 18467
748AAC77,448AB84C,54095318,7660DAE5,97606B15,47C5E
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #21 เมื่อ:
วันที่ 29 พฤษภาคม 2010, 22:27:22 น. »
บันทึกการเข้า
LungWATCR
ลงทะเบียน HL
ระดับ 5
กระทู้: 1295
5DE459CB [ Pog MusicPro]
Re: เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์
«
ตอบกลับ #22 เมื่อ:
วันที่ 29 พฤษภาคม 2010, 22:28:49 น. »
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
eXtreme Community
»
หมวดหมู่ทั่วไป
»
บทความ ความรู้ วิชาการ ด้านต่าง ๆ
(ผู้ดูแล:
ภูวดิษฐ์
,
ครูภูม
) »
หัวข้อ:
เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องเสียง เพิ่มเติมรายระเอียด จาก คำสอนซาวน์