ใช้ขยาย loyal700 และอีกตัว สั่งประกอบจากพัฒนกิจโทรทัศน์ สกลนคร พ่วงกัน
แล้วขยายมีกี่คลาส คลาสไดบ้าง ข้อดีข้อเสียอย่างไร
ตอนนี้กำลังจะถอยอีตัว มอง ๆ เอาไว้เป็น npe c2200 จะ ok ไหมครับ ขอคำชี้แนะด้วย
คลาสของขยายเสียงและคุญสมบัติ
CLASS A : ทรานซิสเตอร์ ในภาคขยายขาออกจะทำงานเต็มที่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีสัญญาณขาเข้า มากหรือน้อยเพียงใดในภาคขาออก ทรานซิสเตอร์จะทำงานอย่างเต็มที่อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เครื่องมีความร้อนสูง ถึง สูงมาก
CLASS B : จะจัดแบ่งการทำงานของทรานซิสเตอร์ในภาขยายขาออก แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ด้านหนึ่งทำงานในช่วง + อีกด้านหนึ่งทำงานในช่วง - คือแบ่งกันทำงาน จึงทำให้มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง แต่ก็จะมีข้อด้อย คือ ช่วงที่สลับการทำงาน
ระหว่าง ช่วง + และ - การทำงานจะไม่ราบเรียบ อาจเรียกได้ว่ามีความพร่าเพี้ยน เรียกกันว่า cross over distortion คือ ความเพี้ยนที่เกิดจากช่วงสลับการทำงานของทรานซิสเตอร์
CLASS AB : คือการรวมเอาระหว่างจุดหรือข้อดีและข้อด้อย ของทั้ง CLASS A และ CLASS B เข้าด้วยกัน นั่นคือ ในช่วงเวลาที่มีสัญญาณขาเข้าเบา ๆ วงจรภาคขาออกจะทำงาน ในแบบ CLASS A แต่เมื่อสัญญาณขาเข้าแรงขึ้น วงจรภาคขาออกจะทำงานในแบบ CLASS B จึงทำให้เครื่องขยายเสียงในลักษณะนี้ มีความเพี้ยนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูงจึงเป็นที่นิยมมากที่สุดในวงการเครื่องเสียงทั้งหมด
CLASS D : เป็นการจัดวงจรขยายเสียง จะแตกต่างกับ CALSS A ,CLASS B หรือ AB โดยสิ้นเชิง ซึ่ง CLASS ข้างต้นภาคขยายสัญญาณขาออก จะทำหน้าที่ขยายแรงหรือหรือให้กำลังตามความแรงของสัญญาณขาเข้า ขณะที่ CLASS D จะแปลง
สัญญาณขาเข้าให้กลายเป็นคลื่นแบบความกว้างของแถบคลื่นที่ เรียกกันว่า Pulse Width Modulation (PWM) ในลักษณะรูปคลื่นที่เป็นแบบ square wave ขณะที่สัญญาณเสียงทั่วไปจะเป็นแบบ sine wave สัญญาณคลื่นที่ถูกแปลงนี้จะถูกส่งไปสร้างลักษณะการทำงานของภาคขยายเสียงขา ออก ให้ทำงานและหยุดทำงานตามความกว้างของคลื่นที่ส่งเข้าไปกระตุ้นภาคขาออก คล้ายการ
ทำงานของสัญญาณในแบบดิจิตอล คือ กำหนดให้เป็นการเปิดหรือปิดวงจร จึงทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่า CLASS D คือ ดิจิตอล แต่แท้จริงแล้ว อาจจะคล้ายกัน ในแง่ของลักษณะในเชิงการทำงานแบบเปิดและปิด แต่ไม่ใช่ในแง่ของการทำงานเพื่อขยายสัญญาณเสียง ข้อจำกัดของ CLASS D คือ มักจะจำกัดการทำงานที่ความถี่ค่อนข้างต่ำ เพราะการขยายสัญญาณในภาคขาออกต้องทำ
การกรองคลื่นที่เป็น PWM ที่เป็น square wave ออกเพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณถี่ในแบบ sine wave โดยมาก เครื่องขยายเสียง CLASS D ทั่วไปจะกรองความถี่ที่ 500 Hz ฉะนั้นความถี่ที่ใช้งานได้คือ จะสูงไม่เกิน 250 Hz
หรือมากกว่าเล็กน้อย หากความถี่สูงกว่านี้เสียงจะพร่าเบลอ หรือเสียงสะดุด หากจะให้ขยายเสียงได้ตลอดผ่านความถี่ มักมีปัญหาเรื่องการกวนของความถี่ ในระดับคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Interference - RFI)
คลาสส์อื่นๆที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก
CLASS G : เป็นเครื่องขยายเสียงที่ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป และจะทำงานโดยภาคขยายเสียงจะปรับไปใช้ไฟเลี้ยงที่สูงขึ้นหากสัญญาณขาเข้ามี ความแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีปัญหาในช่วงการเปลี่ยนจากภาคจ่ายไฟ ที่จะปรับใช้ในแต่ละความแรงของสัญญาณ
CLASS H : เคยมีใช้ในวงการรถยนต์ในยี่ห้อ BLADE ที่เรียกวงจรนี้ว่า BASH นั่นคือ การประยุกต์ CLASS G ขึ้นมาให้ภาคจ่ายไฟปรับแรงดันได้ตลอดเวลา ตามความแรงของสัญญาณที่เข้ามา ซึ่งภาคจ่ายไฟแบบนี้ คือ ต้นแบบของหลักการในภาคจ่ายไฟของ CLASS D แต่การจัดวงจรภาคขาออกจะเหมือนกับวงจรแบบ CLASS AB
CLASS S : คือการทำงานของภาคขยายเสียงที่ทำงานแบบ switching ที่มีการทำงานแบบเปิด/ปิด อยู่ตลอดเวลา และต้องใช้วงจรกรองความถี่แบบ low pass ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น CLASS D
CLASS T : เป็นการเรียกขานตามวงจรควบคุมการทำงานที่ผลิตโดย บริษัท ไทรพาธ(Tripath) ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อลดจุดด้อยของ CLASS D ที่ไม่มีเสถียรภาพในความถี่สูงโดยใช้ความสามารถในเชิงดิจิตอลเข้ามาช่วย เพิ่มความถี่ของการทำงานแบบ switching ทำใหswitching ที่ความถี่สูงขึ้นถึงในระดับความถี่ประมาณ 85 KHz จากนั้นจึงใช้วงจรกรองความถี่ แบบ Low passที่ประมาณ 40 KHz ทำให้ได้เครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงความถี่ ที่สูงกว่า 20 KHz
CLASS E : Audiobahn ใช้เป็นชื่อเรียกในรุ่นของเครื่องขยายเสียง แต่การทำงานไม่ใช่ class E จริงๆ เครื่องขยายเสียง class E ทำงานโดยใช้หลักการ switching แบบอ่อน ๆ คือไม่ได้ใช้ลักษณะของ switching เป็นหลักในการขยายสัญญาณโดยจะปล่อยให้มีสัญญาณหรือกระแสต่ำ ๆ กระตุ้นการทำงานของภาคขาออกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเพี้ยนที่เรียกว่า crossover distortion หรือ switching distortion ขณะเดียวกันถือได้ว่ามีการออกแบบวงจรจ่ายไฟที่ดีมาก ทำให้มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน