ผู้เขียน หัวข้อ: อยากหาเรื่องเสียตัง  (อ่าน 25262 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ แบงค์นาเซ็ง

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 219
  • 76E4C8B7 จากเด็กชายโสด 7EE6AD59 จาก ครูภูมิ
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 09:13:59 น. »
ขอบคุณ ป๋ามะละกอมากครับจะนำไปศึกษาและใช้ให้คุ้มค่าต่อไปครับ :thank1: :thank1: :thank1:

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 12:14:34 น. »
Sensitivity   =   ค่าที่บอก   Energy Efficiency

Energy Efficency   หมายถึงอัตราส่วนของผลที่ได้รับจากการดำเนินงานกับพลังงานที่เข้าไป (Input  พลังงานเป็น  Watt )


การปรับตั้งระบบที่ไม่ถูกต้อง  หรือเป็นไปตามหลักสากลซึ่งอิงตามคู่มือของเครื่องใช้นั้นๆ
อาทิพวกเครื่องเสียง  ตั้งแต่ปรีแอมป์ อีคิว ครอส ฯลฯ จนถึงพาวเวอร์
มีผลต่อ  Signal to Noice Ratio  แน่นอนครับ

เรื่องนี้ไม่สามารถนำความรู้สึกส่วนตัวมาใช้ได้นะครับ  
มันเป็นคู่มือที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด
ที่จริงแล้วมันมีหนังสือที่สามารถอ้างอิงได้  ผมจำชื่อหนังสือมิได้ละครับ


http://www.thaidriver.com/PDF_files/no_93/93_car_audio.pdf



Sensitivity   =   ค่าที่บอก   Energy Efficiency

Energy Efficency   หมายถึงอัตราส่วนของผลที่ได้รับจากการดำเนินงานกับพลังงานที่เข้าไป (Input  พลังงานเป็น  Watt )


นั่นสิครับในเมื่อ sensitivity ของแอมป์เป็นตัวกำหนด energy efficiency แล้ว  ถ้าหากเราไม่เปิดวอลลุ่มแอมป์ให้สุด เราจะได้ energy efficiency ตามที่ระบุในสเปคของแอมป์ได้อย่างไร?  

ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น แอมป์ตัวหนึ่งมี input sensitivity 0.775v โดยมีกำลังขับ Output 600w @ 8 ohms นั่นคือเมื่อเราป้อนสัญญาณ input ให้แอมป์ตัวนี้ด้วยความแรงสัญญาณที่ 0.775v หรือ 0dBu แอมป์จะทำงานขยายสัญญาณ input ที่เข้ามาจนถึงจุดสูงสุดก่อนคลิปสัญญาณ โดยความแรงของ output จะได้ 600w ตามสเปคที่กำหนด (วอลลุ่มต้องเปิดสุด)   ซึ่งการเปิดวอลลุ่มแอมป์ไม่สุดนั้นจะมีผลทำให้ค่า input sensitivity ของแอมป์เปลี่ยนไป โดยที่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเปลี่ยนไปเท่าไหร่?  ทั้งนี้เพราะวอลลุ่มของแอมป์ไม่ได้เป็นวอลลุ่มแบบ Linear นะครับ การปรับเพิ่ม/ลด วอลลุ่ม จึงไม่สามารถคอนโทรลได้ว่า เพิ่ม/ลด ไปเท่าไหร่กี่ v กี่ dB ?

ดังนั้นการจัดการในเรื่องความแรงสัญญาณที่อุปกรณ์ตัวอื่นก่อนเข้าแอมป์จึงทำได้ง่ายกว่าเพราะอุปกรณ์เหล่านั้นมีความสามารถในการกำหนดระดับความแรงสัญญาณทั้งขาเข้าและขาออกได้ละเอียดกว่า ว่าจะเพิ่มหรือลด กี่ dB ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 เมษายน 2014, 13:10:14 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 14:25:49 น. »

ต้องขออภัย  บังเอิญผมมิได้เรียนมาโดยตรง
ความรู้ทั้งหลายทั้งมวล  ผมได้มาจากการค้นหาอ่านในอินเตอร์เน็ทและตามหนังสือต่างๆ
ผมอาจผิดก็ได้ครับ

แต่ในแง่เหตุและผล  คำว่า  Input Sensitivity  ในด้านของเสียง  ผมเข้าใจว่า
มันหมายถึงความไว (Sensitivity)  ซึ่งถ้าเป็น  พาวเวอร์แอมป์  
มันคงหมายถึงการกำหนดค่าที่ให้มาจากโรงงาน ว่าเป็นเท่าไหร่ เช่น 0.77 V  ,  1.0 V  ,  1.44 V

แอมป์บางตัว  แจ้งแค่  0.77 V  บางตัว  บอกทั้ง  3 ค่า ให้กดเลือกได้
ทำไมถึงบอกตัวเลขนี้ละครับ
การบอกเพื่อให้รู้อย่างชัดเจนว่า  การจะนำอุปกรณ์อื่นมาเชื่อมต่อนั้น
อุปกรณ์ที่ว่า อาทิ  ปรีแอมป์  หรือ มิกซ์  ซึ่งหน้ามันคือตัวควบคุม หรือ คอนโทรลเสียงทั้งระบบ

มิกซ์หรือปรีที่ว่า  ควรจะต้องมี  Output Sensitivity ไม่เกินหรือน้อยกว่า  
ค่า  Input Sensitivity  ของพาวเวอร์แอมป์ดังกล่าว นะครับ
ถึงจะเรียกว่าแมทช์กัน  แน่นอนย่อมได้เสียงที่มีทั้งประสิทธิภาพ  (ความดังที่เปล่งออกจากลำโพง) ได้สูงสุด
และเป็นที่แน่นอนตามมาว่า  มันก็ย่อมจะได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุดตามมาอีกเช่นกัน

การตั้งเกนที่พาวเวอร์แอมป์สุดขีดนั้น  เป็นสิ่งที่ทำได้ทุกเครื่องกระนั้นหรือ?
จริงอยู่ที่การวัดสเปคพละกำลังของพาวเวอร์แอมป์นั้นวัดที่การเร่งเกนสูงสุด
โดยอยู่ภายใต้ข้อกำหนด 2 ตัวที่กำกับไว้คือ  

Input Impedance มีหน่วยเป็น  Ohm
Sensitivity Input  มีหน่วยเป็น โวลท์

เรื่องของเสียงมันมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องครับ

เสียงฟ้าผ่า  ความดังผมจำไม่ได้ว่า เป็นที่  120 dB  หรือ  130 dB

คำถามคือ

ความดังขนาดนั้นหูคนเราทนฟังได้นานแค่ไหน?
ถ้าลำโพงตัวหนึ่งบอกว่าค่า ความไวอยู่ที่  100 dB  
ตัวเลขนี้ที่เป็นสากลคือ  มันหมายถึง
ที่ระยะทาง 1 เมตร  จะได้ความดัง  100 dB  เมื่อเราใส่พลังงานเข้าไป  1 วัตต์

จาก Decibel Scale  เราจะได้ความดังเพิ่มขึ้นเป็น  + 3 dB  เมื่อเราใส่พลังงานเข้าไปหนึ่งเท่าเสมอ

พอนึกภาพออกยังครับว่า  ถ้าใส่พลังงานเข้าไประดับที่แอมป์ขับเต็มกำลังถึง  600 วัตต์นั้น
ความดังมันจะดังซักเท่าไหร่ dB  หูหนวกทันทีนะครับ
ทีนี้ถ้าบอกว่ามาลดที่ครอสแทน

ก็ต้องไปดูที่หน้าที่ของครอสละครับว่า  เขาผลิตขึ้นมาให้ทำหน้าที่อย่างไร
เกนวอลลุ่มที่ครอสนั้นให้มาเพื่อทำหน้าที่อย่างไรนะครับ  สัญญาณ  Input  และ Output  เป็นอย่างไร
ผมขอไม่อธิบาย ตรงนี้ละกัน  อยากรู้หาอ่านได้ในกูเกิ้ล

ตัวควบคุมความดัง เบาหรือแรงอยู่ที่มิกซ์  ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีหน้าที่คอนโทรลเสียงทั้งระบบ
มิกซ์  ก็สมชื่อคือ  รวมเสียงทั้งหลายเข้าด้วยกัน  แล้วปล่อยออกไปให้พาวเวอร์แอมป์ขยายให้ดังขึ้น
เสียงต่างๆ ที่เข้าสู่มิกซ์ อาทิ  ไมค์  เสียงจากซาวด์การ์ด  เสียงจากเครื่องเล่นซีดี
ทุกเสียงจากแหล่งต่าง  มี Output Sensitivity  ไม่เท่ากันอยู่แล้ว
มิกซ์มีหน้าที่ให้ปรับเกนที่ว่าตรงนี้ด้วย  ทั้งนี้เมื่อปล่อยออกไปมันจะได้มีค่าตรงกัน
ที่สำคัญ  มันจะต้องถูกบริหารหรือควบคุมจากมิกซ์เท่านั้นครับ
มันถึงจะได้ค่าทั้ง  Output Impedance ,  Output Sensitivity  ตรงตามสเปค ที่โรงงานกำกับมา

ทุกวันนี้เป็นยุคดิจิตอล  มาตรฐานซีดีนั้นให้ความแรงถึง 2 V  จึงแทบไม่ต้องพี่งพา ปรี หรือ มิกซ์ก็ได้
2 V  เต็มที่ออกไป  พาวเวอร์แอมป์ที่เปิดเกนสุดนั้น เถอะนาแม้จะไม่คลิป  แต่ใครจะทนฟังเสียงดังขนาดนั้นได้ละ
พลังงานตั้ง  600 วัตต์นะ

ถึงได้เกิดมีปรีสำหรับเครื่องบ้าน  และมีมิกซ์สำหรับเครื่องกลางแจ้งขึ้นมาปรับตั้งจุดนี้
และมิกซ์ยังทำหน้าที่อีกอย่างที่นอกเหนือคือ การสร้างบุคลิคเสียงที่ต่างกันออกไป
ความนุ่มนวล เนียน อบอุ่น สำหรับผู้ฟังจึงมาจากมิกซฺด้วยครับ  มิได้มาจากอีคิว

ทั้งหมดนี้เป็นท้ศนะส่วนตัวที่เล่นเครื่องเสียงบ้านมา
อาจจะไม่เพียงพอกับเครื่องเสียงพีเอ  ซึ่งซับซ้อนกว่ามากครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 เมษายน 2014, 14:30:39 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 14:42:42 น. »
หาเรื่องคุยกับเขาบ้างดีกว่า

ที่ป๋ามะละกอว่ามาก็มีเหตุและผล  กำลังขับที่เพิ่มหนึ่งเท่าตัว เสียงจะดังเพิ่มขึ้น 3 db ผมเคยอ่านมาโดนแล้วคือกัน

คำถามที่ว่า ถ้าเอาหกร้อยวัตต์ใส่เข้าไป  ไม่หูหนวกกันหมดหรือ   ตอบว่าไม่หนวกหรอกครับ  เหตุผลมีดังนี้

- หาลำโพงพีเอราคาพื้นๆทั่วไปยากมากที่จะมีความไว100 db

- ไม่มีใครนั่งฟังกันหน้าตู้ในระยะหนึ่งเมตร  ถ้ามีก็ให้มันหนวกไปโทษฐานที่ไม่รู้จักเดินหนี  และจากที่จำขี้ปากเขามาทุกระยะที่ห่างออกมาหนึ่งเท่าตัว  ความดังจะลดลง 3 db เช่นกัน

- ลำโพงทุกตัวมีระดับความดังสุดๆที่มันจะรับได้ ยังไม่เจอลำโพงบ้านๆตัวใหนดังได้ถึง 130 db ส่วนมากมันจะตายก่อนเราหูหนวก

- การมีแอมป์กำลังสูงๆ  ช่วยให้เราไม่ต้องเร่งเกนเยอะ  เราก็ได้ระดับเสียงที่รำคาญแล้ว  อันนี้จริง  ผมยืนยัน

- การจัดการบางความถี่ที่มีการตอบสนองดี โด่งเกินไปของลำโพงจนทำให้เกิดการหวีดหอนด้วยอีคิว  โดยการลดความถี่ช่วงนั้นลง  อันนี้ทำได้จริง แต่เสียงอาจเพี้ยนไปจากปกติบ้าง  เมื่อถึงเวลาจำเป็นก็ต้องยอมกัน

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 14:49:49 น. »
หาเรื่องคุยกับเขาบ้างดีกว่า

ที่ป๋ามะละกอว่ามาก็มีเหตุและผล  กำลังขับที่เพิ่มหนึ่งเท่าตัว เสียงจะดังเพิ่มขึ้น 3 db ผมเคยอ่านมาโดนแล้วคือกัน

คำถามที่ว่า ถ้าเอาหกร้อยวัตต์ใส่เข้าไป  ไม่หูหนวกกันหมดหรือ   ตอบว่าไม่หนวกหรอกครับ  เหตุผลมีดังนี้

- หาลำโพงพีเอราคาพื้นๆทั่วไปยากมากที่จะมีความไว100 db

- ไม่มีใครนั่งฟังกันหน้าตู้ในระยะหนึ่งเมตร  ถ้ามีก็ให้มันหนวกไปโทษฐานที่ไม่รู้จักเดินหนี  และจากที่จำขี้ปากเขามาทุกระยะที่ห่างออกมาหนึ่งเท่าตัว  ความดังจะลดลง 3 db เช่นกัน

- ลำโพงทุกตัวมีระดับความดังสุดๆที่มันจะรับได้ ยังไม่เจอลำโพงบ้านๆตัวใหนดังได้ถึง 130 db ส่วนมากมันจะตายก่อนเราหูหนวก

- การมีแอมป์กำลังสูงๆ  ช่วยให้เราไม่ต้องเร่งเกนเยอะ  เราก็ได้ระดับเสียงที่รำคาญแล้ว  อันนี้จริง  ผมยืนยัน

- การจัดการบางความถี่ที่มีการตอบสนองดี โด่งเกินไปของลำโพงจนทำให้เกิดการหวีดหอนด้วยอีคิว  โดยการลดความถี่ช่วงนั้นลง  อันนี้ทำได้จริง แต่เสียงอาจเพี้ยนไปจากปกติบ้าง  เมื่อถึงเวลาจำเป็นก็ต้องยอมกัน

แก้ไขให้หมอนพนิดนึงนะครับ   ทุกระยะที่ห่างออกมาหนึ่งเท่าตัว  ความดังจะลดลง -6 dB ครับ

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 14:57:42 น. »
แก้ไขให้หมอนพนิดนึงนะครับ   ทุกระยะที่ห่างออกมาหนึ่งเท่าตัว  ความดังจะลดลง -6 dB ครับ

ลดเยอะผมกลัวขาดทุนครับ  เลยลดครึ่งเดียว ทุนมันมาแพงครับ  ;D

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 15:03:51 น. »
ต้องขออภัย  บังเอิญผมมิได้เรียนมาโดยตรง
ความรู้ทั้งหลายทั้งมวล  ผมได้มาจากการค้นหาอ่านในอินเตอร์เน็ทและตามหนังสือต่างๆ
ผมอาจผิดก็ได้ครับ

แต่ในแง่เหตุและผล  คำว่า  Input Sensitivity  ในด้านของเสียง  ผมเข้าใจว่า
มันหมายถึงความไว (Sensitivity)  ซึ่งถ้าเป็น  พาวเวอร์แอมป์  
มันคงหมายถึงการกำหนดค่าที่ให้มาจากโรงงาน ว่าเป็นเท่าไหร่ เช่น 0.77 V  ,  1.0 V  ,  1.44 V

แอมป์บางตัว  แจ้งแค่  0.77 V  บางตัว  บอกทั้ง  3 ค่า ให้กดเลือกได้
ทำไมถึงบอกตัวเลขนี้ละครับ
การบอกเพื่อให้รู้อย่างชัดเจนว่า  การจะนำอุปกรณ์อื่นมาเชื่อมต่อนั้น
อุปกรณ์ที่ว่า อาทิ  ปรีแอมป์  หรือ มิกซ์  ซึ่งหน้ามันคือตัวควบคุม หรือ คอนโทรลเสียงทั้งระบบ

มิกซ์หรือปรีที่ว่า  ควรจะต้องมี  Output Sensitivity ไม่เกินหรือน้อยกว่า  
ค่า  Input Sensitivity  ของพาวเวอร์แอมป์ดังกล่าว นะครับ
ถึงจะเรียกว่าแมทช์กัน  แน่นอนย่อมได้เสียงที่มีทั้งประสิทธิภาพ  (ความดังที่เปล่งออกจากลำโพง) ได้สูงสุด
และเป็นที่แน่นอนตามมาว่า  มันก็ย่อมจะได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุดตามมาอีกเช่นกัน

การตั้งเกนที่พาวเวอร์แอมป์สุดขีดนั้น  เป็นสิ่งที่ทำได้ทุกเครื่องกระนั้นหรือ?
จริงอยู่ที่การวัดสเปคพละกำลังของพาวเวอร์แอมป์นั้นวัดที่การเร่งเกนสูงสุด
โดยอยู่ภายใต้ข้อกำหนด 2 ตัวที่กำกับไว้คือ  

Input Impedance มีหน่วยเป็น  Ohm
Sensitivity Input  มีหน่วยเป็น โวลท์

เรื่องของเสียงมันมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องครับ

เสียงฟ้าผ่า  ความดังผมจำไม่ได้ว่า เป็นที่  120 dB  หรือ  130 dB

คำถามคือ

ความดังขนาดนั้นหูคนเราทนฟังได้นานแค่ไหน?
ถ้าลำโพงตัวหนึ่งบอกว่าค่า ความไวอยู่ที่  100 dB  
ตัวเลขนี้ที่เป็นสากลคือ  มันหมายถึง
ที่ระยะทาง 1 เมตร  จะได้ความดัง  100 dB  เมื่อเราใส่พลังงานเข้าไป  1 วัตต์

จาก Decibel Scale  เราจะได้ความดังเพิ่มขึ้นเป็น  + 3 dB  เมื่อเราใส่พลังงานเข้าไปหนึ่งเท่าเสมอ

พอนึกภาพออกยังครับว่า  ถ้าใส่พลังงานเข้าไประดับที่แอมป์ขับเต็มกำลังถึง  600 วัตต์นั้น
ความดังมันจะดังซักเท่าไหร่ dB  หูหนวกทันทีนะครับ
ทีนี้ถ้าบอกว่ามาลดที่ครอสแทน

ก็ต้องไปดูที่หน้าที่ของครอสละครับว่า  เขาผลิตขึ้นมาให้ทำหน้าที่อย่างไร
เกนวอลลุ่มที่ครอสนั้นให้มาเพื่อทำหน้าที่อย่างไรนะครับ  สัญญาณ  Input  และ Output  เป็นอย่างไร
ผมขอไม่อธิบาย ตรงนี้ละกัน  อยากรู้หาอ่านได้ในกูเกิ้ล

ตัวควบคุมความดัง เบาหรือแรงอยู่ที่มิกซ์  ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีหน้าที่คอนโทรลเสียงทั้งระบบ
มิกซ์  ก็สมชื่อคือ  รวมเสียงทั้งหลายเข้าด้วยกัน  แล้วปล่อยออกไปให้พาวเวอร์แอมป์ขยายให้ดังขึ้น
เสียงต่างๆ ที่เข้าสู่มิกซ์ อาทิ  ไมค์  เสียงจากซาวด์การ์ด  เสียงจากเครื่องเล่นซีดี
ทุกเสียงจากแหล่งต่าง  มี Output Sensitivity  ไม่เท่ากันอยู่แล้ว
มิกซ์มีหน้าที่ให้ปรับเกนที่ว่าตรงนี้ด้วย  ทั้งนี้เมื่อปล่อยออกไปมันจะได้มีค่าตรงกัน
ที่สำคัญ  มันจะต้องถูกบริหารหรือควบคุมจากมิกซ์เท่านั้นครับ
มันถึงจะได้ค่าทั้ง  Output Impedance ,  Output Sensitivity  ตรงตามสเปค ที่โรงงานกำกับมา


ทุกวันนี้เป็นยุคดิจิตอล  มาตรฐานซีดีนั้นให้ความแรงถึง 2 V  จึงแทบไม่ต้องพี่งพา ปรี หรือ มิกซ์ก็ได้
2 V  เต็มที่ออกไป  พาวเวอร์แอมป์ที่เปิดเกนสุดนั้น เถอะนาแม้จะไม่คลิป  แต่ใครจะทนฟังเสียงดังขนาดนั้นได้ละ
พลังงานตั้ง  600 วัตต์นะ

ถึงได้เกิดมีปรีสำหรับเครื่องบ้าน  และมีมิกซ์สำหรับเครื่องกลางแจ้งขึ้นมาปรับตั้งจุดนี้
และมิกซ์ยังทำหน้าที่อีกอย่างที่นอกเหนือคือ การสร้างบุคลิคเสียงที่ต่างกันออกไป
ความนุ่มนวล เนียน อบอุ่น สำหรับผู้ฟังจึงมาจากมิกซฺด้วยครับ  มิได้มาจากอีคิว

ทั้งหมดนี้เป็นท้ศนะส่วนตัวที่เล่นเครื่องเสียงบ้านมา
อาจจะไม่เพียงพอกับเครื่องเสียงพีเอ  ซึ่งซับซ้อนกว่ามากครับ



ผมก็ต้องขออภัยท่านมะละกอ ด้วยเช่นกัน เพราะผมก็ไม่ได้เรียนมาโดยตรงเหมือนท่าน  เพียงแต่ผมศึกษา อ่าน และได้ทดลองจริง ในงานจริงตามภาคสนามต่าง ๆ มามากพอที่จะสามารถกล่าวอ้างอิงได้ครับ ก็ถือซะว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว จากประสบการณ์ของผมหล่ะกัน นะครับ

สิ่งที่ท่านมะละกอ กล่าวมานั้นถูกต้องครับ ว่ามิกซ์เป็นตัวควบคุมสัญญาณของทั้งระบบในเบื้องต้น มีหน้าที่บาลานซ์สัญญาณทุกสัญญาณให้ออกมาใกล้เคียงกันเพื่อคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด  แต่อย่าลืมว่าในระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งนั้น เรามักจะนำสัญญาณที่ออกจากมิกซ์ไปแยกเป็นย่านความถี่ในแต่ละย่าน ก่อนส่งต่อไปเข้าเพาวเวอร์แอมป์ ที่ใช้ขับในแต่ละย่านเสียงอีกทีหนึ่ง  ดังนั้นหากเราต้องการ เพิ่ม/ลด เสียงในย่านใดย่านหนึ่งโดยเฉพาะ  เราก็ต้องทำการปรับ เพิ่ม/ลด สัญญาณเสียงในย่านนั้นโดยตรง โดยการปรับที่ครอส ไม่ใช่ไปปรับ เพิ่ม/ลด ที่มิกซ์ เพราะมันจะไป เพิ่ม/ลด สัญญาณ ในทุกย่านความถี่ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 เมษายน 2014, 15:12:38 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 15:22:07 น. »
ลดเยอะผมกลัวขาดทุนครับ  เลยลดครึ่งเดียว ทุนมันมาแพงครับ  ;D

ความดัง 130dB ที่กลัวนัก กลัวหนา แค่ยืนห่างออกมาเพียง 8เมตร มันก็ลดลงเหลือเพียง 112dB แล้วครับ  

ต้องทำความเข้าใจว่าเรากำลังพูดกันถึงเครื่องเสียงกลางแจ้ง ที่มี Noise Floor ของสภาวะแวดล้อม สูงไม่น้อยกว่า 80dB กันนะครับ ถ้าเราต้องการให้ผู้ฟังที่อยู่หลังสุดของสถานที่จัดงาน ประมาณ 32 ม จากหน้าตู้ ให้ได้ยินเสียงที่ความดัง 100dB   ความดังหน้าตู้ของระบบที่ 1 ม  จะต้องดังถึง 130dB นะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 เมษายน 2014, 15:29:27 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 15:33:44 น. »

ขอบคุณครับ  ผมชอบการสื่อสารในลักษณะ  2 Ways ทางพุทธเราเรียก  ปุจฉาและวิสัชชนา
เรื่องของเสียงไม่มีใครผิดใครถูกต้องดอกครับ
ยิ่งค้นคว้ายิ่งถกเถียงกัน  ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นได้กับตัวเองโดยตรง
และผู้ที่ใฝ่หาความรู้นะครับ

เทคโนโลยี่วันนี้อาจให้เราทำแบบนี้  แต่อนาคตอาจเปลี่ยนเป็นหลังมือก็ได้  ไม่แน่นอนครับ

กลับมาที่เรื่องของครอสอีกนิดหนึ่ง  ตามที่รู้มา  
ครอสทำงานคล้ายบัฟเฟอร์  คือเข้ามาเท่าไรออกเท่านั้น  การขยาย   =  1:1
ส่วนเกนที่ให้มานั้น  เป็นการปรับเพื่อให้เกิดความสมดุลของย่านความถี่ครับ

เนื่องจากครอสมีหน้าที่แบ่งความถี่  การแบ่งความถี่จะต้องพึ่งพาฟิลเตอร์
ตัวฟิลเตอร์นี่แหละตัวดีที่ทำให้มี Side Effect  ตามมา  
เช่นในเรื่องของเฟส
ในเรื่องของโด่งของความถี่ ณ จุดตัดซึ่งมีผลต่อการกระจายเสียง ทำให้ค่าการกระจายเสียงเปลี่ยนไป
ผลที่ตามมาคือย่านความถี่เสียงต่ำ  ย่านความถี่เสียงกลาง และย่านความถี่เสียงสูง
ณ จุดของผู้ฟัง  ในแต่ละจุด  ขาดความสมดุลของย่านความถี่เสียง
จึงต้องมีเกนให้ปรับตรงนี้  เพื่อความสมดุลของย่านความถี่ทั้งสาม
ผู้ฟังถึงจะได้ฟังรับฟังความเป็นดนตรีที่สูงตรงตามความเป็นจริงนะครับ

สงกรานต์อยู่บ้านเย็นสบายแท้  เหล้ายาปลาปิ้งก็ยังกินมิได้หมอขอร้องไว้ครับ
ปีที่แล้วยังเมาสว่าง  เฮ้อ!!
 

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 15:47:41 น. »
ความดัง 130dB ที่กลัวนัก กลัวหนา แค่ยืนห่างออกมาเพียง 8เมตร มันก็ลดลงเหลือเพียง 112dB แล้วครับ  

ต้องทำความเข้าใจว่าเรากำลังพูดกันถึงเครื่องเสียงกลางแจ้ง ที่มี Noise Floor ของสภาวะแวดล้อม สูงไม่น้อยกว่า 80dB กันนะครับ
ถ้าเราต้องการให้ผู้ฟังที่อยู่หลังสุดของสถานที่จัดงาน ประมาณ 32 ม จากหน้าตู้ ให้ได้ยินเสียงที่ความดัง 100dB  
ความดังหน้าตู้ของระบบที่ 1 ม  จะต้องดังถึง 130dB นะครับ

ถูกต้องครับ  ในแง่ของความดังขึ้นย่อมขึ้นกับระยะทาง
ปรากฏการณ์แบบนี้เป็นธรรมชาติของเสียง  และที่กระทบมากคือย่านเสียงสูงและย่านเสียงต่ำ
ซึ่งจะเบาลงมากกว่าเสียงกลาง จนต้องไปปรับสมดุลที่ครอสครับ

มาว่าการออกแบบระบบเสียงพีเอ  ซึ่งที่เรารู้ๆ กันคือ  
ต้องให้ผู้ฟังทุกคนได้ยินเสียงดนตรี และเสียงร้อง  ไปพร้อมกับการแสดงบนเวที
โดยได้ยินที่ความดังเท่าเทียมกันครอบคลุมทุกจุดทุกพื้นที่ของการแสดง

ถ้างานขนาดเล็กมันไม่ยากที่จะออกแบบระบบดังกล่าว
แต่ถ้างานขนาดใหญ่มากๆ  จึงต้องมีความพิถีพิถันขึ้น
เสียงที่เรียกว่า น๊อยซ์ฟลอร์ นั้น  ความดังโดยทั่วไปไม่น่าเกิน  85 dB
การได้ยินเสียงดนตรีที่ชัดเจน  ถ้าลำโพงออกแบบมาดี  เกินไปซัก  10 dB ก็พอแล้วครับ

การคิดค้นของระบบพีเอที่มีมานานกว่าครึ่งศตวรรษที่จะสร้างระบบลำโพง
เพื่อให้เปล่งเสียงดังอย่างเท่าเทียมกันตั้งแต่หน้าเวทีจนแถวสุดท้ายหลังสุด
จึงมีมาหลายรูปแบบ  ตั้งแต่ตั้งตู้ลำโพงสูงกว่าตึกสามชั้นเรียงรายสุดลูกตา ในยุคเพลงร๊อกปี '60

แต่ที่สุดแล้วเมื่อความก้าวหน้าทางเครื่องไม้เครื่องมือ รวมถึงซอร์ฟแวร์คอมพิวเตอร์ที่มนุษย์สร้างขึ้น
จึงก่อให้เกิดระบบลำโพงแบบ  Line Array  ขึ้นมา  
การจัดตั้งหรือแขวนในลักษณะ  รูปตัว  J  กลับหัว

ตู้ลำโพงที่แขวนแต่ละตัวนั้นจะถูกควบคุมด้วยซอร์ฟแวร์ที่จะกำหนดความดัง
และบางทีถึงกับกำหนดมุมเป็นองศาของการยิงเสียงของแต่ละตู้จากซอร์ฟแวร์โดยตรง
การยิงเสียงจะเริ่มจากตู้ล่างสุดด้วยความดังในระดับที่มนุษย์ได้ยินแล้วเกิดความรู้สึกและมีอารมณ์ดนตรีร่วมกับผู้แสดงบนเวที

ความดังของตู้ล่างสุดนี้จะยิงในมุมที่กำหนดเพื่อให้แถวหน้าใกล้สุดได้ยินเสียงที่มีความดังที่เหมาะสมดังกล่าวครับ
และตู้แขวนตัวบนถัดขึ้นไปจะถูกปรับมุมองศาให้ยิงเสียงไปไกลยังพื้นที่ไกลถัดออกไปจากจุดแรกตามลำดับ
ด้วยความดังของเสียงที่เพิ่มขึ้น (ตามกฎของระยะทางที่ว่า)
แน่นอนตู้ลำโพงที่อยู่สูงสุดก็จะยิงเสียงด้วยความดังในระดับที่คำนวณไว้แล้วไปยังจุดที่คลุมพื้นผู้ชมผู้ฟังที่อยู่แถวหลังสุด
ความดังที่ว่ามันอาจเกิน 130 dB  ที่หน้าตู้  แต่จะไม่มีผลต่อคนที่อยู่แถวหน้านะครับ
เนื่องจากเป็นการยิงเสียงข้ามหัวด้วยองศาที่คำนวณไว้แล้ว

หมายเหตุ ระบบไลน์แอเร่ย์ แต่ละตู้จะออกแบบให้มุมกระจายเสียงแคบกว่าตู้แบบ Point it  ครับ
เมื่อยิงเสียงข้ามหัวก็คือข้ามจริงๆ  ไม่มีเสียงรั่วโดยเด็ดขาด
มีแต่ ไลน์แอร์เละ ในบ้านเราเท่านั้นที่เอาตู้ที่มีมุมกระจายเสียงที่กว้างเหมาะกับการวางตั้ง
แต่ดันเอามาแขวนตามสมัยนิยม  มุมกระจายเสียงจึงตีกันเละ
ฟังนานเกิดอาการล้าหู  ยกเว้นเมาหนักเท่านั้น

ระบบ ไลน์แอเร่ย์  ซึ่งทำงานร่วมกันกับซอร์ฟแวร์ที่ออกมาโดยเฉพาะรุ่นนั้น
และทำงานกับระบบพาวเวอร์แอมป์ที่จัดเป็นชุด
มันจึงให้เสียงดนตรีที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบันนี้

และให้เสียงตามปรัชญาการให้เสียงในระบบพีเอตามต้องการครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 เมษายน 2014, 16:17:54 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 15:57:26 น. »
ขอบคุณครับ  ผมชอบการสื่อสารในลักษณะ  2 Ways ทางพุทธเราเรียก  ปุจฉาและวิสัชชนา
เรื่องของเสียงไม่มีใครผิดใครถูกต้องดอกครับ
ยิ่งค้นคว้ายิ่งถกเถียงกัน  ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นได้กับตัวเองโดยตรง
และผู้ที่ใฝ่หาความรู้นะครับ

เทคโนโลยี่วันนี้อาจให้เราทำแบบนี้  แต่อนาคตอาจเปลี่ยนเป็นหลังมือก็ได้  ไม่แน่นอนครับ

กลับมาที่เรื่องของครอสอีกนิดหนึ่ง  ตามที่รู้มา  
ครอสทำงานคล้ายบัฟเฟอร์  คือเข้ามาเท่าไรออกเท่านั้น  การขยาย   =  1:1
ส่วนเกนที่ให้มานั้น  เป็นการปรับเพื่อให้เกิดความสมดุลของย่านความถี่ครับ

เนื่องจากครอสมีหน้าที่แบ่งความถี่  การแบ่งความถี่จะต้องพึ่งพาฟิลเตอร์
ตัวฟิลเตอร์นี่แหละตัวดีที่ทำให้มี Side Effect  ตามมา  
เช่นในเรื่องของเฟส
ในเรื่องของโด่งของความถี่ ณ จุดตัดซึ่งมีผลต่อการกระจายเสียง ทำให้ค่าการกระจายเสียงเปลี่ยนไป
ผลที่ตามมาคือย่านความถี่เสียงต่ำ  ย่านความถี่เสียงกลาง และย่านความถี่เสียงสูง
ณ จุดของผู้ฟัง  ในแต่ละจุด  ขาดความสมดุลของย่านความถี่เสียง
จึงต้องมีเกนให้ปรับตรงนี้  เพื่อความสมดุลของย่านความถี่ทั้งสาม
ผู้ฟังถึงจะได้ฟังรับฟังความเป็นดนตรีที่สูงตรงตามความเป็นจริงนะครับ

สงกรานต์อยู่บ้านเย็นสบายแท้  เหล้ายาปลาปิ้งก็ยังกินมิได้หมอขอร้องไว้ครับ
ปีที่แล้วยังเมาสว่าง  เฮ้อ!!
 

ขอบคุณเช่นกันครับท่านมะละกอ รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

กลับมาเรื่องของเสียงในย่านต่าง ๆ  ซึ่งเป็นไปตามที่ท่านมะละกอกล่าว ว่าครอสที่ทำหน้าที่แบ่งย่านความถี่เสียงออกเป็นย่านต่าง ๆ ก็มีผลทำให้เกิด Side Effect ต่าง ๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง Delay Time ของแต่ละย่านความถี่ หรือ จะเรียกว่าเฟส ก็ได้ครับ  ซึ่งตรงนี้ครอสดิจิตอลรุ่นใหม่ ๆ ก็เพิ่มฟังก์ชั่นต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ครับ

แต่ประเด็นที่ต้องคิดคำนึงกันต่อ จากเรื่องของครอส ก็คือ ค่า Sensitivity SPL 1w/1m  ของดอกลำโพงในแต่ละย่าน ก็ไม่เท่ากัน ซึ่งการจะบาลานซ์ ระดับความดังเสียงของตู้ลำโพงในแต่ละย่านให้ออกมาได้ใกล้เคียงกันเพื่อความสมจริง จึงเป็นหน้าที่ของครอส และแอมป์ในระบบ  จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ทุกอย่างมันต้องทำงานต่อเนื่องกันไปทั้งระบบจึงเป็นความยากนิดนึง แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถที่เราจะจัดการระบบเสียงให้ออกมาได้ดี ตามที่เราต้องการครับ

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 16:27:20 น. »
หาเรื่องคุยกับเขาบ้างดีกว่า

ที่ป๋ามะละกอว่ามาก็มีเหตุและผล  กำลังขับที่เพิ่มหนึ่งเท่าตัว เสียงจะดังเพิ่มขึ้น 3 db ผมเคยอ่านมาโดนแล้วคือกัน

คำถามที่ว่า ถ้าเอาหกร้อยวัตต์ใส่เข้าไป  ไม่หูหนวกกันหมดหรือ   ตอบว่าไม่หนวกหรอกครับ  เหตุผลมีดังนี้

- หาลำโพงพีเอราคาพื้นๆทั่วไปยากมากที่จะมีความไว100 db

- ไม่มีใครนั่งฟังกันหน้าตู้ในระยะหนึ่งเมตร  ถ้ามีก็ให้มันหนวกไปโทษฐานที่ไม่รู้จักเดินหนี  
  และจากที่จำขี้ปากเขามาทุกระยะที่ห่างออกมาหนึ่งเท่าตัว  ความดังจะลดลง 3 db เช่นกัน

- ลำโพงทุกตัวมีระดับความดังสุดๆ ที่มันจะรับได้ ยังไม่เจอลำโพงบ้านๆ ตัวใหนดังได้ถึง 130 db ส่วนมากมันจะตายก่อนเราหูหนวก

- การมีแอมป์กำลังสูงๆ  ช่วยให้เราไม่ต้องเร่งเกนเยอะ  เราก็ได้ระดับเสียงที่รำคาญแล้ว  อันนี้จริง  ผมยืนยัน

- การจัดการบางความถี่ที่มีการตอบสนองดี โด่งเกินไปของลำโพงจนทำให้เกิดการหวีดหอนด้วยอีคิว  
   โดยการลดความถี่ช่วงนั้นลง  อันนี้ทำได้จริง แต่เสียงอาจเพี้ยนไปจากปกติบ้าง  เมื่อถึง     เวลาจำเป็นก็ต้องยอมกัน


สวัสดีวันสงกรานต์ จ๊ะน้า

Back to the basic.  ของการออกแบบระบบเสียงพีเอ  ผมคงมิต้องอธิบายนะน้าจ๋า

การจัดการกับความถี่ด้วย อีคิวนั้น  สิ่งสำคัญคือคนฟังหรือคนจัดการต้องฟังเป็น ซึ่งหาน้อย
(ส่วนมากเพื่อความแม่นยำและรวดเร็วจะใช้ซอร์ฟแวร์ และโน๊ตบุ๊คช่วย และผู้ใช้ต้องชำนาญหน่อย)
ว่าความถี่ที่จะจัดการย่านที่ว่านั้น  มันเป็นความถี่ของเสียงหลัก  หรือ  ฮาร์มอนิก (Harmonic)  ของเสียงที่เท่าไหร่เช่น  
ฮาร์มอนิกที่หนึ่งหรือสอง  มันถึงจะบริหารความถี่ได้ถูกต้อง  โดยที่ไม่เกิดความเพี้ยนหรือทำให้เสียงเปลี่ยนไป

แต่เสียงหอนหายขาดแม้จะจ่อไมค์ที่หน้าตู้ก็ตามครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 เมษายน 2014, 16:37:33 น. โดย มะละกอ »

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 16:48:33 น. »
ผมว่าปัญหาหลักของคนทำเครื่องเสียง ก็คือเรื่อง เสียงร้อง เสียงพูด นี่แหละครับ  เพราะลำพังการเปิดเพลงอย่างเดียวคงไม่ใช่ปัญหาให้ต้องมาถกเถียงกันแบบนี้

สาเหตุหลักที่การเปิดเพลงไม่ค่อยเกิดปัญหา ก็เพราะว่าเพลงต่าง ๆ ที่เรานำมาเปิดนั้นมีการมิกซ์ดาวน์ เสียงทุกเสียงมาให้มีการสวิงของความแรงสัญญาณได้อย่างพอดิบพอดีแล้วนั่นเอง  แต่พอมาต่อไมค์เข้ากับระบบหล่ะก็มักจะเกิดปัญหาขึ้นทันที  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ไมค์ที่เราใช้พูด ใช้ร้องนั้น มีช่วงการสวิงของระดับความแรงสัญญาณจากต่ำสุด ไปสูงสุดกว้างมาก  ระบบที่เซ็ทอัพมาอย่างดีเมื่อตอนเปิดเพลงอาจจะล่มได้ทันทีที่ต่อไมค์เข้ากับระบบ  เพราะว่าไมค์เป็นแหล่งสัญญาณที่สามารถเกิดการ Feedback ได้ ไม่เหมือนแหล่งกำเนิดสัญญาณอย่างอื่นที่เราใช้เปิดเพลง

ถึงเสียงเพลงจากโปรแกรมคาราโอเกะ จะทำได้ดีเลิศเพียงใด  หากเสียงคนร้องจมหาย หรือเบาเหมือนจะขาดใจฉันใด (เร่งมากก็ไม่ได้เดี๋ยวไมค์หอน) ความสมบูรณ์ของการแสดงมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ฉันนั้น  ดังนั้นการเซทอัพระบบเสียงสำหรับระบบคาราโอเกะ  จึงต้องยึดเสียงไมค์ร้องเป็นหลัก เสียงดนตรีเป็นรอง  ท่านต้องจัดการระบบให้สามารถรองรับคนร้องเพลงได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะร้องเสียงเบาเหมือนปุยนุ่น  หรือคนที่ร้องเสียงดังปานฟ้าผ่า

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #63 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 16:49:04 น. »
สวัสดีปีใหม่ไทยเช่นกันครับป๋า    จริงแล้วการจัดการกับหมาในตู้ลำโพงในกรณีแอมป์ที่ใช้ผอมแห้งแรงน้อย  มันก็ไม่ยาก

ง่ายสุดก็อีคิว  รองลงไปยากหน่อยก็ฟังค์ชั่น AFS (Anti feedback supression)ใน driverack   อีกตัวที่แม่นกว่าก็คือตัว AFS แบบแยก

ไอ้ตัวแรกนี่ผมมีถนัด  ตัวที่สองมีแต่ไม่สันทัด  แค่งมๆซาวด์พอได้

แล้วถ้าว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าความถี่ใหนมันหอนจะได้ลดก้านนั้น   ไม่ยากครับก็เร่งเกนจนมันหอน  แล้วลดอีคิวทีละก้านๆ  ไล่ไปเรื่อยๆอันใหนลดแล้วไม่หายก็ดันเข้าที่เดิม

31 ก้านมันต้องมีสักอันที่มันใช้ได้ถ้าอีคิวไม่เสีย  ใครจะรำคาญช่างมัน  แต่ถ้าลดแต่ไม่หายขาดก็ต้องไล่ก้านอื่นๆด้วยจนครบ  หากครบแล้วยังไม่หายก็ลดเกนลงยกมือไหว้  เก็บเครื่อง เลิก

แต่ถ้าหากไม่อยากถูกเจ้าภาพหรือคนทั่วไปค่อนขอดด้วยสายตาและวาจา  ก็ต้องหาอุปกรณ์มาช่วยวัดความถี่ที่มันโด่และทำให้หอน  มีหลายแบบแต่ผมใช้ไอ้นี่




Sent from my iPad using Tapatalk

ออฟไลน์ มะละกอ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4197
  • 7C06BEF5 จาก X-Men
Re: อยากหาเรื่องเสียตัง
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: วันที่ 13 เมษายน 2014, 17:32:33 น. »


แฮะ แฮะ   ผมอ่านเอารู้บ้างไม่รู้บ้าง 
บางอย่างก็มีโอกาสลองเล่นบ้างแต่ไม่บ่อยนักครับ
Bottom Line  แล้วผมไม่รู้ดอก

ร้องคาราโอเกะในบ้าน  ไม่ซับซ้อน  แม้บางครั้งมีเสียงไมค์หอน กลับเห็นเป็นเรื่องขำขันกัน
ซึ่งต่างจากการรับจ้างออกงานจริง ซึ่งทักษะที่เกิดจากประสบการณ์นั้นมีส่วนช่วยให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ได้ตรงจุด และอย่างรวดเร็วขึ้นนะครับผม