ผู้เขียน หัวข้อ: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า  (อ่าน 18969 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ pompattaya

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2296
  • 8CA852E6, 55019532
Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 01:51:39 น. »
ผมจั่วหัวเป็น ออดิโอ คอมเพรสเซอร์ ก็เพราะว่าเราจะพูดถึงคอมเพรสเซอร์ในระบบเสียง

ไม่ใช่คอมเพรสเซอร์แอร์ หรือ คอมเพรสเซอร์ตู้เย็น โดยที่ตอนนี้เราจะมาว่ากันแบบง่ายๆกันก่อน

ว่ามันคืออะไร ใช้ยังไง ใช้กับอะไร ใช้ขนาดไหน จะยกข้ามทฤษฎี Dynamic range compression

ซึ่งมากมายพอสมควรเลยทีเดียวเชียว


คอมเพรสเซอร์ ต้องนับว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งในระบบเสียงแบบอาชีพในยุคนี้

มันเป็นเครื่องมือที่ควบคุมช่องระยะไดนามิกของอุปกรณ์อินพุท (กีตาร์ เสียงร้อง เปียโน เบส กลอง ฯลฯ)

เมื่อเราทำซาวด์บางทีเราจะสังเกตได้ถึงความแตกต่างน้ำหนักของแต่ละเพลง แต่ละสไตล์

ก็เพราะมันเป็นแบบนี้ เจ้าคอมเพรสเซอร์ถึงเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ช่วยได้อย่างดี

เราก็ใช้มันเพื่อเพิ่มน้ำหนักกระแทกกระทั้นให้เครื่องดนตรีบางชิ้น

รวมทั้งการดึงซาวด์ให้เครื่องดนตรีบางชิ้นที่ซาวด์บางจ้อยให้ขึ้นมารวมแถวกับเครื่องอื่นที่ซาวด์ดีและหนาอยู่แล้วได้

และเจ้านี่มันยังช่วยเพิ่มความกังวานสดใสให้เครื่องดนตรีบางอย่างเช่นกีตาร์ รวมถึงเสียงร้องด้วย

มันก็ยังช่วยเพิ่มความกระจ่างฟุ้งฟริ้งให้กับสัญญานต้นเสียงจริงได้อีก

การปรับแต่งเจ้าคอมเพรสเซอร์มันก็สามารถทำให้เราสับสนได้ประมาณหนึ่งเชียวละ

แต่เชื่อเหอะพอเข้าใจส่วนผสมที่จะต้องใช้กับมันมากขึ้นสักหน่อย จะบอกว่า โนพรอมแพรม (ไม่มีปาหัน ปัญหา)






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 02:16:32 น. โดย pompattaya »

ออฟไลน์ YAI-สุพรรณ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 724
  • HL#8D00111F HL#752D6A00 HL#1799BF19 HL;1299BFD2
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 01:58:31 น. »
 :happy: :happy: :D

ออฟไลน์ pompattaya

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2296
  • 8CA852E6, 55019532
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 02:32:47 น. »
ก่อนจะไปต่อ ต้องขอออกตัวก่อน ไอ้พวกอุปกรณ์เหล่านี้ ผมก็ไม่ใช่เทพที่จะใช้จะปรับมันได้แบบร้อยเปอร์เซนต์

แต่มีมันและต้องการจะใช้มัน ก็ศึกษาค้นคว้า ตอนนี้ใช้มันได้แล้วก็มาแบ่งปันสิ่งที่ค้นคว้ามา และสิ่งที่ได้จริงจากการใช้จริง

ผมก็เคยทำเหมือนเจ้า อ๊อฟ คลองสามวา หรือหมอนพ ที่เอาไว้แค่ปิดรูว่างในแร็ค ตอนที่เขาฮิตกัน ผมไปหามาตัวหนึ่ง

ของดี เมดอิน ยูเอสเอ ยี่ห้อ RANE ราคาหลายหมื่นที่เดียว เกือบจะเท่ากับราคาดิจิตอลมิกเซอร์ตอนนี้เลยมั้ง

ทั้งที่ใช้ได้แค่ สองแชนแนลเอง อยู่โชว์ว่าฉันก็มีเกือบสิบปี ตอนนี้ยกให้นายยอดไปแล้ว ยอมรับว่าใช้ไม่เป็นจริงๆตอนนั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 02:40:52 น. โดย pompattaya »

ออฟไลน์ kamon

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 427
  • 7D2E1566 Tel.089-5560697
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 09:16:07 น. »
 :o^:รอๆๆๆ

ออฟไลน์ รัก

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 110
  • 57E3D0DE ซื้อจากพี่จ่ากอบ
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 09:52:30 น. »
อีกหนึ่งคะแนนเสียงครับ :D

ออฟไลน์ แบงค์นาเซ็ง

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 219
  • 76E4C8B7 จากเด็กชายโสด 7EE6AD59 จาก ครูภูมิ
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 10:23:41 น. »
+1 :thank1:

ออฟไลน์ ติ๊ก ฅนธรรพ์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 109
  • HL#: 54A17ABB x-men
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 12:14:09 น. »
รอครับ  :th2: :thank1:

ออฟไลน์ LungWATCR

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1296
  • 5DE459CB [ Pog MusicPro]
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 14:38:08 น. »
 :th2: :thank1:
รอครับ

ออฟไลน์ pompattaya

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2296
  • 8CA852E6, 55019532
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 16:20:48 น. »
ก่อนจะถึงยุคดิจิตอลมิกเซอร์ ไอ้เจ้านี่ต้องซื้อแยกมาใช้ ราคาก็ไม่เบาเชียว มันก็มีคำถามว่าจะใช้กี่ตัว

แต่ตอนนี้มันยุคดิจิตอลมิกเซอร์ มีมาให้อุดมสมบูรณ์  ทุกช่อง ยันเมนเอาพุท คำถามก็น่าจะเป็นว่าใช้สักกี่ช่องดี

สำหรับท่านที่มีแค่ตัวเดียวใช้แค่สองช่องก็จะต้องเลือกว่าเท่าที่มีควรใช้กับตรงไหน


จะให้สุดติ่งกระดิ่งแมว ก็หามันมากที่สุดเท่าที่เราหามาใช้ได้ การเลือกใช้ดิจิตอลมิกเซอร์จึงเป็นทางเลือกที่ดี มันมีมาให้เยอะแยะ

ถ้าเรามีใช้เพื่อคอมเพรสกับทุกเครื่องมือ กับทุกแชนแนลเสียงร้อง เราก็ทำให้ซาวด์ออกมาเนียนเสมอกัน

การควบคุมได้ทุกเครื่องมือทุกเส้นเสียงเป็นสุดยอดปารถนาของซาวด์เอนจิเนียทุกคนอยู่แล้ว

แต่อย่างที่บอกถ้าเราไม่สามารถทำหลายๆช่อง เราก็ต้องคอมเพรสอันที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก

ถ้ามีแค่สองช่อง(สำหรับผม)จะเริ่มอย่างแรกเลยที่เสียงร้องนำ วิธีนี้ก็คือได้คอนโทรลส่วนสำคัญที่สุดของเนื้องานที่กำลังทำ

เครื่องมือชื้นอื่นที่จะเริ่มต้นด้วยถ้าไม่เป็นกลองก็กีตาร์ ทั้งสองเครื่องมือนี้มีเนื้อที่เป็นทั้งไฮและโลว์ที่จำเป็นต้องคอนโทรล

สำหรับท่านที่มีคอมเพรสเซอร์พ่วงนอกตัวเดียว มีทางเลือกให้ทำได้แค่หนึ่งเดียวจากสอง

คือจะคอมเพรสช่องที่เป็นตัวเอกของงานได้สองช่อง หรือจะไปคอมเพรสรวมที่สัญญานจากเมนเอาท์พุท

ออฟไลน์ pompattaya

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2296
  • 8CA852E6, 55019532
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 17:42:01 น. »
The Compressor

คอมเพรสเซอร์ คอนโทรลแบบเดียวกับเกท(Gate จะมารู้จักกันในบทต่อไป) ก็คือมันจะมี Threshold, Ratio, Attack, Release,

 เธรชโฮลด์ เรโช แอ็ทแท็ก รีลีส และอันสุดท้ายเอ้าพุท โดยแต่ละคอนโทรลจะส่งผลถึงตัวต่อไป

Threshold  เธรชโฮลด์ เป็นจุดกำหนดที่คอมเพรสเซอร์เริ่มกระบวนการลดทอนระดับสัญญานเสียง

ควรเริ่มต้นจากค่าศูนย์แล้วปรับจากจุดนี้ ตัวอย่าง ถ้าตั้งค่าเป็น -10 คอมเพรสเซอร์จะเริ่มไวขึ้นกว่าที่ค่าศูนย์

เมื่อเริ่มคอมเพรสไวขึ้นเราก็จะคอนโทรลเสียงได้มากขึ้น เราก็หาจุดที่เราต้องการเริ่มคอมเพรสว่าจะดีที่สุดตรงไหน

Ratio เรโช ก็คืออะไรที่กำหนดค่าคอมเพรสว่าเท่าไหร่ เมื่อสัญญานทะลุผ่านจุด Threshold มาแล้ว

มันจะไม่มีการคอมเพรสที่ค่า 1:1 เพราะว่า 1DB ของสัญญานอินพุทเท่ากับ 1DB ของซาวด์

เอาละเราเปลี่ยนตรงนี้เป็น 3:1 มันก็หมายถึงเราให้ 3DB ของซาวด์เท่ากับ 1DB ของเอ้าพุท

จุดเริ่มที่ดีของสัญญาณอินพุทเสียงร้องนำคือ 4:1 ถ้าเรายิ่งเพิ่มค่า Ratioมากขึ้นเท่าไหร

เจ้าคอมเพรสเซอร์ก็จะกลายเป็นลิมิตเตอร์ไปตามค่าที่เพิ่ม สุดท้ายไม่ว่าเราให้ค่ามากขนาดไหน

หรือหมุนปุ่ม(แบบเก่า)จนสุดลูกบิด มันก็จะมีจุดลิมิตค่าอินพุทเพื่อทำให้ได้ 1DB ของเอ้าพุท

ออฟไลน์ AOD MUSIC

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 135
  • HL#: 5F64A466 หนึ่งซาวด์โปร
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 18:06:28 น. »
รอความรู้ต่อครับ :th2: :th2:

ออฟไลน์ tornadonaja

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 290
  • 4FE5BD4C, 8FE74E58, 483230C6, (ซื้อจากคุณเลิศพล)
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 18:22:09 น. »
กำลังอยากรู้วิธีการใช้อยู่พอดีเลยอ่ะครับ รอ ๆ ๆ
 :D :D :D

ออฟไลน์ tornadonaja

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 290
  • 4FE5BD4C, 8FE74E58, 483230C6, (ซื้อจากคุณเลิศพล)
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 18:30:18 น. »
ถ้าลงรูปการต่อ คอมเพรสเซอร์ ผ่านมิกเซอร์ ให้เห็นภาพ
จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ :happy:

ออฟไลน์ นายวิโรจน์2009

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2709
  • H\L 7EE4286E
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 20:19:59 น. »
ความรู้ล้วนครับ  :thank1: :thank1: :thank1: :thank1: :thank1:

ออฟไลน์ pompattaya

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2296
  • 8CA852E6, 55019532
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 22:49:54 น. »
Attack กำหนดความเร็วที่จะเข้าคอมเพรสเมื่อสัญญานทะลุผ่านจุดเธรสโฮลด์

ถ้าเป็นเครื่องพ่วงนอกมักจะมีไฟสัญญานเพื่อสะดวกในการอ่านค่า

Release ควบคุมความเร็วที่คอมเพรสเซอร์ปล่อยกลับสัญญานเข้าสู่ระดับเดิม

ตรงนี้แหละที่จะสามารถใช้เพิ่มความกังวาน (sustain) ให้เสียงร้องหรือกีตาร์ได้

ลองปรับกันดู เขาว่ากันไว้แบบนี้ ผมก็ยังไม่เคยได้ลองด้วยตัวเอง

บทสรุป

ดูๆเหมือนว่าข้อมูลจะเยอะแยะสักหน่อย แต่รวมๆแล้วก็ไม่น่าจะยาก มันไม่มีอะไรเป็นกฎตายตัวในการปรับแต่งคอมเพรสเซอร์

แต่ละงาน แต่ละสถานที่ มันมีความแตกต่างของอคูสติก และเครื่องมือ เครื่องดนตรี ใช้ในงานนั้นๆ

ช่างซาวด์แต่ละคนก็ต้องทดลองปรับแต่งจนได้งานออกมาที่ดีที่สุด

คอมเพรสเซอร์ เป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมสำหรับคุมเสียงร้อง

แล้วก็ยังเปอร์เฟคสำหรับควบคุมพวกความถี่ต่ำของกระเดื่อง(Bass Drum) เบสกีตาร์

ถ้าเราสามารถจับจ่ายซื้อหามาใช้ได้มันก็จะเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณค่าในระบบเสียงของเรา

ถามไถ่วิธีใช้มันจากคนที่รู้ มีประสบการณ์ในการใช้มาก่อน ก็จะเป็นตัวช่วยที่ดีทีเดียวเชียว

ออฟไลน์ pompattaya

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2296
  • 8CA852E6, 55019532
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 22:56:53 น. »
ถ้าลงรูปการต่อ คอมเพรสเซอร์ ผ่านมิกเซอร์ ให้เห็นภาพ
จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ :happy:
มิกซ์แบบไหน คอมเพรสเซอร์ที่ใช้มีรายละเอียดอย่างไร

แบบพ่วงนอกซึ่งส่วนใหญ่มีสองแชนแนล ต้องการคอมเพรสที่แชนแนลไหนก็อินเสิร์ท (insert)ที่แชนแนลที่ต้องการ

ถ้าจะใช้คอมเพรสรวมก็ต่อพ่วงคั่นในระบบช่วงเมนเอาท์พุทไป พาวเวอร์แอมป์ ต่อหลังจาก อีคิว

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015, 23:21:12 น. »
Attack กำหนดความเร็วที่จะเข้าคอมเพรสเมื่อสัญญานทะลุผ่านจุดเธรสโฮลด์

ถ้าเป็นเครื่องพ่วงนอกมักจะมีไฟสัญญานเพื่อสะดวกในการอ่านค่า

Release ควบคุมความเร็วที่คอมเพรสเซอร์ปล่อยกลับสัญญานเข้าสู่ระดับเดิม

ตรงนี้แหละที่จะสามารถใช้เพิ่มความกังวาน (sustain) ให้เสียงร้องหรือกีตาร์ได้

ลองปรับกันดู เขาว่ากันไว้แบบนี้ ผมก็ยังไม่เคยได้ลองด้วยตัวเอง

บทสรุป

ดูๆเหมือนว่าข้อมูลจะเยอะแยะสักหน่อย แต่รวมๆแล้วก็ไม่น่าจะยาก มันไม่มีอะไรเป็นกฎตายตัวในการปรับแต่งคอมเพรสเซอร์

แต่ละงาน แต่ละสถานที่ มันมีความแตกต่างของอคูสติก และเครื่องมือ เครื่องดนตรี ใช้ในงานนั้นๆ

ช่างซาวด์แต่ละคนก็ต้องทดลองปรับแต่งจนได้งานออกมาที่ดีที่สุด

คอมเพรสเซอร์ เป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมสำหรับคุมเสียงร้อง

แล้วก็ยังเปอร์เฟคสำหรับควบคุมพวกความถี่ต่ำของกระเดื่อง(Bass Drum) เบสกีตาร์

ถ้าเราสามารถจับจ่ายซื้อหามาใช้ได้มันก็จะเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณค่าในระบบเสียงของเรา

ถามไถ่วิธีใช้มันจากคนที่รู้ มีประสบการณ์ในการใช้มาก่อน ก็จะเป็นตัวช่วยที่ดีทีเดียวเชียว


ต่อยอดกระทู้น้าป้อม  เพื่อประโยชน์กับสมาชิกน่ะครับ
ฝากสูตร การใช้งานคอมเพรสเซอร์ตระกูล  dbx166  ที่ผมตั้งไว้เป็นสแตนดาร์ดทุกครั้งก่อนจะใช้งาน     แล้วแก้ไขเพิ่มลดตามสถานะการณ์น่ะครับ  ใช้คุมไมค์ร้องอย่างเดียว  เพราะผมไม่มีวงเล่นสด

- ภาค gate ผมไม่ค่อยใช้  ตั้งไว้ต่ำสุด แต่หากมีเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมเยอะๆ   ผมจะหมุนขึ้นมาอยู่ที่ตำแหน่ง 10 นาฬิกา  เพื่อบล๊อคเสียงอื่นที่ไม่พึงประสงค์    ไม่ให้เข้าไมค์        ปุ่ม  release ตั้งไว้เยอะหน่อยสักบ่ายโมง  กะว่าเปิดประตูแล้วก็ค้างไว้สักหน่อย  เผื่อมีใครจะตามเข้ามาอีก  ถ้าสักระยะไม่มีเสียงเข้ามา gate มันก็จะปิดเราจะรู้สึกได้ถึงความเงียบจะเข้ามาเยือนในไลน์ไมค์

-ภาค compressor  
 ปุ่ม threshold ผมมันจะเล่นที่ตำแหน่ง -10  กะว่าพอเสียงเริ่มแรงมาหน่อยก็ให้มันเริ่มกดแบบ soft คือค่อยๆกดไม่ใช่กดแบบหักมุม
      ratio ถ้านักร้องสาวหรือนักร้องคุณภาะ 2:1 ก็เพียงพอแล้ว  แต่ถ้าพวกเพลงสตริงอาจไล่ตั้งแต่ 3:1 ไปจดถึง 4:1 ยิ่งมากเสียงยิ่ง      
      ขาดไดนามิค   แต่มันจำเป็นสำหรับจัดการกับพวกแหกปาก
      atteck  ผมจะตั้งให้ไวเข้าไว้แต่ไม่ไวสุด ประมาณสัก 9 นาฬิกา  เพราะธรรมชาติการออกเสียงของคนเวลาเปล่งเสียงจะเริ่มจากเบาแล้วแรงขึ้น และผ่อนในช่วงท้าย  ไม่ใช่กระแทกตึกเดียวแบบกลอง
      release  สำหรับเสียงร้อง ผมจะตั้งให้มันเปิดค้างไว้สักระยะ ก่อนจะคลายเมื่อไม่มีสัญญาณ   เสียงร้องจะได้ไม่ค่อยวูบวาบ  ปกติผมอยู่ที่ 13 นาฬิกา

     gain  อันนี้สำคัญเพราะช่วยยกระดับเสียงนักร้องที่ระดับเสียงไม่ค่อยเสมอ  ให้มันอยู่ในช่วงที่เหมาะสมได้  ปกติผมจะยกขึ้น 5 db  เพื่อควบคุมระดับเสียงเบาให้แรงขึ้น 5 db ก่อนจะไปเริ่มถูกกดที่ตำแหน่ง -10 db ที่ผมตั้งไว้   range ความดังและเบาของเสียงจะแคบลง
เสียงจะสม่ำเสมอมากขึ้น ถ้านักร้องเสียงเบามากอาจเร่งช่วยขึ้นได้อีก แต่ต้องระวังการฟี๊ดแบ็ค หรือการหอนอย่างที่เราเรียกกัน

พูดง่ายๆคือถ้าเบาเราเร่งขึ้น  แต่ถ้าแรงเราก็กด หลักมันมีแค่นี้

สุดท้ายภาค limiter

 ตัวนี้สำคัญมากเพราะเป็นตัวบล๊อคความดังตัวสุดท้ายก่อนจะรอดออกไป  ปกติผมตั้งไว้ที่ +5 db  หมายความว่าถ้าระดับเสียงมาแรงมากจนคอมเพรสเซอร์กดไม่อยู่  เมื่อระดับเสียงที่ออกไปจากคอม   ก็จะไม่แรงเกินกว่าที่ลิมิตไว้ที่ +5db  ช่วยให้เราไม่ต้องเสียเงินซ่อมดอกลำโพงกันบ่อยๆ   ตรงปุ่มลิมิตเคยมีคนถามผมว่าทำไมไม่ตั้งไว้ที่ 0  ผมบอกไปว่าเพราะผมไม่อยากฟังเสียงนักร้องที่เรียบแบนเป็นกระดาน
เลยยอมให้มันพี๊คบ้างแต่พองาม

ออฟไลน์ YAI-สุพรรณ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 724
  • HL#8D00111F HL#752D6A00 HL#1799BF19 HL;1299BFD2
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 00:43:32 น. »
 :flower: :cheer1: :thank1: :thank1:

ออฟไลน์ ปีศาจ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 312
  • 9EE1BACE ท่านไท พัทยา, 770E9191 (MP)
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 01:59:56 น. »
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้เรื่องนี้    :flower:
ผมมีรุ่นเดียวกันน้านพ ไว้ปิดรูแรคเหมือนกันครับ
กำลังจะขายทิ้งอยู่พอดี
มาเจอกระทู้นี้เข้าได้ความรู้เพิ่ม เลยเปลี่ยนความคิด
ว่า...... ลองกะมันอีกสักตั้งหนึ่ง
ทีนี้ผมอยากเรียนถามว่า

1. เราก็ใช้มันเพื่อเพิ่มน้ำหนักกระแทกกระทั้นให้เครื่องดนตรีบางชิ้น
2. การดึงซาวด์ให้เครื่องดนตรีบางชิ้นที่ซาวด์บางจ้อย
      ให้ขึ้นมารวมแถวกับเครื่องอื่นที่ซาวด์ดีและหนาอยู่แล้วได้
3. เพิ่มความกังวานสดใสให้เครื่องดนตรีบางอย่างเช่นกีตาร์ รวมถึงเสียงร้องด้วย
     มันก็ยังช่วยเพิ่มความกระจ่างฟุ้งฟริ้งให้กับสัญญานต้นเสียงจริงได้อีก

จาก 3 ข้อ ข้างบนเราจะต้องปรับตรงไหน  อย่างไรครับ  ปรับไป  ประมาณเท่าไรครับ
Threshold ?
Ratio ?
Attack ?
Release ?
(เอาพอเป็นค่าอ้างอิงแล้วกันนะครับ)
ขอบคุณมาล่วงหน้าครับ
 :thank1: 

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 06:22:30 น. »
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้เรื่องนี้    :flower:
ผมมีรุ่นเดียวกันน้านพ ไว้ปิดรูแรคเหมือนกันครับ
กำลังจะขายทิ้งอยู่พอดี
มาเจอกระทู้นี้เข้าได้ความรู้เพิ่ม เลยเปลี่ยนความคิด
ว่า...... ลองกะมันอีกสักตั้งหนึ่ง
ทีนี้ผมอยากเรียนถามว่า

1. เราก็ใช้มันเพื่อเพิ่มน้ำหนักกระแทกกระทั้นให้เครื่องดนตรีบางชิ้น
2. การดึงซาวด์ให้เครื่องดนตรีบางชิ้นที่ซาวด์บางจ้อย
      ให้ขึ้นมารวมแถวกับเครื่องอื่นที่ซาวด์ดีและหนาอยู่แล้วได้
3. เพิ่มความกังวานสดใสให้เครื่องดนตรีบางอย่างเช่นกีตาร์ รวมถึงเสียงร้องด้วย
     มันก็ยังช่วยเพิ่มความกระจ่างฟุ้งฟริ้งให้กับสัญญานต้นเสียงจริงได้อีก

จาก 3 ข้อ ข้างบนเราจะต้องปรับตรงไหน  อย่างไรครับ  ปรับไป  ประมาณเท่าไรครับ
Threshold ?
Ratio ?
Attack ?
Release ?
(เอาพอเป็นค่าอ้างอิงแล้วกันนะครับ)
ขอบคุณมาล่วงหน้าครับ
 :thank1:  

1-2 ทำเหมือนเสียงร้อง  แต่ลด  atteck และ release ให้สั้นลง
3 ไม่ทราบครับไม่เคยใช้เพื่อการนี้

ออฟไลน์ Lampean

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 346
  • 77E63959 ประจักร สอิ้งแก้ว
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 06:28:32 น. »
ขอความรู้หน่อยนะ DL1608 ปรับค่า attack - release ถ้าเราดันสไลน้อยหมายความว่ากดเร็วใช่ไหม ถ้าดันสไลมากๆๆหมายความว่ากดช้าปล่อยช้าหรือเปล่า
ไม่ค่อยมีความรู้หรือความหมายค่าตัวเลย เกียวกับค่าของมัน อย่างเช่น 20.8 ms

 

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 07:13:22 น. »
ขอความรู้หน่อยนะ DL1608 ปรับค่า attack - release ถ้าเราดันสไลน้อยหมายความว่ากดเร็วใช่ไหม ถ้าดันสไลมากๆๆหมายความว่ากดช้าปล่อยช้าหรือเปล่า
ไม่ค่อยมีความรู้หรือความหมายค่าตัวเลย เกียวกับค่าของมัน อย่างเช่น 20.8 ms

 


ใช่ครับหลวงพี่ดูเวลามันก็พอจะคาดการได้  1 ms ก็เท่า 1/1000 วินาที   20.8 ก็เท่ากับ 20.8/1000 วินาที  ยิ่มากก็ยิ่งนาน 
คอมใน DL1608 อย่ากดมาก   มันจะทึบไปเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 07:17:34 น. โดย นพ ณ สุพรรณ »

ออฟไลน์ ปิยะนันต์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 427
  • 7E8C2851 ด.ช.เคยโสด 74642DAC MP
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 07:58:23 น. »
เข้ามาเก็บข้อมูล  :party: :party: :party:  :thank1: :flower:

ออฟไลน์ Lampean

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 346
  • 77E63959 ประจักร สอิ้งแก้ว
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 15:59:31 น. »
ใช่ครับหลวงพี่ดูเวลามันก็พอจะคาดการได้  1 ms ก็เท่า 1/1000 วินาที   20.8 ก็เท่ากับ 20.8/1000 วินาที  ยิ่มากก็ยิ่งนาน 
คอมใน DL1608 อย่ากดมาก   มันจะทึบไปเลย

 :thank1: :thank1: :thank1:

ออฟไลน์ ปีศาจ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 312
  • 9EE1BACE ท่านไท พัทยา, 770E9191 (MP)
Re: Audio Compressor เรามารู้จักกับมันบ้างดีกว่า
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015, 17:42:32 น. »
1-2 ทำเหมือนเสียงร้อง  แต่ลด  atteck และ release ให้สั้นลง
3 ไม่ทราบครับไม่เคยใช้เพื่อการนี้

ขอบคุณครับน้านพ

     :thank1: