ผู้เขียน หัวข้อ: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)  (อ่าน 188357 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ภูวดิษฐ์

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 8188
  • HL740E3299
คนละ dition คนเขียนคนละคน

ไม่เป็นไร  เพราะอย่างน้อย อ่านแล้วก็ยังพอมีพื้นฐานที่จะตามคนอื่นได้

เดี๋ยวเฮียอธิบาย แล้วผมต้องมานั่งแปลไทยเป็นไทยอีก

ดีน่ะ  ที่เฮียอธิบายแบบชาวบ้าน ลูกทุ่ง ๆ

ถ้าเป็นวิชาการจ๋าละก้อ  ................... เอิ๊ก ๆๆๆๆ

ออฟไลน์ ธนรรค์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 623
  • HL#:: 4C9EB9AC ซื้อจาก ครูภูม
ถึงแม้ คนละ dition คนเขียนคนละคน

ก็ขอด้วย  :flower:

ออฟไลน์ ธนรรค์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 623
  • HL#:: 4C9EB9AC ซื้อจาก ครูภูม
ขอบพระคุณมาก มาเร็วจริงๆ คืนนี้อ่านทั้งคืน...

ออฟไลน์ ภูวดิษฐ์

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 8188
  • HL740E3299
ขอบพระคุณมาก มาเร็วจริงๆ คืนนี้อ่านทั้งคืน...

ง่ะ  ของผมโหลดไม่ได้คร้าบบบบบบบบบบบบ

ออฟไลน์ onizuka_jib

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 60
  • 86E2AD5Eจากคุณริมมูลน้อย
มาสูบความรู้ครับ  

ออฟไลน์ จิตกร

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4576
  • รักและเคารพเพื่อนๆทุกคน
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #130 เมื่อ: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013, 18:06:51 น. »
มาต่อกันดีกว่าครับ

อย่างที่ผมกล่าวไว้แล้วว่า Gain Output ของแต่ละย่านความถี่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยในเรื่องของสเปคตู้ลำโพง
จำนวน และอีกเรื่องที่สำคัญคือ กำลังขยายของพาวเวอร์แอมป์ที่เราเลือกมาใช้ในระบบ  ดังนั้นเมื่อมีตัวแปร
เยอะขนาดนี้  ให้เราลองตั้ง Gain Output ของทุกย่านความถี่ไว้ที่  0dB  โดยที่เราจะอ้างอิงเสียงจากย่าน
ความถี่ตำ หรือตู้ซับเป็นหลัก  แล้วเปิดฟังเพลงดู ไม่ต้องดังมาก  ให้เราพิจารณาว่าเสียงย่านต่ำ เมื่อเทียบ
กับย่านกลาง - แหลม เป็นเช่นไร  (ใช้จำนวนตู้ซับ กับตู้เสียงกลาง - แหลม ในจำนวนที่เท่ากัน)

ถ้าย่านต่ำ หรือ ตู้ซับดังล้นเกิน ย่านเสียงกลางแหลม  ให้พิจาณาว่าท่านใช้แอมป์ที่มีกำลังขับน้อยกว่าแอมป์
ที่ใช้ขับตู้ซับหรือไม่  (เพราะถ้าหากเป็นแอมป์ที่กำลังขับเท่า ๆ กัน ปกติเสียงตู้กลาง - แหลมจะดังกว่า)
ซึ่งวิธีการแก้ไข เนื่องจากเราจะไม่ปรับเพิ่ม Gain Output ให้มากกว่า 0dB ก็คือต้องเพิ่มปริมาณตู้กลาง - แหลม
ให้มากขึ้น

แต่ถ้าหากย่านเสียงต่ำ หรือ ตู้ซับดังน้อยกว่า ตู้เสียงกลาง - แหลม  ก็ให้ท่านปรับลด Gain Output ของตู้
กลาง - แหลมลง จนเสียงเกิดความสมดุลย์กัน  ก็เหมือนกับท่านกำลังบาลานซ์ ซาวด์ดนตรีนั่นเอง  แต่จะไม่
ใช้วิธีเพิ่ม  Gain Output ของย่านเสียงต่ำให้มากเกิน 0dB เป็นอันขาด

เพลงที่ใช้ทดสอบควรเป็นเพลงที่มีเสียงในทุกย่านครบถ้วน และควรเป็นเพลงที่เราฟังจากเฮดโฟน จนจำบุคคลิก
ของเสียงเพลงนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว

ลองทำตามพี่สมโภชน์ดูครับ ประมาณนี้ครับ


ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
ง่ะ  ของผมโหลดไม่ได้คร้าบบบบบบบบบบบบ

ซะงั้น  เห้อ.....

ออฟไลน์ ธนรรค์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 623
  • HL#:: 4C9EB9AC ซื้อจาก ครูภูม
ง่ะ  ของผมโหลดไม่ได้คร้าบบบบบบบบบบบบ

คลิกลิงค์ที่ท่านอนันตชัยให้มา >> คลิก regular download >>รอ 60 วิ>>พิมพ์รหัสที่เว็บให้มา >>คลิกลิงค์ดาวน์โหลดครับ 101.1 M (Handbook_for_Sound_Engineers)  ;D

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
มาคุยกันต่อในเรื่องของฟังก์ชั่น Limiter

ก่อนอื่น หลาย ๆท่าน อาจจะสับสนระหว่างการทำงานและการตั้งค่าระหว่าง Limiter กับ Compressor ว่าสองตัวนี้
มันทำงานแตกต่างกันอย่างไร?  ถ้าคุยกันประสาชาวบ้านเปรียบเทียบการทำงานระหว่างสองหน้าที่นี้ ก็จะประมาณว่า
ถ้าท่านมีตู้เสื้อผ้าอยู่หนึ่งใบ ท่านกำหนดพื้นที่ให้ ครึ่งตู้สำหรับแขวนกางเกง  เมื่อมีกางเกงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็ม
พื้นที่ ท่านจะทำอย่างไร?

1. เอาส่วนที่มันแขวนแล้วเกินพื้นที่ออก  (Limiter)
2. อัดมันเข้าไปทั้งหมดในพื้นที่ที่เรากำหนดไว้ให้ได้ อาจจะมีมีล้นออกมาบ้างเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร (Compressor)

ทั้งสองอย่างทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน แต่แตกต่างตรงที่ Limiter ท่านจะสูญเสียกางเกงส่วนที่เกินไป  แต่ Compressor
ท่านจะได้กางเกงครบตามจำนวน แต่ต้องบีบอัดกางเกงทั้งหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้กางเกงยับไปบ้างก็ไม่เปงไร

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าฟังก์ชั่น Limiter นั้นจะเหมาะสมสำหรับการใช้ควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายของส่วนรวมโดยยอม
ตัดส่วนเกินทิ้งไป  ในขณะที่ฟังก์ชั่น Compressor จะพยายามรักษาทุกอย่างเอาไว้ทั้งหมด โดยที่ส่วนรวมอาจจะเสีย
หายบ้าง มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับเราตั้งค่าการบีบอัดไว้ขนาดไหน

อธิบายแบบนี้พอจะเห็นภาพหรือเปล่าครับ

ในกรณีที่เราใช้สำหรับการควบคุมระดับความแรงสัญญาณของแหล่งสัญญาณเดี่ยว ๆ เช่นเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น หรือ
เฉพาะเสียงพูด เสียงร้อง  เราจะพยายามรักษาเนื้อเสียงไว้ทั้งหมด โดยใช้วิธีบีบอัด (Compressor) แทนที่จะตัดส่วนเกิน
ทิ้งไป (Limiter)

แต่ในกรณีที่เราต้องการควบคุมความแรงสัญญาณของเสียงทั้งย่าน เราจะนิยมใช้วิธีการตัดส่วนเกินทิ้ง Limiter เพราะ
ว่าส่วนที่เกินอาจจะเกิดจากสัญญาณของเครื่องดนตรีชิ้นใด ชิ้นหนึ่ง หรืออาจจะเกิดจากเสียงพูด เสียงร้อง ซึ่งการใช้
วิธี Limiter จะสามารถรักษาคุณภาพของเสียงส่วนรวมได้ดีกว่าการบีบอัด Compressor นั่นเอง  ดังนั้นในส่วนภาค
Output ของครอสจึงมักจะใช้ฟังก์ชั่น Limiter ในการควบคุมการทำงานเป็นหลัก

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013, 19:37:20 น. โดย AJ-AUDIO »

charoen.da

  • บุคคลทั่วไป
เหนื่อยหน่อยละครับเฮีย

 :devil:

ออฟไลน์ ธนรรค์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 623
  • HL#:: 4C9EB9AC ซื้อจาก ครูภูม
เหนื่อยหน่อยละครับเฮีย

 :devil:


เฮียคงหายเหนื่อย เมื่อทราบว่าแฟน AJ อยู่ที่นี่กันเยอะเหมือนกัน..ขอบคุณความรู้ดีดีครับ.. :happy:

ออฟไลน์ นพ สุพรรณ

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 16031
  • HL#5490A920   (x-men)

เหนื่อยหน่อยละครับเฮีย

 :devil:



เอาน่า    ไม่เสียปล่าวหรอกครับน้า

อย่างน้อยมีคนเข้าใจสักร้อยละ10

มันจะกลายเป็นยี่สิบสามสิบในไม่ช้า

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
เหนื่อยหน่อยละครับเฮีย

 :devil:


เฮียคงหายเหนื่อย เมื่อทราบว่าแฟน AJ อยู่ที่นี่กันเยอะเหมือนกัน..ขอบคุณความรู้ดีดีครับ.. :happy:

ไม่มีปัญหาครับ ผมก็ใช้เวลาว่างที่มี มาพูดคุยกันไปเรื่อย ๆ  ผมว่าดีกว่าการทำสัมนาด้วยซ้ำ เพราะ
ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา อ่านแล้วไม่เข้าใจย้อนกลับไปอ่านใหม่ได้ ว่างก็เข้ามาอ่าน ไม่ว่าง
ก็เก็บไว้ก่อนค่อยมาอ่านทีหลัง     แต่ที่สำคัญไม่ต้องเสียตังค์จัดสัมนา 5555

 :hap3: :hap3: :hap3: :hap3:

ออฟไลน์ ภูวดิษฐ์

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 8188
  • HL740E3299

เอาน่า    ไม่เสียปล่าวหรอกครับน้า

อย่างน้อยมีคนเข้าใจสักร้อยละ10

มันจะกลายเป็นยี่สิบสามสิบในไม่ช้า

ผมต้องเป็นหนึ่งในยี่สิบ สามสิบแน่ ๆ

ออฟไลน์ โกวิท ไปนำกันเด้อ

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 5506
  • HL#851E9551
ขอบคุณครับเฮีย... :thank1: :thank1: :thank1: :thank1:

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
มาคุยกันต่อในเรื่องของฟังก์ชั่น Limiter

ก่อนอื่น หลาย ๆท่าน อาจจะสับสนระหว่างการทำงานและการตั้งค่าระหว่าง Limiter กับ Compressor ว่าสองตัวนี้
มันทำงานแตกต่างกันอย่างไร?  ถ้าคุยกันประสาชาวบ้านเปรียบเทียบการทำงานระหว่างสองหน้าที่นี้ ก็จะประมาณว่า
ถ้าท่านมีตู้เสื้อผ้าอยู่หนึ่งใบ ท่านกำหนดพื้นที่ให้ ครึ่งตู้สำหรับแขวนกางเกง  เมื่อมีกางเกงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็ม
พื้นที่ ท่านจะทำอย่างไร?

1. เอาส่วนที่มันแขวนแล้วเกินพื้นที่ออก  (Limiter)
2. อัดมันเข้าไปทั้งหมดในพื้นที่ที่เรากำหนดไว้ให้ได้ อาจจะมีมีล้นออกมาบ้างเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร (Compressor)

ทั้งสองอย่างทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน แต่แตกต่างตรงที่ Limiter ท่านจะสูญเสียกางเกงส่วนที่เกินไป  แต่ Compressor
ท่านจะได้กางเกงครบตามจำนวน แต่ต้องบีบอัดกางเกงทั้งหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้กางเกงยับไปบ้างก็ไม่เปงไร

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าฟังก์ชั่น Limiter นั้นจะเหมาะสมสำหรับการใช้ควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายของส่วนรวมโดยยอม
ตัดส่วนเกินทิ้งไป  ในขณะที่ฟังก์ชั่น Compressor จะพยายามรักษาทุกอย่างเอาไว้ทั้งหมด โดยที่ส่วนรวมอาจจะเสีย
หายบ้าง มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับเราตั้งค่าการบีบอัดไว้ขนาดไหน

อธิบายแบบนี้พอจะเห็นภาพหรือเปล่าครับ

ในกรณีที่เราใช้สำหรับการควบคุมระดับความแรงสัญญาณของแหล่งสัญญาณเดี่ยว ๆ เช่นเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น หรือ
เฉพาะเสียงพูด เสียงร้อง  เราจะพยายามรักษาเนื้อเสียงไว้ทั้งหมด โดยใช้วิธีบีบอัด (Compressor) แทนที่จะตัดส่วนเกิน
ทิ้งไป (Limiter)

แต่ในกรณีที่เราต้องการควบคุมความแรงสัญญาณของเสียงทั้งย่าน เราจะนิยมใช้วิธีการตัดส่วนเกินทิ้ง Limiter เพราะ
ว่าส่วนที่เกินอาจจะเกิดจากสัญญาณของเครื่องดนตรีชิ้นใด ชิ้นหนึ่ง หรืออาจจะเกิดจากเสียงพูด เสียงร้อง ซึ่งการใช้
วิธี Limiter จะสามารถรักษาคุณภาพของเสียงส่วนรวมได้ดีกว่าการบีบอัด Compressor นั่นเอง  ดังนั้นในส่วนภาค
Output ของครอสจึงมักจะใช้ฟังก์ชั่น Limiter ในการควบคุมการทำงานเป็นหลัก

 

สำหรับฟังก์ชั่น Limiter จะมีค่าให้ปรับตั้งอยู่ทั้งหมด 3 ค่าด้วยกันคือ

1. Threshold  คือระดับความแรงสัญญาณ (หน่วยเป็น dB) ที่กำหนดให้วงจร Limiter เริ่มทำงาน
2. Attack  คือเวลา (หน่วยเป็น ms) ที่กำหนดให้วงจร Limiter เริ่มทำงานหลังจากสัญญาณเกินจากค่า Threshold
3. Release คือเวลา (หน่วยเป็น ms) ที่กำหนดให้วงจร Limiter หยุดทำงานหลังจากสัญญาณต่ำกว่าค่า Threshold

หลังจากการปรับตั้ง Gain Output ของแต่ละย่านความถี่แล้ว เมื่อเราได้ค่า Gain Output ของแต่ละย่านแล้ว ก็มาถึง
ว่าเราจะตั้งค่า Limiter กันอย่างไร?

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเรากำหนดค่า
- Gain Output ของย่านเสียง Low ไว้ที่ 0dB
- Gain Output ของย่านเสียง Mid - High ไว้ที่ -5dB

แล้วเราไม่ต้องการให้ระบบของเราทำงานเกินจากค่าที่เราตั้งไว้ที่ Gain Output ของครอส  เราก็จะกำหนดค่า Limiter
ดังที่แสดงในรูป ด้านล่างนี้



จากรูป ผมกำหนดค่าอะไรไว้อย่างไรบ้าง

- Threshold ของ Output 1 และ 3 ซึ่งเป็นย่าน Low L & R อยู่ที่ 0dB นั่นหมายความว่าเมื่อระดับความแรงสัญญาณของ
ย่านนี้เพิ่มขึ้นจนเลย 0dB  วงจร Limiter จะเริ่มทำงาน โดยทำงานสัมพันธ์กับค่า Attack

- Attack กำหนดไว้ที่ 0.3ms ก็คือวงจร Limiter จะเริ่มทำงานภายในเวลา 0.3ms ทันทีที่ความแรงสัญญาณเกินค่า Threshold

- Realese กำหนดไว้เป็น 2x ของ Attack นั่นคือ 0.6ms  วงจร Limiter จะหยุดทำงานภายในเวลา 0.6ms ทันทีหลังจากที่
ความแรงสัญญาณลดลงต่ำกว่าค่า Threshold

สำหรับความเหมาะสมของค่า Attack และ Release นั้นขึ้นอยู่กับแหล่งสัญญาณว่า มีความความแรงสัญญาณเกินค่า Threshold
แบบต่อเนื่องหรือเปล่า หรือ เกินบ้างเป็นบางครั้ง นาน ๆ ที ตรงนี้ก็จะกำหนดค่าแตกต่างกันออกไป

ในส่วนของ Output 2 & 4 ซึ่งเป็นย่าน Mid - High จะแตกต่างกันที่ค่า Threshold ที่ตั้งค่าความแรงสัญญาณไว้ที่ -5dB
หากสัญญาณมาเกินกว่า -5dB วงจร Limiter ก็จะเริ่มทำงานครับ  ซึ่งจะสอดคล้องกับ Gain Output ของครอสที่เราตั้งไว้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013, 22:42:06 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ verayut357

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 460
  • 5DE7D9F2 (ครูภูมิ)
อ่านบทความเรื่องดีเลย์เสียงระหว่างเสียงเบสกลางแหลมที่เฮียแซมที่โพสขึ้น
มาสะดุดกับคำที่ว่าจะทำยังงัยจะรู้ได้ว่าเสียงเบสกลางแหลม(3ทาง)เราดีเลย์พร้อมกันแล้วหรือเรียกว่าเสียงมันมาพร้อมกันแล้ว
จำได้ว่าคำถามนี้ผมเคยถามเฮียแซมตั้งแต่เมื่อ2ปี(เวปมิวสิคเลิฟอะไรนี้ละจำไม่ได้ละ)แล้วมั้งเฮียแซมตอบว่า
"ลองหาเพลงที่เราชอบแต่เป็นซาวด์ที่ชัดเจนมาเปิดแล้วลองฟังจังหวะคิกกะเดื่องและไฮแฮทที่ตีพร้อมกันโดยที่เราตั้งจุดดีเลย์ของครอสช่องเบสให้เป็น0msไว้
เป็นหลักเพราะเป็นธรรมชาติของเสียงเบสมันเคลื่อนที่ได้ช้ากว่ากลางและแหลมอยู่แล้ว จากนั้นเราก็ไปปรับที่ช่องแหลมในครอสให้ดีเลย์ลงไปเลื่อยๆจนเสียงคิกกะเดื่องและไฮแฮดได้ยินพร้อมกันพอดี เมื่อได้แล้วเราก็ไปปรับที่ครอสช่องเสียงกลางโดยธรรมชาติเสียงกลางจะเดินทางช้ากว่าเสียงแหลมประมาณ5msเราก็ลองปรับลงไปเลื่อยๆจาก5msทั้งนี้ต้องเทียบกับเสียงจริงต้นฉบับด้วยที่เฮดโพนของเรา"
(แล้วถ้าครอสปรับดีเลย์ไม่ได้ทำงัยก็ลองย้ายตู้เบสไปด้านหน้าหรือหลังครั้งละ20cmดูโดยตู้กลางแหลมเป็นหลัก)
นี้คือข้อความโดยประมาณที่จำขึ้นใจอาจจะไม่ทั้งหมดผิดถูกยังงัยขออภัยไว้นะที่นี้
สิ่งที่ที่ได้เมื่อปรับดีเลย์เสียง
1.ซาวด์มีมิติชัดเจนขึ้น ซาวด์ที่เรานำมาทดสอบโดยปกติจะเป็นสเตอร์รีโอแยกซ้ายขวาชิ้นดนตรีชัดเจนอยู่แล้วแต่พอฟังเทียบผ่านลำโพงpaเราเคยสังเกตุไหมทำไมมันฟังไม่ลื่นหูโซโล่กลองท่อม123ไม่ชัดเจนทั้งที่ซาวด์ในเฮดโพนแยกซ้ายขวาชัดมาก ก็เนื่องจากการดีเลย์ของเสียงไม่มาพร้อมกันเช่นตีไฮแฮท1ครั้งคิกกะเดื่อง1ครั้งและไฮแฮทอีก1ครั้งรวม3ครั้งห่างกันประมาณ2วิ ถ้าเสียงดีเลย์เสียงจะประมาณ นี้เสียงไฮแฮดมา1ตามด้วยคิกกะเดื่อง2เสียงกะเดื่องที่2ยังไม่ทันหมดมีเสียงไฮแฮทครังที่3แซมมาด้วย ทั้งที่ตีห่างกัน 2วินาทีนั่นเพราะเสียงแหลมมันเร็วกว่าเบสนั่นเอง แล้วถ้าโซโล่กลองพร้อมกันหลายๆใบยาวๆละลองนึกดูว่าเสียงจะเป็นยังงัย
2.เสียงดังขึ้นทั้งที่อุปกรณ์ชุดเดิมๆไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเบสจะลอยมาเป็นลูกฟังแล้วมีพลังไม่ทึบได้ยินเสียงคิกกระทบหนังกลองดังจิกๆน้อยมาพร้อมกับเสียงกลองกะเดื่องฟังแล้วรู้สึกมีพลังซึ้งลำโพงดีเลย์แทบจะไม่ได้ยินเสียงพวกนี้เลยนี้คือเสียงธรรมชาติที่มาจากกลอง
3.ฟีดแบค(ไมล์หอน)ตรงนี้ช่วยได้มากโดยความถี่ช่วงกลางและแหลมประมาณ800-2khzและช่วง5khz-10khแทบจะไม่ต้องลดeqเลย
(บทความดีเลย์เสียงก็จะไปเกี่ยวเนื่องกับเรื่องเกนเสียงที่เฮียแซมกำลังกล่าวถึง)
ทั้งหมดนี้ได้จากการทดลองฟังทดสอบ บนพี้นฐานของหลักการต่างๆที่เฮียแซมกล่าวถึงแล้วผลลัพท์ก็ได้ดังที่กล่าวมาผิดถูกยังงัยขออภัยไว้นะที่นี้
ขอบพระคุณเฮียแซมมากๆที่ช่วยสอนสมาชิกเครื่องเสียงรากหญ้า-รากแก้วด้วยความเคารพ
(ตัวหนังสือผิดถูกขออภัยใช้โทรศัพท์พิมพ์)

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
สวัสดีครับท่าน วีระยุทธ์  ไม่ได้คุยกันซะนาน  พาวเวอร์แอมป์ขายดีนะครับ ยินดีด้วย

 :cheer:

ออฟไลน์ verayut357

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 460
  • 5DE7D9F2 (ครูภูมิ)
สวัสดีครับท่าน วีระยุทธ์  ไม่ได้คุยกันซะนาน  พาวเวอร์แอมป์ขายดีนะครับ ยินดีด้วย

 :cheer:

ครับส่วนมากเข้ามาอ่านไม่ค่อยได้โพสเท่าไหร่ติดตามเฮียแซมตลอดชื่นชอบในความคิดและน้ำใจผู้ให้อันยิ่งใหญ่
ส่วนผมความรู้ยังน้อยยังต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกเยอะ รออ่านบทความเฮียแซมต่อ

เพิ่มนิดๆ
จำได้ว่าเคยอ่านบทความช่างอ๊อดเชียงใหม่นานมากละเหมือนกัน
เปรียบเทียบคำคัพท์LimiterCompressorเหมือนประตูไว้ เข้าใจง่ายดีเลยยิบมาฝาก

Threshold=จะเปิดประตู เช่นเพื่อนมารอหน้าบ้านเรากำหนดไว้ว่าต้องรอให้เพื่อนมากี่คนค่อยเปิดประตู1คน5คน10คน
Attack=เวลาที่จะเปิดเมื่อเพื่อนมาครบรอที่หน้าประตูบ้านเช่น5คนแล้วจะต้องนับอีกกี่วินาทีที่จะเปิดประตูให้เข้ามาเรากำหนดเอง
Realese=เวลาที่จะปิดประตูเช่นเมื่อเพื่อนเข้ามาในบ้านสังสรรค์กันเรียบร้อยก็พากันกลับทีละคนจนเหลือคน5คนสุดท้ายที่กำหนดไว้เหมือนตอนเข้ามาบ้านประตูเราจะปิด นับอีกกี่วินาทีประตูปิดเรากำหนดเองเป็นวินาทีจนแขกกลับหมด

ผิดถูกขออภัยปรุงแต่งบ้างเล็กน้อยหาต้นฉบับไม่เจอ :thank1:

ออฟไลน์ ชิษ บึงกาฬ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 364
  • HL#3C0606C8 (X-Men)
สำหรับฟังก์ชั่น Limiter จะมีค่าให้ปรับตั้งอยู่ทั้งหมด 3 ค่าด้วยกันคือ

1. Threshold  คือระดับความแรงสัญญาณ (หน่วยเป็น dB) ที่กำหนดให้วงจร Limiter เริ่มทำงาน
2. Attack  คือเวลา (หน่วยเป็น ms) ที่กำหนดให้วงจร Limiter เริ่มทำงานหลังจากสัญญาณเกินจากค่า Threshold
3. Release คือเวลา (หน่วยเป็น ms) ที่กำหนดให้วงจร Limiter หยุดทำงานหลังจากสัญญาณต่ำกว่าค่า Threshold

หลังจากการปรับตั้ง Gain Output ของแต่ละย่านความถี่แล้ว เมื่อเราได้ค่า Gain Output ของแต่ละย่านแล้ว ก็มาถึง
ว่าเราจะตั้งค่า Limiter กันอย่างไร?

ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเรากำหนดค่า
- Gain Output ของย่านเสียง Low ไว้ที่ 0dB
- Gain Output ของย่านเสียง Mid - High ไว้ที่ -5dB

แล้วเราไม่ต้องการให้ระบบของเราทำงานเกินจากค่าที่เราตั้งไว้ที่ Gain Output ของครอส  เราก็จะกำหนดค่า Limiter
ดังที่แสดงในรูป ด้านล่างนี้



จากรูป ผมกำหนดค่าอะไรไว้อย่างไรบ้าง

- Threshold ของ Output 1 และ 3 ซึ่งเป็นย่าน Low L & R อยู่ที่ 0dB นั่นหมายความว่าเมื่อระดับความแรงสัญญาณของ
ย่านนี้เพิ่มขึ้นจนเลย 0dB  วงจร Limiter จะเริ่มทำงาน โดยทำงานสัมพันธ์กับค่า Attack

- Attack กำหนดไว้ที่ 0.3ms ก็คือวงจร Limiter จะเริ่มทำงานภายในเวลา 0.3ms ทันทีที่ความแรงสัญญาณเกินค่า Threshold

- Realese กำหนดไว้เป็น 2x ของ Attack นั่นคือ 0.6ms  วงจร Limiter จะหยุดทำงานภายในเวลา 0.6ms ทันทีหลังจากที่
ความแรงสัญญาณลดลงต่ำกว่าค่า Threshold

สำหรับความเหมาะสมของค่า Attack และ Release นั้นขึ้นอยู่กับแหล่งสัญญาณว่า มีความความแรงสัญญาณเกินค่า Threshold
แบบต่อเนื่องหรือเปล่า หรือ เกินบ้างเป็นบางครั้ง นาน ๆ ที ตรงนี้ก็จะกำหนดค่าแตกต่างกันออกไป

ในส่วนของ Output 2 & 4 ซึ่งเป็นย่าน Mid - High จะแตกต่างกันที่ค่า Threshold ที่ตั้งค่าความแรงสัญญาณไว้ที่ -5dB
หากสัญญาณมาเกินกว่า -5dB วงจร Limiter ก็จะเริ่มทำงานครับ  ซึ่งจะสอดคล้องกับ Gain Output ของครอสที่เราตั้งไว้




สิ่งที่อยากรู้มานาน ก็ได้รับรู้และเข้าใจบ้างแล้วครับ
ขอบคุณเฮียแซม สำหรับความรู้ดี ๆ บทความอ่านแล้วเข้าใจง่าย
ขอติดตามตอนต่อไปเรื่อย ๆ ครับ  :thank1:

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
ครับส่วนมากเข้ามาอ่านไม่ค่อยได้โพสเท่าไหร่ติดตามเฮียแซมตลอดชื่นชอบในความคิดและน้ำใจผู้ให้อันยิ่งใหญ่
ส่วนผมความรู้ยังน้อยยังต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกเยอะ รออ่านบทความเฮียแซมต่อ

เพิ่มนิดๆ
จำได้ว่าเคยอ่านบทความช่างอ๊อดเชียงใหม่นานมากละเหมือนกัน
เปรียบเทียบคำคัพท์LimiterCompressorเหมือนประตูไว้ เข้าใจง่ายดีเลยยิบมาฝาก

Threshold=จะเปิดประตู เช่นเพื่อนมารอหน้าบ้านเรากำหนดไว้ว่าต้องรอให้เพื่อนมากี่คนค่อยเปิดประตู1คน5คน10คน
Attack=เวลาที่จะเปิดเมื่อเพื่อนมาครบรอที่หน้าประตูบ้านเช่น5คนแล้วจะต้องนับอีกกี่วินาทีที่จะเปิดประตูให้เข้ามาเรากำหนดเอง
Realese=เวลาที่จะปิดประตูเช่นเมื่อเพื่อนเข้ามาในบ้านสังสรรค์กันเรียบร้อยก็พากันกลับทีละคนจนเหลือคน5คนสุดท้ายที่กำหนดไว้
เหมือนตอนเข้ามาบ้านประตูเราจะปิด นับอีกกี่วินาทีประตูปิดเรากำหนดเองเป็นวินาทีจนแขกกลับหมด

ผิดถูกขออภัยปรุงแต่งบ้างเล็กน้อยหาต้นฉบับไม่เจอ :thank1:

ครับท่านวีระยุทธ์   ที่ช่างอ๊อดเปรียบเปรยไว้ตามที่ท่านยกมา เป็นฟังกชั่นของ GATE ครับ


ออฟไลน์ ภูวดิษฐ์

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 8188
  • HL740E3299
รอตั้งแต่เช้า  สงสัยเฮียเพิ่งตื่น   :hap3: :hap3: :hap3:

ออฟไลน์ ood1925

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 161
  • 5628AD24 ซื้อจากครูภูมิ

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
รอตั้งแต่เช้า  สงสัยเฮียเพิ่งตื่น   :hap3: :hap3: :hap3:

อิอิ  หัวข้อที่จะเขียนตอนนี้หมดแล้วครับ อ.ภู

ท่านใดมีอะไรสงสัย ก็สอบถามกันเข้ามาได้นะครับ

 :thank1:

ออฟไลน์ จิตกร

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4576
  • รักและเคารพเพื่อนๆทุกคน
ขอบคุณพี่สมโภชน์เป็นอย่างสูงครับ ผมได้รับสิ่งที่ยังไม่รู้ ตั้งมากมายครับเกี่ยวกับอุปกรณ์ประเภทตัวนี้ ทำให้ลองผิด ถูกมาตั้งนาน เกือบจะตัดใจขายทิ้งซ่ะแระ อิอิอิ :thank1: