พอดีจะอัพระบบ จากเดิมใช้ลำโพงแบบActive มาเป็นระบบของ PA เพื่อรองรับการใช้งานมากขึ้น
อุปกรณ์ที่จะเพิ่มมีดังนี้
1. ลำโพงซับ 4 ใบ ข้างละ 2 ใบๆละ 1,000 w rms
2. ลำโพงกลางแหลม 8" X 2 +แหลม จำนวน 4 ใบ ข้างละ 2 ใบๆละ 550 W RMS
ตอนนี้สั่งลำโพงไปแล้วครับ
กำลังหาแอมป์ ในใจมองไว้แบบ 4 CH ตัวเดียวจบ แถมประหยัดrack เพราะถ้าเอาแบบ 2 CH คงต้องซื้อแอมป์
2 ตัว rack 2 ตัว
ฝากช่วยเลือกให้ด้วยครับ ว่าควรเอาแบบ 4 หรือ 2 CH(มาต่อแบบบริดจะได้ประหยัดงบดีหรือไม่ครับ แนะนำรุ่น ยี่ห้อด้วยจะดีมากครับ มีงบประมาณ 25 K)
(ไม่รวมค่าrack)
ขอบคุณครับ
เอาใหม่ ขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติม
พูดถึงลำโพงกลางแหลม ตามที่เข้าใจกันก่อน ซึ่งท่านเจ้าของกระทู้สั่งซื้อ (สั่งทำ ) ไปแล้ว
ลำโพงกลางแหลม 8" X 2 + แหลม ที่ผมเข้าใจหมายถึง ในหนึ่งตู้ ใช้ ดอกขนาด 8 นิ้ว = 2 ตัว ซึ่ง
ทุกวันนี้ดอกลำโพงส่วนใหญ่ อิมพีแด๊นซ์ = 8 โอห์ม ยกเว้นสั่ง 16 โอห์ม
เมื่อต้องการความดัง จะต่อ 8" แบบขนาน จะเหลือ อิมพีแด๊นซ์ตู้ละ = 4 โอห์ม
สั่งซื้อ 4 ตู้ หมายถึงต่อใช้งานข้างละ 2 ตู้
ในเมืองไทยที่ผมสังเกตุ จะต่อลำโพงแบบขนานกันทั้งสิ้น ยกเว้นผู้ที่มีทักษะจริงๆ
เมื่อต่อ ขนานตู้ ในหนึ่งข้างย่อมหนีไม่พ้นที่ อิมพีแด๊นซ์เหลือ 2 โอห์ม ทั้งนี้เป็นไปตามกฏของนายโอห์ม
แต่ถ้าต่อแบบอนุกรม อันนี้ จะได้ข้างละ 8 โอห์ม ซึ่งจะไม่มีปัญหาครับ
หมายเหตุ ค่าความต้านทานดอกลำโพง 4 , 8 , 16 มีหน่วยเป็นโอห์ม ที่เราเรียกขานกัน
ในความเป็นจริง คือค่า Rated Impedance ผมรู้ไม่ลึกขณะวัดว่าเขาใช้ความถี่เท่าไรในการอ้างอิง อาจเป็นไซน์เวฟที่ 1000 Hz
ส่วนความต้านทานจริงของว๊อยคอยล์ ตามสเปคของมีสเตอร์ ธีล (Thields - Small )
เรียกค่านี้ว่า Re เป็นค่าการใช้มิเตอร์วัดจริง(น่่าจะมาจาก resistance Electric) มีหน่วยเป็นโอห์มเหมือนกัน
ค่าที่ได้จะต่ำกว่าค่า Rated Impedance พอสมควร เช่น จาก 8 โอห์มอาจเหลือ 5.5 โอห์ม (อ้างอิงจากดอกลำโพง JBL LE8T )
ว๊อยซ์คอยล์ลำโพงยังมีคุณสมบัติอีกอย่างคือในเมื่อมันเป็นขดลวด มันจึงมีค่าความเหนี่ยวนำ (Inductance)
เรียกค่านี้ว่า Le มีหน่วยเป็น เฮนรี่
นักออกแบบพาสสีพครอสโอเวอร์ที่จริงจัง จะใช้ค่า Le นี้มาคิดด้วยนะครับ
ค่าอิมพีแด๊นซ์ของลำโพงนั้นจะไม่คงที่นะครับ มันจะสวิงขึ้นลงตามย่านความถี่ของเสียงดนตรี
ผมจำไม่ได้อีกแหละว่า ย่านความถี่สูงทำให้อิมพีแด๊นซ์สูงขึ้น และหรือย่านความถี่ต่ำ ทำให้อิมพีแด๊นซ์ต่ำลง
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่อาจสวิงจาก 2 โอห์มเหลือ 0 โอห์ม คือเหมือกับเอาสายลำโพงมาช๊อตกัน ถ้าประเดี๋ยวประด๋าวคงไม่เป็นไร
แต่ถ้าเสียงดนตรีหลากหลายชิ้นแช่เสียงนานและดัง แอมป์ที่ไม่มีระบบป้องกันที่ไวพอ ทรานซิสเตอร์เอ้าท์พุตแอมป์จะไหม้ทันที
และหรือ ว๊อยซ์คอยล์ก็ไหม้ตาม
ในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน แอมป์หนึ่งข้างขับลำโพง 8 โอห์ม ให้คุณภาพเสียงดนตรีได้ดี ได้ไพเราะที่สุด
รองลงมาคือ 4 โอห์ม ซึ่งจะใช้ในกรณีย ที่แก้ขัด
ส่วน 2 โอห์มนั้น เขาใช้กับการพูดกระจายเสียงในที่สาธารณะ หาเสียงเลือกตั้ง เพราะเสียงพูดของคน ให้ย่านความถี่ค่อนข้างคงที่ อิมพีแด็นซ์แทบไม่สวิง
เรื่องแบบนี้รู้กันมากว่า 20-30 ปีแล้วนะครับ
แต่บริษัทขายแอมป์ ก็ยังเอาจุดขายที่ว่าสามารถโหลดได้ถึง 2 โอห์มมาเป็นจุดขาย
ซึ่งในทางทฤษฎี ก็เป็นไปได้ แต่ต้องมีภาคจ่ายไฟที่ออกแบบมาดีมากๆ และแพงมากๆ เช่นกัน ราคาแอมป์พวกนี้เกินแสนทั้งสิ้น
การตอบโพส บางครั้งย่อมมีพลาดนะครับ ถ้าคำถามไม่ละเอียดและชัดเจนพอ อันนี้ต้องขออภัยด้วยครับ
สิ่งที่ควรรู้อีกอย่างในการออกแบบระบบเสียงคือ
รู้ชัยภูมิสถานที่ รู้จำนวนคนที่มาร่วมงาน จะสามารถรู้ถึงความดังที่จะใช้งาน
รู้ความดัง จะรู้ถึงระบบลำโพงที่จะใช้ จากนั้นก็จะไปถึงการจัดสรรแอมป์ให้กับระบบลำโพง ครับ
ต่อมา แอมป์ 4 แชลแนลนั้นออกแบบมาให้ใช้กับลำโพงฟูลเร้นจ์ หรือกลางแหลมที่เราเข้าใจกัน
ทั้งนี้เนื่องจาก กำลังขับทั้ง 4 ช่อง เท่ากัน
ยกเว้นที่ออกแบบพิเศษ ให้มี 2 ช่องมีกำลังขับมากกว่าอย่างน้อยสองเท่า เพื่อนำมาขับลำโพงซับวูฟเฟอร์
ทำไมแอมป์ที่ขับซับจึงต้องการพละกำลังมากกว่าแอมป์ขับกลางแหลม ผมไม่ขออธิบายนะครับ
เพราะต้องไปค้นหาตัวเลขมายืนยันอีกที เข้าใจแต่ว่า ทุกครั้งที่ครอสส่งผ่านย่านความถี่ต่ำลึงลงเอาเป็นว่าต่ำกว่า 100 Hz ลง
มันต้องการพละกำลังจากแอมป์เพิ่มทันที กี่ดีบี ช่างมันเถอะครับนั่นหมายถึงแอมป์ขับซับต่องมีพละกำลังสำรองให้เหลือใช้ตลอด
ทีนีถ้าเลือกใช้แอมป์ 4 แชลแนล ที่มีกำลังขับเท่ากัน มาใช้งาน เสียงนะดังแน่ แต่คุณภาพเสียงมันจะอยู่ในการควบคุมของเราหรือ
แต่ถ้าบอกว่า เคยเล่นมาแล้วไม่มีปัญหา ก็ต้องบอกต่อไปด้วยว่า เล่นอย่างไร สถานที่เป็นแบบไหน จำนวนผู้ชมผู้ฟัง
ความดังที่ใช้งาน เป็นต้น
เพราะที่สุดแล้ว ในเรื่องของตรรกศาสตร์ เหตุผลอย่างเดียว ไม่เพียงพอ