หัวใจของการทำลำโพงมาใช้งานตามวัตถุประสงค์อยู่ที่การออกแบบครอสโอเวอร์เน็ทเวอร์คในที่นี้หมายถึงพาสสีพเน็ทเวอร์คหรือตัวแบ่งความถี่ให้กับลำโพงได้อย่างลงตัว ทั้งนี้จะต้องมีสเปคลำโพงมาช่วยในการจุดตัด ยกตัวอย่างพอเข้าใจมีลำโพงเสียงแหลม พีออดิโอรุ่น BM-D450 สเปค คือค่าความต้านทานเท่ากับ 8 Ohm. ความดัง 110 dB และตามสเปคที่ให้มาเขาแนะนำ ครอสโอเวอร์จุดตัดที่ 1500 Hz และความชัน 12 dB/Oct ขึ้นไป และเมื่อดูจาก กราฟการตอบสนองความถี่ที่ให้มา คร่าวๆ ประมาณ 800 Hz และเส้นกราฟเริ่มลาดตกลงเล็กน้อยที่ประมาณ 8000 Hz เรื่อยๆ จนถึง 20000 Hz
ดูแค่นี้ก็พออนุมาณได้ว่าถ้าจะทำลำโพงสองทางมีเสียงทุ้มและเสียงแหลมข้างละดอก ให้มีคุณภาพขนาดเสียงทุ้มน่าจะได้แค่ 12 นิ้วเท่านั้น เพราะถ้าเป็น 15 นิ้วรุ่น IMF-15LF ที่ดูจากความถี่ตอบสนองที่ 50 Hz-1500Hz ถือว่าไม่สวยครับ แต่ถ้าเป็นรุ่น IMF-12LF ซึ่งความถี่ตอบสนองที่ 60 HZ-2000Hz เลือกจุดตัดที่ 1500Hz ตามคำแนะนำได้จนถึง 1800Hz ก็จะได้เสียงแบบครบทุกย่านความถี่ ในอุดมคติตามต้องการ (แม้ว่าจริงๆ แล้วผมขอทายว่าเอ็นจิเนียร์ที่ออกแบบ BM-D450 ค่อนข้างจะเอียงนิดๆ ในการออกแบบให้เป็นเสียงแหลมสำหรับตู้สามทางมากกว่าสองทาง เพราะดูเอาใจใส่ในด้านรายละเอียดปลายแหลมขั้นเรือธงทีเดียว) เอาเป็นว่าเลือกจุดตัดที่ 1600Hz ต่อมาก็มาออกแบบเน็ทเวอร์คกัน ผมจะดูความดังก่อน เสียงแหลมที่ 110dB เสียงทุ้มที่ 96dB ต่างกัน 14dB กลางแหลมมามากมายกลบเสียงทุ้มหมด ต้องลดความดังเสียงแหลมลงบ้างดังนั้นผมขอตัดเสียงทุ้มที่ 1600Hz ความชันที่ 6dB คือมีแค่ขดลวดขดเดียวนำมาต่ออนุกรมกับขั้วบวกของลำโพง IMF-12LF ส่วนเสียงแหลมนั้น ที่ 18dB
จากรูปข้างล่างรูปแรก 1st Order ให้มองเฉพาะเสียงทุ้มนะครับจะได้ค่า L หรือขดลวด = 0.8 mH ส่วนเสียงแหลมให้ดูรูปที่สองจะได้ค่า C1 = 8.29 uF , C2 = 24.87 uF , L1 = 0.6mH ลวดทองแดงเบอร์ 18 สำหรับเสียงแหลม เบอร์ 16 เสียงทุ้ม ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถสั่งได้จากร้านที่รับทำแถวบ้านหม้อ หรือวิธีพันขดลวดอย่างง่ายสำหรับท่านที่อยากลงมือเองค่อยว่ากันอีกทีครับ
Thanks: ฝากรูป dictThanks: ฝากรูป dict ยังไม่จบนะครับ จะต้องมีวงจรเล็กๆ อีกเรียกว่า Notch Filter ซึ่งประกอบด้วย ความต้านทานต่ออนุกรมกับคัพแพคซิเตอร์เรียกย่อว่า RC ทำหน้าที่บายพาสความถี่บางค่าเพื่อรักษาความต้านทานของว้อยซ์ลำโพงให้คงที่ คือทุกครั้งที่มีสัญญาณป้อนเข้าลำโพงความต้านทานก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้จุดตัดของเน็ทเวอร์คเปลี่ยนไป กับวงจรที่จะลดทอนความดังของเสียงแหลมลงมา ซึ่งจากสเปคที่ได้มาเฉพาะของ BM-D450 ยังขาดบางค่า ซึ่งคงต้องขอทางบริษัทพีออดิโออีก คือค่า Fs , Le , Qms , Qes ก็จะได้วงจรครอสโอเวอร์เน็ทเวอร์คที่เป็นไฟนอลนำไปสร้างอีกทีครับ และถ้าจะให้หมดห่วงเรื่องว้อยซ์เสียงแหลมจะขาดก็มีหลอดไฟที่ออกแบบมาโดยเฉพาะหน้าตาคล้ายหลอดฟิวส์มาต่ออนุกรมกับเสียงแหลม ถ้าอัดกันเกินกำลังหลอดนี้จะขาดก่อนป้องกันทวีตเตอร์ขาดทุ่นเงินได้ครับ เห็นณัฐพงษ์มีขายหลอดสามร้อยมั้ง เผอิญคนไทยชอบดัดแปลงเอาหลอดไฟเลี้ยวรถขนาด 6 โวลท์มาใส่แทนก็โอเคนัยว่าเสียงนุ่มขึ้นอีก ผมไม่รับรองนะข้อนี้
ครับเล่าสู่กันฟังตามความเข้าใจเท่าที่พอมีบ้างเผื่อมีประโยชน์บ้าง